วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

Vicious Cycle ทำไมโรงพยาบาลกรุงเทพถึงรุ่ง ร้านยาราคาถูกถึงอันตราย

มีคำถามหนึ่งว่าทำไมองค์กรจึงต้องการกำไรที่สมเหตุผลในการไปพัฒนาคุณภาพร้านและการบริการ ทำไมร้านยาประเภท Discount Drugstore ที่ขายราคาต่ำติดดินโดยไม่คำนึงถึงต้นทุน จึงเป็นอุปสรรคในการพัฒนาวงการ Retail Pharmacy

เรามาดูตัวอย่าง Best Practice จาก อาจารย์ นายแพทย์ พงศ์ศักดิ์ วิทยากร หนึ่งในผู้นำผู้ขยายอาณาจักรโรงพยาบาลเล็กๆในซอยศูยน์วิจัย จนใหญ่โตข้ามโลกไปเปิดสาขาในสิงคโปร์ กลุ่มประเทศ Asean และย่านตะวันออกไกล ในขณะเวลาที่คุณภาพการบริการบัตรทอง 30 บาท ยังไปไม่ถึงฝั่งฝัน บุคคลากรทางแพทย์ที่ทรงคุณค่ากลับสมองไหลตบเท้าออกจากภาครัฐ ยาที่ใช้และคุณภาพการบริการที่โดนวิพากษ์มาตลอด และเป็นตัวอย่างที่ดีที่สท้อนให้เห็นว่าร้านยาราคาต่ำติดดินมันแย่อย่างไร ทำลายชีวิตคนไข้ให้ไปเสี่ยงต่อยาราคาผิดปกติอย่างไร



ในช่วง 10ปีกว่าๆที่ผ่านมา อาจารย์ พงศ์ศักดิ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารกิจการโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้เล่าถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ โรงพยาบาลในขณะนั้นเจอภาวะชงักงันจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การลดค่าเงินบาท ล้วนเป็นต้นเหตุทำให้โรงพยาบาลเล็กหลายแห่งต้องล้มตายจากไปมากมาย เมื่อเข้าสู่ปี 2542 จึงจะสามารถเริ่มต้นในการวางทิศทางของธุรกิจกันใหม่ แหล่งรายได้ที่จะมาเลี้ยงธุรกิจมีแค่สองทางหนึ่งกำหนดกลุ่มลูกค้าพร้อมเพิ่มเติมการบริการใหม่ที่แตกต่างจากวงจรเดิม หรือเข้าไปสู่ยอมรับการบริการ 30 บาทจากภาครัฐซึ่งเป็นช่วงยุคสมัยรกของการนำระบบ National Health campaigns จากรัฐบาลประชานิยมในสมัยนั้น

อาจารย์ได้เล่าให้ฟังว่าหากเรายอมรับระบบเดิมที่มีรายได้จำกัด คือจะได้รับแค่เงินต่อหัวที่จำกัด จะเกิดอะไรขึ้นต่อองค์กรขณะนั้น ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่างที่เรียกว่า Vicious Cycle

วงจรอุบาทว์ Vicious Cycle คืออะไร?

แปลตรงตัวนะครับ หมายถึง วงจร หรือ วัฏจักร ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมลงไปเรื่อย และหากไม่มีแทรกแซงแก้ไข วัฏจักรนี้จะดำเนินต่อไปไม่สิ้นสุด มักใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า Virtuous Cycle

ทำไมหล่ะ หากวันนั้นผุ้นำโรงพยาบาลกรุงเทพเลือกเอารายได้ที่จำกัดจากโครงการ 30 บาทไม่ต้องทำอะไรเลย เงินมาแน่ๆชัวร์ๆ แต่รายได้โดนจำกัดตายตัวน้อยเกินไปกว่าความเป็นจริงต่อการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ รายได้ที่น้อยย่อมส่งผลทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถไปรับสมัครอาจารย์หมอฝีมือดีๆ เครื่องมือแพทย์ทันสมัยที่จำเป็นในการวินิจฉัยโรค พอเงินเดือนน้อยแพทย์เองก้อไม่มีรายได้มากพอไปศึกษาต่อ ไปหาข้อมูลใหม่ๆในการพัฒนาตนเองในการกลับมายกระดับการบริการคนไข้ ครอบครัวไม่มีรายได้มากพอที่จะมีความสุข หากครอบครัวเราไม่มีความสุขอย่างเพียงพอ เราจะมาทำหน้าที่บริการที่ดีให้คนไข้มีความสุขได้อย่างไร เราจึงเรียกวงจรดังกล่าวว่าวงจรแห่งความเสื่อม

แต่อาจารย์รู้ว่าถ้าเราไม่เปลี่ยน เราไม่มองเห็นอนาคตมองแต่รายได้ระยะสั้นๆที่ไม่มีทรัพยกรมากพอในการนำมาพัฒนาครอบครัวหรือคนในองค์กร ทิศทางของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพจึงมุ่งเป้าไปตลาดบน รวมไปถึงนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อพักผ่อนและสรรหาบริการสุขภาพทางแพทย์ชั้นเลิศ ในวัันนี้โรงพยาบาลจึงได้เติบโตมาโดยตลอด จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไทยทั่วโลก

