วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

วิธีการคุมกำเนิดและฮอร์โมนเพศ รู้ไว้ก่อนเลือกใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



คุณผุ้หญิงที่เริ่มต้น สร้างสัมพันธ์ สร้างครอบครัวที่รัก นอกเหนือจากความรักที่มีให้ต่อกันแล้ว ที่ขาดไม่ได้ก้อคือการวางแผนการใช้ชีวิตรัก ไม่ให้สะดุด 

หนึงในข้อห่วงใยที่เภสัชกรเราอยากจะแนะนำคุณๆ
ก้อคือเรื่องการวางแผนครอบครัว การคุมกำเนิดเพื่อให้ได้ทายาทรักดังใจตามช่วงชีวิต

ลองมาติดตามบทความเรื่องต่างๆที่เคยเขียนไว้ เพื่อเป็นคุ่มือช่วยคุณ
ให้เข้าใจวิะีการคุมกำเนิดว่ามีกี่แบบ ใช้แบบไหนดีจึงจะปลอดภัยและได้ผลดี
ลองคลิ้กไปตามอ่านได้เลยครับ   

   




การคุมกำเนิดมีกี่แบบ ใช้แบบไหนดีและข้อควรระวัง ?

ยาเม็ดคุมกำเนิดทำงานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

เลือกยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไหนดีนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

เริ่มต้นรับประทานยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

EVRA แผ่นยาติดผิวหนังเพื่อการคุมกำเนิด คืออะไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

แผ่นยาติดผิวหนังเพื่อการคุมกำเนิด คืออะไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ยาเลื่อนประจำเดือน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ยาคุมฮอร์โมนอกโต ได้ผลจริงหรือไม่? โดย เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


การทำแท้ง ปัญหาใหญ่ของสังคมไทย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

การแท้งลูกตามธรรมชาติ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ยาที่ใช้ทำแท้ง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

รูปประกอบจาก

คุณแม่ใช้ยา: ยาอะไร เตรียมไว้ให้ลูกน้อย


คุณแม่คุณพ่อมือใหม่ที่มีลูกน้อย จะกังวลใจทุกครั้งเมื่อเจ้าตัวเล็กมีอาการเจ็บไข้ได้ป่วย และไม่รู้ว่าจะต้องเตรียมกระเป๋าหยูกยาฉุกเฉินอย่างไร เรามาดูกันว่าในฐานะเภสัชกรร้านยา หากแนะนำให้มียาอะไร เตรียมไว้ให้อุ่นใจในบ้านแห่งความรัก เพื่อปกป้องลูกรักให้มีสุขภาพดี ต้องมีอะไรบ้างน้า?   

เริ่มด้วย อย่าเกรงใจหมอหรือเภสัชกร?
ถ้าหากจำเป็นจัดเตรียมยาให้ลูกหลานของเรา สิ่งใดที่ไม่รู้ อย่าได้เกรงกลัวหมอที่ให้การดูแลรักษาหรือเภสัชกรที่จ่ายยาให้ คุณแม่คุณพ่อควรไต่ถามให้ละเอียด ถึงชื่อยา ชื่อยาสามัญ วิธีการใช้ ผลการรักษาที่ดีขึ้นจะเป็นเช่นไร ในระยะเวลาประมาณเท่าใด รวมไปถึงข้อควรระวังและผลข้างเคียงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น และโดยเฉพาะหากหลังจากน้องน้อยได้รับยาไปแล้ว มีอาการผิดปกติอะไรที่เกิดขึ้น แล้วเราต้องรีบไปหาหมอหรือมาที่ร้านยาทันทีเพื่อรับคำปรึกษาและการแก้ไข

ดังนั้นโรงพยาบาล คลีนิคหรือร้านยาไหน ไม่เตรียมการให้เราได้ทราบเช่นนี้ ถือว่าไม่ใช่ผู้ประกอบวิชาชีพที่ต้องใส่ใจดูแลสุขภาพของเราอย่างแท้จริง สุดท้ายอย่าลืมขอเบอร์โทร หรือช่องทางติดต่อเร่งด่วน ในยามที่เราต้องการคำแนะนำในเวลาจำเป็น ทำได้เช่นนี้ คุณแม่คุณพ่อเองก้อจะเป็นหมอประจำบ้านที่พร้อมดูแลลูกน้อยของเราเองได้อย่างมั่นใจ

