วันพฤหัสบดีที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2556

ใช้ยานอนหลับอย่างไรให้ปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


บทความนี้เขียนขึ้นเป็นคุ่มือ อธิบายหลักการเลือกใช้ยานอนหลับ เพื่อให้เราในฐานะผู้บริโภค ได้ทำความเข้าใจหลักการใช้ยาได้ถูกต้อง ได้ผลดี พร้อมกับมีผลข้างเคียงน้อย เมื่อคุณได้ไปพบและขอคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญการแล้วเท่านั้น และได้รับยาช่วยให้หลับมาจากโรงพยาบาล หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบเท่านั้น  ไม่มีวัตถุประสงค์ให้ไปเลือกหายามากินเอง 
ขอย้ำเตือนอีกครั้งว่าไม่แนะนำให้คุณไปหาซื้อยากลุ่มนี้มากินเอง เพราะนอกจากจะเสี่ยงกับยาปลอมแล้ว ยังต้องมาทนทุกข์กับผลของการใช้ยาที่ไม่ได้รับคำแนะนำจากเภสัชกรอีกด้วย 
การใช้ยาขึ้นกับรูปแบบของลักษณะโรคที่นอนไม่หลับ
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับเรื้อรัง เป็นเวลานานๆ ควรเริ่มต้นโดยเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนก่อนและให้ยานอนหลับเป็นระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น หมอจะเลือกจ่ายยาในกลุ่มออกฤทธิ์แบบที่มีค่าครึ่งชีวิตปานกลาง
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับชั่วคราวจากสาเหตุต่าง ๆ
เช่น ความเครียด โศรกเศร้าจากเหตุการกะเทือนใจที่เพิ่งเกิด ควรใช้ยานอนหลับชนิดที่ไม่ทำให้เกิดผลตกค้างข้ามวัน ทั้งนี้ขึ้นกับว่าเป็นโรคนอนไม่หลับชนิดใด
นอนหลับยาก (early insomnia)
คนไข้ที่พอจะเข้านอน แล้วกว่าจะหลับต้องใช้เวลานานมากกว่าปกติ เรามักแนะนำให้ควรใช้ยาที่ออกฤทธิ์เร็ว เช่น midazolam , tiazolam ,zolpidem
ตื่นบ่อย (middle insomnia )
ประเภทนี้คือ คนไข้เริ่มต้นเข้านอนแล้ว ก้อนอนหลับได้อย่างปรกติ แต่พอกลางๆดึก มักตื่นเป็นช่วง ๆ แล้วก้อหลับต่อได้ยากมาก ควรใช้ยาที่ฤทธิ์อยู่นานพอสมควร เช่น temazepam
ตื่นเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ( late insomnia )
เจ้าตัวจะมีวงจรการนอนตามปกติน่านแหละ แต่มักจะตื่นเร็ว จึงอยากหลับได้ในช่วงเวลาที่นานขึ้น เราจึงควรเลือกใช้ยาที่มีฤทธิ์ยาวพอสมควร เช่น temazepam , lormetazepam
ผู้ป่วยที่เป็นโรคนอนไม่หลับชั่วคราว ถ้ามีความวิตกกังวลร่วมด้วยมาก ๆ
หมอมักจะเลือกใช้ยานอนหลับที่มีฤทธิ์ในการคลายวิตกกังวลร่วมด้วย อาจให้ ยาในกลุ่ม benzodiazepine ที่มีฤทธิ์คลายวิตกกังวลสูง เช่น clobazam , clorazepate
โรคนอนไม่หลับที่เกิดจากการบินข้ามทวีป