ย้อนกลับมาในวงการร้านยาเรา หลายคนยังคมเลือกเสี่ยงไปร้านขายยาประเภท "ถูกทุกวัน ไม่มีนาทีทอง" ร้านเหล่านี้กำลังเลือกเข้าสู่วงจรอุบาทว์ Vicious Cycle คือเหตุผลที่ร้านเหล่านี้ขายในราคาต่ำติดดินและทำลายสุขภาพเรา ร้านเรานี้ไม่สนใจสุขภาพคนซื้อ สิ่งที่อยากได้ก้อคือต้องการเพียงแต่เงินอย่างเดียว ไม่สนใจอะไรมากไปกว่ารายได้อันน้อย สาเหตุที่ราคาต่ำติดดินก้อไม่ได้เกิดจากการจัดการที่มีคุณภาพ แต่เกิดจากกการลดคุณภาพ ตั้งแต่แหล่งของยาที่มีที่มาผิดปกติ ยาจะได้คุณภาพใช้แล้วปลอดภัยหรือไม่ เขาไม่สน ขอให้ราคาถูกๆก้อพอ

ยังไม่รวมถึงการบริการที่จำเป็นของเภสัชกรที่จำเป็นในการให้คำปรึกษาแนะนำที่จำเป็น ร้านเหล่านี้ไม่เน้นการบริการ ร้านเห็นแก่ได้เหล่านี้ไม่เห็นคุณค่าชีวิตคนไข้ ไม่สรรหาเภสัชกรที่มีคุณภาพพร้อมบริการมาใส่ใจดูแลคุณ

ร้านขายถูกเช่นนี้มัก ปล่อยให้คนไข้ต้องมาเข้าคิว ยืนรอ ไม่มีการบริการซักถามใดๆ ให้คนไข้ไปเสี่ยงชะตากรรมเอาเอง
วงจรอุบาทย์เช่นนี้ต่อคนไข้ ต่อสังคมนั้นไม่มีอะไรเลย นอกจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีคุณภาพ เน้นแต่ราคาถูก แม้แต่ชีวิตคนไข้เราๆที่ไปอุดหนุนก้อเปรียบเสมือนขายชีวิตเราเองให้อายุสั้น ราคาถูกยิ่งกว่าราคายาที่ต้องเหนื่อยไปหาซื้อมาต่อชีวิตเสียอีก



ดังนั้นหากเลือกได้ ทำไมเราไม่เลือกร้านยาที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม มียาใหม่คุณภาพดีผ่านการตรวจสอบควบคุมอย่างเข้มงวด สำคัญที่สุดคือเภสัชกรที่พร้อม ทำหน้าที่ตลอดเวลาเพื่อดูแลชีวิตคุณ ที่มีค่ายิ่งกว่าราคาใดๆจะมาแลกซื้อได้

แหล่งข้อมูล


สุดยอดหมอนักบริหารโรงพยาบาล คิดใหญ่ ทำใหญ่ 
นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร  เรียบเรียงโดย พร้อมพิไล บัวสุวรรณ
http://library.bu.ac.th/search/opac/ResultTitle.cfm?aTextSearch=2005002600&aSearchBy=B&aIsAdvance=Yes

The Leading Specialist Healthcare Hub
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=8247


วงจรอุบาทว์ Vicious Cycle, 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%
B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B9%8C



ภาพประกอบ

พงษ์ศักดิ์ วิทยากร  โรงพยาบาลกรุงเทพ
mtts34.com

    วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2555

    กฎหมายใหม่ที่จะมีผลต่อร้านขายยา โดย ภก.ประสิทธิ์ วงศ์นิจศีล

    อนาคตร้านยาจะเป็นอย่างไร เรามีมุมมองของนายกชมรมร้านขายยา ท่านเดิมคือ พี่ ภก.ประสิทธิ์ วงศ์นิจศีล ที่เคยนำเสนอไว้ในงานประชุมใหญ่สามัญประจำปีชมรมร้านขายยาแห่งประเทศไทย 29 เมษายน 2550 ที่สท้อนถึงสภาวะทางกฎหมายใหม่ๆ ได้แก่ 
    ร่าง พ.ร.บ. ยาใหม่ผ่านมติ ครม. ( ครั้งที่ 2 ) เมื่อปลายปี 2549 และกฏหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย (Product Liability Law : PL Law)
    รวมไปถึงสภาวะการเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของร้านยายุคดั้งเดิมอีกด้วย 

    ถึงแม้นข้อมูลอาจจะเนิ่นช้าไป แต่หากพิจารณาดูด้วยใจเป็นนักวิเคราะห์และมุมมองเภสัชกร เราจะมองเห็นว่ากฎหมายที่ออกใหม่ หรืออยู่ในระหว่างพิจารณาจากทุกหน่วยงาน จะมีผลกระทบต่อทุกองค์กรในการดำเนินธุรกิจหรือหน่วยงานควบคุมบังคับใช้กฎหมายทั้งสิ้น 

    ยิ่งไปกว่านั้นหากได้กลับไปทบทวนการเคลื่อนไหวของหน่วยงาน สมาคม ชมรม กลุ่มวิชาชีพเราจะมองเห็นภาพชัดเจนของการรวมตัวกันเป็นชมรมร้านขายยาเพื่อเริ่มต้นศึกษาข้อเด่น ด้อยของกฎหมาย และเตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงที่จะมีผลต่อร้านยาดั้งเดิมของกลุ่มตนเอง  ขอให้พิจารณาเป็น Best practice นะครับ 

