วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เปิดบ้าน FANPAGE หลังใหม่ สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย



กราบเรียนสมาชิก เพื่อนๆทุกท่าน

เปิดบ้าน FANPAGE หลังใหม่ๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย

สามารถติดตามไปได้ที่ Facebook ที่นี่ครับ 
https://www.facebook.com/pages/สาระสุขภาพยาน่ารู้โดยเภสัชกรอุทัย/216848761792023 

เภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
 
#utai #เภสัชกรอุทัย #สาระสุขภาพโดยเภสัชกรอุทัย

วันพุธที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ผมร่วง ผมบาง หัวล้าน: ทำไมผู้ชายจึงหัวล้าน??? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



คุณประกฤตชีวิตผู้ชายที่สมบูรณ์แบบและน่าอิจฉามากๆ นอกจากดำรงตำแหน่งผู้บริหารของบริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นแห่งหนึ่งแล้ว แฟนแกก้อเป็นเจ้าของร้านอาหารทะเลเผาชื่อดั้งดังในเสนานิคม ลูกค้าก้อเต็มร้านตลอดเลย แน่นจนต้องรอคิว ทุกอย่างในชีวิตครบถ้วนหมดละ แต่แกหล่ะง้งงงที่พร่องไปก้อมีเส้นผมบนหนังศีรษะที่ไม่ค่อยจะอุดมสมบูรณ์อู้ฟู่เหมือนเงินในกระเป๋าแกเลย คุณประกฤตเลยอยากได้คำตอบในการหยุดการชุมนุมผมร่วง กระชับวงล้อมหัวล้าน และขอคืนพื้นที่เส้นผมที่ดกดำให้กลับมาสันติสุขปรองดอง ดังเดิมนะคร้าบ พ่อแม่พี่น้อง 


ดังนี้แล้วเภสัชกรที่รูปหล่อพอๆคุณชายจุฑาทรุดแต่จ้นจลลคนนี้ เลยต้องรีบฉลองศรัทธาโดยรีบตอบคำถามข้างบนให้แกได้คลายสงสัยเสียก่อนแล้วค่อยตามด้วยแผนการรักษาต่อไป


รูปแบบผมบางในผู้หญิงและชาย รูปมาจาก http://www.funkyhead.co.uk/advice/alopecia-hair-loss-cure/
ความจริงแล้วหญิงหรือชายก้อมีโอกาสหัวล้านได้เหมือนกัน

แต่ในคุณผู้ชายการที่จะแสดงอาการหัวล้านออกมาได้อย่างเจ๋งเหม่ง ส่วนใหญ่ที่เราพบได้มักจะมีปัจจัยอยู่ 2 ส่วน คือ

1.    ลักษณะทางกรรมพันธุ์หรือยีนส์ศีรษะล้านที่ได้มาจากพ่อ แม่ ปู่ย่า ตายาย ทวดและชวด อาก่งอาม่า อาเหล่าแป๊ะ อาเหล่าม่า และ...


2.    ตัวฮอร์โมนเพศชายเองในร่างกายคุณเอง หรือที่เรียกรวมๆกันว่า Testosterones

ลักษณะทางกรรมพันธุ์ยังไงคุณก้อหนีไม่พ้น ยกเว้นพ่อคุณเก็บคุณมาเลี้ยงจากถังขยะ มันจะถ่ายทอดในระหัสทางพันธุกรรมอยุ่แล้วและจะแสดงออกเพื่อแสดงคุณสมบัติต่างๆทางร่างกายที่คุณได้รับจากบรรพบุรุษ หากคุณมีอยุ่แล้ว ก้อจะมาบอกว่าให้ระลึกและทำใจไว้ จะมาบ่นน้อยใจว่าทำไมไม่เอาแต่ยีนส์ดีๆก้อไม่ว่ามาระบายที่ร้านผมได้ แต่อย่าลืมยีนส์เด่นๆที่ทำให้คุณเรียนหนังสือได้เร็ว รูปหล่อ หาเงินเก่ง แข็งแรงจนแฟนๆตรึม ก้อมาจากพ่อแม่ของคุณเช่นกัน

