วันศุกร์ที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2554

ปวดหลัง กินยาอะไรดี โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

มีซองคำถามมา จากคุณแจน คุณแม่ลูกสามว่า ดิฉันมีอาการปวดหลังอย่างมาก โดยเฉพาะแผ่นหลังร้าวจนไปถึงก้นกบ จากการไปยกกระถางต้นไม้มาค่ะ ตอนเช้าๆลุกจากเตียง ต้องค่อยขยับ จึงค่อยๆดีขึ้น ตอนแรกๆที่คนสนิทที่บ้านบอกว่าไม่ต้องไปหาหมอหรอก แค่ไปนวดแผนโบราณก้อหายแล้ว แต่กลับแย่ลงไปใหญ่ ตอนนี้เวลาเดินต้องค่อยๆย่องเหมือนแมวเดิน
"ดิฉันกังวลว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูก จึงไปหาหมอ และได้รับยา Arcoxia และ Norgesic มา จึงมาถามว่ายาทั้งคู่โอไหม ตัวแรกจะมีปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไม่ถ้ากินไปนานๆ พี่สาวเขาก้อเป็นโรคนี้เหมือนกัน เขาได้ให้ยา Voltaren และ Norgesic มาอีก บอกว่าได้ผลดีกินประจำ เลยฝากถามเพิ่มว่ายา Voltaren และ Arcoxia นี้ทานร่วมกันได้ไหม?"  

ต้นเหตุอาการปวดหลัง
ก่อนตอบเรื่องยา ต้องมาทำความเข้าใจเรื่องอาการปวดหลังกันก่อน ถ้ามีอาการตั้งแต่ระดับคอลงไปถึงก้นกบ มีต้นเหตุที่พบได้คือ
·         ปวดกล้ามเนื้อและเอ็น (fibromuscular) คนไข้มักมีอาการปวด เมื่อย เคล็ด ขัด ยอก
·         อาการปวดโคนเส้นประสาทโดนกด (radiculopathy) มีอาการปวดร้าว แปล๊บๆ หรือชา หรือปลายมือเท้าอ่อนแรงร่วมดัวย
·         อาการปวดที่แกนประสาทสันหลังโดนกด (myelopathy) มีอาการกลั้นปัสสาวะอุจจาระไม่อยู่ และหลายเหตุอื่นๆ ซึ่งเป็นที่อื่นไม่เกี่ยวกับระบบกระดูกสันหลัง เช่นมะเร็งแพร่กระจายมา เป็นฝีวัณโรคแถวกระดูกหลัง อักเสบติดเชื้อ เป็นต้น
ต่อไป ยาทั้งหมดที่ได้รับมาทั้งหมด เป็นกลุ่มยาที่ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด บวมจากภาวะอักเสบของข้อ เช่น ไขข้อกระดูกอักเสบ (osteoarthritis) ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และ โรคเกาต์ และเพื่อบรรเทาอาการปวดจากสาเหตุอื่นๆ 