    แหล่งข้อมูล
    ร่าง พ.ร.บ. ยาใหม่ โดย ภก.ประสิทธิ์ วงศ์นิจศีล
    http://www.cdsdrug.com/ubmthai-smf/index.php?topic=24.0

    การปรับตัวครั้งใหญ่ต่อธุรกิจร้านขายยา
    http://www.ran-ya.com/index2.htm

    สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดขอนแก่น

    ร่าง พ.ร.บ.ยา ฉบับ สนช.
    http://www.gotoknow.org/blogs/posts/147300

    “โรคกรดไหลย้อน ” รักษาด้วยยาอะไร? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


    โรคกรดไหลย้อนหมายถึงโรคที่มีอาการเกิดจากการไหลย้อนกลับของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารแทนที่จะอยุ่ในกระเพาะกลับไหลขึ้นไปข้างบนในหลอดอาหารอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองของกรด ตามมาในที่สุด โรคนี้เชื่อว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง มีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ทำให้มีการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่าย จึงมีกรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอย กล่องเสียง และปอดได้ หากเราได้ไปหาหมอตรวจหาสาเหตุและอาการต่างได้ครบถ้วนแล้ว แนวทางการรักษาด้วยยามีอะไรติดตามเภสัชกรหนุ่มหล่อมาเล่าให้ฟังได้เลย

    ภาพประกอบ: แนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อน Reflux treatment guidelines for prescription medications medscape.com

    การรักษาด้วยยา
    แนวทางการรักษาโรคนี้ เรามักให้ยามากกว่า 1 ตัว ขึ้นอยู่กับอาการ ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีอาการของปวดแสบร้อนช่องท้อง Heartburn หลังกินข้าว เราควรให้ทั้ง Antacids และ H-2 blockers เจ้ายากลุ่มแรกจะไปออกฤทธิ์ให้กรดในกระเพาะอาหารเป็นกลางอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น H-2 blockers ก็ไปออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารต่อเนื่อง เพื่อให้ผลการรักษาต่อเนื่องได้ผลดี 

    กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดไหลย้อนได้แก่

    1. ยาปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหาร Neutralize gastric acids 
    ยาที่ปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลางไม่ย้อนกลับมาทำลายเป็นแผลต่างๆ ได้แก่

    1.1 ยาลดกรด Antacids
    ที่มีส่วนผสมหลักได้แก่ Aluminum hydroxide หรือ  Magnesium hydroxide ที่เราคุ้ยเคยในการรักษาโรคกระเพาะน่านเอง ออกฤทธิ์โดยการไปสะเทินกรดได้ผลเร็ว แต่ควรระวัง ผลข้างเคียงของยาที่มีส่วนผสมของ Aluminum หรือ Calcium carbonate antacids ทำให้ท้องผูก ถ้ามีส่วนผสมของ Magnesium ทำให้ท้องเสีย

    1.2 Antacid plus alginic acid
    เป็นยากลุ่มใหม่ที่มีส่วนผสมเป็นยาลดกรดผสมกับ alginic acid ที่รู้จักกันดีคือยาที่มีชื่อการค้าว่า Gaviscon ยาในกลุ่มนี้จะช่วยป้องกัน Reflux หรือ Buffers effects มีทั้งยาเม็ดและยาน้ำ ถ้าเป็นยาเม็ดต้องเคี้ยวก่อนกลืน ก่อนอาหารและก่อนนอน

    2.   ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร Reduce gastric acid secretion 
    ยากลุ่มนี้ให้ผลในการลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารให้น้อยลง จนไม่มากเกินไปจนออกมาทำลายเนื้อเยื่ออื่นๆ และในขณะเดียวกันยาในกลุ่มนี้ยังช่วยส่งเสริมการหายของหลอดอาหารอักเสบ  และควรรับประทานยาพร้อมอาหาร

    2.1 Histamine (H2) receptor antagonists
    เป็นยากลุ่มเดิมๆที่ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน ได้แก่
    • ·     Cimetidine (Tagamet) 400mg วันละ 2 ครั้งหรือ 800mg ก่อนนอน ยาตัวนี้ควรระวังในเรื่องของ  B12 deficiency  ถ้าใช้มากกว่าวันละ 1 ครั้ง
    • Ranitidine (Zantac)  300mg ต่อวัน
    • Famotidine (Pepcid) 20mg วันละ 2 ครั้ง
    • Nizatadine (Axid) 150-300 mg วันละ 2 ครั้ง  

    ภาพประกอบ: การเลือกใช้ยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors (PPI) จาก uspharmacist.com