ยาสำหรับเด็กที่ควรมีไว้ประจำบ้าน มีอะไรบ้างนะ?
ในฐานะเภสัชกร ไม่แนะนำให้คุณพ่อคุณแม่ซื้อยา ตุนไว้ให้ลูกน้อยกินเอง อย่างไม่จำเป็น คอยหมั่นสังเกตุว่าเขามีอาการโรคอะไรที่เป็นได้ และเป็นบ่อย แล้วไปขอคำปรึกษาจากหมอหรือเภสักรเป็นทางเลือกแรกๆ แต่ถ้าหากเป็นอาการโรคที่ลูกรักได้รับการวินิจฉัย ดูแลแล้วว่า ไม่ได้เกิดจากโรคร้ายแรง หรือเป็นอาการโรคเบื้องต้น ที่เราสามารถดูแลได้เองแล้ว เราก็ควรสำรองยาเหล่านี้ ตามอาการที่อาจเกิดขึ้นดังนี้
1. เมื่อลูกน้อยมีไข้ ตัวร้อนหรือปวดหัว
ควรเลือกใช้ยาชนิดที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับลูกรัก ยาลดไข้ที่ดี มักให้รับประทานยาทุกๆ 4-6 ชั่วโมง ถ้าอาการไข้ไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ควรรีบไปโรงพยาบาล ยาที่แนะนำควรเลือกพาราเซตามอล หรือไอบูโปรเฟน ขณะให้ยาลดไข้ควรให้ดื่มน้ำตามมากๆด้วย น้ำนอกจากจะช่วยให้ยากระจายตัวได้ดี ช่วยให้ตัวยาละลายและออกฤทธิ์ได้เร็วขึ้น น้ำยังไปช่วยให้มีการระบายความร้อนจากภายในร่างกายได้มากยิ่งขึ้น

ที่สำคัญควบคู่ไปกับการใช้ยา คือการเช็ดตัว จะช่วยให้ไข้ลดเร็วยิ่งขึ้นด้วย ถ้าลูกรักตัวร้อนจัด ให้ใช้ผ้าขนหนูหนาๆ ชุบน้ำเช็ดให้ทั่วตัว และเช็ดมากๆ ตามตำแหน่ง คอ รักแร้ และข้อพับต่างๆ และอย่าไปห่มผ้า หรือสวมเสื้อหนาๆ จนกว่าไข้จะลดลงแล้ว ในกรณีเด็กหนาวอยู่แล้ว ให้เริ่มใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นเล็กน้อย เริ่มเช็ดไปก่อนแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นน้ำเย็น เช็ดจนไข้ลด จึงห่มผ้าให้

ข้อควรระวังของยาไอบูโปรเฟนคือ ห้ามใช้ยาตัวนี้ลดไข้ ในเด็กที่สงสัยว่าจะป่วยเป็นไข้เลือดออก จะรู้ได้อย่างไร? เราควรสังเกตุในเบื้องต้น จะเห็นว่า ลูกน้อยจะมีอาการตัวร้อนจัดตลอดเวลา และไม่มีน้ำมูกให้เห็น เพราะจะทำให้เกิดอาการเลือดออกได้ง่ายขึ้น ให้เปลี่ยนมาใช้พาราเซตามอลแทน ที่มักทำเป็นน้ำเชื่อม อาจเป็นชนิดหยดสำหรับเด็กเล็ก หรือชนิดไซรัปสำหรับเด็กโต ข้อเสียของยาตัวนี้มีรสขม ให้เลือกชนิดที่มีรสชาติถูกปากน้องเขา ยานี้มีข้อดีคือ ไม่ระคายเคืองกระเพาะอาหาร แต่ถ้าใช้เกินขนาดและติดต่อกันนานเกิน 10 วัน อาจมีผลเสียต่อตับได้


2. ถ้าลูกรักมีอาการไข้หวัด คัดจมูก น้ำมูกไหลด้วย
เรื่องเป็นหวัดน้ำมูกไหล คุณแม่ต้องเข้าใจว่า อาจแยกแยะได้สอง สาเหตุ ได้แก่ หวัดจากการติดเชื้อ กับ หวัดจากการแพ้ (โรคภูมิแพ้) ซึ่งจะมีอาการคัดจมูกน้ำมูกไหลเหมือนๆ กัน แต่ข้อที่แตกต่างก็คือ หวัดจากการติดเชื้อนั้น ลูกน้อยมักมีอาการตัวร้อนและเบื่ออาหาร น้ำมูกมักจะเป็นอยู่ตลอดทั้งวันและเป็นอยู่เพียงไม่กี่วันก็จะแห้งไปได้เอง