Arcoxia® เป็นยาอะไร
Arcoxia ที่คุณแม่ได้รับมามีตัวยาสามัญชื่อ etoricoxib ซึ่งเป็นยาในกลุ่ม non-steroidal anti-inflammatory drug (NSAID) ซึ่งเป็นยาต้านการอักเสบไปหยุดการทำงานของเอนไซม์ cyclo-oxygenase ในร่างกายเรา  เอนไซม์นี้มีหน้าที่ผลิต Prostaglandins ที่สร้างขึ้น เมื่อมีการบาดเจ็บ หรือโรคบางอย่าง Prostaglandins จะเกิดในร่างกายเราทำให้รู้สึก ปวด (pain) บวม (swelling)และ อาการอักเสบ (inflammation) Arcoxia จึงให้ผลในการระงับอาการปวด และอักเสบในที่สุด เราจึงนำมาใช้ในการรักษาอาการปวดจากโรคข้อเสื่อม โรคข้อกระดูกอักเสบ (osteoarthritis) Acute เกาต์ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยส์
วิธีใช้เพื่อรักษาอาการปวดและอักเสบแบบเฉียบพลัน แนะนำให้เริ่มใช้ที่ขนาดต่ำก่อนคือ 60 mg. ต่อวัน. หากอาการไม่ดีขึ้น ในวันต่อไปอาจเพิ่มขนาดเป็น 90 และ 120 mg. ตามลำดับ ควรกินยาพร้อมอาหาร หรือไม่แนะนำให้กินตอนท้องว่าง เดี๋ยวจะอธิบายต่อไปครับ
ข้อดีของมันก้อคือออกฤทธิ์ใน 24 นาที และระงับอาการปวดและอักเสบได้นานกว่า 24 ชม.อย่างไรก็ตามไม่แนะนำให้กิน Arcoxia ในขนาดสูง เช่น 3 เม็ดใน 1 วัน ถือว่า เกินขนาด และเสี่ยงต่ออาการข้างเคียง เช่น ด้านหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และต่อไตที่ต้องเหนื่อยต่อการขับยาส่วนเกินออกจากร่างกาย
ผลข้างเคียงต่อตับของยา Arcoxia
ความจริงแล้ว ผลข้างเคียงที่มีรายงานจากผู้ป่วยมากที่สุดของยากลุ่ม NSAIDs ทุกชนิดคือระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร ยากลุ่มนี้ยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางไต และอาจทำให้ตับอักเสบ ทำให้หน้าที่ของเกล็ดเลือดผิดปกติไป อาการแพ้ ผื่นคัน รวมทั้งอาการทางระบบประสาทส่วนกลาง คือ ง่วงนอน มึน เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ซึมเศร้า สับสน และได้ยินเสียงแว่วในหู
การใช้ยาแต่ละชนิดมักขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และเภสัชกร ประวัติของการใช้ยานั้นๆ ราคาหรือความชอบของผู้ป่วย ผลข้างเคียง และความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยเอง ดังนั้นไม่ว่าจะใช้ NSAIDs หรือ Arcoxia หากคุณมีปัญหาเรื่องตับมาก่อน อย่างไรก็ต้องระวังครับ

ถามว่าถ้าเอายา Voltaren ของพี่สาวมากินร่วมกับ Arcoxia ได้ไหม
มันเป็นยาพวกเดียวกันออกฤทธิ์ต้านการอักเสบเหมือนกัน เราจึงไม่จำเป็นต้องกินร่วมกัน แต่อย่างใดแค่ตัวใดตัวหนึ่งก้อให้ผลการรักษาดีอยุ่แล้ว
ทั้งคู่เป็นยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAID กลไกการออกฤทธิ์ของ แต่ Arcoxia เป็นยาใหม่กว่าที่มีความเจาะจงต่อเอ็นไซม์ที่ลดการอักเสบ (COX-2) มากกว่า และไม่ไปกระตุ้นเอ็นไซม์ที่ทำให้เลือดออกในกระเพาะง่ายและระบบความดันโลหิต (COX-1) จึงทำให้มีโอกาสเลือดออกในกระเพาะน้อยกว่า รวมไปทั้งลดความเสี่ยงในเรื่องการบวมน้ำและความดันได้ดีกว่า เราจึงเลือกใช้ในผู้ป่วยมีปัญหาโรคกระเพาะ หรือที่ต้องกินยานานๆ รวมไปทังคนไข้ที่มีความเสี่ยงระบบหลอดเลือดหัวใจและความดัน แต่ไม่ได้หมายความว่าจะปลอดภัย 100% เรายังแนะนำให้กินยานี้หลังอาหารอยู่เสมอ และหมั่นตรวจอาการของหัวใจและความดัน รวมไปถึงระบบไตที่อาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงและสูงอายุ

Norgesic ใช้เพื่อคลายปวดจากกล้ามเนื้อเท่านั้น
Norgesic มีส่วนประกอบของ Paracetamol 450 mg และ Orphenadrine 35 mg เป็นยาเม็ดผสมระหว่างยาคลายกล้ามเนื้อ (orphenadrine) กับยาแก้ปวดพาราเซ็ตตามอลที่คุณรุ้จักกันดีในการนำมาใช้บรรเทาอาการปวดเท่านั้น ทำไมจึงต้องใช้ ก้อเพื่อใช้คลายกล้ามเนื้อในการบรรเทาอาการปวดกล้ามเนื้อบริเวณแผ่นหลังนั้น สามารถให้ร่วมกับ Arcoxia ได้ร่วมกัน พออาการกล้ามเนื้อคลายก้อสามารถหยุดให้ได้ เนื่องจากมีส่วนประกอบของ Paracetamol ใช้ยา Norgesic ติดต่อกันนานจะทำอันตรายต่อตับมาก จึงไม่ควรใช้ยาตัวนี้ติดต่อกันนานๆ ข้อควรระวังในการใช้ระยะเวลาสั้นๆ คือคนไข้บางคนอาจจะง่วงบ้าง
ข้อแนะนำในการใช้ยาNSAIDs
ขอแถมหลักการเลือกใช้ยาในกลุ่มนี้อย่างปลอดภัย ดังนี้ครับ
·         ไม่แนะนำให้ใช้ยาร่วมกันมากกว่า 1 ตัวเพราะ ไม่เพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาให้ดีขึ้นแต่อย่างใด แต่กลับไปทำให้ผลข้างเคียงเพิ่มมากขึ้นได้อีก
·         ให้เลือกใช้ตัวใดตัวหนึ่ง และในขนาดต่ำที่สุด ที่ได้ผลควบคุมอาการได้ เพื่อที่จะได้ช่วยลดผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดขึ้น
·         ในผู้ป่วยที่เป็นข้ออักเสบเรื้อรัง ควรให้ยาติดต่อกันอย่างน้อย 2-3 สัปดาห์ขึ้นไป อย่าเปลี่ยนยาเร็วเกินไป
·         หลีกเลี่ยงการใช้ยาติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เช่น เป็นเดือนๆ หรือเป็นปี
·         ควรหลีกเลี่ยง ในผู้ป่วยที่มีโรคบางอย่าง เช่น มี แผลในกระเพาะอาหาร หอบหืด ภาวะเลือดออกง่ายหรือผู้สูงอายุ แต่ถ้าจำเป็น ควรเลือกใช้ยาที่มีผลข้างเคียงน้อย หรือยาที่มีระยะเวลาออกฤทธิ์สั้นๆ สอบถามจากเภสัชกรได้เลยครับ
·         ยาใหม่ทุกตัว เนื่องจากยังไม่มีการยืนยันความปลอดภัย ในหญิงตั้งครรภ์ ถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ ก็ไม่ควรใช้ โดยเฉพาะ ในระยะไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ( ช่วงอายุครรภ์ ๖ – ๙ เดือน )
·         ยาบางตัวจะถูกขับออกมาในน้ำนมได้ มีผลทำให้เกิดผลข้างเคียงในเด็กได้เช่นเดียวกับในผู้ใหญ่
แหล่งข้อมูล
·         เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 30 กย. 2554
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ 
·         Arcoxia, Merck Sharp & Dohme Corp., http://www.arcoxia.ae/secure/pharmaco/pharma_mechanism_of_action.html
·         Arcoxia & Etoricoxib , Healthkplus , http://sites.google.com/site/healthkplus/Home/arcoxia-etoricoxib
·         Bingham CO, Debba AI, Rubin BR, Ruoff GE, Kremer J, Bird S et al.Efficacy and safety of etoricoxib 30 mg and celecoxib 200 mg in the treatment of osteoarthritis in two identically designed, in the treatment of osteoarthritis in two identically designed, randomized, placebo-controlled, non-inferiority studies.Rheumatology: 2006:496-527
·         นพ. พนมกร ดิษฐสุวรรณ์ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ( เอนเสด )
NONSTEROIDAL ANTI-INFLAMMATORY DRUGS [ NSAIDs ]
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=cmu2807&date=08-08-2008&group=4&gblog=54
·         ธานี เมฆะสุวรรณดิษฐ์.ตำราเภสัชบำบัด textbook of pharmacotherapy.  โฮลิสติก พับลิชชิ่ง จำกัด;กรุงเทพมหานคร : 2550
·         ภาพประกอบจาก http://www.kalyanamitra.org/board/uploads/monthly_08_2007/post-280-1187071866.jpg และ http://www.mims.com/resources/drugs/Thailand/packshot/Norgesic%20PPS_mpg11_TH.jpg

วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554

ไอมาตั้งนานแล้ว ทำไมไม่หายซักที โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



"ไอมาตั้งนานแล้ว ทำไมไม่หายซักที" 

คนไข้ที่มายืนไอค้อกแค้กโชว์ที่หน้าร้านยา มักจะบ่นดังว่า 
จริงๆแล้วอาการไอเป็นกลไกป้องกันภัยของร่างกายเราแท้ๆ แต่ไออะไรที่มากเกินไป ทำให้ทำงานไม่ได้เลย นอนก้อนอนไม่หลับ เรามาดูว่า ทำไมเราจึงไอได้มาราธอนเช่นนี้เพื่อหาทางรักษากัน

อาการไอมักเกิดจาก... 
คนไข้ที่มีอาการไอต่อเนื่อง ยาวนานมักจะมาด้วยอาการ 2 ลักษณะคือ 

1. คนไข้มีอาการหวัดเจ็บคอร่วมกับมีอาการไอ เมื่ออาการหวัดหายดีขึ้น พร้อมๆกับอาการไอก้อจะค่อยๆหายไป  หรือ

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรังเนื่องจากเหตุอื่นๆ

"แล้วทำอย่างไรจะหายหล่ะ คุณเภสัช?" 
ง่ายมากครับ ถ้าอยากให้หายไอ ต้องให้การรักษาต้นเหตุไปพร้อมกับบำบัดอาการไอไปด้วย ส่วนสาเหตุก้อมีได้มากมาย เป็นได้ตั้งแต่ทางเดินหายใจของเรามักจะอ่อนไวตามมาหลังการเป็นหวัดธรรมดา จนกระทั่งโรคต่างๆที่ต้องการรักษาเฉพาะที่หรือโรคร้ายอื่นๆที่อาจซ่อนแฝงตามมาเช่น มะเร็งปอด วันนี้เราจึงมาทบทวนให้คุณๆที่รักได้ตรวจสอบตัวเองว่าเมื่อมีอาการไอ เมื่อไรจะเข้าข่ายไอเรื้อรัง จะเริ่มต้นซื้อยากินเอง หรือต้องไปพบแพทย์เมื่อไร รวมทั้งแนวทางวินิจฉัยและรักษาอย่างไรเพื่อจะไม่ต้องมาไอให้รำคาญจิตกันต่อไป

นานแค่ไหนถึงจะเรียกว่าไอเรื้อรัง ?
มาตอบคำถามเรื่องอาการไอกันต่อ คนไข้ที่มาที่ร้านด้วยอาการดังกล่าวจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ

1.    อาการหวัดเจ็บคอร่วมกับมีอาการไอ เมื่ออาการหวัด ไม่ว่าจะมีน้ำมูกไหล จมูกคัด คอติดเชื้อมาก่อน พอเรากินยาครบ หรือร่างกายหายดีขึ้น หากมีอาการไออยุ่ จะไอมากในช่วงต้นๆ แต่พอเราฟื้นสภาพ อาการไอก้อจะค่อยๆหายไป ของอาการไอเนื่องจากหวัดมักหายภาย ใน 3 สัปดาห์ และอย่างช้าก็มักไม่เกิน 2 เดือน พอภูมิต้านทานดีขึ้นโรคหวัดค่อยๆหายไป เสียงไอก้อจะเบาลง ความถี่ของการไอก้อห่างนานออกไปเรื่อยๆจนคนไข้ลืมไปแล้วว่าเคยมีอาการไอมาก่อน กลับไปมีคุณภาพชีวิตดีมีความสุขอีก ดังนั้นถ้ามีอาการไอตามมาหลังเป็นหวัดหายอย่าตกใจไปเลยครับ รีบรักษาร่างกายให้แข็งแรง เดี๋ยวก้อหายไอได้ครับ

