วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ไอค้อกแค้กรำคาญใจ ทำอย่างไรจึงจะหายขาด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



“ไอค้อกแค้กมาตลอด ยิ่งเจออากาศเย็นๆ ก้อยิ่งไอเข้าไปใหญ่ ไม่ได้นอนเลย กินยาตั้งหลายอย่าง ก้อไม่หาย ทำอย่างไรดี ?”

เราคงเคยบ่นอย่างนี้  ไม่ไหวเลย ไปหาหมอก้อแล้ว หายามากินก้อเย้อะ ก้อยังไม่ดีขึ้นเลย ถ้าเรามีโอกาสได้คุยว่าอาการไอที่เราเป็นอยู่นั้น จริงๆแล้วอะไรคือสาเหตุ เพราะไอคืออาการไม่ใช่โรค หากเราไปจัดการที่ต้นเหตุ คือรักษาโรคและกำจัดปัจจัยกระตุ้นให้เกิดอาการไอ ร่วมด้วยจะมีอะไรบ้าง ? เสียงไอจากเราก้อจะเงียบสงบ กลับมาหายใจได้สบาย ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป งั้นมาฟังเภสัชกรสรุปให้ฟังถึงต้นเหตุของโรคที่มีอาการไอร่วมด้วยจะมีอะไรบ้าง นะ? เพื่อเราจะได้ไปรักษาให้หายไอต่อไป


อาการไอ ต้องๆๆๆๆๆ รู้สาเหตุ เพื่อไปรักษาให้หายไอ
อาการไอคือกลไกธรรมชาติ ที่ร่างกายเราใช้ปกป้องทางเดินหายใจและร่างกายเรา ให้ได้อากาศบริสุทธิ์เข้าไปดูแลทั่วร่าง หากเรามีอาการไอค้อกแค้ก ตลอดเวลาให้รำตาญใจ ลองสังเกตุก่อนไหม ว่าเรากำลังตกอยู่ในอาการไอของโรคใดกันนะ?


ไอตามหลังไข้หวัด
ระหว่างเราเป็นไข้หวัด ไม่ว่าจะเริ่มด้วยเป็นไข้หวัดธรรมดาหรือร่วมด้วยการติดเชื้อแทรกซ้อนตามมา เรามักมีอาการเป็นไข้อุณหภูมิสูง เจ็บคอ น้ำมูกไหล  รวมถึงไอด้วย หากเราได้รับการวินิจฉัยได้ถูกต้อง รวมถึงรับยาครบถ้วน ดูแลร่างกายระหว่างเจ็บป่วยให้ดีๆ  อาการต่างๆจะบรรเทาลงหลังจากร่างกายเราที่แข็งแรงขึ้นๆ

ถ้าเราเป็นหวัดมาก่อน จะมีอาการ ไอจากหวัดจะหายได้ ภายใน 2-3 สัปดาห์ แต่จะมีประมาณร้อยละ 20 ที่ไออยู่เป็นเดือนๆ

สาเหตุจริงๆแล้ว พอเรามีอาการไข้หวัด ทางเดินหายใจเราก้อจะอ่อนไหวเป็นพิเศษ คือถ้ามีอะไรมากระตุ้นนิดหน่อย ก้อจะไอได้ง่าย  ซึ่งเป็นกลไกปกติของเราเอง เพื่อปกป้องร่างกายทีอ่อนแอระหว่างนี้ ให้ได้รับอากาศบริสุทธิ์มากที่สุด ไม่มีเสมหะ สารก่อภูมิแพ้ หรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆเข้ามาภายในร่างเราได้  ระหว่างนี้เนื่องจากร่างกายเราจะเกิดภาวะหลอดลมไวขึ้นกว่าปกติชั่วคราว หรือไม่ก็การทำงานของเยื่อบุหลอดลมยังไม่กลับสู่ปกติ

พอเราหายจากโรคหวัด จะสังเกตได้ว่าจะไอห่างๆ แบบนานๆครั้ง จนแทบลืมว่ามีอาการไอหลงเหลืออยุ่ แต่เมื่อไปกระทบอากาศเย็น ควันบุหรี่ ฝุ่นละออง เหล่านี้ทีไร อาการไอก้อจะเริ่มต้น และตามมาเป็นชุดๆ ตราบเท่าที่เรายังไม่ไปจัดการสาเหตุที่กระตุ้นให้เกิดอาการไอ  ทำให้เรารู้สึกรำคาญและหวั่นวิตกว่ายังเป็นหวัดไม่หายดี

การรักษาที่ผมจะเน้นย้ำกับคนไข้เสมอๆ ก้อคือพยายามรักษาร่างกายให้แข็งแรงมีภูมิต้านทานตามธรรมชาติ เพื่อให้เราไม่ค่อยเป็นหวัด หรือถ้าเป็นมาแล้วก้อจะฟื้นสภาพได้ไว ยาที่ให้มักจะเป็นยาบรรเทาอาการ เช่นยาละลายเสมหะ ส่วนยาระงับไอจะให้เมื่อจำเป็นเท่านั้น ถ้า ไอมากๆ อาจลองให้ยาสเตอรอยด์สูดร่วมกับยาขยายหลอดลม การเลือกใช้ยาแก้ไอที่ได้ผลและปลอดภัยจะมาสรุปให้อีกต่อไป จะช่วยให้หายไอ ร่างกายเราไม่เหนื่อย