การใช้ยาแก้แพ้ในโรคหวัดติดเชื้อ ความจริงแล้วยานี้จะมีฤทธิ์ลดน้ำมูก ทำให้น้ำมูกแห้ง ช่วยให้ลูกน้อยหายใจสบายโล่งขึ้นเท่านั้น ยังไม่มียาใดที่ออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อไวรัสอันเป็นสาเหตุของหวัด และควรใช้กรณีที่มีน้ำมูกใสเท่านั้น เมื่อน้ำมูกข้นเหนียวควรหยุดใช้ยา มิฉะนั้นอาจทำให้น้ำมูกเหนียวข้นมากเกินไป จนอาจอุดตันในทางเดินหายใจจนเป็นอันตรายได้

ส่วนหวัดจากการแพ้อากาศหรือโรคภูมิแพ้ ก้อจะมีอาการจาม น้ำมูกใส คัดจมูก แต่ไม่มีไข้ตัวร้อน ก้อสามารถเลือกใช้ยาแก้แพ้หรือยาลดน้ำมูกได้เช่นเดียวกัน
เพราะให้ผลบรรเทาอาการแพ้อากาศ ลดอาการจาม น้ำมูกไหล ยากลุ่มนี้ มีทั้งแบบยาแก้แพ้รุ่นเดิม  เช่น คลอร์เฟนิรามีนหรือบรอมเฟนิรามีน กินในตอนเช้าและก่อนนอน หรือเวลาใดเวลาหนึ่ง จะช่วยบรรเทาอาการได้
ข้อควรระวังของยากลุ่มนี้ คือ สำหรับเด็กแรกเกิด และเด็กคลอดก่อนกำหนดห้ามใช้ยานี้เด็ดขาด
ยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ง่วงนอนหรือซึมลงได้ ในเด็กเล็กๆบางราย ถ้าได้รับยามาก ๆ จะเกิดอาการตื่นเต้น นอนไม่หลับ ในบางราย อาจเบื่ออาหาร ปากแห้งได้
ไม่ควรใช้ในเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี

ยาแก้แพ้อีกกลุ่ม เป็นยาแก้แพ้รุ่นใหม่ ชนิดที่ไม่ทำให้ง่วงนอน ได้แก่ เซทิริซีน ลอราทาดีน และเฟกโซฟีนาดีน เป็นยาที่ได้ผลดี และไม่ค่อยทำให้ง่วงนอน สดวกต่อการกิน เพียงแค่วันละ 1-2 ครั้ง  เหมาะสำหรับลูกน้อยที่เป็นโรคแพ้อากาศ ไม่มีผลรบกวนการใช้ชีวิตที่สนุกสนานของลูกน้อย หรือการเรียนหนังสือ ส่วนข้อจำกัดของยาแก้แพ้รุ่นใหม่ คือ ยาจะออกฤทธิ์ช้า แต่มีฤทธิ์อยู่ได้นาน ดังนั้นอาจต้องกินยานี้ต่อเนื่องหลายวันจึงเห็นผล อีกทั้งยาแก้แพ้รุ่นใหม่จะลดน้ำมูกและอาการคัดจมูกได้ไม่ดีเท่ายาแก้แพ้รุ่นเดิมๆ

3. เมื่อลูกน้อยเป็นหวัดลงคอ คือมีน้ำมูกหรือเสมหะข้นเขียว หรือเหลือง เจ็บคอ
ไม่แนะนำให้ซื้อยากินเองครับ เรื่องการใช้ยาฆ่าเชื้อ หรือที่เราเคยชินปากว่ายาแก้อักเสบ เป็นเรื่องใหญ่สำหรับบ้านเรา เพราะมีการใช้กับเด็กเล็ก อย่างไม่ถูกต้อง และตามมาด้วยปัญหาอีกมากมาย ขอกลับมาเล่าให้ฟังเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งครับในเรื่องการติดเชื้อในเด็กและการใช้ยาฆ่าเชื้อที่ถูกต้องและปลอดภัยครับ

