ทำไมจึงเกิดอาการปวดหลัง
เราหลายคนตอนหนุ่มสาวทำงานหนัก ยกของหนักแค่ไหน ก้อไม่เป็นไร แต่ทำไมยกของนิ้ดเดียวในวัยนี้ จึงเกิดอาการปวดหลังได้ จริงๆแล้ว ปัจจัยที่ทำให้เกิดอาการอาการปวดหลัง ได้แก่
- ปัจจัยในตัวคนทำงานเอง ประกอบด้วย อายุ ความแข็งแรง ความทนทาน ความยืดหยุ่น ประสบการณ์ในการทำงาน และความเครียด ปัจจัยบางอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ บางปัจจัยไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ เช่น อายุ
- ปัจจัยภายนอกหรือสภาพแวดล้อมในการทำงาน เป็นปัจจัยที่ถูกปรับปรุงให้เหมาะสมได้ง่าย
ยกของอย่างไร ปวดหลังถามหา
ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่ทำให้เรายกของปุ้บ ปวดหลังปั้บ คือ
- น้ำหนักของวัตถุที่จะยก ไม่ว่าเราจะยกในท่าทางใด เช่น หลังตรง งอเข่า งอสะโพก หรือยกแบบก้มหลัง ถ้าวัตถุที่ยกหนักเกินกำลัง ย่อมทำให้ปวดหลังได้ทั้งสิ้น
- ระยะห่างของวัตถุกับลำตัวของ ยิ่งวัตถุอยู่ห่างจากลำตัวมากเท่าใด กล้ามเนื้อหลังจะต้องทำงานหนักมากขึ้น เพื่อที่จะดึงลำตัวไม่ให้เสียสมดุลของร่างกาย เมื่อกล้ามเนื้อหลังทำงานหนัก จะมีผลต่อแรงกดที่กระดูกและข้อต่อสันหลัง ทำให้เกิดอาการปวดหลังได้
- การยกวัตถุที่อยู่ต่ำกว่าระดับเข่าของผู้ยก หรือวางอยู่กับพื้นจะเป็นอันตรายต่อหลังได้ เพราะว่าเราต้องใช้แรงของกล้ามเนื้อมากในการยกวัตถุขึ้นเป็นระยะทางที่ยาว และต้องก้มหลังเพื่อที่จะยกของได้สะดวก
- มือจับหรือตำแหน่ง ยึดวัตถุที่ไม่มั่นคง จะทำให้การยกวัตถุเป็นไปด้วยความยากลำบากและควบคุมไม่ได้ และยกของได้น้ำหนักน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
- ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ อุณหภูมิที่ร้อนเกินไป ความเครียดจากการทำงานที่เร่งรีบเกินไป การขาดการพักผ่อน ล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดอาการปวดหลังจากการยกวัตถุได้ทั้งสิ้น วิธีการยกวัตถุที่ไม่เหมาะสม เช่น การยกแบบกระชากหรือกระตุกอย่างแรง เพื่อที่จะให้ได้น้ำหนักมากๆ หรือการยกที่มีการก้ม เอียง และบิดตัวพร้อมๆกัน มักจะทำให้ผู้ยกมีอาการบาดเจ็บของหลังได้เสมอๆ
ยกของอย่างไร จะได้ไม่เสี่ยงปวดหลัง
ปรับปรุงสภาพการทำงาน
เป็นวิธีการป้องกันอาการปวดหลังได้ดีที่สุด
- โดยการสำรวจน้ำหนักของวัตถุ ถ้า วัตถุที่จะยกมีน้ำหนักมากเกินไป ให้ใช้วิธีแบ่งน้ำหนักเป็นหลายส่วน ถ้าแบ่งไม่ได้ ให้ไปเรียกคนอื่นมาช่วยกันยก หรือใช้เครื่องมือช่วย