โรคโพรงจมูกและไซนัสอักเสบ
คนไข้ที่มีโรคดังกล่าวมาก่อนแล้ว อาการไอมักเกิดจาจะมีเสมหะไหลลงคอหรือ มีคออักเสบติดเชื้อร่วมด้วย เมื่อมีคออักเสบจะยิ่งระคายเคือง ถูกกระตุ้นให้ไอได้ง่าย

เมื่อไปหาหาหมอและเราได้รับการยืนยันแล้วว่ามีไซนัสอักเสบแน่นอนแท้แหล่ว  การรักษาจะให้ยาลดอาการคัดจมูก และยาปฏิชีวนะควบคู่ไปด้วยเพื่อยับยั้งการติดเชื้อแบคทีเรีย หากมีโรคภูมิแพ้ก็ควรรักษาแบบภูมิแพ้ไปด้วย เมื่อการติดเชื้อลดลง โพรงจมูกไซนัสไม่มีการสะสมเชื้อ อาการไอก็จะค่อยๆหายไปตามลำดับ


โรคหอบหืด
คนไข้เวลาหายใจจะมีเสียงดังวี๊ดๆ หรือหอบอย่างมาก เกิดจากหลอดลมตีบร่วมกับอาการไอ ในคนไข้ที่มีประวัติหอบหืดหรือภูมิแพ้มาก่อน การรักษาจะต้องบรรเทาอาการโรคหืดร่วมด้วย โดยใช้ยาสูดสเตอรอยด์ร่วมกับยาขยายหลอดลม อาการไอก็จะดีขึ้นอย่างรวดเร็ว รายละเอียดยาต่างๆรวมทั้ง ยาสูดสเตอรอยด์ร่วมกับยาขยายหลอดลมมีรายละเอียดมาก ว่าจะใช้อย่างไรให้ปลอดภัย เช่นกันจะมารวมรายละเอียดต่อไป

 
โรคกรดไหลย้อน 
โรคใหม่ทันสมัยยอดฮิตนี้ จะทำให้เกิดอาการไอหรือเสียงแหบได้ ผู้ป่วยที่เป็นโรคมาก่อนแล้วมีอาการไอร่วมด้วย ต้องให้การรักษาโรคกรดย้อนไปก่อน แล้วค่อยให้ยาบรรเทาอาการไอควบคู่ไปเพื่อดูผลการรักษาหลังจากนั้น ตามไปดูคำแนะนำในการรักษาโรคนี้อย่างครบสูตรได้ ในแหล่งข้อมูลข้างล่างที่เตรียมไว้ให้แล้วครับ


ไอจากยาลดความดันกลุ่ม Angiotensin Converting Enzyme Inhibitor (ACEI)
มักจะพบในผุ้ป่วยที่มีความดันสูงมาก่อนและควบคุมความดันด้วยยาตัวดังกล่าว พบได้บ่อยมาอาจถึงร้อยละ 10-40 แล้วแต่ประเภทของยาและอาการโรคต่างๆ ที่ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะมีอาการข้างเคียงจากยากลุ่มนี้

จะตรวจพบได้เมื่อคนไข้ได้กินยากลุ่มนี้ไปสักระยะจะค่อยๆ เกิดอาการไอขึ้นมา ผู้ป่วยมักบอกว่ามีอาการไอแห้งๆร่วมกับอาการคันคอยิบๆ วิธีรักษาคือเลิกใช้ยากลุ่มนี้ไป หากจำเป็นต้องใช้ยากลุ่มนี้ให้เลือกตัวที่ไอน้อยที่สุดหรืออาจต้องใช้ยาตัวอื่นมาช่วยคุมอาการไอ แต่ก็มักได้ผลไม่ดีนัก
 
ไอจากการสูบบุหรี่
  คนไข้กลุ่มที่คนที่สูบบุหรี่เป็นประจำจะมีถึง 3 ใน 4 ที่มีอาการไอ ถ้าไอมีเสมหะทุกวันเป็นปีๆ ก็เกิดจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง การหยุดบุหรี่และสูดยารักษาเฉพาะจะช่วยบรรเทาอาการได้ ส่วนผู้ป่วยกลุ่มนี้ที่เคยไอเรื้อรังอยู่เดิม

