วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

ต้อหิน รักษาอย่างไร ไม่ให้ตาบอด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


ต้อหินเป็นโรคเรื้อรังที่มักจะอยู่คู่กับคนที่เป็นไปตลอดชีวิต จะต้องคอยควบคุมและดูแลอย่างถูกต้อง แต่พ่อแม่พี่น้องที่กำลังเป็นหรือมีญาติผู้ใหญ่ที่กำลังเป็นโรคนี้ กลัวว่าจะตาบอดมั้ย?? 
ในฐานะเภสัชกรร้านยา เราอยากมาแบ่งปันความรู้สึกว่า ไม่ต้องวิตกมากนัก เพราะถ้าดูแลรักษาดีๆ ผู้ป่วยโรคนี้ส่วนใหญ่สามารถรักษาสภาพโรคไม่ให้ลุกลาม และช่วยปกป้องสายตาให้ใช้ได้เป็นเวลานานตราบช่วงชีวิต ไม่เสียคุณภาพชีวิตแต่อย่างใด สิ่งสำคัญคือต้องรับการรักษาอย่างต่อเนื่อง และติดตามผลการรักษาเป็นระยะๆ อย่าซื้อยาใช้เอง โดยไม่ไปตามติดดูแลจากแพทย์ผู้ชำนาญการ มาฟังคำแนะนำการรักษาจาก นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ ท่านจะมาเล่าให้ฟังถึงการรักษาโรคต้อหินอย่างได้ผลและปลอดภัยกันดีกว่า 

หลักการรักษาต้อหิน
เรารุ้ต้นเหตุว่า โรคต้อหิน (Glaucoma) เกิดจากความดันในลูกตาสูงจากการระบายออกของน้ำเลี้ยงในลูกตา (aqueous) น้อยผิดปกติ ทำให้ลูกตาแข็งขึ้น จนกระทั่งกดขั้วประสาทตา (optic disc) ทำให้มีการเสียของลานสายตาการมองเห็น จนกระทั่งตาบอดสนิทได้ในที่สุด

หลักการรักษาต้อหินจึงต้องเป็นการลดความดันภายในลูกตา เนื่องจากภาวะความดันในลูกตาสูงนั้น เป็นปัจจัยเสี่ยงเพียงอย่างเดียวที่สามารถควบคุมได้ ผลจากการศึกษาวิจัยจำนวนมากพบว่าการลดความดันในลูกตาจะช่วยป้องกันไม่ให้ประสาทตาถูกทำลายเพิ่มเติม

ต้อหินหายขาดมั้ย?
เนื่องจากโรคนี้มีความเสื่อมจากธรรมชาติเป็นตัวเร่ง ดังนั้นการรักษาต้อหินนั้นจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ดังนั้นเซลล์ประสาทตาที่เสียไปแล้วกลับมาเป็นปกติได้ แต่การรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมสามารถหยุดยั้งการทำลายประสาทตาที่เหลืออยู่ได้ และที่สำคัญช่วยไม่ให้ตาบอดต่อไป

วิธีรักษาต้อหิน
เรารุ้สาเหตุเกิดจากความดัน ดังนั้นเราก้อต้องไปลดสาเหตุการในลูกตา มี 3 วิธีหลักๆ คือ การใช้ยาลดความดันตา การรักษาด้วยเลเซอร์ และการผ่าตัด การรักษาต้อหินนั้น เริ่มต้นต้องพยายามควบคุมด้วยยาให้ได้ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ยาหยอดตาเพื่อลดความดันตา เมื่อควบคุมด้วยยาหรือเลเซอร์ไม่ได้ แล้วจึงพิจารณาการรักษาด้วยวิธีผ่าตัด

การเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละรายขึ้นอยู่กับ ชนิดของต้อหิน ความรุนแรงของโรค สภาพร่างกายของผู้ป่วย รวมทั้งโรคประจำตัวของผู้ป่วยแต่ละรายที่อาจแตกต่างกันไป

