วันพุธที่ 29 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

จะรู้ได้ไงว่าตั้งครรภ์? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ความดีใจหรือกังวลใจของคู่รักทั้งหลายเมื่ออยู่กันได้ในซักระยะหนึ่งแห่งความรัก แล้วพบว่าคุณผู้หญิงเริ่มมีอาการประจำเดือนขาดหายไป คงสงสัยว่าว่า เอ๊ะ นี่เรากำลังตั้งครรภ์หรือไม่?” หรือจะเป็นสาเหตุอื่นๆที่ทำให้ประจำเดือนหายไปกันแน่นะ มาฟังคำตอบจากเภสัชกรหนุ่มหล่อ เพื่อให้รู้จักวิธีการทดสอบเพื่อให้แน่ใจอย่างไรว่าเรากำลังจะมีทายาทรักมาชื่นชม
ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ เชื่อถือได้แค่ไหน?
การทดสอบการตั้งครรภ์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นชุดทดสอบสำเร็จรูปหลายแบบ เช่นดูจากแถบสี หยดทดสอบ  หรือใช้น้ำยาสำเร็จรูปตรวจในห้องแลป แต่ละวิธีจะมีวิธีการใช้และข้อจำกัดแตกต่างกันไป ปัจจุบันนี้มีการทดสอบการตั้งครรภ์แบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ
1.การทดสอบด้วยตนเอง
ทำได้ง่ายโดยการทดสอบจากปัสสาวะของผู้ที่สงสัยว่าจะตั้งครรภ์ ด้วยชุดทดสอบสำเร็จรูปที่วางจำหน่ายหลักการทดสอบนี้เป็นหลักการเดียวกับการทดสอบในโรงพยาบาล มีหลักว่าการตรวจสอบหาฮอร์โมนเอสซีจี (HCG) ในปัสสาวะ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะมีการสร้างโดยเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์
สามารถทำได้ง่ายและตรวจได้ทันทีที่มีการปฏิสนธิ และเติบโตของเซลล์ตัวอ่อนในมดลูก แต่ควรระวังเพราะว่าวิธีนี้มีจุดอ่อน ตรงที่ปริมาณของฮอร์โมนที่ว่านี้จะถูกขับออกมาในปัสสาวะแม่ เมื่อมีปริมาณมากพอในระดับหนึ่ง โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณวันที่ 14 ของการปฏิสนธิ คือทันทีที่รอบเดือนไม่มาตามกำหนด ทำให้การตรวจสอบฮอร์โมนในปัสสาวะ ยังมีความคลาดเคลื่อนได้
เนื่องจากวิธีนี้ง่ายและสะดวก ความแม่นยำของชุดทดสอบด้วยตนเอง ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิต ราคา และการเก็บรักษาจึงควรปรึกษาเภสัชกรเพื่อหายี่ห้อที่น่าเชื่อถือที่สุด