หากอาการไอที่เคยเป็นอยู่มีลักษณะเปลี่ยนไป จากเดิมเช่น ปริมาณเสมหะมากขึ้น สีเสมหะเปลี่ยนไป หรือไอถี่ขึ้น มักเป็นสัญญาณเตือนว่ามีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้น เช่น หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน มีการติดเชื้อของหลอดลม หรือมะเร็งปอดเป็นต้น ถ้ามาที่ร้าน ผมจะยกมือไหว้ขอให้เริ่มต้นเลิกบุหรี่จะดีกว่า เพราะสุขภาพจะดีขึ้น ได้รับยาไปก้อจะหายไอได้เร็ว ดีกว่าสูบไป ไอไป เฮ้อคนหนอคน


วัณโรคปอด
คุณๆอาจหลงลืมโรคนี้กันไปแล้ว แต่ช่วงหลังๆเมื่อมีการอพยพย้ายถิ่นจากแรงงานต่างชาติที่เป็นโรคนี้กันมา ก้อเผื่อแผ่มาทำให้คนไทยเป็นวัณโรคกันมากขึ้นๆ โดยคุณอาจสูดเอาเชื้อจากผู้ป่วยที่เราไม่รู้จักโดยบังเอิญ เมื่อไรเราก็ไม่รู้ แล้วต่อมาร่วมปีหรือ หลายๆปีค่อยปรากฏอาการขึ้นมา การวินิจฉัยส่วนใหญ่ไม่ยากครับ เพราะเอ็กซเรย์ปอดสามารถเห็นรอยโรคได้ดี แต่ต้องให้ยาต่อเนื่องยาวนานร่วมด้วย

อย่าใช้ยาแรงๆ เพื่อกดอาการไอเลย เพราะการไอเป็นสัญญานเตือนของการป้องกันชีวิตคุณ

เวลาคนไข้ที่มีอาการไอดังกล่าว มาที่ร้านยาหากเภสัชกรได้พยายามซักถามอย่างละเอียดให้ได้ว่าไอมีสาเหตุมาจากอะไร หลายครั้งเราจะแนะนำให้คุณไปพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อรับการตรวจเพิ่ม ถึงขั้นเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ของปอด ส่องกล้องตรวจในหลอดลม ไม่ใช่เพื่อผลักภาระให้คุณไปเหนื่อยและเสียเงินแต่อย่างใด แต่เราต้องการตอบให้ได้แน่ว่า ไอจากอะไรกันแน่ เพื่อรักษาชีวิตคุณที่ต้นเหตุ จะปลอดภัยกว่าและได้ผล

อย่าได้ร้อนใจเลยที่เภสัชกรจะใจเย็นและตั้งใจตั้งใจซักถามคุณอย่างละเอียด เพื่อแสวงหาคำตอบที่ดีที่สุดคือ หาต้นเหตุ ของการไอให้ได้ เพื่อให้คำแนะนำที่ครบถ้วนและอาจจะจ่ายยาที่ได้ผลและปลอดภัยที่เพียงพอ ทำให้คุณหายไอ กลับไปใช้ชีวิตอย่างมีความสุขได้ตลอดไป

และขอความกรุณาอย่าเคืองใจในตัวเภสัชกรเลย ถ้าเราจะงดที่จะจ่ายยาแก้ไอแบบแรงๆ อย่างที่คุณคาดหมายไว้  เพื่อให้คุณหายไอก้อจริง แต่ว่าร่างกายคุณก้อจะเหนื่อยมาก ทั้งยาที่ไปกดการไอและสาเหตุของโรคที่ซ่อนอยู่ก้อไม่ได้รับการรักษา  ซ้ำร้ายคุณต้องจะเสียเงินมาแลกกับยาแก้ไอตัวแรงๆราคาแพงๆได้  และเสียเวลาที่จะกลับไปมีสุขภาพดีได้อีก เภสัชกรชุมชนที่ทำหน้าที่เช่นนี้ ก้อเพื่อจะให้ทางเลือกที่ดีที่สุดเพื่อให้คุณๆได้หายจากโรคต้นเหตุและบรรเทาอาการไอที่เป็นปลายน้ำ พวกเราห่วงใยชีวิตคุณดุจญาติผู้ใหญ่ใกล้ชิดเสมอ

ตอนหน้าจะเอาใจทุกท่านที่ตามติดบทความชุดนี้มา โดยเปิดตู้ยา เอายาแก้ไอที่ได้ผลและปลอดภัย มาแจกแจงให้ฟังว่าตัวใด น่าใช้และปลอดภัยครับ


แหล่งข้อมูล


•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 26 กพ. 2556


ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ


การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง


บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

ยาที่บรรเทารักษาการไอที่ได้ผลและปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,


ลูกรักมีอาการไอเรื้อรัง รักษา ป้องกันอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ลูกมีอาการไอ รักษาหายได้แต่ต้องรุ้สาเหตุ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ไอมาตั้งนานแล้ว ทำไมไม่หายซักที โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,


คู่มือดูแลรักษากลุ่มโรคและอาการภูมิแพ้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,




Clinical Practice Guidelines: COUGH,  The Royal Children's Hospital, Melbourne http://www.rch.org.au/clinicalguide/cpg.cfm?doc_id=9744