แต่ในคนเรา ถ้าหยิบรูปตอนเรียนมหาลัยของคุณประกฤตมาดูจะพบหนุ่มน้อย พิมพ์เดียวกะแวนเนสจากวง F4 ผมก้อยังดกดำสลวยพลิ้วเคลียคลออยุ่ข้างแก้มให้แกได้ปัดเท่ๆโชว์สาวอยู่เสมอ แต่ตอนนี้ทำไมจึงเริ่มหายไปอย่างเป็นอาเทพโพธิ์งามไปซะได้ เหตุก้อเพราะปัจจัยที่สอง ในยามตอนเราเป็นเด็กชาย แก้มแดง เสียงใส ก้อยังไม่มีอะไรแตกต่างในช่วงทารกหญิงชาย แต่พอนาฬิกาชีวิตของเราเดินไปสู่วัยเจริญพันธุ์ จะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพฮอร์โมนครั้งใหญ่ใน ร่างกายเด็กน้อยจะเกิดขบวนการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติคือเริ่มมีการผลิตฮอร์โมนเพศชาย Testosterone จากลูกอัณฑะและต่อมหมวกไต แล้วจึงแพร่เข้าสู่กระแสเลือด ไหลเวียนไปสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายให้แตกหนุ่ม เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในระยะนี้ได้แก่ ส่วนสูง และน้ำหนักที่เติบโตพรวดพราด ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อที่เล่นกีฬาได้ทนนาน ความมันของใบหน้าและร่างกายและกลิ่นกายแบบแมนๆที่มาพร้อมกับเสียงแตก รวมทั้งการหงอกของเส้นขนในที่ลับต่างๆ ที่เราเรียกว่า Male Characteristics เป็นแมนมั่กๆนั่นเอง

แต่ในเวลาเดียวกันที่หนังศีรษะของหนุ่มน้อยจะมีขบวนการเปลี่ยน testosterone ให้ไปเป็นฮอร์โมนเพศชายอีกตัวหนึ่งที่ชื่อว่า DHT หรือ Dihydrotestosterone โดยเอนไซม์ 5-Alpha reductase (ตัว DHT เองก้อยังมีฤทธิ์แรงกว่า testosterone ถึง 3 เท่า) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและเกิดขึ้นในผู้ชายทุกคนเมื่อย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เราผู้ชายทุกคนจึงมีทั้ง testosterone และ DHT เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลาและตลอดไป เราจึงยังพบว่าคุณปู่หลายคนยัง work สามารถมีลูกกะเมียสาวๆพริตตี้ ได้อีกแม้อายุจะเลยแซยิดไปแล้วก้อเยอะ



รูป DHT ที่มีผลต่อการเกิดผมร่วงในผุ้ชาย
ฮอร์โมนเพศชาย DHT เป็นหนึ่งในผู้ก่อการ (ให้เกิดศรีษะล้าน นั่นเอง รูปมาจาก http://hairomega.com/how-it-works/

จากการวิจัยพบได้ว่าร้อยละ 90 ของชายไทยประสบปัญหาผมร่วงและศีรษะล้านเกิดจากสองปัจจัยดังกล่าวDHT ตัวนี้ที่ไปชุมนุมบริเวณหนังศรีษะและที่รากเส้นผม จะไปมีผลกระทบต่อเส้นผมของคุณดังต่อไปนี้ (วงจรของเส้นผม คุณสามารถตามไปอ่านในบทความเดิม ที่ผมเขียนก่อนหน้านี้แล้ว โดยคลิ้กไปที่ menu โรคผิวหนังและเส้นผมได้เลยครับ)

·         ขัดขวางกระบวนการสร้างเส้นผมใหม่ปกติ ทำให้สร้างช้าและน้อยลง  

·         อายุเส้นผมสั้นลง และ

·         ทำให้เซลล์รากผมฝ่อตัวเร็วกว่าเดิม ทำให้ผมดกดำค่อยๆ หลุดร่วงในที่สุด

พอคุณประกฤต ซึ่งกำลังเพลินกับงานและการสร้างรากฐานให้กับครอบครัวและอาซ้ออันเป็นธงชัยแห่งความรัก ที่ผ่านมาแกก้อดูแลมั่ง แต่ก้อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกวิธีจนต้องมาขอปรึกษา การรักษาผมร่วงและศรีษะล้านจากปัจจัยนี้ เราจึงต้องไปแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ ลดปริมาณฮอร์โมน DHT ลง ซึ่งการใช้ยาเพื่อรักษาผมบางที่เกิดจากกรรมพันธุ์เป็นทางเลือกหนึ่งที่ใช้แล้ว ได้ผลและปลอดภัย เนื่องจากเป็นการรักษาที่ชะลอการฝ่อตัวของเซลล์รากผม ลองมาติดตามการใช้ยาในตอนต่อไปนะครับ เด๋วผมขอตัวไปว่ายน้ำในสระว่ายน้ำที่บ้านก่อนนะครับ เภสัชกรรูปหล่อผมยาวคนนี้ถึงจะจนเงิน แต่ก้อมีสุขภาพดีนี่แหละครับที่ต้องดูแลและรักษาไว้เป็นสินทรัพย์มีค่าของชีวินเหมือนคุณทุกท่านนั่นแหละครับ