4. ถ้าเด็กมีอาการไอ
ยาแก้ไอที่ได้ผล หยุดไอได้จริงๆ ในเด็กก้อเป็นเรื่องใหญ่ พ่อแม่มักคาดหวังอยากได้ยาที่ทำให้ลูกเงียบ หายไอ ทั้งๆที่ต้นเหตุของการไอมีได้หลายสาเหตุ
เราต้องรู้ก่อน ว่าอะไรเป็นต้นเหตุที่ทำให้น้องน้อยไอไม่หยุด ถ้าทราบสาเหตุแท้ๆ เราก้อช่วยหยุดไอให้ลูกน้อยได้ ขอกลับมาเล่าให้ฟังเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่งในตอนยาแก้ไอเพื่อลูกรักครับ

5. เมื่อเด็กน้อยมีอาการท้องอืดแน่นท้อง
ควรใช้มหาหิงคุ์ ใช้ได้ผลดีและปลอดภัย โดยใช้ทาบางๆ บริเวณหน้าท้องมีอาการ หรือถ้าเป็นเด็กโตอาจเลือกใช้ยาธาตุน้ำแดงใช้กินแก้อาการจุกเสียด แน่นท้อง

6. เมื่อเด็กมีอาการท้องเสีย
สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับลูกน้อยที่ท้องเสีย คือ การให้น้ำและเกลือแร่ชดเชย เพราะเด็กมักจะขาดน้ำ และเสียชีวิตได้จากการท้องเสียมาก ๆ ได้ โดยสังเกตุได้จาก อาการขาดน้ำคือ กระหม่อมบุ๋ม นอนซึม หายใจหอบ ตัวเย็น

น้ำเกลือแร่นั้นอาจเตรียมขึ้นเองหรือผงเกลือแร่สำหรับเด็ก ให้เด็กดื่มแทนน้ำได้โดยปลอดภัย แต่ในกรณีที่ท้องเสียรุนแรง ควรส่งต่อแพทย์โดยเร็ว ไม่แนะนำให้ใช้ยาแก้ท้องเดินที่แรง ๆ ในเด็กเล็ก เพราะยาอาจกดการหายใจได้

7. ถ้าลูกรักมีอาการเป็นลมพิษ ผื่นคัน
ในเด็กที่มีอาการผด ผื่นคัน ขึ้นมากตามตัว ไม่ว่าจะเป็นผื่นลมพิษ ยุงกัดแผลมีน้ำเหลือง ตุ่มคันจากอีสุกอีใส หัด ควรทายาแก้ผด ผื่นคันหรือคาลาไมน์โลชั่น หรือยาทาแก้แพ้แบบแอนตี้ฮิสตามีน จะช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวได้ ไม่แนะนำให้ไปซื้อยาทาในกลุ่มสเตียรอยด์ใช้เองครับ

สุดท้าย ยาไม่ใช่ขนมที่จะให้เด็กได้ง่ายๆ ก่อนให้ยากับลูกรักของเราก้อต้องยิ่งใส่ใจ  จึงต้องมาย้ำอีกครั้งว่า ปรึกษาหมอหรือเภสัชกรใจดี เพื่อเลือกยาที่มีความปลอดภัยและได้ผลตามอาการ เสียก่อนที่จะซื้อยาเข้าบ้านครับ

รูปประกอบจาก

http://www.phukieo.net/rx_blog/wp-content/uploads/2011/01/doctor.bmp

http://static.truelife.com/blog/files/members/19/93043/170261/c9e99c5.jpg

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

เชื่อหรือไม่ ยาไกวเฟนิซิน (Guaifenesin) ช่วยให้มีบุตรชาย?


มีแหม่มฝรั่งสาวสวย มาถามหายาที่ชื่อว่า 
"ยาไกวเฟนิซิน (Guaifenesin)"

 อยากได้แบบตัวยาเดี่ยวๆเสียด้วย ซึ่งความจริงแล้วยาตัวนี้เป็นกลุ่มยาขับเสมหะที่มีขายในร้านขายยาทั่วไป และมีการใช้มานาน โดยช่วยบรรเทาอาการไอชนิดมีเสมหะ ยาตัวนี้ส่วนใหญ่มักจะผสมร่วมกับตำรับยาแก้ไอ ตัวอื่นๆเพื่อให้ได้ฤทธิ์บรรเทาการไอที่ดียิ่งขึ้น หาตัวยาเดี่ยวๆของตัวนี้ยากสสสสส์ ก้อเลยลองค้นให้ ระหว่างนั้นก้องงมาก เลยถามเจ้าตัวตรงๆว่าจะเอาไปทำอะไร?  