    2.2 Inhibit enzyme system  หรือ Proton pump inhibitors (PPI)
    ปัจจุบันยาในกลุ่ม PPI นี้ เป็นยาที่เลือกใช้รักษาภาวะกรดไหลย้อนได้ดี แต่หากพอใช้ไปแล้ว คนไข้อาการไม่ดีขึ้นหลังการใช้ยาไปแล้ว 4-8 สัปดาห์ ควรต้องมีการวินิจฉัยโรคใหม่ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร กลไกของยากลุ่มนี้ไปออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดจากเซลล์เล็กที่อยู่ในกระเพาะอาหารที่ทำหน้าที่หลั่งกรด (Gastic parietal cells) และกดการหลั่งกรดที่ช่วยย่อยอาหารคือ  Gastric acid ได้มากกว่า 90 %  และช่วยให้การอักเสบของหลอดอาหารหายเร็วขึ้น ยากลุ่มนี้ควรกินก่อนอาหารมื้อเช้า 20-30 นาที เนื่องจากยาจะออกฤทธิ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด ยาเหล่านี้ได้แก่
    • ·     Omeprazole (Losec) 20mg วันละครั้ง
    • Lansoprazole (Prevacid) 30mg วันละครั้ง
    • Rabeprazole sodium (Aciphex) 10mg วันละครั้ง
    • Esomeprazole magnesium (Nexium) 40mg วันละครั้งหรือวันละ 20mg ในคนไข้บางรายที่เราต้องใช้ยาเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน
    • Pantoprazole sodium (Protonix) 40mg ต่อวัน

    3. ยากลุ่ม Prokinetics
    เป็นยากลุ่มใหม่ ไปออกฤทธิ์ช่วยในการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร (Strengthen the sphicter) ได้แก่ Bethanechol , Metroclopramide และยาใหม่ Itropide (Ganaton)

    สุดท้ายการรักษาที่ดีที่สุดคือต้องรับยา พร้อมกับคำแนะนำต่างๆในการปรับการใช้ชีวิต (ซึ่งจะเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะครับ) เราอาจได้รับการแนะนำให้รับการรักษาอื่นๆเพิ่มเติม หากผลการรักษาไม่ดีขึ้น เช่น การผ่าตัด Fundoplication  คือการผ่าตัดเอาส่วนต้นของกระเพาะอาหารหุ้มหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายไว้ เพื่อเป็นการรัดบริเวณหูรูดป้องกันน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อน

    ตอนหน้าเรามาดูว่า คำแนะนำต่างๆในการปรับการใช้ชีวิตเพื่อสยบโรคน่ารำคาญนี้ให้หายขาด เราควรทำอย่างไร

    อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ

    แหล่งข้อมูล
    เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 28 มีนาคม  2555  
    E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
    ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
    การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง
    บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

    รูปประกอบจาก
    AHRQ Issues Guidance on Relative Benefits, Risks of GERD Treatments
    aafp.org


    Joel J Heidelbaugh, MDUMHS GERD Guideline, January 2007, Family Medicine, Regents of the University of Michigan, cme.med.umich.edu/pdf/guideline/GERD07.pdf
    Updated Guideline for the Diagnostic and  Treatment of Gastroesophageal Reflux Disease (GERD). , Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition, 49:498–547 # 2009, European Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition and North American Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition
    Clinical Standard for Adult Gastroesophageal Reflux (GERD), The Madigan Army Medical Center - Quality Services Division, Revised:  October 2001, http://www.mamc.amedd.army.mil/clinical/standards/gerd_alg.htm
    Evidence-Based GERD Guidelines Released By The American Gastroenterological Association, Article Date: 22 Oct 2008, http://www.medicalnewstoday.com/releases/126415.php
    Gastroesophageal Reflux Disease (GERD, Acid Reflux, Heartburn), Medicinenet., http://www.medicinenet.com/gastroesophageal_reflux_disease_gerd/article.htm
    Dr. Alan L Ogilivie, Gastro-oesophageal reflux (acid reflux), http://www.netdoctor.co.uk/diseases/facts/gastrooesophagealreflux.htm
    Acid Reflux (GERD) Drug Information, HealthCentral.com, http://www.healthcentral.com/acid-reflux/find-drug.html
    รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, โรคกรดไหลย้อน ตอนที่ 1 และ 2,   ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=294, http//www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=295
    รศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์,กรดไหลย้อน.....ภัยเงียบวัยทำงาน, สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=726
    รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน,สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน , ตอนที่ 1 และ 2, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=631 , http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=632
    สุวรรณา  กิตติเนาวรัตน์, ภาวะกรดไหลย้อน  (GERD), คม.(นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร), ET., วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย, http://www.google.com/url?sa=t&source=web&cd=28&ved=0CEgQFjAHOBQ&url=http%3A%2F%2Fimages.cdri.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FS3P98AooCkQAABASlcA1%2FGERD.doc%3Fkey%3Dcdri%3Ajournal%3A16%26nmid%3D81114654&ei=GluGTpbZDsiHrAej-My-Dw&usg=AFQjCNE5a-l7Y0sWz1I6--uOELkvO0XzSQ&sig2=DXEX73ScA--r3T9nqAmuJg
    การรักษาโรคกรดไหลและยาที่ใช้, http://www.gerdthai.com/gerd.php

    วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2555

    แคทิกอรี่ แมนเนจเมนต์ (Category Management) อย่างง่ายๆ ทำอย่างไร?


