วันอังคารที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2554

คู่มือเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม ยาสำหรับน้ำท่วม โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คู่มือเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม โรคภัยร้ายที่มากับน้ำท่วม โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คู่มือเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม คนอยุู่คอนโด โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คู่มือเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม ของใช้ยามจำเป็น โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คู่มือเตรียมรับสถานการณ์น้ำท่วม ก่อนน้ำท่วม โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


คู่มือป้องกันน้ำกัดเท้า


ถึงเวลานี้มวลน้ำปริมาณมหาศาลมาจ่อปากทางกรุงเทพเข้ามแล้ว หากน้ำท่วม ปัญหาตามมามากจริงๆ ตั้งแต่ที่อยู่อาศัย อาหารการกิน และโรคที่มากับน้ำ โดยเฉพาะโรคผิวหนัง ยิ่งน้ำท่วมนานก็ยิ่งมีปัญหามาก เกิดโรคเท้าเปื่อย แผลพุพอง เชื้อหนอง เชื้อรา เชื้อพยาธิ จะติดตามมากันใหญ่ ประชาชนรู้จักเรื่องโรคผิวหนังที่มากับน้ำท่วมกันดี หนังสือพิมพ์และวิทยุก็ออกข่าว บทความอยู่บ่อยๆ บางครั้งก็มีข้อความก่อให้เกิดอารมณ์ขันบ้าง เช่น น้ำท่วมที่โน่นที่นี่ ให้ช่วยกันวิดช่วยกันสูบหน่อย ขืนปล่อยให้ขังนานๆ เดี๋ยวโรคน้ำกัดเท้าหรือฮ่องกงฟุตจะกำเริบกันทั้งหมู่บ้าน

โรคผิวหนังเป็นโรคสำคัญที่มากับน้ำท่วม อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคระบบอื่นที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งได้แก่ โรคท้องร่วง โรคระบบหายใจ เช่น เป็นหวัด ปอดบวม ถ้าย้ำยิ่งขังเนิ่นนานออกไป จะยิ่งติดอันดับทุกระบบ รวมทั้งโรคขาดอาหารด้วย เพราะไม่มีอาการจะกิน ประชาชนรู้จักโรคน้ำกัดเท้ากันดี ชื่อก็บอกอยู่ในตัวว่ามีสาเหตุจากเท้าแช่น้ำนานๆ ในระหว่างน้ำท่วมขังอยู่รอบบ้านและในบ้าน รวมไปถึงผู้ที่มีภาระหน้าที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทีลุยน้ำไปมาจนเกิดอาการน้ำกัดเท้า
“โรคน้ำกัดเท้า” ไม่ปรากฏผู้บัญญัติศัพท์นี้ คงเป็นคำที่เรียกกันไปมาจนติดปาก เพราะสื่อความหมายโดยตรง จนกลายเป็นชื่อโรค จัดเป็นชื่อที่เหมาะสมดี ฟังเข้าใจง่ายโดยไม่ต้องตีความ ดีกว่าชื่อโรคอีกหลายโรคที่ชื่อฟังยาก ยิ่งชื่อโรคที่ไม่เคยมีบัญญัติภาษาไทย ต้องแปลจากภาษาฝรั่งผู้ป่วยฟังแล้วงง โรคน้ำกัดเท้า เกิดจากเท้าที่แช่น้ำที่มีเชื้อโรค สิ่งปฏิกูล เช่น มูลสัตว์ มูลฝอย ปะปนอยู่เป็นที่รวมของความสกปรก มีฤทธิ์ระคายเคืองต่อผิวหนัง สามารถย่อยโปรตีนผิวหนังให้เปื่อยยุ่ย ยิ่งถ้ามีแผลเปื่อยอยู่ก่อนก็จะยิ่งเป็นมากขึ้น เป็นประตูให้เชื้อโรคเข้าสู่รอยเปื่อยนั้น ทำให้เกิดแผลบวม มีหนองหรือเป็นฝี มีอาการเจ็บปวด เดินไม่ไหว ไข่ดันบวม ถึงกับเป็นไข้