แหล่งข้อมูล

เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 10 มิย. 2556

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address http://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         รูปประกอบจาก http://www.circlecinema.com/archive/timestalks-a-conversation-with-samuel-l-jackson-free

·         Clinical Guideline Practice for Alopecia Areata, สถาบันโรคผิวหนัง,กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/alopecia.pdf

·         John S. Strauss,1. Kaufman KD, Olsen EA, Whiting DA, et al. Finasteride in the treatment of men with androgenetic alopecia. J Am Acad Dermatol 1998;9:578-89

·         Leyden J, Dunlap F, Miller B, et al. Finasteride in the treatment of men with frontal male pattern hair loss. J Am Acad Dermatol 1999;40:930-7

·         Propecia, http://www.rxlist.com/propecia-drug.htm, RxList Inc.

·          Propecia Clinical Pharmacology, http://www.propecia.com/finasteride, Merck Sharp & Dohme Corp. a subsidiary of Merck & Co., Inc.

·         ภก.เวทธศักดิ์ ศรีภูธรFinasteride, คณะเภสัชศาสตร์ , ม. สงขลานครินทร์, http://drug.pharmacy.psu.ac.th/phrabath/finas.html

วันเสาร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

PROPECIA vs. PROSCAR ปลูกผมได้ไหม? ต่างกันอย่างไร? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



มีซองคำถามจากทางบ้านว่าแต่เดิมได้รับยาปลูกผมจากคลีนิคชื่อว่า PROSCAR แต่พอภายหลังไปรับการรักษาต่อที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด กลับได้ยาอีกตัวชื่อว่า PROPECIA พอถามหมอก้อได้รับคำตอบว่าเป็นยาปลูกผมตัวเดียวกัน เลยรับยามาอย่างงงๆ ก้อเลยอยากถามอาคุณเภสัชรูปหล่อว่ายาทั้งคู่เป็นยาตัวเดียวกัน จริงหรือ และได้ผลในการรักษาอาการผมร่วงของสามีสุดเลิฟจริงหรือไม่คะ?


ทั้งคู่เป็นยาที่มีชื่อสามัญที่ชื่อว่า Finasteride
 
 
PROPECIA® และPROSCAR® เป็นชื่อการค้าของยาที่มีชื่อสามัญตัวเดียวกันที่ชื่อว่า Finasteride ซึ่งเป็นยาที่มีโครงสร้างคล้ายๆฮอร์โมนเพศชาย (Testosterone ) แต่ออกฤทธิ์ในลักษณะตรงข้าม คือไปยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของTestosterone ไปเป็น Dihydrotestosterone (DHT) ซึ่งในยามปกติ DHT เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดผมร่วงในเพศชาย
 
 
การใช้ยาทั้งสองจะส่งผลทำให้ระดับ DHT ในเลือดลดต่ำลง มีผลในการไปยับยั้ง DHT ที่โคนรากผม ดังนั้นยาตัวดังกล่าวจะมีผลในการไปเพิ่มการงอกของเส้นผมใหม่ ให้เกิดมากขึ้นและขณะเดียวกันก้อยังไปป้องกันไม่ให้ผมร่วงมากขึ้น โดยรวมแล้วจึงมีผลในการเพิ่มปริมาณเส้นผม ทำให้คุณผู้ชายที่เคยมีปัญหาผมร่วงจากกรรมพันธุ์ จนผมเริ่มบางลงๆ จนกระทั่งศรีษะล้าน กลับมามีผมดกดำได้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง
 
 
ความแตกต่างระหว่างกันของ PROPECIA และ PROSCAR
 
โดยในเม็ดยา PROPECIA® ประกอบด้วย Finasteride 1 mg เท่านั้น 
ในขณะที่ PROSCAR® ประกอบด้วยตัวยาเดียวกัน Finasteride ในขนาด 5 mg ต่อเม็ด 
ทั้งคู่ผลิตจากบริษัทเดียวกัน
 