พอถามดู เจ้าตัวบอกว่าอยากได้ยาตัวนี้ไปกินเพื่อช่วยให้มีบุตรชาย 
จริงๆนะครับ ในฐานะเภสัชกรร้านยา เราเองไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่ายาตัวนี้จะมีฤทธิ์วิเศษเช่นนั้น แต่พอ search จาก internet ก้อไปพบ สมมุติฐานของการใช้ยาตัวนี้ ที่จะไปช่วยให้มีบุตรชาย ตาม link ไปได้เลย

http://howtoconceiveaboynaturally.net/how-to-have-a-baby-boy/ 



จริงหรือไม่ ลองอ่านและวิเคราะห์ด้วยทัศนะของคุณเองครับ แต่ที่ร้านจะหายาตัวนี้ไปให้คุณแหม่มได้ทดลองใช้ แล้วได้ผลอย่างไร จะกลับมาเล่าให้ฟัง

ยาขับเสมหะกับยาละลายเสมหะ คุณสมบัติเหมือนกันไหม?

ไปเจอคำถามและคำตอบในพันธ์ทิพ ที่ชัดเจนดี เลยขออนุญาต ปันมาขยายความนะครับ 

มีคุณแม่ที่ถามมาว่าเวลาลูกรักเกิดอาการไอ  บางทีคุณหมอก็จ่ายยาแก้ไขขับเสมหะมาให้  หรือบางทีก็แก้ไอละลายเสมหะ มันเหมือนหรือต่างกันอย่างไรค่ะ  แล้วสำหรับเด็กเลือกทานตัวไหนดีกว่ากันคะ?

ทำไมจึงไอ ทำไมยาสองกลุ่มนี้จึงแก้ไอได้? 


การกำจัดเสมหะ
โดยปกติทางเดินหายใจมีการสร้างมูกตลอดเวลาอยู่แล้วเพื่อให้ความชุ่มชื้นและป้องกันกำจัดเชื้อโรค มูกที่ขับออกมาทางปากเรียกว่า เสมหะ นั่นเอง (ปกติเรากลืนลงท้อง) เมื่อมีการอักเสบหรือติดเชื้อจะมีการหลั่งสารต่างๆออกมามากขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มโปรตีนทำให้เหนียวข้นมากขึ้น การขับออกจึงยากขึ้น 



ยาขับเสมหะแก้ไอได้อย่างไร?
เป็นยาที่ช่วยกระตุ้นการทำงานของเซลล์ที่สร้างสารคัดหลั่งบริเวณเยื่อบุทางเดินหายใจ ลดความตึงผิวขอเสมหะทำให้ปริมาณสารคัดหลั่งของทางเดินหายใจมากขึ้น มีความเหนียวน้อยลง ถูกกำจัดออกจากทางเดินหายใจง่ายขึ้นอาการไอจึงลดลง ยาขับเสมหะสามารถใช้รักษาทั้งไอแห้งและไอมีเสมหะยากลุ่มนี้มักจะผสมอยู่ในตำรับยาแก้ไอต่างๆ ทั้งที่กดศูนย์ไอและกลุ่มยาละลายเสมหะ ตัวอย่างยากลุ่มนี้ได้แก่
-Guaifenesinหรือglyceryl guaiacolate
-terpin hydrate
-ammonium chloride
นอกจากตัวยาข้างต้นแล้วยาขับเสมหะยังรวมถึงน้ำมันหอมระเหยต่างๆเช่นน้ำมันนยูคาร์ลิปตัส ชะเอม น้ำมะนาวผสมน้ำผึ้ง เพราะสมุนไพรเหล่านี้รวมถึงการดื่มน้ำมากๆมีคุณสมบัติในการขับเสมหะโดยเพิ่มสารคัดหลั่งทำให้เสมหะถูกขับออกมาง่ายขึ้นและลดอาการไอ