    งานประชุมสมาคมร้านยาที่ผ่านมาต่างมีผลิตภัณท์ยา เวชภัณท์มานำเสนอมากมาย มีคำถามว่าเราควรคัดสรรสินค้าตัวใดเข้ามาขาย จะตั้งราคาเท่าไหร่ กำไรกี่ % ต้องมีพื้นที่ขาย ตั้งวางยังไงจึงจะขายดี ของวางสวยงามน่าซื้อหยิบสะดวก  


    คำตอบของคำถามนี้อยู่ที่ว่า เราทำ consumer insight มาแล้ว เราย่อมรู้ว่าควรจะดูแลให้กลุ่มสินค้ายอดขาย-ผลกำไรที่ดี นั้นจะต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคทิกอรี่ แมนเนจเมนต์ (Category Management) หรือที่ในวงการ เรียกกันว่า แคตแมน (Cat. Man.) นั่นเอง


         เรามีคำแนะนำวิธีการจัดการ cat man แบบง่ายๆ ที่ร้านค้าปลีกยักษ์ใหญ่เขาใช้กัน เพื่อเราจะได้นำมาดัดแปลงใช้กับร้านเราให้ยอดขายดี กำไรสะสวยขึ้นมาได้ทันใจมาแบ่งปันกันดังนี้ 


            ♫ ประการแรก สร้างความคับคั่งภายในร้าน (traffic buiding) เช่นการจัดป้ายบอกราคาที่ดูแล้วสะดุดมา หรือมีป้ายแนะนำสินค้าที่ชั้นวางสินค้า การจัดชั้นวางสินค้าที่ดูเตะตา หรือการจัดหัวและปลายชั้นวางสินค้าโดยการวางสินค้าที่ผู้บริโภคจับจ่ายใช้สอย บ่อย ๆ ในราคาที่เตะตา อาจจะถูกกว่าที่อื่นหรือสินค้าใหม่ที่ร้านอื่นยังไม่มีวางขาย 


            ♫ ประการที่สอง เพิ่มปริมาณการซื้อต่อครั้งให้มากขึ้น (transaction building) เช่น พวกขนม ลูกอม สินค้าพวกนี้เป็นสินค้าที่ลูกค้าอาจจะคิดไม่ได้คิดว่าจะซื้อแต่เมื่อขณะเดินซื้อสินค้าเห็นสินค้าเหล่านี้แขวนหรือห้อยอยู่ตามชั้นวางสินค้า ก็รู้สึกถึงความจำเป็นขึ้นมา นอกจากนี้ยังมีเรื่องของการปรับขนาดของ ตะกร้าให้ใหญ่ขึ้น บางครั้งสิ่งเหล่านี้ร้านค้าต้องทดลองทำดู ถ้าสิ่งไหนไม่ประสบความสำเร็จก็ให้ลองเปลี่ยนไปเป็นในรูปแบบอื่น ๆ โดยมีเป้าหมายคือเมื่อลูกค้ามาจ่ายเงินค่าเฉลี่ยในการซื้อสินค้าต่อครั้งจะต้องมากขึ้น 
         
            ♫ ประการที่สาม ขายสินค้าที่กำไรต่อสินค้าให้มากขึ้น (profit generating) เริ่มจากการเก็บข้อมูลและถามตัวเองว่าชั้นวางสินค้าในช่วงไหนที่ทำกำไรให้กับร้านค้ามากที่สุด และชั้นไหนกำไรน้อยที่สุด และลองพิจารณาชั้นวางที่ทำกำไรน้อยว่าจะปรับเปลี่ยนแปลงได้อย่างไรถึงจะสามารถทำกำไรได้มากขึ้น สินค้าตัวใดควรอยู่ในระดับชั้นใด หลักการง่าย ๆ คือสินค้าที่อยู่ระดับสายตานั้นควรจะเป็นสินค้าที่ขายดีที่สุด หากเราจัดสินค้าที่ขายได้ดี ๆ ไปไว้ด้านล่าง โอกาสทำกำไรนั้นก็จะมีน้อยลง 


            ♫ ประการที่สี่ สร้างกระแสเงินสด (cash generating) การขายเงินสด เป็นอีกกลยุทธ์ที่จะทำให้ร้านค้าอยู่รอดได้โดยเฉพาะร้านเล็ก ๆ การซื้อขายด้วยเงินสด นั้นทำให้สภาพคล่องมีมากและมีปัญหาน้อยลงเรื่องเงินหมุนเวียน ดังนั้นอย่าพยายามออกบัตรเครดิตร้านค้า เก็บเงินสดดีที่สุด 


            ♫ ประการที่ห้า สร้างภาพลักษณ์ในใจผู้บริโภค (image enhancing) หลายครั้งที่ลูกค้าซื้อสินค้าเพราะความเชื่อมั่นที่มีต่อร้านค้าของท่าน หากภาพลักษณ์เด่นชัดก็มี แนวโน้มว่าจะมีลูกค้าเข้ามาซื้อหาสินค้ามากกว่าร้านที่ผู้บริโภคสับสนไม่ไว้ใจ เช่นถ้าร้านของท่านมีภาพลักษณ์ของความซื่อสัตย์ไม่เอาเปรียบ และท่านเน้นย้ำและทำเรื่องเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง สิ่งนี้จะเป็นกลยุทธ์ที่ทำให้ท่านสามารถยืนอยู่ในใจผู้บริโภคได้นาน รูปแบบอื่นของการสร้างภาพลักษณ์ เช่น เป็นร้านที่มีสินค้าหมวดเครื่องปรุงรสครบครัน หรือร้านค้าที่บริการรวดเร็ว ร้านค้าที่มีสินค้านำเข้าหลากหลาย เป็นต้น 