ในระยะแรกนี้ เท้ายังไม่เป็นเชื้อรา เป็นแค่เท้าเปื่อยและมีเชื้อหนอง เชื้อราเกิดจากเมื่อเท้าอับชื้นเป็นเวลานาน ตัวอย่างเช่น ผู้ที่ใส่รองเท้าอบทั้งวัน นักกีฬาที่มีเหงื่อออกมากและมีการอาบน้ำรวมกันหรือแหล่งเดียวกัน เกิดการแพร่เชื้อและติดเชื้อที่ตกค้างอยู่ในบริเวณในห้องน้ำ ผู้ที่เดินย่ำเท้าเปล่าย่ำอยู่บนพื้นดินพื้นทรายที่มีเชื้อราปะปนอยู่ ก็มีโอกาสติดเชื้อราที่เท้าได้ง่าย จะเห็นว่าเชื้อรากว่าจะก่อตัวเข้าไปกัดเท้าต้องใช้เวลา และค่อยเป็นค่อยไป มิใช่จะมาเกิดระบาดในขณะน้ำท่วมในปัจจุบันทันด่วนเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้ เพราะฉะนั้น โรคที่มากับน้ำท่วม เดินย่ำน้ำจนเท้าเปื่อยจนเกิดน้ำกัดเท้านั้น จึงยังมิใช่ “เชื้อรา” หรือฮ่องกงฟุตตามที่เข้าใจกัน ปรากฏมีผู้ป่วยเป็นจำนวนมากซื้อยาเชื้อรามาใช้อยู่นาน โดยที่ความจริงโรคที่เป็นไม่ใช่เชื้อรา

การป้องกันและรักษา ในระยะนี้จึงเป็นเรื่องของจากรักษาความสะอาดและพยายามให้เท้าแห้งมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ มีข้อแนะนำ 10 ประการในการป้องกันและรักษาโรคน้ำกัดเท้าขณะอยู่ในภาวะน้ำท่วม
๑. ควรหลีกเลี่ยงการย่ำน้ำโดยไม่จำเป็น เช่น ท่องน้ำหรือเล่นน้ำเพื่อความสนุก
๒. เมื่อจำเป็นโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรใช้รองเท้าบูทที่ทำด้วยยางกันน้ำ หากน้ำยังล้นเข้าไปในรองเท้าบูท ให้ถอดแล้วเทน้ำในรองเท้าทิ้งเป็นคราวๆ ยังดีกว่าแช่อยู่ตลอด
๓. เมื่อกลับเข้าบ้านให้ล้างเท้าให้สะอาด โดยแช่น้ำและสบู่ ควรเช็ดให้แห้ง โดยเฉพาะบริเวณซอกเท้า
๔. เพื่อให้เท้าแห้งสนิท ให้ใช้แป้งฝุ่นสำหรับโรยตัว โรยที่เท้าและซอกเท้า
๕. หากมีบาดแผลให้ใช้แอลกอฮอล์เช็ดแผล แล้วทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ทิงเจอร์เบตาดีน
๖. ถ้ามีแผลอักเสบบวมและปวด และบางครั้งรุนแรงจนถึงเป็นไข้ ให้กินยาแก้อักเสบ เช่น ซัลฟา เพนิซิลลิน หรืออีริโทรมัยซิน ติดต่อกันเป็นเวลา ๑ สัปดาห์ หรือจนกว่าแผลจะหายดี
๗. หากสงสัยว่าจะเป็นเชื้อรา แนะนำให้มาตรวจเชื้อที่สถาบันโรคผิวหนัง ถนนราชวิถี การตรวจ ใช้วิธีขูดขุยที่ผิวบริเวณแผลไปตรวจ ไม่มีอาการเจ็บปวดแต่อย่างใด
๘. ไม่ควรเริ่มใช้ยาเชื้อราก่อนการพิสูจน์เชื้อ เพราะอาจทำให้เกิดอาการแพ้ อาจเสียเงินและเสียเวลาโดยใช่เหตุ เนื่องจากยาเชื้อราต้องใช้เวลารักษานานและมีราคาแพง
๙. ยารักษาเชื้อราบางชนิด เช่น ขี้ผึ้งวิทฟิลด์ ซึ่งเป็นยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย เนื่องจากหาง่ายและราคาถูก มีฤทธิ์ทำให้ผิวลอก หากนำมาใช้ขณะน้ำกัดเท้าจะยิ่งก่อให้เกิดการระคายเคือง เจ็บแสบ และผิวถลอกมากขึ้น จึงไม่ควรนำมาใช้ในระยะนี้
๑๐. ขอฝากคำขวัญให้ผู้ที่ต้องย่ำน้ำท่วมขังเสมอว่า “เมื่อลุยน้ำท่วมขังให้ล้างน้ำฟอกสบู่ เช็ดจนแห้ง แล้วเอาแป้งโรย”