ข้อควรระวังในการทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง คือ ไม่ว่าผลการทดสอบจะเป็นบวกหรือลบ อย่าวางใจควรไปได้รับการตรวจเพิ่มเติมจากแพทย์ได้อีก กรณีที่ผลการทดสอบเป็นบวก การตรวจจะช่วยเพิ่มความมั่นใจต่อการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ และเราจะได้ตรวจร่างกายเพื่อเตรียมดูแลสุขภาพของหญิงมีครรภ์ต่อไป หากแต่เป็นลบ แพทย์จะได้ตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุอื่นๆต่อไป
2.การตรวจทางห้องทดลอง
ใช้หลักการตรวจวัดหาฮอร์โมนเอชจีซี ในปัสสาวะหรือในเลือด ซึ่งการทดสอบนี้มีความแม่นยำและเชื่อถือได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์ และสามารถตรวจสอบได้ตั้งแต่วันที่ 7-10 ของการปฏิสนธิ การตรวจทางห้องทดลองจะให้ผลแม่นยำ ต่อเมื่อเป็นการทดสอบโดยห้องแลปที่มีอุปกรณ์มาตรฐานและตรวจสอบสม่ำเสมอและโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการฝึกอบรม
การตรวจทางห้องแลป บางแห่งจะต้องใช้ปัสสาวะตื่นนอนเช้าเป็นครั้งแรกเป็นสิ่งทดสอบ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติตามโดยเคร่งครัด มิฉะนั้นท่านจะต้องเสียเวลาในการตรวจซ้ำหรือได้ผลการตรวจที่ผิด-พลาด ในปัจจุบันโรงพยาบาลทั่วไป มักจะไม่จำกัด กล่าวคือ ใช้ปัสสาวะในช่วงไหนของวันก็สามารถนำมาตรวจสอบได้
ตรวจแล้วเชื่อถือได้แค่ไหน?
การทดสอบการตั้งครรภ์ทั้งสองวิธีจะมีความแม่นยำและเชื่อถือได้ในการทดสอบที่ให้ผลบวก แต่ก็มีความคลาดเคลื่อนไปได้เช่นกัน ควรได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้ชำนาญอีกครั้งหนึ่ง
คำแนะนำในการใช้ชุดทดสอบการตั้งครรภ์ด้วยตนเอง
หลังจากหาซื้อชุดทดสอบที่มีคุณภาพจากแหล่งที่เชื่อถือและตรวจสอบได้ กลับมาที่บ้านก่อนใช้ เพื่อความมั่นใจว่าการทดสอบด้วยตนเองไม่ผิดพลาด เราควรปฏิบัติตามขั้นตอนดังนี้
1. อ่านคำแนะนำการใช้ชุดทดสอบอย่างละเอียดและทำความเข้าใจ โดยปฏิบัติตามคำแนะนำนั้น ๆ อย่างเคร่งครัด เช่น การใช้ปัสสาวะตื่นนอนเช้าครั้งแรก ไม่ว่าคุณจะร้อนใจที่จะทราบผลการตรวจสอบเร็วเพียงใด คุณต้องใจเย็นรอวันรุ่งขึ้นที่จะเก็บปัสสาวะ ตื่นนอนเช้าครั้งแรกมาใช้ในการทดสอบ
2. เตรียมนาฬิกาใช้จับเวลาที่จะทดสอบ
3. ขณะรอเวลาอ่านผล ไม่ควรให้ภาชนะหรือชุดทดสอบอยู่ใกล้ของที่มีความร้อนสูง
4. ในการทดสอบซ้ำ ควรเว้นระยะห่างจากการทดสอบครั้งแรก อย่างน้อย 2-3 วัน
ตอนต่อไป มาดูว่าการแท้งลูกตามธรรมชาติ เกิดได้อย่างไร
อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ


แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 มีค. 2555
E-mail:utaisuk@gmail.comFacebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url addressไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·        รูปประกอบจากเว็บไซต์

Abortion, U.S. National Library of Medicine , U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/abortion.html
Induced Abortion, ,http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq043.ashx
Abortion - Abortion Clinics, Abortion Pill, Abortion Information” abortion blog, http://abortion.ws/
Abortion, Heritage House '76, http://www.abortionfacts.com/
Paungmora N, Herabutya Y, O-Prasertsawat P, Punyavachira P. Comparison of oral and vaginal misoprostol for induction of labor at term: A randomized controlled trial. J Obstet Gynaecol Res. 2004; 30(5): 358-62
Ozsoy M, Ozsoy D. Induction of labor with 50 and 100 mcg of misoprostol: comparison of maternal and fetal outcome. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2004; 113: 41-4
Berkley E.,Meng C.,&Rayburn W.F.,Success rates with low dose misoprostol before induction of labor for nulliparas with severe preeclampsia at various gestational ages, The Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine, November 2007;20(11):825-831
Carlan et al,Extemporaneous  preparation of  misoprostol gel for cervical ripening:a randomized trial, Obstet Gynecol.1997;90:911-915
Abortion Medications , Drugs.com  , http://www.drugs.com/condition/abortion.html
Medication Abortion,  Ibis Reproductive Health,  http://medicationabortion.com/
Mifepristone, Medlineplus The American Society of Health-System Pharmacists, Inc, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a600042.html
Misoprostol, Medlineplus The American Society of Health-System Pharmacists, Inc, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a689009.html
Goldberg AB. and Greenberg MB. Misoprostol and Pregnancy. N Engl J Med. 2001 Jan 4; 344(1): 38-47.
.. กมลนัทธ์ ประพันธ์วัฒนะ , .ทีปรึกษา: .. .. สายพิณ พงษธา, Induced abortion, OB-GYN CMU., http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=516:induced-abortion&catid=45:topic-review&Itemid=56
.นพ.อุดม คชินทร, Management of NSAIDs-induced gastrointestinal injury, วารสารคลินิก เล่ม : 293
เดือน-ปี : 05/2552, http://doctor.or.th/node/9372
ปิยะวัน วงษ์บุณหนัก , การสำรวจทัศนคติของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล "การทำแท้งและการใช้ยาทำแท้งในวัยรุ่น" หัวหน้าทีมวิจัยด้านสุขภาพ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, http://www.meedee.net/magazine/edu/health-n-mind/2052
วิธีการคุมกำเนิดทุกรูปแบบ รู้ไว้ก่อนเลือกใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://utaisuk.blogspot.com/2011/10/blog-post_08.html
ยาเม็ดคุมกำเนิดทำงานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/11/entry-1
เลือกยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไหนดีนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/05/entry-1
ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/10/entry-1
ไพศาล ลิ้มสถิตย์ ,ร่างกฎหมายคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ กับ การแก้ปัญหาวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์โดยไม่มีความพร้อม,หมอชาวบ้าน เล่ม : 379, เดือน-ปี : 11/2553, http://www.doctor.or.th/node/11263
ดร.จริยาวัตร คมพยัคฆ์,การตั้งครรภ์,หมอชาวบ้าน เล่ม : 131 เดือน-ปี : 03/2533, http://www.doctor.or.th/node/4880
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย, ทำแท้งเถื่อนมีผลอย่างไร, หมอชาวบ้าน เล่ม : 361 เดือน-ปี : 05/2552, http://www.doctor.or.th/node/7537
ข้อเท็จจริง...ยาไซโตเทค (Cytotec),กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค, กระทรวงสาธารณสุข, www.vcharkarn.com/varticle/43143
รูปประกอบ


การตั้งครรภ์ ควรเตรียมตัวอย่างไร? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เภสัชกรตั้งใจเขียนบทความนี้อย่างระมัดระวัง เพราะเราอยากจะสื่อให้ประชาชนทั้งหลาย ได้เข้าใจถึงขบวนการตั้งครรภ์ การแท้งตามธรรมชาติหรือเกิดจากอุบัติเหตุ และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่กำลังเกิดขึ้นมากและบ่อยในแวดวงดารานักร้องจนต้องไปหาทางเลือกที่ผิดๆในการทำแท้ง   เราอยากสื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจว่า เราควรป้องกันการตั้งครรภ์อย่างไร และการทำแท้ง จะมีความเสี่ยงและมีอันตรายอย่างไร ตอนแรกนี้เราจะมาเริ่มรู้จักว่าการตั้งครรภ์เกิดได้อย่างไร  