            ♫ ประการที่หก สร้างความตื่นตาตื่นใจในร้านค้า (excitement creating) อย่างเช่นการจัดวางสินค้าให้เป็นมีสีสัน มีรูปแบบของร้านที่ดูแปลกตา การทำให้ร้านค้าดูสว่างน่าเดิน การมีภาพหรือเสียงในร้านค้า ความหลากหลายของสินค้าที่จำเป็นซึ่งไม่มีในร้านอื่น หรือรถเข็นหรือตะกร้าซื้อสินค้าที่แปลกตา 


            ♫ ประการที่เจ็ด ปกป้องจุดขายสินค้าของเรา (turf defending) ในกรณีที่ร้านเราเด่นในเรื่องสินค้าหมวดใดหมวดหนึ่งในใจผู้บริโภคนั้นเราต้องพยายามรักษาไว้ให้ได้ เช่นร้านของท่านดังในเรื่องกลุ่มสินค้ายา สระผม เนื่องจากมีความหลากหลายของยี่ห้อและขนาด ท่านก็ต้องพยายามปกป้องจุดนี้ไว้ให้ได้ ซึ่งบางครั้งคู่แข่งก็จ้องที่จะเลียนแบบสินค้าของท่านทันทีเพราะเค้าเห็นว่าอยู่ในความนิยมของผู้บริโภค ดังนั้นงานปกป้องจุดขายของร้านนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หากคู่แข่งตามทันและแย่งชิงไป ร้านเราอาจจะกลายเป็นร้านเคยดังไปเลยก็ได้ 


         ทั้ง 7 กลยุทธ์นี้หวังว่าร้านค้าคงจะสามารถนำไปปรับใช้ในการทำธุรกิจของเราได้นะครับ งานหลักที่สำคัญคือเราเองควรจะลองไปเยี่ยมชมร้านค้าอื่น ๆ ทั้งร้านในดวงใจ หรือร้านคู่แข่งให้มากหน่อย แล้วหมั่นสังเกตุว่าเขาทำอะไรกันอยู่ เพื่อเราจะได้นำมาปรับกระบวนยุทธ์ให้เรียนรู้ได้ทันกันและพัฒนาร้านเราให้ดีกว่าต่อไป ได้อย่างไร


    แหล่งข้อมูล
    http://www.oknation.net/blog/DIVING/2011/07/27/entry-2


    การค้าปลีกยุคใหม่ RMS by ZUELLIG PHARMA 25 SEP 54

    http://www.scribd.com/doc/66266942/การค้าปลีกยุคใหม่-RMS-by-ZUELLIG-PHARMA-25-SEP-54


    TheEvolution of Category Management and the New State of the Art
    http://media.wiley.com/product_data/excerpt/91/04717035/0471703591.pdf




    Category Management คืออะไร ?
    http://www.appservnetwork.com/resume-app/portfolio/www.thai-eschool.com/cm1.htm


    ภาพประกอบ จาก
    http://www.pharmacydesign.co.uk/pharmacy_project/pharmacy_Franzone.htm

    วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2555

    คุณแม่ตั้งครรภ์กับการใช้ยา โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

    คุณแม่ที่เริ่มต้นตั้งครรภ์ทุกคนก็อยากให้ลูกที่เกิดมามีสุขภาพแข็งแรง รวมทั้งมีสติปัญญาและอารมณ์ดี ช่วงระยะการตั้งครรภ์ที่คุณแม่กำลังฟูมฟักลุกในครรภ์ บางครั้งจำเป็นต้องใช้ยา มาฟังคำแนะนำเพื่อการใช้ยาอย่างปลอดภัยทั้งลูกรักและตัวคุณแม่เอง
    ยามีผลอย่างไรกับเด็กในครรภ์
    ในช่วง 3 เดือนแรกของระยะตั้งครรภ์ เจ้าตัวเล็กในครรภ์จะมีการเจริญเติบโตและสร้างอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ถ้ามียาหรือสารบางชนิดไปจะกระทบกระเทือนต่อการแบ่งเซลล์ จะทำให้อวัยวะนั้นมีความผิดปกติหรือหยุดเจริญ ซึ่งจะผิดปกติมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระยะของการตั้งครรภ์และปริมาณของสารที่ได้รับ
    สารเหล่านี้ ได้แก่ สารเคมีต่างๆ เครื่องดื่มที่มีอัลกอฮอลล์ นิโคตินจากบุหรี่ และอื่นๆ ส่วนผลของยาจากแม่ที่จะส่งผลต่อทารกในช่วงต่างๆ ของการตั้งครรภ์ นอกเหนือจากยาต่างๆ จะมีผลต่อลูกน้อยในครรภ์ระยะ 3-4 เดือนแรกแล้ว ยาบางอย่างอาจจะมีผลต่อลูกในระยะใกล้คลอด หรือมีผลต่อการแข็งตัวของเลือดในระหว่างการคลอดได้











