วันศุกร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2556

วัดความดันโลหิตด้วยตนเองอย่างไร ให้ถูกต้อง?


มาถึงตอนนี้คงรู้แล้วว่าโรคความดันอันตรายอย่างไร วิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันการลุกลามของโรคแทรกซ้อนต่างๆได้ก้อคือการตรวจวัดความดันอย่างสม่ำเสมอ 

แต่เรามักพบว่าเวลาไปวัดที่โรงพยาบาลหรือวัดด้วยตนเองที่บ้านกลับพบว่าทำไมสูงไป หรือต่ำไป ทำให้เราเกิดความกังวลใจยิ่งกว่าการมีอาการความดันโลหิตสูงเข้าไปอีก 

ตอนนี้เราจะมาแนะนำถึงวิธีวัดที่ถูกต้องให้เราได้สบายใจในการดูแลสุขภาพและความดันให้เหมาะสมต่อไป

ทำไมวัดความดันโลหิตแล้วไม่คงที่ สูงไปหรือต่ำไป?
เมื่อ 10 ปีที่แล้วมาสมาคมโรคหัวใจ และหลอดเลือดประเทศอเมริกาได้มีคำแนะนำวิธีการวัดความดันโลหิต การวัดความดันโลหิตสมัยก่อนจะใช้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับการอบรบเป็นคนวัด และใช้เครื่องวัดความดันที่ทำจากสารปรอท จากการวิจัยพบว่าการวัดความดันโลหิตแบบเก่ายังมีข้อผิดพลาดดังนี้
  • วิธีการวัดไม่ถูกต้อง
  • เนื่องจากความดันโลหิตของคนไม่คงที่ตลอดเวลา บางครั้งสูงบางครั้งต่ำ
  • ความดันมักจะสูงเมื่อผู้ป่วยไปพบแพทย์ อาจจะเพราะความวิตกกังวลหรือเดินทางมาเหนื่อย
ผลจากความไม่แน่นอนของการวัดความดันโลหิตที่โรงพยาบาล จึงมีแนวความคิดขึ้นสองแนวคือ
  • ให้มีการวัดความดันที่อื่น นอกเหนือจากโรงพยาบาล และมีการวัดหลายๆครั้งเพื่อจะได้ค่าแท้จริงของความดันโลหิต
  • ใช้เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดอัตโนมัติ เครื่องมือใหม่ๆ เหล่านี้มักจะมีความแม่นยำสูงกว่า


ชนิดของเครื่องวัดความดัน มี 2 ชนิด
ชนิดที่ 1 ลักษณะหน้าปัทม์ที่อ่านเป็นแท่งแก้วยาว ภายในจะมีปรอทเป็นตัวบอกค่าความดัน
ชนิดที่ 2 ลักษณะหน้าปัทม์ เหมือนหน้าปัทม์นาฬิกา ชนิดนี้อาศัยลมดันเข็มนาฬิกา
อีกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีหน้าปัทม์แบบเดียวกับชนิดที่ 2 แต่นำสมัยกว่า ราคาก็แพงกว่ามาก เป็นชนิดอัตโนมัติ โดยอาศัยเสียงหรือแสงเป็นตัวบอกค่าความดัน
ส่วนประกอบของเครื่องวัดความดัน
1. ขีดหน้าปัทม์บอกความดัน
2. ลูกยางบีบลม
3. ผ้าพันแขน

ขั้นตอนต่างๆ ในการวัดความดันที่ถูกต้องและแม่นยำ
เรามี clip แนะนำมาให้ด้วย หากเราอยากวัดด้วยตนเองที่บ้าน