เกิดอะไรขึ้นเมื่อตั้งมีการปฏิสนธิ
การมีท้อง การตั้งครรภ์ หรือการมีครรภ์ เกิดจากการที่ไข่ของฝ่ายหญิงได้รับการผสมกับเชื้ออสุจิของฝ่ายชาย แล้วตัวอ่อนเล็กๆ จะเคลื่อนลงไปฝังตัวลงในเยื่อบุที่โพรงมดลูกของฝ่ายหญิงที่สมบูรณ์ดี เพื่อเจริญเติบใหญ่ไปเรื่อยๆ จนครบระยะเวลาประมาณ 280 วัน จึงจะคลอดออกมาเป็นทารกให้ได้ชื่นใจ
ตั้งครรภ์แล้ว เตรียมตัวอย่างไร
การปฏิบัติตัวเมื่อตั้งครรภ์ ควรไปพบแพทย์เพื่อฝากท้อง ในการฝากครรภ์เราจะได้รับการตรวจปัสสาวะ ตรวจเลือด และตรวจร่างกายทั่วไปรวมทั้งตรวจท้อง ซึ่งจะทำให้ทราบถึงภาวะต่างๆของตัวคุณแม่และทารกน้อยที่อยู่ในโพรงมดลูก เราตรวจไปเพื่อ
·       การตรวจปัสสาวะ เพื่อดูโรคไตและเบาหวาน
·       การตรวจเลือด เพื่อป้องกันการติดเชื้อกามโรคต่างๆ หรือดูว่าคุณแม่มีการเชื้อมาก่อนหรือไม่? เช่นเชื้อซิฟิลิส เพื่อหาทางป้องกันอันตรายต่อไป
·       ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันเลือด ตรวจเต้านม หัวนม ฟังปอด ฟังหัวใจ
·       ตรวจหน้าท้อง เพื่อดูภาวะของบุตรในครรภ์ พร้อมกับให้คำแนะนำที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับอาหาร การพักผ่อน การทำงาน หากมีโรคประจำตัวจะได้รีบรักษาหรือหาทางบรรเทาอาการโรคที่อาจมีผลต่อทั้งตัวเราเองและลูกน้อย
ดังนั้นอย่าได้ลังเลใจ เมื่อคุณพ่อและคุณแม่ทราบข่าวดีว่ามีท้องแล้ว ควรรีบไปรับการฝากครรภ์ เพื่อช่วยป้องกันปัญหาต่างๆหรือโรคแทรกซ้อนเพื่อเตรียมต้องรับสมาชิกใหม่ของครอบครัวกันต่อไป


อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 มีค. 2555
E-mail:utaisuk@gmail.comFacebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url addressไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
Abortion, U.S. National Library of Medicine , U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/abortion.html
Induced Abortion, ,http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq043.ashx
Abortion - Abortion Clinics, Abortion Pill, Abortion Information” abortion blog, http://abortion.ws/
Abortion, Heritage House '76, http://www.abortionfacts.com/
Paungmora N, Herabutya Y, O-Prasertsawat P, Punyavachira P. Comparison of oral and vaginal misoprostol for induction of labor at term: A randomized controlled trial. J Obstet Gynaecol Res. 2004; 30(5): 358-62
Ozsoy M, Ozsoy D. Induction of labor with 50 and 100 mcg of misoprostol: comparison of maternal and fetal outcome. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2004; 113: 41-4
Berkley E.,Meng C.,&Rayburn W.F.,Success rates with low dose misoprostol before induction of labor for nulliparas with severe preeclampsia at various gestational ages, The Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine, November 2007;20(11):825-831
Carlan et al,Extemporaneous  preparation of  misoprostol gel for cervical ripening:a randomized trial, Obstet Gynecol.1997;90:911-915
Abortion Medications , Drugs.com  , http://www.drugs.com/condition/abortion.html
Medication Abortion,  Ibis Reproductive Health,  http://medicationabortion.com/
Mifepristone, Medlineplus The American Society of Health-System Pharmacists, Inc, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a600042.html
Misoprostol, Medlineplus The American Society of Health-System Pharmacists, Inc, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a689009.html
Goldberg AB. and Greenberg MB. Misoprostol and Pregnancy. N Engl J Med. 2001 Jan 4; 344(1): 38-47.
.. กมลนัทธ์ ประพันธ์วัฒนะ , .ทีปรึกษา: .. .. สายพิณ พงษธา, Induced abortion, OB-GYN CMU., http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=516:induced-abortion&catid=45:topic-review&Itemid=56
.นพ.อุดม คชินทร, Management of NSAIDs-induced gastrointestinal injury, วารสารคลินิก เล่ม : 293
เดือน-ปี : 05/2552, http://doctor.or.th/node/9372
ปิยะวัน วงษ์บุณหนัก , การสำรวจทัศนคติของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล "การทำแท้งและการใช้ยาทำแท้งในวัยรุ่น" หัวหน้าทีมวิจัยด้านสุขภาพ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, http://www.meedee.net/magazine/edu/health-n-mind/2052
วิธีการคุมกำเนิดทุกรูปแบบ รู้ไว้ก่อนเลือกใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://utaisuk.blogspot.com/2011/10/blog-post_08.html
ยาเม็ดคุมกำเนิดทำงานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/11/entry-1
เลือกยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไหนดีนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/05/entry-1
ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/10/entry-1
ไพศาล ลิ้มสถิตย์ ,ร่างกฎหมายคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ กับ การแก้ปัญหาวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์โดยไม่มีความพร้อม,หมอชาวบ้าน เล่ม : 379, เดือน-ปี : 11/2553, http://www.doctor.or.th/node/11263
ดร.จริยาวัตร คมพยัคฆ์,การตั้งครรภ์,หมอชาวบ้าน เล่ม : 131 เดือน-ปี : 03/2533, http://www.doctor.or.th/node/4880
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย, ทำแท้งเถื่อนมีผลอย่างไร, หมอชาวบ้าน เล่ม : 361 เดือน-ปี : 05/2552, http://www.doctor.or.th/node/7537
ข้อเท็จจริง...ยาไซโตเทค (Cytotec),กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค, กระทรวงสาธารณสุข, www.vcharkarn.com/varticle/43143

รูปประกอบ
http://i.telegraph.co.uk/multimedia/archive/01450/pregnant_1450316c.jpg

วันอาทิตย์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ผู้ป่วยโรคไต ใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัย?


คนไข้ที่เคยมีปัญหาโรคไต หรือมีอาการไตวายเรื้อรัง จำเป็นต้องกินยาหลายชนิดอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงคนไข้ควรต้องทราบข้อบ่งใช้ หรือประโยชน์ของยาแต่ละชนิด วิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง ข้อควรระวังต่าง ๆ ของการใช้ยา อาการข้างเคียงของยา ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสังเกตความผิดปกติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น และแจ้งให้แพทย์ พยาบาลทราบเพื่อหาทางแก้ไขต่อไป นอกจากนี้การได้รับยาหลายชนิดร่วมกันอาจมีปฏิกริยาต่อกันของยา หรือเรียกง่ายๆว่า "ยาตีกัน" เกิดขึ้น

การทราบถึงปฏิกิริยาต่อกันของยาจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อที่จะสามารถหลีกเลี่ยงผลเสียที่เกิดจากยาตีกันได้ ผู้ป่วยจึงควรมีความรู้เรื่องยาที่ใช้ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้ยา และได้รับผลเสียจากการใช้ยาน้อยที่สุด

ยากลุ่มไหนบ้างที่ต้องระวัง?