 
เพียงแต่ Proscar® เป็นชื่อการค้าของยา Finasteride ในขนาด 5 mg มีข้อบ่งใช้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับองค์การอาหารและยา (FDA) คือ รักษาภาวะต่อมลูกหมากโต
 
 
 
 
ส่วน Propecia® ยังมีอีกหลายตัวนะครับที่สูตรเดียวกันได้แก่ 
 
Firide®  
 
 
 
และ  Harifin® 
 
 
เป็นชื่อทางการค้าของยาFinasteride ในขนาด 1 mg ซึ่งได้รับการอนุมัติจากองค์การอาหารและยา (FDA) ว่าสามารถให้ผลรักษาผมร่วงที่เป็นลักษณะเฉพาะในผู้ชาย (male-pattern hair loss, androgenic alopecia)
 
ในการรักษาภาวะผมร่วงนั้น มีการนำยาเม็ด Proscar® มาแบ่งออกเป็นสองส่วน หรือสี่ส่วนเพื่อรับประทานทุกวัน หรือนำมารับประทานครั้งละเม็ดแบบวันเว้นวัน เนื่องจากทั้ง Proscar® และ Propecia® มีตัวยาสำคัญเดียวกันจึงให้ผลการรักษาใกล้เคียงกัน ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ก้อเพราะว่าคนไข้คิดว่าการนำยามาแบ่งจะช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาผมร่วงลดต่ำลงได้ แต่วิธีการดังกล่าวไม่ได้รับการรับรองจากอย.นะครับ และคุณเองอาจต้องไปเสี่ยงกับได้รับยาในขนาดที่ไม่เหมาะสม ที่เกิดจากการที่หักยาออกเป็นสองส่วนหรือสี่ส่วนไม่ได้เที่ยงตรงเป้ะๆ โดยไม่ได้ใช้เครื่องแบ่ง เพราะหลายรายอาจใช้วิธีใช้มีดกดแบ่งเองโดนไม่เที่ยงตรงมากนักหรือในรายผุ้ป่วยสุงอายุที่ตาไม่ค่อยดีอยู่แล้ว อาจกะเก็งกดยาแบ่งยาคลาดเคลื่อนไปก้อได้
 
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการเม็ดยาที่แบ่งแล้วส่วนที่ยังไม่ได้กินอาจเสื่อมสภาพได้จากการสัมผัสกับอากาศและความชื้น คือคนไข้หลายรายมักจะแกะยาออกจากแผงที่เคยปกป้องคุณภาพยาได้ดีจากอุณหภูมิและความชื้น แล้วมาตัดแบ่งไว้ในปริมาณมากๆ พอเม็ดยาเปลือยก้ออาจเสื่อมฤทธิ์ลงจากการสัมผัสอากาศและความร้อนภายนอกแผง ซึ่งอาจส่งผลให้การรักษาไม่ได้ผล
 
มีคนไข้บางรายหักดิบโดยไม่แบ่งเม็ดยาแต่ใช้การกินยาแบบวันเว้นวัน วิธีนี้ผมไม่แนะนำโดยสิ้นเชิง เพราะการกินแบบนี้จะทำให้ได้รับยาเกินความจำเป็น ซึ่งอาจส่งผลให้คุณเองมีความเสี่ยงต่อการได้รับผลข้างเคียงจากยาหรือความเสี่ยงต่อการแพ้ยาเพิ่มขึ้นได้ครับ
 
แล้วถ้าอยากจะใช้หล่ะ
 
ยาทั้งสองมีวิธีการบริหารยาที่แตกต่างกันในรักษาผมร่วงในเพศชาย คือ
 
·         PROPECIA® ใช้ยา 1 เม็ด วันละ 1 ครั้ง คุณอาจกินพร้อมกับอาหารหรือไม่ก็ได้ จะเห็นผลในการเพิ่มการงอกของเส้นผมหรือป้องกันไม่ให้ผมร่วงอีก ก็ต่อเมื่อมีการใช้ยาติดต่อกันทุกวันนาน 3 เดือนหรือมากกว่า และแนะนำให้ยังคงใช้ยาต่อไปอีกเรื่อยๆ เพื่อรักษาสภาพความดกของเส้นผมใหม่ที่เติบโตมาได้
 
