หากวันหนึ่งอยุ่ๆเราก้อรุ้สึก อ่อนเปลี้ย เฉื่อยชาไม่อยากขยับหรือทำอะไรเลย ขี้หนาวอย่างมากแค่เปิดแอร์เย็นนิดหน่อย ก้อหนาวสั่น ตามมาด้วย ท้องผูก ผิวแห้งซีด แก้มยุ้ย เสียงแหบ โคเลสเตอรอลในเลือดสูง น้ำหนักขึ้นโดยไม่ทราบเหตุ ปวดและตึง กล้ามเนื้อ เอ็น ข้อ กล้ามเนื้อไม่มีแรง เมนส์มามาก เล็บและผมเปราะ ซึมเศร้า ขี้ลืม คิดอะไรช้า
ทีว่ามาทั้งหมดเป็นอาการเริ่มต้นของโรคที่เรียกว่าภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำเกินไป ถ้าปล่อยไว้เป็นนานๆอาจจะส่งผลให้คุณผู้หญิงที่เคยสวยงามเหมือนคุณ Lizzy มีอาการหลายอย่างจนอ้วนตุ๊ต้ะมาก้อได้ เราจึงอยากมาเล่าให้ทราบถึงวิธีสังเกตุอาการอย่างไรที่จะเป็น หรือรักษาอย่างไร เลยมาเล่าให้ฟังต่อครับ
ภาวะฮอร์โมนไทรอยต่ำ เกิดขึ้นเนื่องจากต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยกว่าปกติ คือไม่สามารถสร้างฮอร์โมนออกมาได้เพียงพอต่อการทำงานของร่างกาย สาเหตุที่พบบ่อยคือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่าง autoimmune การผ่าตัดไทรอยด์ออก หรือการได้รับการรักษาด้วยการฉายแสง
อาการ
เมื่อระดับฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำเกินไป จะทำให้กระบวนการต่าง ๆ เซลล์ของร่างกายทำงานช้าลง อาการที่จะรู้สึกได้คือ รู้สึกหนาวได้ง่าย เหนื่อยง่ายกว่าปกติ ผิวหนังแห้งกว่าปกติ ผมแห้ง รู้สึกซึม ขี้หลงขี้ลืม มีอาการท้องผูก เนื่องจากอาการที่พบได้มีค่อนข้างหลากหลายดังนั้น วิธีการที่จะทำให้รู้แน่ว่าเป็นหรือไม่ คือการตรวจเลือด
โรคของไทรอยด์มักจะมีเรื่องพันธุกรรมเข้ามาเกี่ยวข้อง หากทราบว่ามีคนในครอบครัวเป็นไทรอยด์ คุณก็จะมีความเสี่ยงมากขึ้น หรือถ้าคุณเป็นคนแรกในครอบครัว คนอื่น ๆ ถ้ามีอาการผิดปกติควรทำการตรวจเลือดด้วยเช่นกัน
การตรวจเบื้องต้นจะทำการตรวจโดย การเจาะเลือด TSH โดยควรทำการตรวจคัดกรองทุกปี โดยเฉพาะถ้าอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
การดูแลรักษาระยะยาวเป็นเรื่องที่จะต้องยอมรับ เพราะไทรอยด์ต่ำยังไม่มีทางรักษาให้หายได้ ยกเว้นว่าสาเหตุที่เป็นมาจากการอักเสบของต่อมไทรอยด์ Thyroiditis ซึ่งกลุ่มนี้สามารถหายกลับเป็นปกติได้
การรักษาที่ต้องทำคือการได้รับฮอร์โมนไทรอยด์ Thyroxine ทดแทนไปตลอดชีวิต อาจจะต้องมีการปรับยาบ้างหากระดับฮอร์โมนในร่างกายสูงหรือต่ำไป จึงต้องติดตามตรวจเลือดเป็นประจำ
เมื่อคุณทานยาอย่างต่อเนื่องและระดับไทรอยด์ฮอร์โมนในร่างกายเป็นปรกติ อาการต่าง ๆ ที่เป็นก็จะหายไป และไม่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ คุณจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ
สาเหตุ
สาเหตุที่ทำให้ไทรอยด์ทำงานได้น้อยกว่าปกติมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบได้บ่อยได้แก่
- โรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน Autoimmune
ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย อาจจะไวเกินทำให้รับรู้ว่าเซลล์ต่อมไทรอยด์เป็นสิ่งแปลกปลอม และทำให้มีการทำลายเซลล์ไทรอยด์โดยภูมิคุ้มกันของร่างกายเอง จนทำให้การผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ไม่เพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ ส่วนใหญ่มักจะพบในผู้หญิง การเกิดโรคอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือ อาจจะค่อย ๆ มีอาการทีละน้อยก็ได้ ที่พบมากในกลุ่มนี้เรียกว่า Hashimoto’s thyroiditis
- การผ่าตัดต่อมไทรอยด์
ผู้ที่เคยมีก้อนหรือมะเร็งต่อมไทรอยด์ หรือผู้ที่เคยเป็นไทรอยด์เป็นพิษ และได้รับการรักษาด้วยการตัดต่อมไทรอยด์ออก ก็จะทำให้ร่างกายขาดฮอร์โมนไทรอยด์ จำเป็นต้องได้รับทดแทนไปตลอดชีวิต
- การได้รับการรักษาด้วยการรังสี
ในผู้ป่วยไทรอยด์ ที่ได้รับการรักษาโดยการกลืนแร่รังสีไอโอดีน I-131 เพื่อทำลายเซลล์ไทรอยด์ ก็จะมีอาการเช่นเดียวกับการผ่าตัดต่อมไทรอยด์ออกไป
- ภาวะไทรอยด์ต่ำแต่กำเนิด Congenital hypothyroidism
