วันพุธที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2556

โรคต้อกระจก (Cataract) รู้ไว้เพื่อรักษาโดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ 2556 ขออำนวยพรอันประเสริฐ ขอให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้โปรดดลบันดาลประทานพรให้กับพ่อแม่พี่น้องชาวไทยทุกคนประสบแต่ความสุข และคิดหวังสิ่งใด 
ขอส่งความปรารถนาดี มีสุขภาพอนามัยที่แข็งแรงสมบูรณ์ และแคล้วคลาดจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวง และขอให้มีความรักความอบอุ่นที่ครอบครัวซึ่งเป็นฐานของสังคมไทยกันนะครับ 

ปีใหม่นี้มีบทความเรื่องโรคต้อกระจกมาเล่าให้ฟังเพื่อจะได้ไปดูแลพ่อแม่หรือญาติผู้ใหญ่ที่กำลังเป็นโรคนี้อยู่ครับ

โรคต้อกระจกคืออะไร?
โรคต้อกระจกนี้ เป็นโรคที่เกิดจากการขุ่นของเลนส์แก้วตา (lens) ในลูกตา ทำให้คนไข้ที่มีภาวะที่เลนส์แก้วตาขุ่นมากขึ้นเรื่อยๆ แสงจึงผ่านเลนส์เข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลง หรือบางครั้งการขุ่นนั้น จะก่อให้เกิดการหักเหแสงที่ผิดปกติไปโฟกัสผิดที่ ทำให้จอประสาทตารับแสงได้ไม่เต็มที่

พอเป็นมากๆแล้วจะทำให้การมองเห็นภาพมีลักษณะคล้ายเป็นหมอกหรือควันขาว ๆ บังตา มักเป็นจากการเสื่อมสภาพของเลนส์ตาตามอายุ แต่อาจเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือเกิดหลังอุบัติเหตุต่อดวงตาก็ได้ มักทำให้ตามัวมากขึ้นเรื่อยๆ
โดยไม่มีอาการอักเสบหรือเจ็บปวดใดๆ ยิ่งเลนส์แก้วตาขุ่นขึ้น การมองเห็นก็จะลดน้อยลงเรื่อยๆ

       โรคต้อกระจก ใครมั่ง? มีโอกาสเป็น
เป็นโรคตาที่พบได้บ่อยมากในผู้สูงอายุ เกิดจากการขุ่นของเลนส์แก้วตา ผู้ที่อายุมากกว่า 70 ปีพบได้ถึง 70% เยอะจริงๆใช่ไหม ดังนั้นเราต้องคอยสังเกตุอาการของญาติผู้ใหญ่เราบ่อยๆ ถ้าช่วงอายุท่านระหว่าง 40-65 ปีให้ตรวจตาทุก 2-4 ปี และอายุมากกว่า 65 ปี ให้ตรวจทุก 1-2 ปี และทุกครั้งหากท่านมีความผิดปกติอย่างที่เล่าอาการไว้ ก้ออย่าได้วางใจพาท่านไปตรวจตาเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง

อาการของโรค เป็นอย่างไร?
ส่วนใหญ่คนไข้ไม่มีอาการปวดตามาก่อนล่วงหน้า แต่จะมองเห็นภาพมัวมืดลงช้าๆ เหมือนมีฝ้าหรือหมอกบัง โดยไม่มีอาการปวดตา เห็นภาพซ้อน สายตาพร่า สู้แสงไม่ได้ เห็นดวงไฟแตกกระจายโดยเฉพาะในเวลากลางคืน

หรือในบางรายอาการระยะแรกของต้อกระจกคือจะมีสายตาสั้นมากขึ้นๆ ทำให้ต้องเปลี่ยนแว่นสายตาบ่อยๆ เมื่อต้อกระจกขุ่นมาก แว่นตาจะช่วยไม่ได้

          ถ้าปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษาอาจจะเกิดอาการแทรกซ้อนตามมาได้ เช่น มีอาการปวดตาอย่างรุนแรง และตาแดงมาก เนื่องจากโรคลุกลามกลายเป็นโรคต้อหินเฉียบพลัน และม่านตาอักเสบ จนกระทั่งตาบอดได้ในที่สุด

สาเหตุเกิดจากอะไรนะ?
ญาติผู้ใหญ่ของเรา จะเป็นโรคนี้กันเย้อะ เนื่องมาจากเกิดจากความเสื่อมตามอายุที่มากขึ้น  ส่วนสาเหตุอื่นๆ ก้ออาจเกิดจากการบาดเจ็บที่ตา โรคเบาหวาน

สาเหตุที่มักเข้าใจผิด และไม่ได้ทำให้เกิดต้อกระจก ได้แก่ โรคมะเร็ง การใช้สายตามาก

รักษาอย่างไรหล่ะ?
โดยการผ่าตัดหรือสลายเลนส์ตาที่ขุ่นออกเป็นการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ หรือบางครั้งจะผ่าเมื่อเมื่อบดบังการมองเห็นมาก จนมีผลกระทบต่อการใช้งาน เช่น การขับรถ การอ่านหนังสือ รายละเอียดเย้อะมาก จะกลับมาเล่าให้ฟังถึงการรักษาในตอนต่อไปนะครับ


แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 2 มค. 2556  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น

ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

รูปประกอบจาก http://health2u.exteen.com/images/blog2009l/091113catara3.jpg และ http://www.chaoprayanews.com/2012/05/25/โรคต้อกระจก/


ต้อลมและต้อเนื้อ รู้ไว้รักษาและป้องกัน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ต้อหิน รักษาอย่างไร ไม่ให้ตาบอด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://utaisuk.blogspot.com/2013/01/blog-post.html



Cataracts, eMedicineHealth,

CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR THE MANAGEMENT OF CATARACT
AMONG ADULTS
Philippine Academy of Ophthalmology
Family Medicine Research Group-Department of Family and Community Medicine University of the Philippines - Philippine General Hospital, Manila,

The Royal College of Ophthalmologists, Clinical Guidelines Surgery for Cataracts, http://www.rcophth.ac.uk/page.asp?section=451&sectionTitle=Clinical+Guidelines

โรคตาในผู้สูงอายุ, The Royal College of Ophthalmologists of Thailand, http://www.rcopt.org/news-public-70.html

ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, โรคต้อหิน, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 383, เดือน/ปี: มีนาคม 2011, http://www.doctor.or.th/article/detail/11255

 รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, ปวดตา-ต้อหินเฉียบพลัน, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 180 เดือน/ปี: เมษายน 1994,

การรักษาโรคต้อหิน, The Royal College of Ophthalmologists of Thailand , http://www.rcopt.org/news-public-80.html

นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ, การรักษาโรคต้อหิน, ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ,
http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/eye/1452-การรักษาโรคต้อหิน.html

รู้จักโรค"ต้อหิน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น