Coughs, WebMD , http://www.emedicinehealth.com/coughs/article_em.htm


Cough, NetDoctor.co.uk , http://www.netdoctor.co.uk/health_advice/facts/cough.htm


Your child’d cough, KidsHealth,http://kidshealth.org/parent/general/eyes/childs_cough.html


ศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ,ไอ บอกสุขภาพลูก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.elib-online.com/doctors51/child_fever001.html


ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ ทำไมลูกไม่หายไอสักที, วิชัยยุทธจุลสาร, ฉบับที่ 36 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 2550


ผศ.นพ.จักรพันธ์ สุศิวะ โรคไอเรื้อรังในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ม.มหิดล


ยาแก้ไอ, Thailabonline , http://www.thailabonline.com/drug/drug9.htm


ภก.พนิดา จารุศิลาวงศ์, ยาแก้ไอ,หมอชาวบ้าน เล่ม : 2 เดือน-ปี : 06/2522, http://www.doctor.or.th/node/5109


นพ. สิทธิ์เทพ ธนกิจจารุ,ไอเรื้อรัง, วิชัยยุทธจุลสาร  ฉบับที่ 35 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม 2549, http://www.vichaiyut.co.th/html/jul/35-2549/p29-31_35.asp


จงรักษ์ อุตรารัชต์กิจ และ ผศ.นพ.อรรถพล เอี่ยมอุดมกาล, วิธีการระบายน้ำมูกในโพรงจมูก,  หน่วยโรคระบบการหายใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  , http://www.oknation.net/blog/DrPon/2009/12/16/entry-1



and

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาการไอ อยากหายขาด ต้องทราบสาเหตุ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


“ไอ มานานแล้ว เหนื่อยมากเลย กินยาตั้งหลายอย่าง ก้อไม่หาย ทำอย่างไรดี คุณเภสัชรูปหล่อ?”


ในคนไข้ผู้ใหญ่ที่มาไอค้อกแค้กหน้าร้านยาของผม มักจะมาด้วยอาการ 2 ลักษณะคือ คนไข้มีอาการหวัดเจ็บคอร่วมกับมีอาการไอ เมื่ออาการหวัดหายดีขึ้น พร้อมๆกับอาการไอก้อจะค่อยๆหายไป ส่วนผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรัง ถ้าอยากให้หายต้องให้การรักษาต้นเหตุไปพร้อมกับบำบัดอาการไอไปด้วย ส่วนสาเหตุก้อมีได้มากมาย เป็นได้ตั้งแต่ทางเดินหายใจอ่อนไหวได้ง่ายตามหลังการเป็นหวัดธรรมดา จนกระทั่งโรคต่างๆที่ต้องการรักษาเฉพาะที่หรือโรคร้ายอื่นๆที่อาจซ่อนแฝงตามมาเช่น มะเร็งปอด

วันนี้เราจึงมาทบทวนให้คุณๆที่รักได้ตรวจสอบตัวเองว่าเมื่อมีอาการไอ เมื่อไรจะเข้าข่ายไอเรื้อรัง จะเริ่มต้นซื้อยากินเอง หรือต้องไปพบแพทย์เมื่อไร รวมทั้งแนวทางวินิจฉัยและรักษาอย่างไรเพื่อจะไม่ต้องมาไอให้รำคาญจิตกันต่อไป


ไออย่างไร นานแค่ไหนถึงจะเรียกว่าไอเรื้อรัง ?
ถ้าติดตามบทความก่อนหน้านี้มา จะทราบว่าเรื่องไอเป็นเรื่องธรรมชาติ จริงหรือ ก้อเพราะว่า อาการไอจริงๆแล้ว อาการไอที่ไม่หายดังกล่าวจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ


1.    อาการหวัดเจ็บคอร่วมกับมีอาการไอ เมื่ออาการหวัดหายดีขึ้น ขณะพร้อมๆกับอาการไอก้อจะค่อยๆหายไป ของอาการไอเนื่องจากหวัดมักหายภาย ใน 3 สัปดาห์ และอย่างช้าก็มักไม่เกิน 2 เดือน พอภูมิต้านทานดีขึ้นโรคหวัดค่อยๆหายไป เสียงไอก้อจะเบาลง ความถี่ของการไอก้อห่างนานออกไปเรื่อยๆจนคนไข้ลืมไปแล้วว่าเคยมีอาการไอมาก่อน กลับไปมีคุณภาพชีวิตดีมีความสุขอีก


