วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2554

“โรคกรดไหลย้อน ” คืออะไรกันนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

วันหนึ่งเราก้อว้าวุ้นอยู่แต่กับการทำงาน หรือการเรียนจนหัวหมุน 
ทำให้กินข้าวไม่ตรงเวลาเลยซักที เวลากินก้อรีบเคี้ยวๆๆๆให้มันหมดไป  

วันร้ายมาถึงเกิดอาการแสบร้อนบริเวณอก และรู้สึกเปรี้ยวขมในปาก 
เหมือนอะไรเปรี้ยวๆ ไหลทะลักจากกระเพาะมาล้นปาก จุกเสียดตึงแน่นกระเพาะไปหมด 
ตามมาด้วยอาการแสบคอ เจ็บคอบ่อยๆ บางวันเสียงแหบไปเลยก้อมี

หากเราเคยมีอาการดังกล่าวนี้แสดงว่าอาจกำลังเป็น “โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)” 
ซึ่งเป็นโรคที่เกิดจากการไหลย้อนของกรดในกระเพาะอาหารกลับไปที่หลอดอาหาร เภสัชกรหนุ่มหล่อจึงจะมาแนะนำคุณให้รู้จักกับโรคกรดไหลย้อนให้มากขึ้น พร้อมทั้งวิธีการปฏิบัติตัว แนวทางการรักษา และเทคนิคต่าง ๆ ที่จะช่วยให้คุณมีอาการดีขึ้นได้

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease: GERD) คืออะไร
หมายถึงโรคที่มีอาการเกิดจากการไหลย้อนกลับของกรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารแทนที่จะอยุ่ของเขาดีๆ
ในกระเพาะกลับดันไหลขึ้นไปข้างบนในหลอดอาหารอย่างผิดปกติ สามารถเกิดขึ้นได้ในเวลากลางวัน หรือกลางคืน 
หรือแม้แต่ในยามที่เราไม่ได้กินอาหารอะไรเลยก้อตาม เอากะเขาซิ

พอไหลย้อนขึ้นมาเนื่องจากน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดอยุ่แล้ว เจออะไรที่เป็นเนื้อเยื่อโปรตีนในร่างกายเราแท้ 
เขาก้อไปออกฤทธิ์มีเดชทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองของกรด 
เช่น ทำให้เกิดหลอดอาหารอักเสบและมีแผล หรืออักเสบโดยไม่เกิดแผล 
หรือถ้ากรดไหลย้อนขึ้นมาเหนือกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบนได้ 
อาจทำให้เกิดอาการนอกหลอดอาหาร (atypical or extraesophageal GERD) 
เช่น อาการทางปอด หรือ อาการทางคอและกล่องเสียง (laryngopharyngeal reflux : LPR) ขึ้นมาได้

ทำไมถึงเป็นโรคนี้ได้นะ
ในยามปกติร่างกายเรา มีกลไกป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไหลย้อนกลับไปอยู่แล้ว 
คือปกป้องไม่ให้กรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนศรขึ้นไป ในระบบทางเดินอาหารส่วนบน 
คือมีการบีบตัวของหลอดอาหาร มีการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนบน มาปิดในยามที่ไม่มีอาหารที่เคี้ยวกลืนมาแล้วไหลผ่าน และสุดท้ายอีกด่าน ส่วนล่างเยื่อบุของหลอดอาหารยังมีกลไกป้องกันการทำลายจากกรด


โรคกรดไหลย้อนเชื่อว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง มีการคลายตัวอย่างผิดปกติ 
ทำให้มีการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่าย จึงมีกรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอย กล่องเสียง และปอดได้

ตอนหน้าเรามาดูว่า  เภสัชกรจะมีคำแนะนำอย่างไร เพื่อตรวจดูว่าเรากำลังเป็นโรคนี้อยุ่

อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 ตค. 2554  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

รูปประกอบจาก  http://www.healthyrevelations.com/blog/wp-content/uploads/2009/11/heartburn.jpg และ http://cmvlive.com/images/stories/Health/acid-reflux-diagram.jpg
  1. Joel J Heidelbaugh, MDUMHS GERD Guideline, January 2007, Family Medicine, Regents of the University of Michigan, cme.med.umich.edu/pdf/guideline/GERD07.pdf
  2. Updated Guideline for the Diagnostic and  Treatment of Gastroesophageal Reflux Disease (GERD). , Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition, 49:498–547 # 2009, European Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition and North American Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition
  3. Clinical Standard for Adult Gastroesophageal Reflux (GERD), The Madigan Army Medical Center - Quality Services Division, Revised:  October 2001, http://www.mamc.amedd.army.mil/clinical/standards/gerd_alg.htm
  4. Evidence-Based GERD Guidelines Released By The American Gastroenterological Association, Article Date: 22 Oct 2008, http://www.medicalnewstoday.com/releases/126415.php
  5. Gastroesophageal Reflux Disease (GERD, Acid Reflux, Heartburn), Medicinenet., http://www.medicinenet.com/gastroesophageal_reflux_disease_gerd/article.htm
  6. Dr. Alan L Ogilivie, Gastro-oesophageal reflux (acid reflux), http://www.netdoctor.co.uk/diseases/facts/gastrooesophagealreflux.htm
  7. Acid Reflux (GERD) Drug Information, HealthCentral.com, http://www.healthcentral.com/acid-reflux/find-drug.html
  8. รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, โรคกรดไหลย้อน ตอนที่ 1 และ 2,   ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=294, http//www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=295
  9. รศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์,กรดไหลย้อน.....ภัยเงียบวัยทำงาน, สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=726
  10. รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน,สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน , ตอนที่ 1 และ 2, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=631 , http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=632
  11. สุวรรณา  กิตติเนาวรัตน์, ภาวะกรดไหลย้อน  (GERD), คม.(นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร), ET., วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย, http://www.google.com/url?sa=t&source=web&cd=28&ved=0CEgQFjAHOBQ&url=http%3A%2F%2Fimages.cdri.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FS3P98AooCkQAABASlcA1%2FGERD.doc%3Fkey%3Dcdri%3Ajournal%3A16%26nmid%3D81114654&ei=GluGTpbZDsiHrAej-My-Dw&usg=AFQjCNE5a-l7Y0sWz1I6--uOELkvO0XzSQ&sig2=DXEX73ScA--r3T9nqAmuJg
  12. การรักษาโรคกรดไหลและยาที่ใช้, http://www.gerdthai.com/gerd.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น