แหล่งข้อมูล
นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 
219
เดือน-ปี : 
07/2540
http://www.doctor.or.th/node/2751
ภาพประกอบ:

เชี้อโรคกับภาวะน้ำวิปริต ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา


ภาวะน้ำวิปริต  ทั้งท่วมและลด มักจะมาพร้อมกับความเสี่ยงต่อโรคติดเชื้อ ทั้งที่มากับน้ำ โคลนเลนโดยตรง และที่พ่วงมากับ ยุง แมลง เห็บ ริ้น  ส่วนที่มากับน้ำที่สำคัญ คือ ท้องเสีย ท้องร่วง ตับอักเสบ A ผ่านทางการกินอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และไข้หวัดใหญ่ซึ่งผสมโรงตอนหน้าหนาว และในขณะที่ผู้คนอพยพต้องอยู่กันแออัดยัดเยียด และอาจเกิดบานปลายระบาดในวงกว้าง และรวมทั้งโรคที่มากับฉี่สัตว์ หนู หมา วัว ควาย (เลปโตสไปโรสิส) โดยที่เชื้อสามารถชอนไชเข้าผิวหนัง โดยเฉพาะที่เปื่อย จากน้ำกัดเท้า แผลเรื้อรังจากเบาหวาน เส้นเลือดขอด ซึ่งมีโอกาสติดเชื้อ เกิดแผลหนองง่ายอยู่แล้ว โรคที่มากับฉี่สัตว์ เชื้อยังเข้าร่างกายทางเยื่อบุปาก ตา การกินอาหาร น้ำที่มีเชื้อ และหายใจเอาฝอยฟุ้งของฉี่สัตว์ที่มีเชื้อ ทั้งนี้จะเริ่มพบโรคได้มากขณะน้ำเริ่มลด ย่ำน้ำโคลน เลน โดยเชื้อที่ถูกปลดปล่อยออกมาในฉี่สัตว์ จะสามารถมีชีวิตได้เป็นเดือนในโคลน ดิน ชื้นแฉะ 


การย่ำน้ำที่มองไม่เห็นพื้น มักเกิดบาดแผล ส่วนของแผลที่กลัวจะเป็นบาดทะยัก ต้องเข้าใจว่าไม่ได้เกิดง่ายดาย จะขึ้นกับลักษณะแผล ที่มักเป็นแผลปิด รุ่งริ่ง มีเศษเสี้ยนติดค้าง เนื้อตาย มีหนอง ซึ่งจะเอื้ออำนวยสภาวะพร่องอากาศในแผล ทำให้สปอร์บาดทะยักฟักเป็นตัวแบคทีเรียปล่อยสารพิษเข้าสู่เส้นประสาท  คนที่ได้วัคซีนบาดทะยักครบในขวบปีแรก และฉีดกระตุ้นเมื่อ 4-6 ปี แม้มีแผลเสี่ยง ภายใน ปี ไม่ต้องฉีดกระตุ้น แต่อายุเกิน65 ปี ควรกระตุ้นซ้ำ บาดทะยักไม่เป็นโรคระบาด และ มีโอกาสน้อยมากที่จะเกิดในภาวะน้ำวิปริต ข้อสำคัญคือเมื่อมีแผลต้องล้างด้วยน้ำและสบู่ เอาวัตถุตกค้างออก และรักษาการติดเชื้อที่แผลให้หาย ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำหรือโคลนเลน การใช้ขี้ผึ้งแก้น้ำกัดเท้า (Whitfield ointment) ช่วยบรรเทาและรักษาแผลจากน้ำกัดเท้าได้ดี เนื่องจากมีตัวยาฆ่าเชื้อราและแบคทีเรียในเบื้องต้นได้
  
     โรคตาแดงในภาวะน้ำท่วม อาจไม่ใช่ไวรัส อาจเกิดได้จากเชื้อแบคทีเรีย รา ซึ่งจะเกิดเป็นราย ๆ ไป อาการตาแดงยังอาจเป็นอาการเตือนของโรคร้ายแรงอื่นๆ ซึ่งระบาดในวงกว้างได้  เช่นโรคฉี่สัตว์     ไวรัสเอนเทอโร (Enterovirus)ที่ทำให้เกิดโรคมือ เท้า ปาก เชื้อจากเห็บ หมัด ทำให้เกิดโรคริกเก็ตเซีย (Rickettsia) ที่อาการคล้ายกับโรคเลปโต ฯ  