ยาละลายเสมหะ
เป็นยาที่ทำให้โมเลกุลของเสมหะสลาย หรือแตกออก มีผลทำให้เสมหะใสขึ้น ความเหนียวลดลง และถูกขับออกจากหลอดลมได้ง่ายขึ้น
ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้
-Bromhexine
-carbocysteine
-ambroxol



ทำไมบางทีคุณหมอจ่ายยาขับเสมหะบางทีจ่ายยาละลายเสมหะ?
ยาทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติหรือเป้าหมายในการออกฤทธิ์ใกล้เคียงกันคือทำให้เสมหะออกมาเพื่อให้ทางเดินหายใจเป็นปกติแตกต่างกันที่กลไกการออกฤทธิ์.

-ยาประเภทไหนดีกว่ากัน?
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะอาการของคนไข้ประเภทของการไอ ไอแห้ง/มีเสมหะ มาก/น้อย ซึ่งแพทย์เป็นผู้พิจารณา
เพราะยาที่ดีสำหรับบางอาการ ใช้กับอีกอาการก็ไม่ได้ผลหรือได้ผลน้อย นอกจากนี้ปัจจัยอื่นๆก็มีผลต่อการเลือกยา เช่น อายุ น้ำหนักตัว โรคประจำตัว แพ้ยา....ฯลฯ(ไม่แนะนำให้คุณแม่เลือกยาให้ลูกทานเอง)

ในเด็กเล็กไม่ควรให้ทานยากลุ่มที่ออกฤทธิ์กดศูนย์ไอ ยาส่วนใหญ่ที่เลือกใช้จึงเป็นยาขับเสมหะและละลายเสมหะ


แหล่งข้อมูล
http://topicstock.pantip.com/lumpini/topicstock/2012/04/L11925742/L11925742.html

วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดความดันโลหิตด้วยตนเองอย่างไร ให้ถูกต้อง?


มาถึงตอนนี้คงรู้แล้วว่าโรคความดันอันตรายอย่างไร วิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการลุกลามของโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ก้อคือการตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ 

แต่เรามักพบว่าเวลาไปวัดที่โรงพยาบาลหรือวัดด้วยตนเองที่บ้านกลับพบว่าทำไมสูงไป หรือต่ำไป ทำให้เราเกิดความกังวลใจยิ่งกว่าการมีอาการความดันโลหิตสูงเข้าไปอีก 

ตอนนี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีวัดที่ถูกต้องให้เราได้สบายใจในการดูแลสุขภาพและความดันให้เหมาะสมต่อไป

ทำไมวัดความดันโลหิตแล้วไม่คงที่ สูงไปหรือต่ำไป?
เมื่อ 10 ปีที่แล้วมาสมาคมโรคหัวใจ และหลอดเลือดประเทศอเมริกาได้มีคำแนะนำวิธีการวัดความดันโลหิต การวัดความดันโลหิตสมัยก่อนจะใช้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรบเป็นคนวัด และใช้เครื่องวัดความดันที่ทำจากสารปรอท จากการวิจัยพบว่าการวัดความดันโลหิตแบบเก่ายังมีข้อผิดพลาดดังนี้
  • วิธีการวัดไม่ถูกต้อง
  • เนื่องจากความดันโลหิตของคนไม่คงที่ตลอดเวลา บางครั้งสูงบางครั้งต่ำ
  • ความดันมักจะสูงเมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ อาจจะเพราะความวิตกกังวลหรือเดินทางมาเหนื่อย
ผลจากความไม่แน่นอนของการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล จึงมีแนวความคิดขึ้นสองแนวคือ
  • ให้มีการวัดความดันที่อื่น นอกเหนือจากโรงพยาบาล และมีการวัดหลายๆครั้งเพื่อจะได้ค่าแท้จริงของความดันโลหิต
  • ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ เครื่องมือใหม่ๆ เหล่านี้มักจะมีความแม่นยำสูงกว่า