2.    อาการไอเรื้อรัง คนไข้เหล่านี้มักได้รับการบำบัดอาการไอมาก่อนแล้ว แต่ไม่ยอมหาย อาจไปหาหมอมาก่อน ไม่ดีขึ้น มาหาเภสัช ไม่ดีอีกเปลี่ยนร้านยากะไปโรงพยาบาลเป็นงานประจำก้อมี ทำงานไปก้อไอไปอยู่เป็นเดือนๆ เช่นนี้เราเรียกว่าอาการไอเรื้อรัง ถ้าอยากให้หายต้องให้การรักษาต้นเหตุไปพร้อมกับบำบัดอาการไอไปด้วย 
      
      ส่วนสาเหตุก้อมีได้มากมาย เป็นได้ตั้งแต่อาการไอเนื่องจากภาวะหลอดลมทางเดินหายใจอ่อนไหวได้ง่ายตามหลังการเป็นหวัดธรรมดา จนกระทั่งโรคต่างๆที่ต้องการรักษาเฉพาะที่ หรือโรคร้ายอื่นๆที่อาจซ่อนแฝงตามมาเช่น มะเร็งปอด

ระยะเวลาไอที่เข้าข่ายกลุ่มไอเรื้อรังอาจแตกต่างกันไป อาจนับตั้งแต่ 3 สัปดาห์จน กระทั่งถึง 8 สัปดาห์ ระยะเวลาดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อ แยกอาการไอจากหวัดส่วนใหญ่ออกไปก่อน เพราะร้อยละ 70-80 ของอาการไอเนื่องจากหวัดมักหายภาย ใน 3 สัปดาห์ และอย่างช้าก็มักไม่เกิน 2 เดือน การที่ผู้ป่วยบางรายหายไอช้าเนื่องจากเยื่อบุผิวหลอดลมในทางเดินหายใจอาจยังไม่เข้าสู่สภาวะปกติหรือมีภาวะหลอดลมไวเกินไปหลงเหลืออยู่

เราควรไปตรวจเมื่อใด ?
ถ้าไอไม่หายใน สัปดาห์ ก็ควรพบแพทย์ได้เลย เพื่อจะได้ทบทวนอาการ ประวัติความเจ็บป่วยใหม่ทั้งหมด ว่าเริ่มต้นเป็นมาอย่างไร มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่เป็นอย่างไร ทานยาอะไรอยู่ พร้อมทั้งตรวจร่างกายโดยละเอียด เพราะโรคที่เป็นเหตุให้ไอเป็นได้ตั้งแต่บริเวณหู คอ จมูก หลอดลม ปอด หัวใจ กระบังลม และทางเดินอาหารส่วนบน

ส่วนใหญ่ถ้าคนไข้ไม่มีอาการโรคหวัดนำมาก่อนเลย คุณอาจได้รับการขอตรวจร่างกายอย่างละเอียดมากๆเพื่อแจกแจงลักษณะการไอของแต่ละโรคเพื่อสรุปหาต้นเหตุที่แท้จริง อย่าได้รำคาญหรือคิดว่าเรากำลังถ่วงเวลาแต่อย่างใด ระหว่างการไปตรวจรักษา อาจารย์หมอใจดีรวมทั้งทีมเภสัชกรจะให้ข้อมุลคุณอย่างครบถ้วนเพื่อบอกถึงสาเหตุของโรค แนวทางการรักษา ยาที่ใช้ การปฎิบัติตัวให้หายไอต่อไป

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 29 กย. 2553
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ


วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2554

คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ 1 ทุกคำถามเรื่องสิว เรามีคำตอบ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล











เมื่อเริ่มเดินทางสู่วิชาชีพเภสัชกรชุมชนในสองปีที่ผ่านมา ผมได้เรียนรู้เครื่องมือและวิธีการที่เราจะได้นำความรู้ทางวิชาการเภสัชวิทยา การตรวจรักษาโรคต่างๆ มาใช้ในชีวิตการทำงานที่ผ่านมา จนถึงครบรอบสองปี
 จึงอยากเขียนบทความสุขภาพแบบหนุกๆ และ หนักๆ คืออยากให้คุณๆผู้อ่านได้ความรู้ในการดูแลรักษาตนเองในเบื้องต้นด้วยภาษา สนุกๆ เข้าใจได้ง่าย และทำนองเดียวกันก้ออยากคงความ หนัก ไปด้วยเนื้อหาทางการดูแลรักษา ให้ได้ผลจริงๆ
พอลองสอบถามแฟนนานุแฟนที่ให้ความกรุณาเภสัชรูปหล่อคนนี้ตลอดมา พอถามว่าอยากให้เล่าเรื่องสุขภาพใดมากที่สุด มีหลายหัวข้อมากมายที่คนไข้ยังไม่รู้ หรือม่ายก้อรู้มาอย่างไม่เต็มความจริง  แต่ที่มากที่สุดตอนนี้คือ อยากได้ คู่มือรักษาสิว” ไม่ว่า เด็ก วัยรุ่น สาว กลางชีวิต แล้วก้อตามแต่ละคนมีโอกาสสัมผัสประสบการ์ณปุ่มปมบนใบหน้าและแผ่นหลังมาอย่างเสมอภาคกัน 
อย่ากระนั้นเลยเรามาเรียนรู้ เข้าใจ รักษาและดูแลผิวให้หายสนิทจากสิวกันเถิด อาจจะยาวไปหน่อย แต่จะแบ่งหัวข้อย่อยๆ ให้คุณได้องค์ความรู้เต็มอิ่ม ครบถ้วน ไว้ใช้ไปดูแลตนเองพร้อมรับการรักษาที่ทำให้หายสนิทได้ ดังต่อไปนี้ครับ
·         ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสภาพผิวและโรคสิว
·         ปัจจัยที่ทำให้เกิดสิว
·         การรักษา วิธีดูแล ยาที่ใช้
·         การลบรอยแผลเป็นจากสิว
·         ความเชื่อผิดๆเกี่ยวกับสิว
·         เราควรไปรับการรักษาที่ไหน อย่างไร เมื่อใด
·         คำถามที่พบบ่อย และคำตอบ
ถ้าคุณๆ ใจร้อนอยากทราบคำตอบทุกเรื่องเกี่ยวกับสิว จะตามไปอ่านบทความเกี่ยวกับการรักษาสิวที่ยังเข้มข้น สนุกสนานเหมือนเดิม โดยคลิ้กตามไปที่ link ข้างล่าง หรือจะให้ง่ายก้อ ใช้ google พิมพ์คำว่า อุทัย  สิว คุณก้อสามารถตาสว่างกับทุกคำตอบรักษาสิวให้หายสนิทต่อไป
ยิ่งไปกว่านั้น ระหว่างผมเติมบทความนี้ไปเรื่อยๆ คุณๆที่มีคำถาม อยากรู้เพิ่มเติมสามารถส่งอีเมลมาถามได้ตามที่อยู่ข้างล่างเลยนะครับ
พรุ่งนี้เรามาติดตามคู่มือรักษาสิว ตอนที่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคสิว เพื่อตอบคำถามว่าทำไมเราจึงต้องเป็นสิวกันด้วย
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 28 กย. 2554
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address http://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
  1. ·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท http://www.instantacnetreatment.net/wp-content/uploads/2010/02/what-causes-acne.jpg
  2. ·         John S. Strauss, MD, Chair of Workgroup, Guidelines of care for acne vulgaris management,4Th International Workshop for the Study of Itch Sanfrancisco California, September 9-11,2007, http://www.aad.org/research/_doc/ClinicalResearch_Acne%20Vulgaris.pdf
  3. ·         Lehmann HP, Robinson KA, Andrews JS, Holloway V, Goodman SN. Acne therapy:  Acne therapy: a methodologic review. J Am Acad Dermatol 2002;47:231-40.
  4. ·         ACNE, U.S. National Library of Medicine 8600 Rockville Pike, Bethesda, MD 20894 U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/acne.html
  5. ·         American Academy of Dermatology, ACNE, http://www.skincarephysicians.com/acnenet/acne.html
  6. ·         ACNE, Acne Treatment Site, D1 Interactive Media, Inc. - Acne Treatment Products, Forums, & Information Acne, http://www.acne-site.com/
  7. ·         Acne.com - Dermatologist advice on Acne, http://www.acne.com/#
  8. ·         ACNE, MedicineNet, http://www.medicinenet.com/acne/article.htm