            ยังไม่พอ เชื้อที่มากับยุง แมลง เห็บ ริ้น ที่ระบาดได้ นอกจากมาเลเรีย ที่ถิ่นระบาดอยู่ในภาคเหนือ ยังมีที่สำคัญอีกหลายโรคคือ ไข้เลือดออก (dengue) ไข้สมองอักเสบ ทั้งนี้คนที่เคยได้รับเชื้อสมองอักเสบ JE ที่ชุกชุม ในบ้านเรา ทั้งที่มี หรือไม่มีอาการก็ตาม จะมีภูมิป้องกัน แต่ถ้าได้เชื้อไข้เลือดออก กลับทำให้โรคไข้เลือดออกกลับรุนแรงขึ้นไปอีก   และขณะนี้ต้องระวังไข้เลือดออกสายพันธ์ใหม่จากจีน (SFTV) และไวรัสไข้เลือดออกในตระกูลFilovirus Bunyavirus Arenavirus Flavivirus  สมองอักเสบนอกจาก JE ยังเกิดจากไวรัสอีกหลายชนิด(ไวรัส Chandipura West Nile และ ไวรัสในตระกูล Togavirus  Flavirus  Bunyavirus Reovirus และParamyxovirus) รวมทั้งไข้เลือดออก dengue แม้ไม่มีอาการของไข้เลือดออกและไข้หวัดใหญ่ยังทำให้เกิดสมองอักเสบได้เช่นกัน

            ดังนั้นการเกิดผู้ป่วยสมองอักเสบ เป็นสัญญานเตือนภัยว่าอาจจะเกิดโรคในวงกว้าง และต้องระวังอย่างเคร่งครัด ควรมีมาตรการณ์ป้องกันไม่ให้ถูกแมลง ยุง เห็บ ริ้น กัด โดยการป้องกันยุงและแมลงกัด ใช้ยาพ่นสเปรย์ที่เสื้อผ้าและผิวหนังนอกร่มผ้า ยาไล่ยุง แมลง มีทั้งแบบมาตรฐานที่มีส่วนประกอบเป็น DEET หรือ picaridinและแบบที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์ ธรรมชาติ เช่น ตะไคร้หอม เป็นต้น หลักการที่สำคัญ อาจต้องทราบคร่าว ๆ ว่า ผลิตภัณฑ์ นั้น ๆ สามารถไล่ ยุง แมลง ชนิดใดได้บ้าง ได้นานกี่ชั่วโมง และในระยะห่างที่เมตร ในการฉีดยาไล่ยุงแมลง ห้ามใช้บริเวณที่มีแผล หรือผิวหนังอ่อน เช่น ตา หนังตา ริมฝีปาก และบริเวณใบหู ห้ามฉีดโดยตรงบนใบหน้า ให้สเปรย์ที่ฝ่ามือก่อนแล้วนำมาลูบใบหน้า ห้ามเด็กใช้ยาไล่ยุงเอง ให้พ่นใส่ฝ่ามือผู้ใหญ่ แล้วลูบไปบนผิวหนังเด็ก เมื่อกลับมาถึงที่ไม่มียุง แมลง แล้วให้ล้างออกด้วยน้ำสบู่ รวมทั้งเสื้อผ้า หากซักล้างได้จะปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ถ้าทำไม่ได้อาจปล่อยทิ้งไว้ โดยที่ถ้ามีอาการคันหรือผื่นขึ้นค่อยล้างออก ในกรณีของยาไล่ยุงที่ทำจากผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ อาจไม่ต้องเข้มงวดกับการล้างทิ้ง และการระวังเมื่อพ่นที่ผิวหนังอ่อนมากนัก แต่กระนั้นให้ระวังถ้าจะใช้ในเด็กอายุน้อยกว่าสามขวบ สตรีมีครรภ์หรือให้นมบุตร

            โดยรวมเมื่อเกิดอาการผิดปกติในผู้ประสบภัยพิบัติจากน้ำวิปริต อาจต้องพิจารณาเป็นราย ๆ ไป เพื่อหาสาเหตุ โดยเฉพาะที่มาด้วยไข้ ซึ่งอาจเป็นอาการเริ่มต้นของโรคฉี่สัตว์ ไข้เลือดออก ไข้หวัดใหญ่เป็นต้น อาการปวดศีรษะ ซึม ไม่ค่อยรู้ตัว พฤติกรรมสับสน หรือมีอาการชัก บ่งบอกถึงโรคสมองและ/ หรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทั้งที่มาจากแบคทีเรีย ไวรัส จากยุงและแมลง อาการตาแดง ซึ่งอาจแสดงถึงโรคฉี่สัตว์ ไข้เลือดออก โรคตาแดงจากไวรัส มือเท้าปาก ซึ่งลุกลามเข้าไขสันหลังและสมองได้ และอาการท้องร่วง ลักษณะอาการเหล่านี้ เมื่อตรวจพบ จำเป็นต้องรีบทำการรักษา ควบคุมการแพร่ระบาดอย่างทันท่วงที