    รูปประกอบ: ยาบางตัวจะมีผลต่อเด็กในครรภ์อย่างมา จาก 
    Drugs can have a harmful effect on individuals especially pregnant women.
    drugssociety.blogspot.com
    คุณแม่ซื้อยากินเอง ความไม่รู้ที่น่าเสียใจ
    ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาแล้วว่ายาหลายตัวอาจจะมีอันตรายต่อลูกของคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ จึงไม่ควรซื้อยามาทานเอง ถ้ามีปัญหาการเจ็บป่วยควรไปปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร  
    คุณแม่เองก็คงอยากจะทราบว่ายาอะไรบ้างที่มีผลต่อการคลอดและหลังคลอด ขอยกตัวอย่างยาที่คุณแม่มีโอกาสใช้และจะมีอันตราย ในกลุ่มต่างๆ ดังต่อไปนี้
    1. ยาปฏิชีวนะและยาแก้อักเสบ
    ยาแก้อักเสบในภาษาชาวบ้านหรือเป็นกลุ่มยาปฎิชีวนะ ที่คุณแม่มักหาซื้อมาทานเองบ่อยมาก เนื่องจากบางครั้งจะมีอาการเจ็บคอเล็กน้อย หรือเป็นหวัดก็ซื้อยาแก้อักเสบมาทานเอง โดยไม่ทราบว่ายากลุ่มนี้ไม่ได้ช่วยอะไรเลย เพราะไข้หวัดส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งใช้ยาแก้อักเสบไม่ได้ผล การทานยาแก้อักเสบบ่อยๆ นอกจากเสียเงินแล้ว ยังอาจจะทำให้ดื้อยา จึงไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ ยิ่งไปกว่านั้นสำหรับคุณผู้หญิงจะตั้งครรภ์หรือไม่ก็ตาม การใช้ยาแก้อักเสบบ่อยๆ จะทำให้ช่องคลอดอักเสบจากเชื้อราได้ โดยมีอาการตกขาวและคันช่องคลอดมาก
    ·         เตตราซัยคลีน ที่ชาวบ้านเรียกยาแคปซูลสีแดง-เหลืองใช้รักษาอาการติดเชื้อ จะมีผลต่อการสร้างกระดูกและฟันของลูก ถ้าใช้ไปลูกของคุณจะมีฟันออกสีเหลืองไปชั่วชีวิต ไม่สามารถแก้ไขได้เลยครับ
    ·         ซัลฟา ถ้าใช้ยาช่วง 2-3 อาทิตย์ก่อนคลอดอาจจะทำให้ทารกคลอดออกมาแล้วตัวเหลือง
    ·         คลอแรม กดการทำงานของไขกระดูกที่สร้างเม็ดเลือดทำให้เลือดจาง เด็กที่เกิดมาจะตัวเขียว (Gray Syndrome) ซีด ท้องป่อง และอาจจะช็อกเสียชีวิต
    ·         สเตรปโตมัยซิน อาจจะทำให้ลูกหูตึงหรือหูหนวก
    ·         คลอโรควิน และควินิน ที่ใช้รักษาโรคมาลาเรียหรือไข้จับสั่น อาจจะทำให้แท้งบุตร
    ·         ถ้าคุณแม่เกิดอาการติดเชื้อ ต้องใช้ยาปฎิชีวนะ ก็มียากลุ่ม เพนนิซิลิน และแอมพิซิลิน เป็นยาที่ปลอดภัยสำหรับหญิงมีครรภ์ ยกเว้นผู้ที่แพ้ยาเท่านั้น แต่ไม่แนะนำให้ไปซื้อทานเองนะครับ ควรไปขอคำแนะนำจากแพทย์เสียก่อน
    2. ยาบรรเทาอาการปวดและลดไข้
    ·         แอสไพริน ถ้าทานเมื่อใกล้คลอด อาจจะไปยับยั้งการทำงานของเกล็ดเลือดของทารกในครรภ์ ทำให้เลือดไหลไม่หยุด
    ·         พาราเซตามอล ภาษาชาวบ้านเรียกกันว่า ยาพารา เป็นยาแก้ปวดและลดไข้ที่ใช้ได้ปลอดภัยในผู้ตั้งครรภ์ เพราะยังไม่มีรายงานว่าทำให้ลูกน้อยเกิดความพิการหรือผิดปกติแต่อย่างใด
    ·         คุณแม่หลายคนก่อนตั้งครรภ์เคยมีอาการปวดศีรษะข้างเดียว หรือที่เรียกว่าเป็นไมเกรน (migraine) เมื่อตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแก้ปวดศีรษะในกลุ่มที่มีเออโกตามีนเพราะยากลุ่มนี้ทำให้มดลูกบีบตัว อาจจะทำให้แท้งหรือคลอดก่อนกำหนดได้
    3. ยาแก้คัน แก้แพ้
    ·         คลอเฟนิรามีน ยาเม็ดเล็กๆสีเหลืองที่ใช้แก้แพ้ ถ้าคุณแม่ใช้ชั่วคราวอาจไม่ส่งผลมากนัก แต่ถ้าใช้ติดต่อกันนานๆ ทำให้เกล็ดเลือดต่ำ ลูกที่เกิดมาอาจจะมีเลือดไหลผิดปกติ
    ·         ส่วนยาแก้แพ้ตัวใหม่ๆ ปัจจุบันนี้ ยังไม่มีรายงานยืนยันความปลอดภัยของคุณแม่และลูกในครรภ์ จึงยังไม่แนะนำให้ใช้ครับ หากมีอาการภูมิแพ้ ควรบรรเทาด้วยวิธีการอื่นครับ