ชนิดของเครื่องวัดความดัน มี 2 ชนิด
ชนิดที่ 1 ลักษณะหน้าปัทม์ที่อ่านเป็นแท่งแก้วยาว ภายในจะมีปรอทเป็นตัวบอกค่าความดัน
ชนิดที่ 2 ลักษณะหน้าปัทม์ เหมือนหน้าปัทม์นาฬิกา ชนิดนี้อาศัยลมดันเข็มนาฬิกา
อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าปัทม์แบบเดียวกับชนิดที่ 2 แต่นำสมัยกว่า ราคาก็แพงกว่ามาก เป็นชนิดอัตโนมัติ โดยอาศัยเสียงหรือแสงเป็นตัวบอกค่าความดัน
ส่วนประกอบของเครื่องวัดความดัน
1. ขีดหน้าปัทม์บอกความดัน
2. ลูกยางบีบลม
3. ผ้าพันแขน

ขั้นตอนต่างๆ ในการวัดความดันที่ถูกต้องและแม่นยำ
เรามี clip แนะนำมาให้ด้วย หากเราอยากวัดด้วยตนเองที่บ้าน

http://www.youtube.com/watch?v=Je_pr9gP_AA
มาทบทวนวิธีการวัดที่ถูกต้อง กันอีกที
1. นั่ง หรือ นอนพัก ให้สบาย หายตื่นเต้น ประมาณ 5-10 นาที
2. วัดความดันท่านอน ให้นอนหงาย วางแขนขนานกับลำตัวตามสบาย หงายฝ่ามือขึ้น
วัดความดันท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ วางแขนที่จะวัดบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น ท่านี้สะดวกในการวัดความดันด้วยตัวเอง
3. วางเครื่องวัดความดัน ให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ หันหน้าปัทม์ที่อ่านให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตา ไม่ควรวางไกลเกิน 3 ฟุต
4. พันผ้ารอบแขน โดยจับปลายด้านที่มีสายยาง วางบนแขนด้านชิดกับลำตัว แล้วจึงพันส่วนที่เหลือไปเรื่อยๆ จนรอบแขน ให้ขอบล่างของผ้าพันแขน อยู่เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้ว
กรณีที่สวมเสื้อมีแขน ให้พับแขนเสื้อข้างนั้นขึ้นเหนือข้อศอก ประมาณ 5 นิ้ว ก่อนพันผ้าพันแขน
ดังนั้น ค่าความดัน จึงเขียนเป็นเลขสองจำนวนเสมอ และมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท (120 คือ ความดันช่วงบน ส่วน 80 คือ ความดันช่วงล่าง)
8. ภายหลังที่วัดความดันครั้งแรก แล้ว เพื่อความแน่นอนให้วัดซ้ำดูอีกครั้ง โดยเฉพาะ ถ้าพบว่า ความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ หรือในกรณีที่วัดความดันครั้งแรกได้ยินเสียงครั้งแรกอยู่ตรงระดับปลายเข็ม หรือปรอทที่เราบีบขึ้นไปนั้นพอดี ก็ควรจะวัดซ้ำอีกครั้ง โดยบีบลมเข้าไปเพิ่มความดันให้มากขึ้นกว่าเดิม ประมาณ 20-30 มิลลิเมตรปรอท

วัดค่าความดันไป เค้าดูอะไร? 
เรามีวิธีคิดง่ายๆ ดังนี้
  • ความดันช่วงบน (ซีสโตลิค) เท่ากับหรือน้อยกว่า 100 บวกด้วยอายุของคนๆ นั้น เช่น อายุ 50 ปี ความดันช่วงบนไม่ควรเกิน 150 มิลลิเมตรปรอท
  • ความดันช่วงล่าง (ไดแอสโตลิค) จะต่ำกว่า 90 ในคนทุกอายุ
ความดันสูง คือ ความดันที่วัดได้สูงกว่าปกติ ทั้งช่วงบนและช่วงล่าง โดยทั่วไปหมอมักจะให้ความสำคัญต่อช่วงล่างมากกว่า ถึงแม้ว่าวัดความดันได้ช่วงบนปกติ แต่ถ้าช่วงล่างวัดได้มากกว่า 90 ขึ้นไปก็ถือว่าคนๆ นั้นเป็นโรคความดันสูงได้ เช่น
  • คนอายุ 30 ปี วัดความดันได้ 140/100 ถือว่าความดันสูงได้
  • คนอายุ 50 ปี วัดความดันได้ 150/90 ถือว่าความดันปกติ
  • คนอายุ 30 ปี วัดความดันได้ 140/100 ถือว่าความดันสูง
ถ้าสงสัย กลับไปดูเรื่องค่าความดันปกติอีกครั้ง
ความดันต่ำ คือ ความดันที่วัดได้ต่ำกว่าค่าปกติแต่ช่วงห่างระหว่างค่าบนและค่าล่างจะไม่ต่ำกว่า 30 เช่น วัดความดันได้ 90/60 (ช่วงห่างระหว่างค่าบนและค่าล่างเท่ากับ 30) หรือ 100/60 (ช่วงห่างเท่ากับ 40) เป็นต้น
ความดันต่ำ พบได้ในคนที่ได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่หลับ คิดมาก โรคประสาท คนที่มีความดันต่ำ มักมีอาการ หน้ามืด วิงเวียนในขณะลุกนั่ง หรือยืน แต่นอนลงอาการจะค่อยดีขึ้น และเมื่อได้รับการพักผ่อนเต็มที่ อาการวิงเวียนก็จะหายไป