  9. ·         Acne Medications, Drugs.com, Data sources include Micromedex™ [Updated 10 September 2010], Cerner Multum™ [Updated 21 September 2010], Wolters Kluwer™ [Updated 2 September 2010] and others.,  http://www.drugs.com/condition/acne.html
  10. ·         Prescription treatments for acne, Acne.org - A community organization, http://www.acne.org/prescription.php
  11. ·         ACNE: Treatments and drugs By Mayo Clinic staff, Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER).,http://www.mayoclinic.com/health/acne/DS00169/DSECTION=treatments-and-drugs
  12. ·         Acne Drug Information, Health Central-MY skincare connection, The HealthCentral Network, http://www.healthcentral.com/skin-care/drug-info.html
  13. ·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) , คลีนิคเล่ม: 277 เดือน-ปี: 01/2551, http://www.doctor.or.th/node/6867
  14. ·         Thiboutot D. New treatments and therapeutic strategies for acne. Arch Fam Med 2000;9:179-87.
  15. ·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 2 , คลีนิคเล่ม: 228 เดือน-ปี: 02/2551, http://www.doctor.or.th/node/6921
  16. ·         Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9
  17. ·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 3 , คลีนิคเล่ม: 229 เดือน-ปี: 03/2551,
  18. ·         Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9.
  19. ·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 4 , คลีนิคเล่ม: 230 เดือน-ปี: 04/2551
  20. ·         Goldsmith LA, Bolognia JL, Callen JP, Chen SC, Feldman SR, Lim HW, et al. American Academy of Dermatology Consensus, Conference on the safe and optimal use of isotretinoin: summary and recommendations. J Am Acad Dermatol 2004;50:900-6. Erratum in J Am Acad Dermatol 2004;51:348.
  21. ·         1984;10:490-6.ปรียา กุลละวณิชย์ และประวิตร พิศาลบุตร บรรณาธิการ, Dermatology 2000 ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบันกรุงเทพมหานคร: บริษัทโฮลิสติกพับลิชชิ่งจำกัด2540.
  22. ·         อภิชาติ ศิวยาธร และกนกวลัย กุลทนันทร์ บรรณาธิการโรคผิวหนังที่ต้องรู้สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไปกรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน2546
  23. ·         ประทีป วรรณิสสร พยาธิกำเนิดของโรคสิว องค์ความรู้ใหม่ วารสารโรคผิวหนัง 2549; 22: 74-81. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  24. ·         ผศ. ภญ. นิตยาวรรณ กุลวณาวรรณภญ. นิตย์ธิดา ภัทรธีระกุล, ยารักษาสิว, วารสารเภสัชชุมชน ปีที่ ฉบับที่ 43 พศ.2553
  25. ·         รศ. นพนภดล นพคุณ แนวทางการดูแลรักษาโรค Acne Clinical Practice Guideline Acne, thaigovweb.com/mophweb/file/doc/news21193-121209-173007.pdf
  26. ·         รัศนี อัครพันธุ์. โรคของต่อมไขมัน. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังใน เวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010). กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70.
  27. ·         ปรียา กุลละวณิชย์วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์. Facial dermatitis. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010) . กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70
  28. ·          Acne Treatments & Skin Care, SkinCareGuide.com, http://www.acne.ca/index.html
  29. ·         ประวิตร พิศาลบุตรยารับประทานโรคสิววิชัยยุทธเวชสาร, July 2528, ,www.vichaiyut.co.th/jul/28_02-2547/28_02-2547_P77-81.pdf
  30. ·         เพ็ญวดี ทิมพัฒนพงศ์. ตำราเรื่องสิว วิทยาการก้าวหน้าและโรคที่เกี่ยวข้อง. 2536 หน้า 87-99