    4. ยาบรรเทาอาการไข้หวัด
    ·         ที่โฆษณากัน ขายเป็นแผงน่านแหละครับ ในหนึ่งเม็ดยาจะประกอบด้วย ยาลดไข้ปวดพาราเซตามอลและยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูก ถ้าใช้ชั่วคราวบรรเทาอาการหวัดในชั่วระยะเวลาสั้นๆ โดยทั่วไปไม่มีอันตรายอะไร แต่ถ้าต้องใช้ยานานๆ ก็ควรปรึกษาแพทย์
    ·         คุณแม่ไม่ควรซื้อยาชุดแก้หวัด โดยไปบอกอาการพร้อมกับระบุความต้องการว่าขอเป็นยาชุดแก้หวัดตามร้านขายยาที่ไม่มีเภสัชกรหรือยาชุดแก้หวัดที่วางขายตามร้านขายของชำ เพราะยาชุดเล่านี้มักมียาแก้แพ้ รวมทั้งยาแก้อักเสบบางอย่างและสเตียรอยด์ปนมาด้วย ซึ่งมีอันตรายต่อลูกคุณอย่างแน่นอน
    5. ยานอนหลับและยากล่อมประสาท
    ·         บางครั้งการเปลี่ยนสภาพร่างกายรวมทั้งความเครียดอาจทำให้คุณแม่นอนหลับยากขึ้น มีความจำเป็นต้องใช้ยาดังกล่าว มีคำแนะนำให้ไปขอคำแนะนำจากแพทย์เท่านั้นครับ ไม่ควรซื้อมาใช้เองเมื่อนานไม่หลับ เพราะถ้าใช้ยาในขนาดมากๆ จนคุณแม่เกิดอาการติดยา ลูกที่เกิดมาอาจจะมีอาการหายใจไม่ดี เคลื่อนไหวช้า มีอาการคล้ายคนติดยา ชักกระตุก นอกจากนี้อาจจะทำให้มีเลือดออกผิดปกติในตัวเด็กอีกด้วย
    6. ยารักษาเบาหวาน
    ·         ถ้าคุณแม่เคยใช้ยาฉีดพวกอินซูลินก็ยังใช้ได้ ไม่มีอันตราย แต่ถ้าคุณแม่ต้องทานยาเม็ดควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดเข้าไป จะทำให้น้ำตาลในเลือดของทารกต่ำ และมีรายงานว่ายากลุ่มนี้ทำให้ทารกพิการได้ ลองปรึกษาหมอว่าคุณแม่เบาหวานควรดูแลสุขภาพอย่างไร จะปลอดภัยกว่าครับ
    7. ยากันชัก
    ·         อาจทำให้เกิดความพิการทารกโดยมีใบหน้าผิดปกติ จมูกแบน ตาห่าง หนังตาตก บางชนิดอาจจะทำให้เลือดของทารกแข็งตัวช้า
    8. ยาบรรเทาอาการไอ
    ·         ยาหยุดการไอชนิดที่ไม่มีไอโอดีน ไม่ควรใช้เลย เพราะอาจทำให้ทารกเกิดอาการคอพอก และมีอาการผิดปกติทางสมองได้
    ·         ควรใช้ยากลุ่มละลายเสมหะ ชนิดที่ไม่ดูดซึมไปสู่ลูกในครรภ์ เพื่อให้เสมหะอ่อนตัว ละลายออกมาได้ง่ายจะปลอดภัยกว่า
    8. ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร
    ·         ยาลดกรดที่มีส่วนผสมของแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์มาก อาจจะทำให้คุณแม่ท้องเสีย และอาจเป็นอันตรายต่อเด็กในท้องได้
    ·         ยากลุ่มอื่นๆ ต้องไปหาหมอเพื่อขอคำแนะนำในการใช้ยาอย่างปลอดภัยครับ
    10. ยาแก้อาเจียนหรือยาแก้แพ้ท้อง
    ·         ควรให้หมอหรือเภสัชกรเป็นผู้สั่งยา อย่าซื้อยาทานเองจากร้านที่ไม่ใช่เภสัชกรเป็นอันขาด อย่าเสี่ยงอวัยวะ ชีวิตและความสุขของลูกคุณกับร้านยาที่ไม่มีเภสัชกรมาคอยดูแลเลย
    คุณแม่ที่ตั้งครรภ์โปรดระลึกไว้เสมอเลยว่าไม่ควรซื้อยาทานเองเด็ดขาด พยายามทานยาให้น้อยที่สุด เวลาแวะไปตรวจครรภ์กับสูตินารีแพทย์  ควรแวะร้านยาข้างบ้านหรือโรงพยาบาล สอบถามเภสัชกรใจดีได้เลยครับ เภสัชกรพวกเราพร้อมเสมอให้คำแนะนำในการใช้ยาให้คุณลูกและม่ามี้นั้นปลอดภัยจริงๆ ครับ
    แหล่งข้อมูล
    Drugs in Pregnancy and BreastfeedingWorld Health Organization 2002
    Drug Use during Pregnancy, Merck Manual Online Medical Library
    นพ.สุวชัย อินทรประเสริฐ ภาควิชาสูติศาสตร์นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี ข่าวสด วันที่ 7 สิงหาคม 2546 ปีที่ 13ฉบับที่ 4634

    รูปประกอบจาก
    Effects of Drugs in Pregnancy
    aforeverrecoverybattlecreek.com