http://www.youtube.com/watch?v=Je_pr9gP_AA
มาทบทวนวิธีการวัดที่ถูกต้อง กันอีกที
1. นั่ง หรือ นอนพัก ให้สบาย หายตื่นเต้น ประมาณ 5-10 นาที
2. วัดความดันท่านอน ให้นอนหงาย วางแขนขนานกับลำตัวตามสบาย หงายฝ่ามือขึ้น
วัดความดันท่านั่ง นั่งบนเก้าอี้ วางแขนที่จะวัดบนโต๊ะ หงายฝ่ามือขึ้น ท่านี้สะดวกในการวัดความดันด้วยตัวเอง
3. วางเครื่องวัดความดัน ให้อยู่ในระดับเดียวกับหัวใจ หันหน้าปัทม์ที่อ่านให้อยู่ในระดับเดียวกับสายตา ไม่ควรวางไกลเกิน 3 ฟุต
4. พันผ้ารอบแขน โดยจับปลายด้านที่มีสายยาง วางบนแขนด้านชิดกับลำตัว แล้วจึงพันส่วนที่เหลือไปเรื่อยๆ จนรอบแขน ให้ขอบล่างของผ้าพันแขน อยู่เหนือข้อศอกประมาณ 2 นิ้ว
กรณีที่สวมเสื้อมีแขน ให้พับแขนเสื้อข้างนั้นขึ้นเหนือข้อศอก ประมาณ 5 นิ้ว ก่อนพันผ้าพันแขน
ดังนั้น ค่าความดัน จึงเขียนเป็นเลขสองจำนวนเสมอ และมีหน่วยเป็นมิลลิเมตรปรอท เช่น 120/80 มิลลิเมตรปรอท (120 คือ ความดันช่วงบน ส่วน 80 คือ ความดันช่วงล่าง)
8. ภายหลังที่วัดความดันครั้งแรก แล้ว เพื่อความแน่นอนให้วัดซ้ำดูอีกครั้ง โดยเฉพาะ ถ้าพบว่า ความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ หรือในกรณีที่วัดความดันครั้งแรกได้ยินเสียงครั้งแรกอยู่ตรงระดับปลายเข็ม หรือปรอทที่เราบีบขึ้นไปนั้นพอดี ก็ควรจะวัดซ้ำอีกครั้ง โดยบีบลมเข้าไปเพิ่มความดันให้มากขึ้นกว่าเดิม ประมาณ 20-30 มิลลิเมตรปรอท

วัดค่าความดันไป เค้าดูอะไร? 
เรามีวิธีคิดง่ายๆ ดังนี้
  • ความดันช่วงบน (ซีสโตลิค) เท่ากับหรือน้อยกว่า 100 บวกด้วยอายุของคนๆ นั้น เช่น อายุ 50 ปี ความดันช่วงบนไม่ควรเกิน 150 มิลลิเมตรปรอท
  • ความดันช่วงล่าง (ไดแอสโตลิค) จะต่ำกว่า 90 ในคนทุกอายุ
ความดันสูง คือ ความดันที่วัดได้สูงกว่าปกติ ทั้งช่วงบนและช่วงล่าง โดยทั่วไปหมอมักจะให้ความสำคัญต่อช่วงล่างมากกว่า ถึงแม้ว่าวัดความดันได้ช่วงบนปกติ แต่ถ้าช่วงล่างวัดได้มากกว่า 90 ขึ้นไปก็ถือว่าคนๆ นั้นเป็นโรคความดันสูงได้ เช่น
  • คนอายุ 30 ปี วัดความดันได้ 140/100 ถือว่าความดันสูงได้
  • คนอายุ 50 ปี วัดความดันได้ 150/90 ถือว่าความดันปกติ
  • คนอายุ 30 ปี วัดความดันได้ 140/100 ถือว่าความดันสูง
ถ้าสงสัย กลับไปดูเรื่องค่าความดันปกติอีกครั้ง
ความดันต่ำ คือ ความดันที่วัดได้ต่ำกว่าค่าปกติแต่ช่วงห่างระหว่างค่าบนและค่าล่างจะไม่ต่ำกว่า 30 เช่น วัดความดันได้ 90/60 (ช่วงห่างระหว่างค่าบนและค่าล่างเท่ากับ 30) หรือ 100/60 (ช่วงห่างเท่ากับ 40) เป็นต้น
ความดันต่ำ พบได้ในคนที่ได้รับการพักผ่อนไม่เพียงพอ นอนไม่หลับ คิดมาก โรคประสาท คนที่มีความดันต่ำ มักมีอาการ หน้ามืด วิงเวียนในขณะลุกนั่ง หรือยืน แต่นอนลงอาการจะค่อยดีขึ้น และเมื่อได้รับการพักผ่อนเต็มที่ อาการวิงเวียนก็จะหายไป