2.    อาการไอเรื้อรัง คนไข้มักได้รับการบำบัดอาการไอมาก่อนแล้ว แต่ไม่ยอมหาย อาจไปหาหมอมาก่อน ไม่ดีขึ้น มาหาเภสัช ไม่ดีอีกเปลี่ยนร้านยากะไปโรงพยาบาลเป็นงานประจำก้อมี ทำงานไปก้อไอไปอยู่เป็นเดือนๆ เช่นนี้เราเรียกว่าอาการไอเรื้อรัง ถ้าอยากให้หายต้องให้การรักษาต้นเหตุไปพร้อมกับบำบัดอาการไอไปด้วย ส่วนสาเหตุก้อมีได้มากมาย เป็นได้ตั้งแต่อาการไอเนื่องจากภาวะหลอดลมทางเดินหายใจอ่อนไหวได้ง่ายตามหลังการเป็นหวัดธรรมดา จนกระทั่งโรคต่างๆที่ต้องการรักษาเฉพาะที่ หรือโรคร้ายอื่นๆที่อาจซ่อนแฝงตามมาเช่น มะเร็งปอด


ระยะเวลาไอที่เข้าข่ายกลุ่มไอเรื้อรังอาจแตกต่างกันไป อาจนับตั้งแต่ 3 สัปดาห์จน กระทั่งถึง 8 สัปดาห์ ระยะเวลาดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อ แยกอาการไอจากหวัดส่วนใหญ่ออกไปก่อน เพราะร้อยละ 70-80 ของอาการไอเนื่องจากหวัดมักหายภาย ใน 3 สัปดาห์ และอย่างช้าก็มักไม่เกิน 2 เดือน การที่ผู้ป่วยบางรายหายไอช้าเนื่องจากเยื่อบุผิวหลอดลมในทางเดินหายใจอาจยังไม่เข้าสู่สภาวะปกติหรือมีภาวะหลอดลมไวเกินไปหลงเหลืออยู่
 

เมื่อไหร่ เราควรไปตรวจ ?


ถ้าไอไม่หายใน 3 สัปดาห์ ก็ควรพบแพทย์ได้เลย เพื่อจะได้ทบทวนอาการ ประวัติความเจ็บป่วยใหม่ทั้งหมด ว่าเริ่มต้นเป็นมาอย่างไร มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่เป็นอย่างไร ทานยาอะไรอยู่ พร้อมทั้งตรวจร่างกายโดยละเอียด เพราะโรคที่เป็นเหตุให้ไอเป็นได้ตั้งแต่บริเวณหู คอ จมูก หลอดลม ปอด หัวใจ กระบังลม และทางเดินอาหารส่วนบน


ส่วนใหญ่ถ้าคนไข้ไม่มีอาการโรคหวัดนำมาก่อนเลย คุณอาจได้รับการขอตรวจร่างกายอย่างละเอียดมากๆเพื่อแจกแจงลักษณะการไอของแต่ละโรคเพื่อสรุปหาต้นเหตุที่แท้จริง อย่าได้รำคาญหรือคิดว่าเรากำลังถ่วงเวลาแต่อย่างใด ระหว่างการไปตรวจรักษา อาจารย์หมอใจดีรวมทั้งทีมเภสัชกรจะให้ข้อมุลคุณอย่างครบถ้วนเพื่อบอกถึงสาเหตุของโรค แนวทางการรักษา ยาที่ใช้ การปฎิบัติตัวให้หายไอต่อไป

ตอนหน้า เรามาดูว่า ต้นเหตุของโรคที่มีอาการไอร่วมด้วยจะมีอะไรบ้าง ? โรคที่พบบ่อยๆว่ามีอาการไอร่วมด้วย ถ้าเราไปจัดการที่ต้นเหตุได้ ต่อไปเสียงไอจากคุณก้อจะเงียบสงบ ไปได้ ไม่ต้องกังวลใจอีกต่อไป


แหล่งข้อมูล


•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 26 กพ. 2556


ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ


การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง


บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

ยาที่บรรเทารักษาการไอที่ได้ผลและปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,


ลูกรักมีอาการไอเรื้อรัง รักษา ป้องกันอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ลูกมีอาการไอ รักษาหายได้แต่ต้องรุ้สาเหตุ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ไอมาตั้งนานแล้ว ทำไมไม่หายซักที โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,


คู่มือดูแลรักษากลุ่มโรคและอาการภูมิแพ้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,




Clinical Practice Guidelines: COUGH,  The Royal Children's Hospital, Melbourne http://www.rch.org.au/clinicalguide/cpg.cfm?doc_id=9744


Coughs, WebMD , http://www.emedicinehealth.com/coughs/article_em.htm


Cough, NetDoctor.co.uk , http://www.netdoctor.co.uk/health_advice/facts/cough.htm


Your child’d cough, KidsHealth,http://kidshealth.org/parent/general/eyes/childs_cough.html


ศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ,ไอ บอกสุขภาพลูก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.elib-online.com/doctors51/child_fever001.html


ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ ทำไมลูกไม่หายไอสักที, วิชัยยุทธจุลสาร, ฉบับที่ 36 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 2550


ผศ.นพ.จักรพันธ์ สุศิวะ โรคไอเรื้อรังในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ม.มหิดล


ยาแก้ไอ, Thailabonline , http://www.thailabonline.com/drug/drug9.htm


ภก.พนิดา จารุศิลาวงศ์, ยาแก้ไอ,หมอชาวบ้าน เล่ม : 2 เดือน-ปี : 06/2522, http://www.doctor.or.th/node/5109