·         PROSCAR® ต้องมั่นใจได้ว่าคุณมีความสามารถในการหักแบ่งแต่ละเม็ดได้เป็นขนาด ¼ เท่าๆกัน ให้กินวันละ 1 ครั้งเช่นกันครับ เพื่อรักษาผมร่วงของคุณผุ้ชาย
 
 
สุดท้ายเพื่อให้เกิดความปลอดภัยสูงสุด ยังอยากจะแนะนำให้กินยา Finasteride ในขนาดที่ FDA รับรองผลการักษา คือ วันละ 1 mg ซึ่งมีการศึกษาประสิทธิภาพยาตัวนี้ที่ใช้เวลาทำการศึกษานานถึง 5 ปี พบว่าในผู้ชายช่วงอายุ 18-60 ปีนั้น การกิน Finasteride วันละ 1 mg ก็เพียงพอแล้วที่จะช่วยรักษาภาวะผมร่วงที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้ชายที่มีระดับความรุนแรงเล็กน้อย ถึงปานกลาง อีกทั้งยังมีความปลอดภัยอีกด้วย 
 
แหล่งข้อมูล
 
·         เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 6 มิย. 2556
 
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
 
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
 
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
 
·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
 
·         S. Niiyama, R. Happle, R. Hoffmann, Influence of estrogens on the androgen metabolism in different subunits of human hair follicles, European Journal of Dermatology. Volume 11, Number 3,195-8, May - June 2001, Revues, http://www.john-libbey-eurotext.fr/en/revues/medecine/mtp/e-docs/00/01/89/4F/resume.phtml
 
·         L Rhodes, J Harper, H Uno, G Gaito, J Audette-Arruda, S Kurata, C Berman, R Primka and B Pikounis , The effects of finasteride (Proscar) on hair growth, hair cycle stage, and serum testosterone and dihydrotestosterone in adult male and female stumptail macaques (Macaca arctoides), Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, Vol 79, 991-996, Copyright © 1994 by Endocrine Society, http://jcem.endojournals.org/cgi/content/abstract/79/4/991
 
·         AR Diani, MJ Mulholland, KL Shull, MF Kubicek, GA Johnson, HJ Schostarez, MN Brunden and AE Buhl, Hair growth effects of oral administration of finasteride, a steroid 5 alpha-reductase inhibitor, alone and in combination with topical minoxidil in the balding stumptail macaque, Journal of Clinical Endocrinology & Metabolism, Vol 74, 345-350, Copyright © 1992 by Endocrine Society,http://jcem.endojournals.org/cgi/content/abstract/74/2/345
 
·         Mårin P, Krotkiewski M, Björntorp P., Androgen treatment of middle-aged, obese men: effects on metabolism, muscle and adipose tissues, Department of Medicine I, Sahlgren's Hospital, University of Göteborg, Sweden , http://www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/1341460
 
·         DHT INHIBITORS AND ITS EFFECT ON HAIR LOSS , Hair Cycle,  Coleron LLC,http://www.haircycle.com/Hair_Cycle_Overview.html
 
·         Clinical Guideline Practice for Alopecia Areata, สถาบันโรคผิวหนัง,กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/alopecia.pdf
 
·         John S. Strauss,1. Kaufman KD, Olsen EA, Whiting DA, et al. Finasteride in the treatment of men with androgenetic alopecia. J Am Acad Dermatol 1998;9:578-89
 
·         Leyden J, Dunlap F, Miller B, et al. Finasteride in the treatment of men with frontal male pattern hair loss. J Am Acad Dermatol 1999;40:930-7
 
·         Propecia, http://www.rxlist.com/propecia-drug.htm, RxList Inc.
 
·         Propecia Clinical Pharmacology, http://www.propecia.com/finasteride, Merck Sharp & Dohme Corp. a subsidiary of Merck & Co., In c
 
·         Finasteride ยากินรักษาผมร่วงที่ได้ผลการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/07/19/entry-2
 
·         ผมร่วง สาเหตุและวิธีสังเกตุอาการด้วยตัวคุณเอง โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/category/112/page2
 
·         ฮอร์โมนเพศชายทำให้ศีรษะล้านได้อย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/06/12/entry-1
 
·         ทำไมผู้ชายจึงหัวล้าน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/06/10/entry-2

รองช้ำ เอ็นฝ่าเท้าอักเสบ คือโรคอะไร???