ความดันในคนปกติ สามารถเปลี่ยนแปลงได้เสมอ?
อย่าได้กังวลใจ เมื่อความดันที่วัดได้แปรผันไป เราอยากบอกว่าความดันไม่คงที่หรอก ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ต่อไปนี้
1. อายุ ถ้าอายุมากขึ้น ความดัน (โดยเฉพาะค่าบน) จะเพิ่มขึ้น คือ ประมาณ 100 บวกด้วยอายุดังกล่าวแล้วในคนไทยเรา พบว่าบางครั้งความดันไม่ขึ้นตามอายุเสมอไป
2. เพศ ผู้หญิงความดันจะต่ำกว่าผู้ชายในคนที่อายุเท่ากัน
3. รูปร่าง คนที่รูปร่างใหญ่อ้วน ความดันมักจะสูงกว่าคนรูปร่างเล็กผอม แต่คนอ้วนบางคน ความดันต่ำก็ได้
4. อารมณ์ เช่น ตื่นเต้น หงุดหงิด โกรธ เคร่งเครียดมากเกินไป ความดันจะสูงขึ้นได้
5. ภายหลังออกกำลังกายใหม่ๆ ทำงานเหนื่อยจัด ความดันสูงขึ้นได้
6. เวลา เวลาบ่าย ความดันจะสูงกว่าเวลาเช้า
7. ยา ยาบางชนิด ทำให้ความดันสูงขึ้นได้ เช่น อะดรีนาลีน เพร็ตนิโซโลน เป็นต้น
8. ท่า ความดันในท่านั่ง และท่ายืน จะต่ำกว่าความดันในท่านอน

ข้อควรระวังในการวัด
1. อย่าพันผ้าพันแขนหลวม หรือแน่นเกินไปเพราะจะทำให้ค่าความดันผิดพลาดได้
2. ก่อนวัดทุกครั้ง ควรให้ผู้ที่จะวัด พักผ่อนร่างกายและจิตใจให้เป็นปกติเสียก่อน ไม่ควรวัดในขณะตื่นเต้น หรือเหนื่อยจัด
3. ถ้าพบว่าความดันสูงหรือต่ำกว่าปกติ ให้วัดซ้ำอีก 2-3 ครั้ง เพื่อความแน่ใจ

เมื่อใดที่เราควรวัดความดัน?
1. เมื่อรู้สึกว่า มีอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ปวดหัว วิงเวียน หน้ามืด ใจสั่น อ่อนเพลีย เป็นลม หมดสติ ปวดท้อง ตกเลือด บวมต่ามร่างกาย ท้องเดิน อาเจียนมากๆ หรือ ตามัว
2. เมื่อเป็นโรคเบาหวาน หรือ ต่อมธัยรอยด์โต (คอพอก)
3. เมื่อได้รับอุบัติเหตุ หรือร่าวกายได้รับบาดเจ็บ อาจพบความดันต่ำในคนที่มีอาการตกเลือดจนเกิดภาวะ “ช็อค”
4. ถืงแม้จะไม่มีอาการผิดปกติอะไรก็ควรจะตรวจวัดความดันเลือด ปีละ 1-2 ครั้ง โดยเฉพาะในคนที่มีอายุ มากกว่า 40 ปีขึ้นไป เพราะคนที่เป็นความดันเลือดสูง บางครั้งอาจไม่มีอาการอะไรมากก่อนเลยก็ได้
ตอนต่อไป มาดูว่าเราจะได้รับการรักษาอย่างไร ทำไมยาที่ใช้จึงเย้อะนัก
แหล่งข้อมูล
ลลิตา อาชานานุภาพ, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 6
เดือน/ปี: ตุลาคม 1979, http://www.doctor.or.th/article/detail/5265
ความดันโลหิต, Silommedical Co.,Ltd.,
การจัดแบ่งระดับความดันโลหิต, http://www.gertexhealthshop.com/topic6-bloodpressure%20.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น