นพ. สิทธิ์เทพ ธนกิจจารุ,ไอเรื้อรัง, วิชัยยุทธจุลสาร  ฉบับที่ 35 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม 2549, http://www.vichaiyut.co.th/html/jul/35-2549/p29-31_35.asp


จงรักษ์ อุตรารัชต์กิจ และ ผศ.นพ.อรรถพล เอี่ยมอุดมกาล, วิธีการระบายน้ำมูกในโพรงจมูก,  หน่วยโรคระบบการหายใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี  , http://www.oknation.net/blog/DrPon/2009/12/16/entry-1


·         รูปประกอบจาก

และ

วันเสาร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

มีประจำเดือน แล้วไปดำน้ำได้มั้ย? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


คุณผู้หญิงเมื่อจะได้ไปดำน้ำ ก้อจะ happy กันทุกคน แต่พอรุ้ว่าจะมีประจำเดือนในช่วงนั้น  ก้อจะวิตกกังวลไปหมด กลัวว่าจะสกปรก วิตกว่าจะไม่สนุก ที่ขนาดหนักเลยก้อกลัวว่าเลือดประจำเดือนจะไปมีผลล่อฉลามอีกหรือไม่เนี่ย? มาฟังคำตอบจากเภสัชกรในเรื่องนี้กัน

ประจำเดือนเป็นเรื่องธรรมชาติ
การมีระดูหรือมีรอบประจำเดือนถือเป็นเรื่องธรรมชาติของผู้หญิง ซึ่งเกิดจากการลอกหลุดของชั้นผิวด้านในของมดลูก และย่อยสลายเกิดเป็นเลือดไหลออกมาจากช่องคลอด ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หรือภาวะปกติของหญิงวัยเจริญพันธุ์ทุกๆคน รวมทั้งคุณนักดำน้ำสาวอีกด้วย
ผนังมดลูกที่ไม่ได้ใช้ก้อจะลอกออกมาเป็นรอบประจำเดือน  ไม่ใช่เลือดเสียแต่อย่างใด ไม่ใช่สิ่งสกปรกที่น่าวิตกกังวล เป็นเรื่องธรรมชาติของเราเองนี่นา

มีประจำเดือนแล้วห้ามไปดำน้ำเหรอ?
มีข้อห้ามจากความเชื่อเดิมๆมากมาย เช่น  ห้ามออกกำลังกายเวลามีประจำเดือน? เวลามีประจำเดือน ห้ามอาบน้ำเย็นจริงหรือไม่? เราขอแนะนำให้คุณตามไปทำความเข้าใจเรื่องส่วนตั้ว ส่วนตัวได้ที่นี่ ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับเรื่องประจำเดือน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,
ส่วนคำตอบของคำถามนี้ ขอตอบว่า เป็นความเชื่อผิดๆ เพราะในเวลาที่มีประจำเดือนนั้น เยื่อบุโพรงมดลูกที่หลุดลอกตัวออกมาจะมีสารที่เรียกว่า พลอสตาแกลนดิน ออกมาด้วย สารนี้จะทำให้มดลูกบีบรัดตัวรุนแรงจนปวดประจำเดือน

ถ้าคุณสาวๆหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอแล้วก็จะมีการหลั่งสารที่เรียกว่า เอ็นโดฟิน ออกมา สารเอ็นโดฟินนี้จะทำให้เกิดความสุข ผ่อนคลาย หายเครียด และที่สำคัญคือ แก้ปวดได้ทุกชนิด โดยไม่ต้องไปซื้อหายาแก้ปวดมารับประทาน

ความจริงแล้ว คุณผู้หญิงที่ออกกำลังกายเป็นประจำ ทั้งระหว่างก่อนไปดำน้ำหรือระหว่างอยู่บนเรือ Liveabroad กลับจะยิ่งช่วยทำให้สมรรถนะร่างกายดีขึ้น ใช้อากาศใต้น้ำได้ลดลง ดีกว่าเดิมอีกนะ

มีประจำเดือนแล้วเสี่ยงต่อการเกิด Decompression Sickness?
จริงหรือไม่ คุณผู้หญิงที่มีประจำเดือนระหว่างการดำน้ำจะมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด DCS มากกว่าปกติ ตามทฤษฎีขงอกายภาพร่างกายในการมีประจำเดือน ช่วงนั้นคุณผู้หญิงมักจะมีฮอร์โมนเพศที่ทำให้เกิดการสะสมของเหลวในร่างกายทำให้เกิดการบวมน้ำได้มากกว่าในเวลาปกติ  ซึ่งถ้าเรามีปริมาณน้ำในร่างกายมาก ก็จะทำให้การกำจัดไนโตรเจนทำได้ช้าลง