"เจ็บตรงฝ่าเท้ามากค่ะ สวมส้นสูงยืนทำงานทั้งวัน จะปวด ป้วด ปวดๆๆๆ ตลอดเวลายืนหรือเดิน" 


คุณแก้วเลขาสุดสวย มาสอบถามว่าไปหาหมอมาแล้ว บอกว่าเป็นอาการของโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบ (plantar fasciitis) คือโรคอะไรกันคะ  คุณเภสัช???

เอ็นฝ่าเท้าอักเสบหมายถึงเอ็นที่ยึดระหว่างส้นเท้า และกรดูกนิ้วเกิดการอักเสบ ทำให้ปวดฝ่าเท้าเมื่อตื่นลุกขึ้นในตอนเช้า และก้าวเท้าลงพื้น และเกิดอาการปวดบริเวณฝ่าเท้า และส้นเท้าแต่หลังจากเดินไป 3-4 ก้าวอาการปวดดีขึ้น 

แสดงว่าคุณเป็นโรคเอ็นฝ่าเท้าอักเสบหรือที่เรียกว่า plantar fasciitis หมายถึงคุณได้ใช้เท้าทำงานมากเกินไป มีการดึงรั้งของเอ็นใต้ฝ่าเท้า การวินิจฉัยทำได้โดยการซักประวัติและตรวจร่างกาย


กลไกการเกิดโรค


เอ็นฝ่าเท้าจะยึดระหว่างส้นเท้าและนิ้วเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง


โครงสร้างของฝ่าเท้าประกอบไปด้วยเอ็นซึ่งเกาะกับกระดูกส้นเท้า(calcaneus)ไปยังนิ้วเท้าเราเรียกเอ็นนี้ว่า planta fascia เอ็นฝ่าเท้ามีหน้าที่รักษารูปทรงของเท้า และทำหน้าที่เหมือนสปริงสำหรับการลดแรงกระแทกเวลาเดินหรือวิ่ง และยังทำหน้าที่เป็นแรงส่งเมื่อเวลาวิ่ง

เอ็นฝ่าเท้าซึ่งเปรียบเสมือนสปริง เอ็นนี้จะได้รับแรงยึดมากที่สุดในขณะที่เดินเมื่อนิ้วหัวแม่เท่ากำลังเหยียดสุดๆ บริเวณที่ได้รับแรงดึงมากที่สุดคือตำแหน่งที่เอ็นเกาะติดกับกระดูกส้นเท้า ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อหุ้มกระดูกบริเวณส้นเท้าซึ่งทำให้ปวดเวลายืนหรือเดิน เมื่ออักเสบเรื้อรังก็จะเกิดกระดูกงอก exostosis (bone spur)


ตำแหน่งที่มีอาการปวดได้บ่อยๆภาพจาก http://thecfim.com/truth-plantar-fasciitis

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรค
  • ผู้หญิง
  • น้ำหนักเกิน
  • ทำงานที่ต้องยืนหรือเดินบนพื้นแข็งๆ
  • ออกกำลังกายวิ่งโดยที่ไม่ได้มีการยืดกล้ามเนื้อน่อง
  • ฝ่าเท้าแบน หรือฝ่าเท้าโค้งเกินไป
  • ท่าการเดินผิดไปคือเดินแบบเป็ด
  • การใช้รองเท้าที่ไม่ถูกลักษณะ

อาการ


จะเริ่มต้นด้วยอาการปวดฝ่าเท้าเล็กน้อยแรกๆจะปวดหลังออกกำลังกาย ต่อมาจะปวดเวลาเดินหลังจากตื่นนอนเมื่อเดินไปสักพักอาการปวดจะดีขึ้น แต่หากเป็นมากจะปวดกลางวันร่วมด้วย การตรวจร่างกายพบว่าถ้ากดบริเวณกระดูกส้นเท้าดังรูปจะทำให้เกิดอาการปวดหากไม่รักษา อาจจะทำให้เกิดโรคข้อเท้า เข่าหรือหลังเนื่องจากทำให้การเดินผิดปกติ