พบว่าเด็ก 1 ใน 4000 คน อาจจะเกิดมาพร้อมกับต่อมไทรอยด์ที่ไม่สมบูรณ์หรือเจริญผิดที่ จะทำให้มีอาการเช่นเดียวกัน ทำให้เสี่ยงที่เกิดภาวะปัญญาอ่อนได้
- การอักเสบของต่อมไทรอยด์
อาจจะเนื่องมาจากการติดเชื้อไวรัส หรือภูมิของร่างกายเองก็ได้ ที่ทำให้มีการอักเสบชองต่อมไทรอยด์ ในช่วงแรกอาจจะมีฮอร์โมนไทรอยด์สูงกว่าปกติเป็นชั่วเวลาสั้น ๆ และตามมาด้วยฮอร์โมนที่ต่ำกว่าปกติในระยะยาว
- การได้รับยาบางชนิด
ยา amiodarone, lithium, interferon alpha, and interleukin-2 จะรบกวนการทำงานของต่อมไทรอยด์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่มีประวัติโรคไทรอยด์ในครอบครัว หลังจากได้ยาเหล่านี้แล้วจะมีโอกาสเกิดไทรอยด์ต่ำได้ง่าย
- การได้รับ iodine มากหรือน้อยเกินไป
Iodine มีส่วนสำคัญในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ โดยปกติจะได้รับจากอาหาร และเข้าสู่กระแสเลือดไปยังต่อมไทรอยด์ หากมีระดับไม่ได้สมดุล อาจจะทำให้เกิดภาวะ ไทรอยด์ต่ำได้
- ต่อมใต้สมอง pituitary gland ถูกทำลาย
หน้าที่ของต่อมใต้สมองคือสร้าง hormone TSH ไปสั่งให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมา หากมีความเสียหายจากเนื้องอก รังสี หรือการผ่าตัด ก็จะทำให้การผลิตฮอร์โมนต่ำกว่าปกติได้
การวินิจฉัย
หากมีอาการที่กล่าวข้างต้น หรือมีประวัติโรคไทรอยด์ หรือการผ่าตัด ได้รับรังสี หรือยา ที่เกี่ยวข้อง ควรพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายดูลักษณะที่เข้ากับโรคไทรอยด์เช่น ตัวบวม ผิวแห้ง การเต้นของหัวใจ การตอบสนองของระบบประสาทช้ากว่าปกติ
หากมีอาการที่ทำให้สงสัยว่าเป็นไทรอยด์ต่ำ แพทย์จะทำการตรวจเลือด โดยจะทำการตรวจสองอย่างได้แก่
TSH (thyroid-stimulating hormone) test เป็นการตรวจที่สำคัญและแม่นยำในการวินิจฉัยไทรอยด์ต่ำ ฮอร์โมน TSH ถูกสร้างจากต่อมใต้สมองเพื่อไปกระตุ้นให้ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนขึ้น หากว่าระดับไทรอยด์ในเลือดต่ำ ต่อมใต้สมองจะผลิต TSH ออกมามากขึ้นเพื่อไปสั่งให้ไทรอยด์ทำงานมากขึ้น เมื่อตรวจเลือดจึงพบว่ามี TSH สูงกว่าปกติ
T4 tests เป็นฮอร์โมนไทรอยด์ที่สร้างขึ้นจากต่อมไทรอยด์ ภาวะที่ไทรอยด์ต่ำก็คือภาวะที่ระดับ Free T4 ในเลือดต่ำกว่าปกตินั่นเอง
การรักษา
ภาวะฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้โดยการให้ฮอร์โมนไทรอยด์ชนิดรับประทานเข้าไปทดแทน เพื่อให้ระดับ ฮอร์โมน T4 ในเลือดสูงขึ้น จนทำให้ร่างกายทำงานเป็นปกติ
ผลข้างเคียง
ไม่มีผลข้างเคียงที่รุนแรง นอกเหนือไปจากระดับฮอร์โมนต่ำหรือสูงเกินไป ถ้าต่ำเกินไปคือได้ยาน้อยเกินไป ก็จะทำให้ยังมีอาการแบบเดิมต่อไป แต่ถ้ามากเกินไปก็จะมีอาการเหมือนไทรอยด์เป็นพิษ คือมีใจสั่น เหนื่อยง่าย มือสั่น น้ำหนักลด นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย
เพื่อป้องกันผลข้างเคียงเหล่านี้จึงต้องสังเกตอาการและติดตามตรวจเลือดเป็นประจำ
การติดตามตรวจ
สำหรับผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 50 ปี ควรทำการตรวจ TSH เป็นประจำทุกปี
ผู้ป่วยที่มีไทรอยด์ต่ำควรจะต้องตรวจเลือดดูระดับ TSH และ Free T4 ทุก 6-12 เดือน แต่หากว่ามีอาการต่อไปนี้ควรจะต้องไปตรวจเลือดกับแพทย์ทันที
- อาการที่เคยเป็นแย่ลงหรือกลับมาเป็นอีกครั้ง
- น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงผิดปกติ
- จำเป็นต้องทานยาที่อาจจะมีผลต่อการดูดซึมของยาไทรอยด์
หากมีอาการผิดปกติหรือสงสัยว่าเป็น ควรตรวจเลือด
และสำหรับผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี ควรตรวจเลือดดูระดับ TSH ทุกปีนะครับ
แหล่งข้อมูล
Dr.Carebear Samitivej,
https://www.facebook.com/note.php?note_id=165327233500349
นพ.สันต์ ใจยอดศิลป์,ไฮโปไทรอยด์ ( Hypothyroidism),
http://www.health.co.th/HealthEducationArticle4/Hypothyroidism.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น