วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อาการปวดหูจากการดำน้ำ ทำไมจึงเป็นได้หล่ะ?



ไปดำน้ำครั้งนี้เป็นครั้งแรกในรอบสองปี หูบวมจนปวด ถึงเวลาทบทวนวิชาไปเจอบทความนี้ เขียนโดยครูปุ๊ย ผู้มีอันจะกินจากวงการดำน้ำ จึงอยากจะนำมาแบ่งปันกัน เพิ่อบรรเทาอาการหูบวมและปวดหู 

ส่วนการรักษาและยาที่ใช้ รอตอนต่อไป เด๋วไปกินยารักษาอาการหูบวมของตัวเองก่อน


ปวดหูจากการดำน้ำ ทำไมจึงเป็น?

ภาพอวัยวะในช่องหูของเรา ที่ใช้ในการควบคุมความดัน จาก http://images.lifescript.com/images/ebsco/images/si55550969.jpg

สำหรับนักดำน้ำแล้ว อาการปวดหูหรือที่บางคนเรียกว่าปวดแก้วหูนั้น เกิดขึ้นบ่อยมาก จนแทบจะพูดได้ว่า นักดำน้ำทุกคนต้องเคยเจอมาทั้งสิ้น อย่างน้อยก็หนึ่งครั้งในช่วงชีวิตของการดำน้ำ การปวดหูนี้เกิดขึ้นเนื่องจาก ความดันในหูส่วนกลางไม่เท่ากับความดันของอากาศหรือน้ำภายนอก


โดยปกติแล้วบริเวณหูส่วนกลาง ซึ่งเกิดจากช่วงต่อของกระดูกและเยื่อหู (แก้วหู) จะมีอากาศอยู่ และหูส่วนกลางนี้มีท่อ Eustachian เชื่อมต่อไปยังส่วนหน้าของลำคอ (throat) อากาศที่ผ่านไปมาในท่อนี้ เป็นตัวที่ช่วยปรับความดันในหูส่วนกลางให้เท่ากับความดันอากาศภายนอก เมื่อใดก็ตามที่ท่อ Eustachian ไม่ทำงานตามที่ควร ความดันในหูช่วงกลางจะแตกต่างกับความดันอากาศภายนอก ผลที่ตามมาคืออาการปวดหูหรือปวดแก้วหูนั่นเอง

 
ภาพอธิบาย: การเปลี่ยนแปลงความดันในช่องหูเรา จาก http://drugline.org/img/term/barotrauma-sinus-1654_3.gif

ปรับความดันให้สมดุลย์ ก้อไม่ปวดละ
การปวดหูนี้ โดยทั่วไปแล้วมักจะเกิดระหว่างที่นักดำน้ำดำลงสู่ใต้น้ำ และมักจะเกิดในช่วงการดำลงระยะแรก ๆ ทั้งนี้เนื่องจากในระดับนี้ ความดันอากาศภายนอกเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว อย่าลืมว่า ทุก ๆ 33 ฟุต (10 เมตร) ที่เราดำลงไปนั้น ความดันอากาศภายนอกจะเพิ่มขึ้นเท่ากับ 1 atmosphere (1 เท่า) เสมอ

ปกติแล้วเมื่อความดันอากาศเปลี่ยน ท่อ Eustachian จะเปิดเพื่อปรับให้ความดันอากาศบริเวณหูส่วนกลางเท่ากับความดันอากาศของน้ำทะเลภายนอก แต่เมื่อใดที่ท่อ Eustachian ไม่ทำงานหรือไม่เปิด ความดันอากาศของน้ำทะเลภายนอกจะเพิ่มสูงกว่าความดันอากาศภายในหูส่วนกลาง ทำให้เยื่อหูถูกดัน โค้งเข้าภายใน และเกิดการอักเสบ อันเป็นเหตุให้เกิดอาการปวดหู และอาจรุนแรงถึงขั้นอาเจียน มึนงงหรือสับสนได้

ที่จริงแล้ว เวลาที่เรานั่งเรือบินที่ขึ้นหรือลงเร็วไปนั้น เราก็มีโอกาสเกิดอาการเช่นนี้ได้ เพียงแต่ว่าอาการนั้นไม่รุนแรงถึงขั้นปวดหู ส่วนใหญ่จะเป็นเพียงแค่หูอื้อเท่านั้น

ไม่อยากปวดหู ต้องทำอย่างไร
ปัจจัยที่มีส่วนช่วยให้ท่อ Eustachian  ไม่เปิดได้แก่
• บุหรี่
• ภูมิแพ้  (allergies)
• ระบบหายใจส่วนบนอักเสบหรือมีการติดเชื้อ
• เยื่อบุจมูก (nasal polyps)
• เคยมีปัญหาที่รุนแรงบริเวณใบหน้า (previous facial trauma)
• Clear หูรุนแรงเกินความจำเป็น

ตอนหน้ามาดูว่าอาการอะไร ที่อาจจะเกิด จะรู้ได้อย่าไงรว่าแย่แล้ว ควร skip dive หรือหายามากินบรรเทาดีน้า 


แหล่งข้อมูล


Scuba Diving: Ear Pain, E medicine Health,

ใช้ยาหยอดหู ปลอดภัย หายจากโรค โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

นายแพทย์จรัล  กังสนารักษ์, การใช้ยาหยอดหู,

ยาสำหรับหู, ฝ่ายเภสัชกรรม  โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์  ,
http://www.samrong-hosp.com/2012-01-18-07-25-53/2012-01-18-07-23-58/1374-ear-drop

อาการปวดหูจากการดำน้ำ, ครูปุ๊ย,  http://www.siamscubadiving.com/content/view.php?id=25&cat=article

ผศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, หูชั้นนอกอักเสบ...ปวดหูจัง ทำไงดี, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.rcot.org/data_detail.php?op=knowledge&id=24

แพทย์หญิง วัชราภรณ์ บัวโฉม, น้ำเข้าหู (Swimmer’s ear), แพทย์ หู คอ จมูก,
http://haamor.com/th/น้ำเข้าหู/

หูอื้อหมายถึงอะไร? มีกี่ชนิด? วินิจฉัยและรักษาอย่างไร?,http://healthfood.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=57&id=19308

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น