 แต่ความจริง ไม่ใช่รายงานใดๆ ว่าการมีประจำเดือนจะมีผลต่อการสะสมไนโตรเจน หรือการขจัดออกที่มีผลต่อสมรรถนะในการดำน้ำ ให้เราเองหมั่นทบทวนบทเรียนเรื่องการขึ้นลงใต้น้ำอย่างปลอดภัย รักษาร่างกายให้แข็งแรง ระหว่างไปดำน้ำหากมีระดู หรืออาการปวดประจำเดือน ให้รีบปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อรับฟังคำแนะนำในการปฎิบัติตัวระหว่างเดินทางไปดำน้ำ แค่นี้ก้อปลอดภัยเพียงพอแล้วหล่ะครับ

น่าจะสบายใจได้แล้วนะครับ คุณผู้หญิงจะได้ไปดำน้ำอย่างมีความสุขทุกๆไดฟ์ ตอนหน้าเรามาดูว่าการกินยาเม็ดคุมกำเนิดจะมีผลต่อดำน้ำหรือเปล่า? รวมทั้งเลือดประจำเดือนจะไปมีผลล่อฉลามให้เข้ามาทำร้ายเราหรือไม่เนี่ย?

แหล่งข้อมูล

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียน และจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและCopy url address ไปด้วย เพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้นำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

ปวดประจำเดือนเรื่องน่าเบื่อประจำทุกเดือน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับเรื่องประจำเดือน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ปวดประจำเดือนเรื่องน่าเบื่อประจำทุกเดือน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ไปดำน้ำ แล้วปวดประจำเดือน ทำไงดีคะ? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

Menstruation During Diving Activities, Divers Alert Network, http://www.diversalertnetwork.org/medical/faq/Menstruation_During_Diving_Activities

Can You Dive on Your Period? Menstruation and Scuba Diving

Is Scuba Diving Safe During Menstruation?,


Menstruation and the Risk of Shark Attack,

ภาพประกอบจาก
http://aquaviews.net/scuba-guides/scuba-diving-safe-menstruation/#

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ผื่นคันเวลาไปดำน้ำ เกิดจากอะไร?



ปัญหาที่หลายๆ ท่านน่าจะเคยเจอ เวลาไปเล่นน้ำทะเล ตามแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ... หรือ จะเป็นการดำน้ำก็ตาม คืออาการผื่นคันตามผิวหนัง ในขณะที่อยู่ในน้ำ หรือ ขึ้นจากน้ำไม่นาน ... ชาวบ้านทั่วไป มักเรียกและเข้าใจว่า เป็นการคันจาก "แตนทะเล" ....... จริงๆแล้ว มันมีสาเหตุ จากอะไร และมีวิธีการรักษาอย่างไร ... วันนี้ จะมาคุยกันเรื่องนี้นะครับ


สาเหตุ
 Sea bather's eruption  หรือ แตนทะเลของคนไทย  นั้น ... สาเหตุหลักๆ นั้นมักจะมาจาก การสัมผัสกับ ตัวอ่อนของสิ่งมีชีวิตในทะเล พวก Cerenterate เช่น ตัวอ่อนของ Anemone , ตัวอ่อนของแมงกระพรุน  ซึ่งมีขนาดเล็กมาก แต่มี Nematocyte หรือเข็มพิษ ที่ทำให้เกิดอาการคัน แสบร้อนได้คล้ายก้บเวลาโดนแมงกระพรุน ....... ในกรณี ที่คนไทยเราเรียกว่า "แตนทะเล"  นั้น ....... อาจจะทำให้สับสนกับคำว่า " Sea Warps " ของทางตะวันตก ที่หมายถึง แมงกระพรุนชนิด Chironex fleckeri  ซึ่งจัดอยู่ในพวกแมงกระพรุนกล่อง ( Box jelly fish ) ที่มีพิษรุนแรง และพบว่ามีถิ่นอาศัยแถบ ออสเตรเลีย ฟิลลิปปินส์ ญี่ปุ่น ...... ส่วนในบ้านเรานั้น ไม่ได้เป็นถิ่นอาศัยตามธรรมชาติครับ ถ้าจะมีการพบหรือรายงานการพบเจอ น่าจะเป็นการมาตามกระแสน้ำโดยบังเอิญมากกว่า ... แต่ ในหัวข้อที่จะพูดถึงนี้ ต้องการจะอธิบายว่า  "แตนทะเล" ของคนไทย เป็นคนละเรื่องกับ Sea Warps ของฝรั่งเค้านะครับ

 
รูปอาการแผลรอยโรค ผื่น คัน บวม แดง จากอาการแพ้
จาก
 http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/picture-of-seabathers-itch