แหล่งข้อมูล 
ศ.นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา, เชี้อโรคกับภาวะน้ำวิปริต, 
http://www.facebook.com/notes/thiravat-hemachudha/เชี้อโรคกับภาวะน้ำวิปริต-ศนพธีระวัฒน์-เหมะจุฑา/289113221113511

ภาพประกอบ
http://www.thaitravelnews.net/wp-content/uploads/2011/09/thailand_floods2011.jpg

วันพุธที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ไข้หวัด: จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกป่วย? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



เอ๊ะ...ลูกป่วยหรือเปล่านะ พอเอามืออังหัวลูกน้อยที่ร้อน ก็ทำเอาพ่อแม่หนักใจเลยว่าเจ้าตัวน้อยของเราจะเป็นไข้หรือไม่นะ ไม่รู้ว่าควรจะทำอย่างไรดี ปัญหาดังกล่าวเภสัชกรมักได้รับเป็นคำถามประจำ เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้คุณพ่อคุณแม่ไปสังเกตว่า ลูกตัวน้อยของคุณป่วยหรือไม่
ทำไมลูกถึงเป็นไข้นะ?
ก่อนอื่นต้องทราบก่อนว่าร่างกายเรามีระบบควบคุมอุณหภูมิร่างกายที่ต้องทำงานระบายความร้อนออกมาเป็นร่างกายที่ร้อนหรืออุ่นขึ้น พร้อมกับมีเหงื่อไหลซึมออกมาระเหยเพื่อให้ตัวเราลดอุณหภูมิลงจนเป็นปกติ แต่การที่น้องเล็กของเรามีอาการตัวร้อน อาจเนื่องเพราะกลไกควบคุมอุณหภูมิในร่างกายของเด็กเล็กๆ ยังทำงานได้ไม่ดีนัก หลายครั้งที่เราจึงเป็นไปจับตัวลูกอาจจะรู้สึกว่าร้อน แต่จริงๆแล้วร่างกายเขาก้อไม่ได้ผิดปกติ อาจจะตัวร้อนมากขึ้นเนื่องมาจากห้องของลูกร้อนเกินไป คุณพ่อคุณแม่ใส่เสื้อผ้าหลายชั้น หรือห่มผ้าหนาๆ ให้ลูกจนรู้สึกร้อน อึดอัด ไม่สบายตัวได้  
หากสำรวจดูแล้วปกติ แต่ลูกยังตัวร้อนอยู่ แสดงว่าลูกอาจเป็นไข้ก็ได้ ขอแนะนำให้ใช้ปรอทหรือเทอร์โมมิเตอร์วัดไข้ เพราะเป็นวิธีทดสอบที่ได้ผลว่าลูกเป็นไข้หรือไม่ได้น่าเชื่อถือกว่าใช้มือสัมผัส  ถ้าตัวเลขบนปรอทขึ้นไปถึง 39 องศาเซลเซียส แสดงว่าไข้ขึ้นสูง ควรเริ่มช่วยระบายความร้อนด้วยการถอดเสื้อผ้าของลูกออก และรีบใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำเช็ดตัวลดไข้ให้ลูก พร้อมให้ลูกดูดน้ำหรือนมเพื่อช่วยลดความร้อนในร่างกาย ถ้าลูกอายุ 3 เดือนขึ้นไป ควรป้อนยาพาราเซตตามอลสำหรับเด็กเพื่อลดไข้