1.กลุ่มยาลดความดันโลหิต

- ยาลดความดันโลหิตมีหลายกลุ่ม ออกฤทธิ์ต่างกัน โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาว่ายาชนิดไหนเหมาะกับท่าน ดังนั้นท่านไม่ควรรับประทานยาตามผู้อื่น
- ผู้ป่วยควรวัด และบันทึกความดันโลหิตในแต่ละช่วงเวลาตลอดทั้งวัน เพื่อให้แพทย์สามารถปรับยาให้เหมาะสมแก่สภาพความดันโลหิตได้
- การรับประทานยาความดันโลหิตควรกินให้ตรงเป็นเวลา เพื่อที่ระดับของยาความดันในกระแสเลือดจะได้คงที่ หากลืมกินยาลดความดัน ให้กินทันทีที่นึกได้ เว้นแต่เวลาล่วงเลยไป จนใกล้เวลามื้อถัดไป ก็ให้งดยามื้อที่ลืมกิน และให้กินยามื้อถัดไปในขนาดเท่าเดิม
- อาการข้างเคียงของยาลดความดันโลหิต
ผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตครั้งแรก หรือได้รับการเพิ่มยาหรือลดยา ควรสังเกตความผิดปกติของร่างกาย เช่น หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น เป็นต้น และควรเปลี่ยนอิริยาบถ เช่น ลุกขึ้นนั่ง หรือ ลุกขึ้นยืนอย่างช้า ๆ หากมีอาการ หน้ามืด เป็นลม ใจสั่น ให้หยุดกิจกรรมต่าง ๆ นั่งพักสักครู่จนกว่าอาการจะดีขึ้น ถ้าเกิดอาการอย่างนี้บ่อย ๆ หรือรุนแรง ให้ติดต่อแพทย์ทันทีเพื่อจะได้หยุดยาหรือปรับยาได้


กลุ่มยาลดความดันและผลอาการข้างเคียงที่ต้องระวัง

ตัวอย่างยาอาการไม่พึงประสงค์ของยาที่พบได้บ่อย
แคปโตพริล(คาร์โปเทน)
อินาลาพริล(อินาริล,แอนนาพริล)
-ไอแห้ง ๆ
-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง
โลร์ซาร์แทน(โคซาร์)-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง
เมโทรโปรอล(เบต้าลอค)
อะทีโนลอล(พรีโนลอล,ทีโลลอล)
-มีอาการอ่อนเพลีย
-หัวใจเต้นช้าลง
-การหยุดยาทันทีทันใดทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงอย่างมาก
ฟูโรเซไมด์(ลาซิก)-ภาวะโพแตสเซียมในเลือดต่ำ
-การควบคุมน้ำตาลในเลือดทำได้ยากขึ้น
-ภาวะกรดยูริคในเลือดสูง
-ภาวะไขมันในเลือดสูง
-เป็นพิษต่อหู ทำให้การได้ยินลดลง
นิฟิดิปีน(อะดาแลต,นิลาปีน)
แอมโลดิปีน(นอร์วาส,แอมโลปีน)
เฟโลดิปีน(เพลนดิล)
-ใจสั่น
-ข้อเท้าบวม
-เหงือกโต
เวอราพามีน(ไอซอฟติล)
ดิลไทอะเซม(เฮอร์เบสเซอร์)
-ท้องผูก
-ข้อเท้าบวม
-หัวใจเต้นช้าลง
ด๊อกซาโซซิน(คาร์ดูล่า)
พราโซซิน(มินิเพรส)
เทอราโซซิน(ไฮทริล)
-หน้ามืด ในช่วงที่ได้รับยาช่วงแรก ๆ
-เวียนศรีษะ
-ใจสั่น
ไฮดราราซีน(อะเพรสโซลีน)-เวียนศรีษะ
-ใจสั่น
ไมน๊อกซิดิล(โลนิเทน)-ใจสั่น
-ขนขึ้นตามตัว ใบหน้า


-การรับประทานยาในวันฟอกเลือด
ถ้าในขณะฟอกเลือดหรือชั่วโมงท้าย ๆ ของการฟอกเลือด ความดันของผู้ป่วยลดลงมาก แพทย์ก็อาจจะสั่งให้งดรับประทานยาความดันก่อนฟอกเลือด หรือให้งดยาความดันบางตัวก็ได้