อาการ

ในขณะที่ลงเล่นน้ำ หากใส่เสื้อผ้า หรือ Wet Suit ตัวอ่อนของ Cerenterate ที่ว่า จะเข้ามาติดอยู่ใต้เสื้อผ้า หรือ Wet Suit ... ติดอยู่ตามผิวหนังหรือเส้นผม ... อาจจะเกิดอาการคันขึ้นระหว่างอยู่ในน้ำเลยโดยมักเกิดในบริเวณที่เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่ได้ปกคลุม  หรือ อาจจะเกิดเมื่อขึ้นจากน้ำ แล้วมีการไหลของน้ำออกจากเสื้อผ้า ,Wet Suit ทำให้มีช่องว่างระหว่างร่างกายกับชุดที่สวมใส่ลดลง ตัวอ่อนเหล่านั้นจึงสัมผัสกับผิวหนังมากขึ้น ประกอบกับอาจจจะมีแรงบีบมากขึ้น ... มีการถูไถบริเวณเสื้อผ้า รวมถึงชำระล้างร่างกายด้วยน้ำจืด ... จะเป็นการทำให้ Nematocyte ปลดปล่อยเข็มพิษออกมามากขึ้น ... ทำให้อาการแสบ คันตามร่างกายและผิวหนังนั้น มีมากขึ้น ซึ่งในกรณีนี้ มักมีอาการคันภายใต้ชุดที่สวมใส่อยู่    อาการคันและผื่นมักเกิดตามหน้าอก ข้อพับแขน ขาหนีบเป็นต้น  อย่างที่กล่าวข้างต้นว่า อาจจะรู้สึกเริ่มคันตั้งแต่อยู่ในน้ำ และคันมากขึ้นเมื่อขึ้นจากน้ำหรืออาบน้ำจืด อาการคันและผื่นอาจอยู่ต่อเนื่องยาวนานได้เป็นสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละคนมีความไวต่อการแพ้มากน้อยแค่ไหน  ........ และ อาการคันมักจะปรากฏบริเวณน้ำตื้นๆหรือใกล้ๆผิวน้ำ 

การดูแลรักษา

หากคิดว่า ตัวเองมีอาการคันจากการโดนตัวอ่อนของสัตว์ทะเลข้างต้น ... ให้ถอดเสื้อผ้า,Wet Suit  ที่สวมใส่ แล้วชำระล้างร่างกายด้วยน้ำทะเล (ที่คิดว่าไม่มีตัวอ่อนเหล่านั้นอยู่้ )  ห้ามขัดถูบริเวณที่มีอาการคัน  รวมถึง อย่าใช้ผ้าเช็ดตัว เช็ดหรือถูบริเวณนั้นๆด้วย
... ให้ใช้ น้ำส้มสายชู ผสมน้ำให้เจือจาง อาบหรือชำระล้างบริเวณที่คัน   หลังจากนั้นอาจใช้ TA lotion ทาบริเวณนั้นต่อ วันละสองถึงสามครั้ง   การทานยาแก้แพ้กลุ่ม  Anti Histamine ก็อาจจะช่วยในการลดอาการผื่นคันลงได้เช่นกัน ... แต่หากอาการรุนแรงมากกว่านี้ เช่น มีไข้ตัวร้อน หน้าตาบวม หายใจติดขัด แนะนำให้รีบนำส่งโรงพยาบาลจะดีที่สุดครับ

    สำหรับ สาเหตุผื่นคันผื่นๆในการลงเล่นน้ำทะเลนั้น ก็อาจจะเกิดได้จากการโดนกัดโดยสัตว์กลุ่ม Crustacean เล็กๆ หรือ ปาราสิตในทะเลได้เช่นกัน ... แต่สาเหตุที่พบบ่อย นั้นมากจาก สัตว์กลุ่มที่ผมยกตัวอย่างมาข้างต้น ... ก็นำข้อมูลมาแลกเปลี่ยนกับเพื่อนๆนักดำน้ำ ไว้ป้องกันและรักษาเบื้องต้นครับ ... ไปทะเลคราวหน้า จะได้ดูแลรักษาได้อย่างถูกวิธีครับ

ตอนต่อไปเราจะมาดูว่าหากมีอาการผื่นคันแพ้ทั้งจากแตนทะเล หรือแพ้จากสิ่งมีชีวิตต่างๆในทะเล จะต้องดูแลรักษา และใช้ยาอะไรต่อไปครับ

แหล่งข้อมูล

เรื่องโดย น.อ. คมสัน วุฒิประเสริฐ รน. (หมอเอ๋ สุขภาพกับการดำน้ำ) , ผื่นคันเวลาไปดำน้ำ หรือ เล่นน้ำทะเล, https://www.facebook.com/notes/สุขภาพกับการดำน้ำ-โดยหมอเอ๋/ผื่นคันเวลาไปดำน้ำ-หรือ-เล่นน้ำทะเล-sea-bathers-eruption-หรือ-แตนทะเลที่คนไทยนิย/235809049850974

Seabather's itch. Erythematous papules on the unexposed areas of a swimmer., 
http://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/picture-of-seabathers-itch


Tropical dermatology: Marine and aquatic dermatology, Vidal Haddad Jr., et al.,  MD, PhD
 , http://www.jaad.org/article/S0190-9622(09)00826-3/abstract