สัญญานต่อไปนี้ ที่ลูกรักมีอาการบอกว่า ลูกรักผิดปกติแล้วหล่ะ
หากเราพบว่าลูกรักมีอาการดังนี้ อย่าวางใจ
·      เบื่อไม่ยอมกินนม หรือกินน้อยมาก
หากลูกรักมีอาการการเบื่อนม กินได้น้อย หรือแทบไม่กินเลย เป็นสัญญานอาการเริ่มต้นของการป่วยได้  หากถ้าลูกอ่อนของเราซึ่งเคยเจริญอาหาร กินเก่งมั่กๆ อยู่ๆ กลับไม่ยอมกินนม คงไม่ดีแน่ ควรพยายามป้อนนมหรือน้ำให้ลูกบ่อยๆ จะให้จิบจากช้อน หรือดูดจากขวดก็ได้ การให้นมกับน้ำบ่อยๆ จะช่วยให้ร่างกายของลูกไม่ขาดน้ำ จากนั้นควรจะปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำ
·      เสียงลมหายใจที่เปลี่ยนไป
หากรู้สึกว่าลูกหายได้ลำบาก มีเสียงดัง หรือหายใจถี่มาก แสดงว่าลูกอาจมี ปัญหาหายใจไม่สะดวก หรืออาจมีของติดหรือขวางทางเดินหายใจของลูก ให้รีบตรวจดูคอและจมูกของลูก ถ้าไม่มีสิ่งผิดปกติใดๆ แต่ลูกยังหายใจผิดปกติอยู่ ควรปรึกษาแพทย์ด่วน
·      อาเจียน
บางครั้งลูกรักอาจมีอาการแหวะนมหลังดูดนมจนอิ่มได้บ้าง เป็นเรื่องปกติของเด็กเล็กๆ เพราะหูรูดกระเพาะอาหารในวัยนี้ ยังไม่แข็งแรง เลยทำให้มีน้ำนมไหลล้นออกมาได้บ้าง แต่ถ้าลูกอาเจียนเอานมหรือน้ำที่ทานเข้าไปจนเกือบหมด อย่างนี้ไม่ได้การแล้ว
ควรรีบดูว่าลูกมีอาการทางกายอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น ตัวร้อน ท้องร่วง ฯลฯ เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณว่าเจ้าตัวน้อยของเราป่วยเสียแล้ว
·      มีอาการซึม ไม่สนใจสิ่งสิ่งเร้ารอบตัวเหมือนเคย
อาการนี้อาจเกิดขึ้นได้หากลูกเหนื่อยหรือเบื่อ แต่ถ้าสังเกตเห็นว่าเจ้าตัวเล็กดูอ่อนเพลีย แข้งขาไม่มีแรง นั่งซึม ก็ไม่ควรวางใจ นอกจากนั้นควรสังเกตดูด้วยว่าลูกหายใจเป็นปกติหรือไม่ ทานนมได้สะดวกมั้ย ลองคลำดูบริเวณท้อง ลำคอ และหน้าผากของลูกด้วยว่าร้อนหรือไม่ อาการดังกล่าวแสดงว่าลูกน้อยของคุณไม่สบายเสียแล้ว
·      ท้องเสีย
การที่เด็กอ่อนถ่ายวันละหลายๆ ครั้ง โดยมักถ่ายเป็นสีเหลืองหรือออกเขียว ถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าลูกถ่ายเหลวมากหรือเป็นน้ำ อุจจาระมีกลิ่นและลักษณะไม่เหมือนปกติติดต่อกันหลายๆ ครั้ง ถึงแม้ว่าลูกจะยังดูปกติดีก็ไม่ควรชะล่าใจ เพราะการท้องร่วงทำให้ร่างกายได้สูญเสียน้ำได้อย่างรวดเร็ว อาจช็อกและเป็นอันตรายได้
·      ร้องไห้ งอแง โยเย
เสียงร้องไห้กับเด็กเป็นของคู่กัน เพราะเสียงร้องเป็นเครื่องมืออย่างเดียวที่ลูกสามารถบอกคุณได้ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นหิว เหนอะหนะ รำคาญ เหงา เบื่อ เจ็บปวด ไม่สบาย สิ่งสำคัญก็คือ ถ้าลักษณะการร้องและเสียงร้องของลูกเปลี่ยนไป และเมื่อลองแก้ไขอย่างเคยแล้วก็ยังไม่หยุดร้อง อาจเป็นไปได้ว่าลูกป่วย หรือไม่สบายมาก
·      ปากและแก้มแดง
การที่ปากและแก้มน้อยๆ ของลูกแดงขึ้นนั้น นอกจากเป็นเพราะพิษไข้แล้ว การที่ปากของลูกแดงอาจมีการอักเสบในช่องปาก หรือแก้มอาจเกิดจากผิวอักเสบเนื่องจากผดผื่นได้
·          ผื่นขึ้น
ผิวของเด็กอ่อนบอบบางมาก จึงง่ายต่อการเกิดผดผื่น ข้อสำคัญก็คือ ถ้ามีผื่นขึ้นโดยไม่มีไข้หรือตัวร้อนอาจจะเป็นการแพ้ธรรมดา แต่ถ้ามีไข้ร่วมกับผื่นขึ้นด้วยแสดงว่า ลูกไม่สบายแล้ว