การรักษา
  • เมื่อมีอาการปวดให้พักการใช้งานหนักจนกระทั่งอาการปวดดีขึ้น
  • ให้ลดน้ำหนักจนอาการปวดดีขึ้น
  • การผ่าตัดแก้ไขความพิการของเท้าเช่นฝ่าเท้าแบนราบหรือโค้งเกินไป
  • ใช้ขวอใส่น้ำแช่จนแข็งประคบน้ำแข็งครั้งละ 20 นาทีวันละ 3 ครั้งเพื่อลดอาการอักเสบ
  • แพทย์จะให้ยากลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen เพื่อลดการอักเสบบางรายอาจจะต้องให้นาน 6-8 สัปดาห์
  • การฉีดยา steroid จะสงวนไว้ในรายที่ดื้อต่อการรักษาเบื้องต้นเพราะจะทำให้เกิดการอ่อนแอของเอ็นซึ่งอาจจะทำให้เอ็นขาด
  • ใส่รองเท้าที่มีแผ่นรองกันการกระแทกโดยแผ่นดังกล่าวจะหนาด้านในและบางส่วนด้านนอก
  • บริหารเอ็นร้อยหวายและเอ็นฝ่าเท้าที่บ้าน
  • การนวดฝ่าเท้า 

การยืด คลายเส้น และกล้ามเนื้อStretching 


โรคเจ็บเท้า รองช้ำ ทำให้คูณรู้สึกเจ็บเท้าเป็นอย่างมากโดยเฉพาะตอนลงเตียงลุกจากที่นอน


วิธีการที่ช่วยลดอาการเจ็บเท้าที่ควบคู่มากับการออกกำลังกายตามรูปด้านบน (รูปมาจาก http://thenpmom.wordpress.com/2011/12/05/plantar-fasciitis-one-big-pain-in-the-foot/)ก้อคือ
  • การยืดเส้น เอ็นร้อยหวาย เอ็นฝ่าเท้า กล้ามเนื้อน่อง ซึ่งยึดเกาะติดกับกระดูกส้นเท้า กระดูกหน้าเท้ารวมไปถึงอุ้งเท้าด้วย วิธียืดตามรูป
  • การยืดให้ทำจนรู้สึกตึงและเจ็บเล็กน้อยค้างไว้ 30วินาที ทำซ้ำๆกัน 5ครั้งวันละ 4-5ครั้งเป็นประจำ
  • นอกจากนี้รองเท้าต้องเหมาะสมกับเท้าเพราะเป็นการรักษาที่ได้ผลที่สุด ไม่เดินเท้าเปล่า
  • ถ้ามีอาการเจ็บมากใช้น้ำแข็งประคบช่วยบรรเทาอาการเจ็บเท้า น้ำอุ่นสำหรับการรักษาเพื่อให้กล้ามเนื้อ เส้นสาย คลายตัว 


แหล่งข้อมู

 www.siamhealth.net.
http://bbznet.pukpik.com/
ภาพประกอบ

http://easyhealthoptions.com/alternative-medicine/easy-relief-for-the-heel-pain-of-plantar-fasciitis/

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คุณแม่ตั้งครรภ์ ยาตัวไหนใช้ได้บ้าง? จะดูยังไง?


"เวลาท้องห้ามกินยานะ ยาตัวนี้กินไม่ได้ตัวนั้นก็กินไม่ได้ 
แต่คุณหมอบอกว่ากินได้  แล้วจะเชื่อใครดี ?
จะดูจากอะไรกันนะ???" 

การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่มีผู้สนใจสอบถามกันมาเรื่อยๆ ด้วยความห่วงใยในเรื่องความปลอดภัยของการใช้ยาว่าจะส่งผลเสียต่อทารกในครรภ์ของแม่หรือไม่ มาถึงตอนแรกเนี่ย เรามีหลักการแบ่งกลุ่มยาต่างๆ ว่าจะมีความเสี่ยงต่อตัวลูกน้อยอย่างไร มาแบ่งกันโดยคุณหมอเมษ์ FB ใกล้ชิดมิตรหมอ
ว่าควรมีหลักในการเลือกใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์อย่างไร เพื่อให้ได้ผลดีต่อสุขภาพและความปลอดภัยทั้งกับตัวแม่เอง และทารกที่กำลังเจริญเติบโตในท้องด้วย


5 กลุ่มยาที่ต้องเข้าใจ
การแบ่งยาตามกลุ่มต่างๆ จะช่วยให้ทราบว่าควรหลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่อตัวลูกน้อยและคุณแม่ระหว่างมีท้องได้อย่างไร 
รูปมาจาก http://pkuparlor.com/2012/04/06/maternal-pku-and-sapropterin/