2.ยาแก้ไขภาวะโลหิตจาง

ภาวะโลหิตจางในผู้ป่วยไตวาย ส่วนใหญ่มักเกิดจากการขาดสารกระตุ้นเม็ดเลือด การแก้ไขทำโดยฉีดฮอร์โมนอิริโทโปอิตินเพื่อกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือด ซึ่งต้องกินยาเสริมธาตุเหล็กควบคู่กันไป นอกจากนั้นยังต้องกินวิตามินและโฟลิคแอซิด
-ยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก(เฟอรัสซัลเฟต,เอฟบีซี)
วิธีใช้ : เพื่อการดูดซึมที่ดีให้รับประทานยาก่อนอาหารประมาณครึ่งชั่วโมง หรือรับประทานหลังอาหารหนึ่งชั่วโมง
อาการข้างเคียง- อาการไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
- อาการท้องผูก

ข้อควรระวัง
- ไม่ทานยานี้พร้อมโซดามิ้นท์ ยาลดกรด หรือ แคลเซียม เพราะจะไปจับตัวกับยาเสริมธาตุเหล็กจนไม่อาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้
- เหล็กมีปฏิกิริยาต่อยาอื่น ๆ ได้หลายชนิด โดยมีผลลดการดูดซึมยา เช่น ยาฆ่าเชื้อเตตราซัยคลิน นอร์ฟลอกซาซิน เป็นต้น ควรเว้นระยะห่าง ระหว่างยาเสริมธาตุเหล็กกับยาอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง




3.ยาจับฟอสเฟต(แก้ภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง)

-แคลเซียม เช่น ชอล์กแคป
ให้เคี้ยวพร้อมอาหารทันทีเพื่อช่วยให้ยาแตกตัวได้ดี และสามารถจับฟอสเฟตในอาหารได้ก่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
อาการข้างเคียง - ท้องอืด ท้องผูก และอาจทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงขึ้น ผู้ป่วยจึงควรรับประทานยานี้พร้อมอาหารเพื่อลดปัญหานี้
-ยาเม็ดอะลูมิเนียม เช่น แอ๊คตาล
ให้เคี้ยวพร้อมอาหารทันทีเพื่อช่วยให้ยาแตกตัวได้ดี และสามารถจับฟอสเฟตในอาหารได้ก่อนถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกาย
อาการข้างเคียง - ท้องอืด ท้องผูก และหากใช้ยานี้ในปริมาณมาก และติดต่อกันเป็นเวลานาน จะทำให้สารอะลูมิเนียมสะสมในร่างกายจนเป็นพิษได้ ทำให้ความจำเสื่อม ชักกระตุก
*ข้อควรระวัง
ไม่ทานยาจับฟอสเฟตนี้พร้อมธาตุเหล็ก เพราะจะไปจับตัวกับธาตุเหล็กจนไม่สามารถไปจับตัวกับฟอสเฟตได้



4.ยาที่ใช้แก้ไขภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์ในเลือดสูง

-วิตามินดี(วันอัลฟ่า)
เพื่อลดการหลั่งฮอร์โมนพาราไทรอยด์
วิธีใช้ : โดยทั่วไปแนะนำให้รับประทานก่อนนอนซึ่งเป็นช่วงท้องว่าง แพทย์จะเป็นผู้กำหนดระดับยาตามระดับฮอร์โมนพาราไทรอยด์
อาการข้างเคียง
: ยานี้อาจเพิ่มระดับฟอสเฟต และแคลเซียมในเลือด ผู้ป่วยจึงควรรับประทานยาตามแพทย์แนะนำโดยเคร่งครัด แพทย์จะดูผลเลือดและปรับยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายในช่วงเวลาต่าง ๆ



5.ยาที่ใช้แก้ไขภาวะโพแตสเซียมในเลือดสูง

ยาคาลิเมต
เพื่อลดระดับโพแตสเซียมในเลือด โดยลดการดูดซึมจากทางเดินอาหาร
วิธีใช้ - ละลายยา 1 ซอง ในน้ำเปล่า 50 ซีซี คนแล้วดื่มทันที หรือจะผสมกับน้ำหวานก็ได้
*ข้อควรระวัง
-ไม่ละลายยากับน้ำผลไม้ เพราะยาจะจับกับโพแตสเซียมในน้ำผลไม้จนหมดฤทธิ์