หรือเดินทางในยานพาหนะเป็นเวลานานๆ ควรเลือกใช้ยานอนหลับที่ไม่มีผลตกค้างข้ามวัน
คนไข้กลุ่มอื่นๆ
·     ผู้ป่วยที่มีความกังวลจากการทำงาน ควรเลือกยาที่มีฤทธิ์อยู่นาน เช่น flurazepam
·     ผู้ป่วยที่การทำงานของตับบกพร่อง ควรเลือกใช้ยาที่ตับไม่ต้องเหนื่อย ไม่ต้องทำงานมากกว่าเดิม โดยเราจะเลือกใช้ยาที่ไม่ถูกทำลายโดยการผ่าน phase 1 เช่น temazepam , lormetazepam
สุดท้าย ผู้สูงอายุที่ไม่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ ที่ทำให้นอนไม่หลับ ควรแนะนำให้เปลี่ยนพฤติกรรมการนอนก่อนเป็นวิธีแรก ถ้าไม่ได้ผลจึงจะพิจารณาใช้ยานอนหลับตัวที่เหมาะสมที่สุดคือ tamazepam , lormetazepam เนื่องจากไม่เกิดผลตกค้างข้ามวัน
ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอื่น ๆ เช่น โรคสมองเสื่อม ควรระวังการใช้ยานอนหลับกลุ่ม benzodiazepine เพราะทำให้เกิดอาการสับสนมากขึ้น ควรใช้กลุ่ม phenothiazines ซึ่งเป็นยารักษาโรคจิต ที่ทำให้ง่วง เช่น chlorpromazine
ข้อควรระวังในการใช้ยานอนหลับ
ใช่ว่าได้รับยานอนหลับมาแล้ว จะใช้อย่างไรก้อได้ ยากลุ่มนี้ระหว่างการใช้ ต้องถ้วนถี่ในคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อความปลอดภัยของเราเอง
·     ห้ามใช้ยาร่วมกับยาที่มีฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ยาน้ำที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ยาลดน้ำมูกบางตัวที่มีผลกดประสาท เป็นต้น เพราะจะยิ่งเสริมฤทธิ์ยานอนหลับให้มากกว่าเดิม ทำให้หลับยาวกว่าเดิม หรือมีอาการซึมมากกว่าเดิม
·     แพทย์จะทำหน้าที่ปกป้องคุณ โดยจะวิเคราะห์ประวัติและพฤติกรรมของเราอย่างละเอียด เพื่อที่จะเลือกใช้ยากลุ่มที่อาจจะเกิดความจำเสื่อมได้น้อยที่สุด (anterograde amnesia) เมื่อใช้ triazolam , midazolam
สุดท้ายเมื่อใช้ยากลุ่มนี้อย่าลือมสื่อสารกับคนใกล้ชิดเพื่อคอยสังเกตุอาการของเรา และเตือนเราเพื่อป้องกันการใช้ยาเกินขนาด หรือมีผลข้างเคียงที่ต้องรีบดูแลแก้ไขโดยด่วน 
ฟังแล้วหลักการใช้ยาเนี่ยมันละเอียดอ่อนและต้องดูแลคนไข้คือตัวเราอย่างใกล้ชิดมากใช่ไหม? เหตุผลก้อมีข้อเดียวคือเภสัชกรอยากให้คุณได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีจากการนอนหลับได้อย่างมีความสุข และป้องกันผลข้างเคียงทุกอย่างที่อาจจะเกิดขึ้น ดังนั้นหากคุณมีปัญหาเรื่องการใช้ยา อย่าได้เก็บความกังวลไว้ ไปร้านยาใกล้บ้านที่มีเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลให้คุณมีสุขภาพดีเสมอ แม้เวลานอน
 แหล่งข้อมูล

เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 3 มค. 2556
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         นอนไม่หลับทำไงดี: การนอนหลับคืออะไร ทำไมเราจึงต้องนอนด้วย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/06/05/entry-2


·         นอนไม่หลับทำไงดี: นอนหลับแค่ไหนถึงจะเรียกว่าพอดี โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/06/07/entry-1

นอนไม่หลับทำไงดี: ผลเสียของยานอนหลับน่ากลัวขนาดไหนนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/12/01/entry-1
·  นอนไม่หลับทำไงดี: สาเหตุของการนอนไม่หลับ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

·         นอนไม่หลับทำไงดี: ตอนทำไมนอนไม่หลับนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/28/entry-1
นอนไม่หลับทำไงดี?: กินอะไรให้หลับง่าย? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/12/blog-post_15.html

นอนไม่หลับทำไงดี?: เปลี่ยนนิสัย ให้หลับปุ๋ย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/12/blog-post_16.html
นอนไม่หลับทำไงดี?: นอนไม่หลับแบบไหน ที่คุณเป็นอยู่? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/12/blog-post_13.html
นอนไม่หลับทำไงดี?: อย่างไรที่เรียกว่าหลับสนิท โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2012/12/blog-post_11.html
ทำอย่างไรให้หลับปุ๋ย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/30/entry-1
เมลาโทนินช่วยให้นอนหลับได้ตามธรรมชาติ ได้อย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/28/entry-2

KALYANAKRISHNAN RAMAKRISHNAN, MD, and DEWEY C. SCHEID, MD, MPH, University of Oklahoma Health Sciences Center, Oklahoma City, Oklahoma, Treatment Options for Insomnia, Am Fam Physician. 2007 Aug 15;76(4):517-526.
,  http://www.aafp.org/afp/2007/0815/p517.html

Anne M. Holbrook, Renée Crowther, Ann Lotter, Chiachen Cheng, Derek King
, The diagnosis and management of insomnia in clinical practice: a practical evidence-based approach, Centre for Evaluation of Medicines, St. Joseph’s Hospital and McMaster University, Hamilton, Ont., http://www.canadianmedicaljournal.ca/content/162/2/216.full.pdf

Clinical Practice Guideline Adult Insomnia: Assessment to Diagnosis, Adult Insomnia: Assesment to Diagnosis. February 2006. Revised February 2007., http://www.centreforsleep.com/assets/images/pdf/insomnia_assessment_guideline07.pdf
กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร , หลักการเลือกใช้ยานอนหลับม http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bk521/009wisawatp/__14.html
น.พ.เทอดศักดิ์ เดชคง, วิธีการจัดการปัญหานอนไม่หลับโดยไม่ใช้ยา,                                                                                                                                                                                                                                                                                กรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข, www.drterd.com/news/admin/2311254910272.doc
นพ.วีรวุฒิ เอกกมลกุล
นิตยสารใกล้หมอ   ปีที่ 21 ฉบับที่ 4 เมษายน 2540, http://www.osknetwork.com/modules.php?name=News&file=article&sid=1642

Trazodone,
คู่มือยาจิตเวชชุมชน - โรงพยาบาลจิตเวชสงขลาราชนครินทร์,
http://www.skph.go.th/skph/admin/upload_km/2011070132806.pdf
กลไกการออกฤทธิ์ของยาต้านอาการซึมเศร้า, กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลชัยนาทนเรนทร อ.เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท, http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/bk521/009wisawatp/__18.html

สรยุทธ วาสิกนานนท์ พบ., ,ยาแก้ซึมเศร้ารุ่นใหม่ : อะโกเมลาทีน, วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 56 ฉบับ 3 กรกฎาคม - กันยายน 2554, http://www.psychiatry.or.th/JOURNAL/56-3/09-Sorayut.pdf
ภก. สุฟยาน ลาเต๊ะ, trazodel, ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลยะหริ่ง, http://www.pharmyaring.com/pic/p_100227215950.pdf
รู้จักยา Cavinton (Vinpocetine) และ Trazodel (Trazodone) ,งานประชาสัมพันธ์ ฝ่ายเภสัชกรรมชุมชน โรงพยาบาลยะหริ่ง, http://www.pharmyaring.com/detail.php?c_id=647 

 รูปประกอบจาก http://www.fda.gov/forconsumers/consumerupdates/ucm107757.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น