แต่ถ้าหาก ถ้าเห็นลูกมีอาการต่อไปนี้ อย่ารอช้า รีบพาลูกไปโรงพยาบาลทันที
* ซึม ไม่ค่อยรู้สึกตัว หมดสติ
* ชัก
* หายใจลำบาก กระสับกระส่าย เหงื่อออกมาก มือเท้าเย็น
* หอบกระวนกระวาย หน้า มือหรือเท้าเป็นสีคล้ำ
* อาเจียนหรือท้องเสียมาก จนปากแห้ง ขอบตาลึก หรือเห็นว่ากระหม่อมยุบลงไป
* ปัสสาวะน้อยผิดปกติ หรือไม่ถ่ายปัสสาวะเกิน 8 ชั่วโมง
* ถ่ายอุจจาระหรืออาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีดำ

 ที่กล่าวมาทั้งหมดเป็นวิธีสังเกตุเบื้องต้นเมื่อลูกป่วย คุณพ่อแม่แทนที่จะมัวแต่กังวลใจควรทบทวนและหมั่นสังเกตุ หากมีอาการผิดปกติอย่างไร อย่าวางใจ รีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันทีนะครับ

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 19 ตค. 2554  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

รูปประกอบจาก

http://2.bp.blogspot.com/_Vr8Xl0cbUZA/ShXuCbaJeJI/AAAAAAAAHAQ/eKas6wQ6U8E/s400/Image+%3D+Fever+2.jpg
  1. Fever in Infants and Children, familydoctor.org , http://familydoctor.org/online/famdocen/home/tools/symptom/504.html
  2. Fever in Children, eMedicineHealth , http://www.emedicinehealth.com/fever_in_children/article_em.htm
  3. Flu (Influenza), medicinenet.com, 
  4. http://www.medicinenet.com/influenza/article.htm
  5. Seasonal Flu Guidance , A federal government Website managed by the U.S. Department of Health & Human Services - 200 Independence Avenue, S.W. - Washington, D.C. 20201, http://www.flu.gov/professional/hospital/index.html
  6. Influenza (Flu) Antiviral Drugs and Related Information, http://www.fda.gov/drugs/drugsafety/informationbydrugclass/ucm100228.htm
  7. Information on availability of influenza vaccine: Food and Drug Administration, Center for Biologics Evaluation and Research, Office of Communication, Training & Manufacturers Assistance, 301-827-1800.  Fax: 301-827-3843
  8. ,octma@fda.hhs.gov
  9. Information on drugs used to treat influenza:, Food and Drug Administration, Center for Drug Evaluation and Research, Drug Information Line, druginfo@fda.hhs.gov
  10. Information on influenza prevention and control: Centers for Disease Control and Prevention, Public Inquiries Office, inquiry@cdc.gov, cdcinfo@cdc.gov
  11. Questions & Answers: Antiviral Drugs, 2009-2010 Flu Season, Centers for Disease Control and Prevention   1600 Clifton Rd. Atlanta, GA 30333, USA, http://www.cdc.gov/h1n1flu/antiviral.htm
  12. Flu, Centers for Disease Control and Prevention   1600 Clifton Rd. Atlanta, GA 30333, USA, http://www.cdc.gov/flu/
  13. เมื่อลูกน้อยป่วย... การดูแลเบื้องต้น, http://www.chulakid.com/forum/index.php?topic=125.0
  14. 

พญ. วรรณสิริ วรรณสถิตย์     "อาการป่วยที่พบบ่อยในเด็ก" http://kanchanapisek.or.th/kp4/book343/ill.htm
  15. น.ท. นพ. จักรพงศ์ ไพบูลย์ อายุรแพทย์,หวัด โรคหน้าหนาว , http://www.thaiclinic.com/medbible/commoncold.html
  16. ว พชร, ยาแก้โรคหวัด มีจริงหรือ, จันทร์ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552, http://herbnatureandliving.blogspot.com/2009/12/2.html
  17.  