การรักษาด้วยยา
1.  การรักษาโรคต้อหิน ด้วยยาลดความดันตา ถือเป็นการรักษาเริ่มต้นสำหรับผู้ป่วยทุกราย ปัจจุบันนิยมเลือกใช้ยาหยอดตาในกลุ่มพรอสตาแกลนดินเป็นยาตัวแรกในการรักษา หลังจากติดตามผลระยะหนึ่งแล้ว อาจพิจารณาลดขนาดยา หรือปรับเปลี่ยนเป็นยาชนิดอื่นๆ กลุ่มอื่นๆ หรือพิจารณาใช้ยาร่วมกันมากกว่าหนึ่งชนิด ซึ่งกำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากผลการศึกษาวิจัยระยะหลัง พบว่าผลการรักษาด้วยยามากกว่าหนึ่งชนิดดีกว่าผลการรักษาด้วยยาเพียงชนิดเดียว

2.  ความก้าวหน้าของยาที่ใช้รักษาโรคต้อหินมีเพิ่มมากขึ้นกว่าสมัยก่อน แต่เดิมมีเพียงยาหยอดตา 5-6 ชนิด ปัจจุบันมียาหยอดตารักษาต้อหิน 14 ชนิด นอกจากจะมียาหยอดตาแล้ว ยังมียากิน ยาเม็ด ยาน้ำที่ช่วยลดความดันตาได้ เนื่องจากยาที่ใช้รักษาต้อหินมีมากมาย ถ้ามีปัญหาในการใช้ยา ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที แพทย์อาจพิจารณาปรับขนาดยา หรือเปลี่ยนยาเป็นชนิดอื่นๆ ได้

3.  การใช้ยาต้องใช้ต่อเนื่องทุกวัน ถ้าหยุดยา ความดันตาจะเพิ่มสูงขึ้น ปัญหาอาจเกิดขึ้นกับยาบางชนิดที่ต้องใช้หยอดวันละหลายครั้ง อย่างไรก็ตามพบว่าส่วนใหญ่แล้ว คนไข้มักจะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

4.  ยาที่ใช้รักษาต้อหินออกฤทธิ์ลดความดันในลูกตา โดยกลไกหลักสองประการ ประการแรกโดยการระบายน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา และประการที่สองโดยลดการผลิตน้ำหล่อเลี้ยงลูกตา การหยอดตาต้องทำให้ถูกวิธีตามที่ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และต้องแจ้งให้จักษุแพทย์ทราบทุกครั้งว่าท่านมีโรคประจำตัวหรือไม่ ใช้ยาอะไรประจำอยู่หรือไม่ ซึ่งจะมีผลต่อการเลือกใช้ยาชนิดใดหรือกลุ่มใด

ตอนหน้าเราจะมาเล่ารายละเอียดยาแต่ละกลุ่ม แต่ละตัวให้ทราบต่อไปครับ

แหล่งข้อมูล

รูปประกอบจาก http://new-glaucoma-treatments.com/glaucoma-treatment-guide/  และ http://www.pittsburghurbanmedia.com/January-is-National-Glaucoma-Month--Prevent-Poor-Eye-Health-in-the-New-Year/
 

ต้อลมและต้อเนื้อ รู้ไว้รักษาและป้องกัน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,


Cataracts, eMedicineHealth,

CLINICAL PRACTICE GUIDELINE FOR THE MANAGEMENT OF CATARACT
AMONG ADULTS
Philippine Academy of Ophthalmology
Family Medicine Research Group-Department of Family and Community Medicine University of the Philippines - Philippine General Hospital, Manila,

The Royal College of Ophthalmologists, Clinical Guidelines Surgery for Cataracts, http://www.rcophth.ac.uk/page.asp?section=451&sectionTitle=Clinical+Guidelines

โรคตาในผู้สูงอายุ, The Royal College of Ophthalmologists of Thailand, http://www.rcopt.org/news-public-70.html

ผศ.นพ.ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์, โรคต้อหิน, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 383, เดือน/ปี: มีนาคม 2011, http://www.doctor.or.th/article/detail/11255

 รศ.นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ, ปวดตา-ต้อหินเฉียบพลัน, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 180 เดือน/ปี: เมษายน 1994,

การรักษาโรคต้อหิน, The Royal College of Ophthalmologists of Thailand , http://www.rcopt.org/news-public-80.html

นพ.วรวุฒิ เจริญศิริ, การรักษาโรคต้อหิน, ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ,
http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/eye/1452-การรักษาโรคต้อหิน.html

รู้จักโรค"ต้อหิน"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น