6.ยาที่ใช้แก้ไขภาวะความเป็นกรดในเลือดสูง
โซดามิ้นต์
เพื่อแก้ภาวะความเป็นกรดในเลือดสูง
อาการข้างเคียง
-ท้องอืด ภาวะเลือดเป็นด่างและภาวะโซเดียมสูงถ้าใช้ยาเกินขนาด
*ข้อควรระวัง
-โซดามิ้นต์มีผลต่อยาชนิดอื่น ๆ เป็นอย่างมาก ดังนั้นควรทานให้ห่างจากยาชนิดอื่น ๆ อย่างน้อย 2 ชั่วโมง



7.ยากลุ่มวิตามิน

-วิตามินที่ให้ทดแทนส่วนใหญ่จะเป็นวิตามินที่ละลายน้ำเช่น วิตามิน บี1 บี2 บี6 บี12 และโฟลิก เป็นต้น ซึ่งวิตามินเหล่านี้มีส่วนสำคัญในการทำงานหลายระบบในร่างกาย เช่น สร้างเม็ดเลือด บำรุงปลายประสาทช่วยบรรเทาอาการชาตามปลายมือปลายเท้า ในวันฟอกเลือดให้รับประทานหลังฟอกเลือดเพื่อชดเชยการสูญเสียวิตามินระหว่างฟอกเลือด ผู้ป่วยไม่ควรซื้อวิตามินรับประทานเอง เพราะการได้รับวิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามินเอ อาจเกิดสะสมในร่างกายจนเกิดอันตรายได้






  • - ผู้ป่วยควรจดชื่อยา หรือจำชื่อตัวยา ที่ต้องกินประจำ หรือ ยาที่เราแพ้ ไม่ควรจำจากรูปร่างลักษณะเพียงอย่างเดียว เพราะยาชนิดเดียวกันอาจมีหลายสี หลายแบบ หรือ ยาที่มีสี หรือ ลักษณะเหมือนกัน แต่เป็นยาคนละชนิดกัน
  • - ศึกษาข้อบ่งใช้ให้ดี เช่น กินเท่าไหร่? กินเมื่อใด? ก่อนหรือหลังอาหาร? เช่น ยาก่อนอาหารดูดซึมได้ดีเมื่อท้องว่าง ยาหลังอาหารจะดูดซึมได้ดี เมื่อมีอาหารอยู่ในกระเพาะ หรือ อาการข้างเคียงจะน้อยกว่าตอนท้องว่าง
  • - เมื่อแพทย์สั่งยาชนิดใหม่ให้เรา ให้สอบถามแพทย์นั้นหรือเภสัชกร ถึงอาการค้างเคียงของยาตัวนั้นที่อาจเกิดขึ้นได้ และให้สังเกตุตนเอง หากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้น ให้หยุดยานั้นทันที และรีบไปหาแพทย์โดยเร็ว
  • - หากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยาในขนาดยาที่แพทย์สั่งได้เนื่องจากสาเหตุใดก็ตาม ควรแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเสมอ ไม่ควรปรับเปลี่ยนขนาดยาเองเพื่อป้องกันการสับสนในการประเมินผลการใช้ยา

แหล่งข้อมูล
Safer use of Pain Medicines,  National Kidney Foundation, Inc

http://www.kidney.org/email_templates/KidneyCare/winter09/SaferMedicines.cfm

การใช้ยาในผู้ป่วยโรคไต, ชมรมเพื่อนโรคไต มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค , http://www.thaikidneyclub.org/home/index.php?option=com_content&view=article&id=117:2011-07-09-09-28-04&catid=39:2009-06-27-16-43-06&Itemid=50

ภก วิรัตน์ ทองรอด, การใช้ยาของผู้ป่วยโรคไต,