เว็บไซต์การจัดการผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากภาวะน้ำท่วม


เว็บไซต์การจัดการผลกระทบต่อสุขภาพที่เกิดจากภาวะน้ำท่วมรวบรวมมาจากเครือข่ายผู้สนใจประเด็นความท้าทายทางสุขภาพ (health challenge) ที่กำลังศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักร และผู้สนใจด้านสุขภาพในประเทศไทย ลองคลิ้กไปดูหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับการตั้งรับและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมดูนะครับ

การจัดการผลกระทบต่อสุขภาพทั่วไป

  • ถาม-ตอบ ผลกระทบต่อสุขภาพเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม  Flooding – Frequently Asked Health Questions
  • ความเสี่ยงจากภัยพิบัติที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพเด็ก Disaster Risk Management for Health CHILD HEALTH
  • การทำความสะอาดบ้านเรือนภายหลังน้ำลด Cleaning up after a flood – health advice
  • เอกสารสำคัญในการจัดการความเสี่ยงต่อสุขภาพเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม Key Documents, UK Health Protection Agency
  • ความเสี่ยงต่อสุขภาพจากภาวะน้ำท่วม Health risks and hazards caused by floods

การจัดการอันตรายจากสารเคมีปนเเปื้อนและสิ่งแวดล้อม

  • จัดการอันตรายจากสารเคมีและสิ่งแวดล้อมที่มากับภาวะน้ำท่วม Chemical  and environmental hazards Management, NHS Direct
  • พัฒนาแผนการดำเนินงานเพื่อจัดการการปนเปื้อนของสารเคมีเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม Development of a risk assessment framework for potential chemical contamination during flood events (p33-36)
  • ผลกระทบของอันตรายจกน้ำท่วมและสารเคมีรั่วไหลต่อสาธารณสุข Public health impacts of floods and chemical contamination, Journal of Public Health Vol. 26, No. 4, pp. 376–383
  • การจัดการอันตรายที่อาจเกิดจากอุตสาหกรรมยา Hazards Management  in  Pharmaceutical Industry, The Andhra Pradesh Industrial Infrastructure Corporation Ltd. (APIIC

กฏหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องของประชาคมยุโรป

  • รวบรวมกฏหมายและข้อบังคับที่สำคัญของประชาคมยุโรป European Key documents on flood risk management
  • กฏหมายการจัดการความเสี่ยงของภาวะน้ำท่วมของประชาคมยุโรป EU flood directive
  • กฏหมายว่าด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมของประชาคมยุโรป DIRECTIVE 2008/1/EC OF THE EUROPEAN PARLIAMENT AND OF THE COUNCIL of 15 January 2008 concerning integrated pollution prevention and control
  • รายงานวิธีการจัการภาวะน้ำท่วมของประชาคมยุโรป Review report of operational flood management methods and models, FLOODsite is co-funded by the European Community Sixth Framework Programme for European Research and Technological Development (2002-2006)
  • การประเมินความเสี่ยงและการจัดการความเสี่ยงเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม Flood risk assessment and flood risk management: An introduction and guidance based on experiences and findings of FLOODsite   (an EU-funded Integrated project)
  • คู่มือการวางแผนผลกระทบต่อสุขภาพที่มาจากสิ่งแวดล้อมเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม Manual for Environmental Health Contingency Planning for Floods in the Caribbean (PAHO, WHO; 2003; 78 pages)
  • การบริหารจัดการสารพิษจากโรงงานอุตสาหกรรมเมื่อเกิดภาวะน้ำท่วม Disaster risk management in chemical industries — A case study; flood emergency in a chemical industry with a case study of a flood incident at Ammonia based chemical plant at Hazira, Sura
  • การจัดการสถานที่ทำงานให้ปลอดภัยระหว่างที่เกิดภาวะน้ำท่วม Workplace safety during flood recovery
  • การจัดการทำความสะอาดสถานที่ทำงานภายหลังน้ำท่วม Workplace health and safety laws when cleaning after floods and storms

การจัดการสถานพยาบาลและสาธารณสุขทั่วไป

  • การจัดการในโรงพยาบาลเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ Safe Hospitals in Emergencies and Disasters

การจัดการรบบเสัชกรรม

  • คำแนะนำสำหรับเภสัชกรที่ออกปฏิบัติหน้าที่ในประเทศออสเตรเลีย Advice for approved pharmacists supplying PBS medicines to patients in areas affected by the Queensland Flood Emergency
  • Rx Response: แนวปฏิบัติระบบการกระจายยาในช่วงภัยพิบัติ 
  • บทความแนวทางปฏิบัติสำหรับเภสัชกรคลินิกในภาวะฉุกเฉิน Clinical Pharmacists in Emergency Medicine
  • ศูนย์วิจัยสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ของเภสัชกรในภาวะฉุกเฉิน The Emergency Pharmacist Research Center