- จัดโต๊ะหรือจุดที่จะยกวัตถุไปวางให้ใกล้ตัวมากที่สุด เพื่อที่ขณะยกวัตถุไปวาง ระยะห่างจากวัตถุและลำตัวจะสั้นที่สุด
- จัดหาชั้น บันได เก้าอี้ หรือบล็อกที่มีความสูงเหนือเข่าไว้วางวัตถุที่มีน้ำหนักมาก เพื่อที่จะลดระยะทางของการยก
- ใช้กล่องที่มีมือจับที่มั่นคง ไปหาซื้อกล่องแบบมีหูจับมั่นคงมาใช้ เพื่อบรรจุของก่อนยก จะดีกว่ายกกล่องทั่วๆไปที่ไม่มีที่ยึดจับ
- ปรับปรุงสภาพการทำงานอื่นๆ เช่น ปรับอุณหภูมิของห้องให้เหมาะสม จัดตารางเวลาการทำงานไม่ให้เร่งรีบจนเกินไป และหมุนเวียนตำแหน่งเพื่อมิให้ทำงานซ้ำซาก เพื่อป้องกันอาการล้าจากการยก
- ทดสอบน้ำหนักวัตถุก่อนยก ถ้ารู้สึกว่าหนักเกินกำลังให้หาผู้ช่วย
- อย่ายกแบบกระตุกหรือกระชาก การยกแต่ละครั้งต้องควบคุมได้- อย่าบิดหรือเอียงตัวในขณะยก ถ้าต้องการเปลี่ยนทิศทางการยก ให้หมุนทั้งตัวโดยการทำซ้าย-ขวาหันแบบทหาร
- ขณะยกให้วัตถุอยู่ใกล้ตัวมากที่สุด เพื่อลดแรงที่กระทำต่อกระดูกสันหลัง
- ถ้ามีความรู้สึกเมื่อล้าให้พักสักครู่
- ไม่จำเป็นต้องยกแบบหลังตรง งอเข่า งอสะโพกเสมอไป ปัจจัยอื่น เช่น การยกให้ถูกวิธี และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เช่น น้ำหนักของวัตถุมีความสำคัญกว่า
- ออกกำลังด้วยการเดิน การวิ่ง หรือการว่ายน้ำ อย่างน้อย ๑๕ นาที ๓ ครั้งต่อสัปดาห์ จะช่วยให้กล้ามเนื้อของหลังมีความแข็งแรง ยืดหยุ่น และทนทานมากขึ้น
จำไว้ว่าอย่ายกวัตถุหนักเกินกำลัง
อย่ายกวัตถุหนักที่วางอยู่บนพื้น
อย่าบิดหรือเอียงตัวขณะยก
ยกวัตถุให้ชิดตัวมากที่สุด
เหนื่อยหรือเมื่อยนักให้พักเสียก่อน
ทำเช่นนี้ท่านจะปลอดจากอาการปวดหลังจากการยกได้ครับ
อย่ายกวัตถุหนักที่วางอยู่บนพื้น
อย่าบิดหรือเอียงตัวขณะยก
ยกวัตถุให้ชิดตัวมากที่สุด
เหนื่อยหรือเมื่อยนักให้พักเสียก่อน
ทำเช่นนี้ท่านจะปลอดจากอาการปวดหลังจากการยกได้ครับ
แหล่งข้อมูล
Proper lifting techniques
Back Pain after Lifting
http://www.freemd.com/back-pain-after-lifting/overview.htmProper lifting techniques
http://www.mayoclinic.com/health/back-pain/LB00004_D
ยกอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง
ยกอย่างไรไม่ให้ปวดหลัง
http://men.mthai.com/content/5423
ภาพประกอบจาก
Posture_Proper_Lifting_Technique_L.jpg
http://www.smartdraw.com/examples/view/posture+proper+lifting+technique/
ภาพประกอบจาก
Posture_Proper_Lifting_Technique_L.jpg
http://www.smartdraw.com/examples/view/posture+proper+lifting+technique/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น