ความดันในคนปกติ สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ?
อย่าได้กังวลใจ เมื่อความดันที่วัดได้แปรผันไป เราอยากบอกว่าความดันไม่คงที่หรอก ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้
1. อายุ ถ้าอายุมากขึ้น ความดัน (โดยเฉพาะค่าบน) จะเพิ่มขึ้น คือ ประมาณ 100 บวกด้วยอายุดังกล่าวแล้วในคนไทยเรา พบว่าบางครั้งความดันไม่ขึ้นตามอายุเสมอไป
2. เพศ ผู้หญิงความดันจะต่ำกว่าผู้ชายในคนที่อายุเท่ากัน
3. รูปร่าง คนที่รูปร่างใหญ่อ้วน ความดันมักจะสูงกว่าคนรูปร่างเล็กผอม แต่คนอ้วนบางคน ความดันต่ำก็ได้
4. อารมณ์ เช่น ตื่นเต้น หงุดหงิด โกรธ เคร่งเครียดมากเกินไป ความดันจะสูงขึ้นได้
5. ภายหลังออกกำลังกายใหม่ๆ ทำงานเหนื่อยจัด ความดันสูงขึ้นได้
6. เวลา เวลาบ่าย ความดันจะสูงกว่าเวลาเช้า
7. ยา ยาบางชนิด ทำให้ความดันสูงขึ้นได้ เช่น อะดรีนาลีน เพร็ตนิโซโลน เป็นต้น
8. ท่า ความดันในท่านั่ง และท่ายืน จะต่ำกว่าความดันในท่านอน

ข้อควรระวังในการวัด
1. อย่าพันผ้าพันแขนหลวม หรือแน่นเกินไปเพราะจะทำให้ค่าความดันผิดพลาดได้
2. ก่อนวัดทุกครั้ง ควรให้ผู้ที่จะวัด พักผ่อนร่างกายและจิตใจให้เป็นปกติเสียก่อน ไม่ควรวัดในขณะตื่นเต้น หรือเหนื่อยจัด
3. ถ้าพบว่าความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ ให้วัดซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เพื่อความแน่ใจ

เมื่อใดที่เราควรวัดความดัน?
1. เมื่อรู้สึกว่า มีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น อ่อนเพลีย เป็นลม หมดสติ ปวดท้อง ตกเลือด บวมต่ามร่างกาย ท้องเดิน อาเจียนมากๆ หรือ ตามัว
2. เมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือ ต่อมธัยรอยด์โต (คอพอก)
3. เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือร่าวกายได้รับบาดเจ็บ อาจพบความดันต่ำในคนที่มีอาการตกเลือดจนเกิดภาวะ “ช็อค”
4. ถืงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ควรจะตรวจวัดความดันเลือด ปีละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะในคนที่มีอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพราะคนที่เป็นความดันเลือดสูง บางครั้งอาจไม่มีอาการอะไรมากก่อนเลยก็ได้
ตอนต่อไป มาดูว่าเราจะได้รับการรักษาอย่างไร ทำไมยาที่ใช้จึงเย้อะนัก
แหล่งข้อมูล
ลลิตา อาชานานุภาพ, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 6
เดือน/ปี: ตุลาคม 1979, http://www.doctor.or.th/article/detail/5265
ความดันโลหิต, Silommedical Co.,Ltd.,
การจัดแบ่งระดับความดันโลหิต, http://www.gertexhealthshop.com/topic6-bloodpressure%20.html