โดยปกติการจะบอกว่ายาตัวไหนกินได้หรือไม่ได้ระหว่างตั้งครรภ์นั้นอาศัยข้อมูลจากการศึกษาการใช้ยา, จากการรวบรวมข้อมูลในอดีตถึงประโยชน์และโทษของการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์ แล้วจัดกลุ่มของยา โดยที่คุณหมอนิยมนำมาใช้อ้างอิงก็จะเป็นการจัดกลุ่มยาตาม FDA Pregnancy Categories ซึ่งจะแบ่งยาออกเป็น 5 กลุ่มดังนี้

Category A
เป็นยาที่มีข้อมูลจากการศึกษาที่มีการวางรูปแบบการวิจัยอย่างดีหลายการศึกษา (Adequate and well-controlled studies) พบว่าไม่ทำให้เกิดความพิการของทารกเมื่อใช้ในไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์ และอาจจะไม่มีความเสี่ยงในไตรมาสต่อๆ มาด้วย เช่น วิตามินบางชนิด

Category B
เป็นยาที่มีการศึกษาในสัตว์ทดลองว่าไม่ทำให้เกิดความพิการในทารก แต่ไม่มีการศึกษาที่ดีเพียงพอในคน เช่น ยาฆ่าเชื้อบางอย่าง

Category C
เป็นยาที่มีการศึกษาในสัตว์ทดลองว่ามีผลทำให้เกิดความพิการของตัวอ่อน แต่ไม่มีการศึกษาในคนเพียงพอ ซึ่งถ้าความจำเป็นในการใช้ยามีมากกว่าก็สามารถใช้ยาได้โดยไม่คำนึงถึงความเสี่ยง เช่น ยาฆ่าเชื้อบางชนิด

Category D
มีข้อมูลในคนว่ามีผลต่อทารกในครรภ์ จากข้อมูลที่รวบรวมจากงานวิจัยหรือประสบการณ์การใช้ยาที่ผ่านมา แต่ประโยชน์จากการใช้ยามีมากกว่า จึงจำเป็นต้องใช้ยาแม้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อทารก เช่น ยากันชักบางชนิด ซึ่งจำเป็นต้องให้แม่เพื่อควบคุมอาการชัก แม้ว่าจะมีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดความพิการต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าไม่ควบคุมอาการชักก็จะเป็นอันตรายกับแม่ได้ โดยการใช้ก็จะมีรายละเอียดไปอีกว่าควรจะใช้ยาตัวไหนอย่างไร อันนี้ยากเกินไป ให้เป็นหน้าที่คุณหมอแล้วกันนะคะ

สุดท้ายละ Category X
มีรายงานทั้งในสัตว์และในคนว่าทำให้เกิดความพิการในทารก จากข้อมูลที่รวบรวมจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ที่ผ่านมา ซึ่งประโยชน์ของการใช้ยาในระหว่างตั้งครรภ์นั้นน้อยนิดเมื่อเทียบกับอันตราย เช่น ยาแก้สิว isotretrinoin ที่เคยพูดถึงไปแล้วก่อนหน้านี้นะคะ

ยาตัวไหนอยู่กลุ่มไหน สามารถพิมพ์ชื่อยาเข้าไปใน website ที่เคยแนะนำไปแล้ว Wikipedia, uptodate หรือ drugs.com ก็ได้

ซึ่งยาแต่ละตัวจะมีการจัดกลุ่มที่แตกต่างกัน แม้ว่าจะเป็นยาที่รักษาโรคเดียวกันก็ตาม ต้องดูเป็นรายตัวไป ไม่สามารถที่จะเหมารวมเป็นกลุ่มได้ ยาตัวเดียวกันอาจจะอยู่ในกลุ่มต่างกันเมื่อใช้ในไตรมาสของการตั้งครรภ์ที่แตกต่างกัน และยาใหม่ๆ บางตัวก็ยังไม่ได้รับการจัดกลุ่มเพราะไม่มีข้อมูลเพียงพอ การใช้ยาในคนท้องจึงมีข้อจำกัด ส่วนมากคุณหมอก็มักจะใช้ยาที่ใช้กันมานานและมีข้อมูลชัดเจนแล้ว ดังนั้นในระหว่างการฝากครรภ์ จึงควรใช้ยาตามแพทย์สั่งเท่านั้น

ความรู้เหล่านี้ในต่างประเทศค่อนข้างให้ความสำคัญ คนไข้จึงมีฐานข้อมูลที่จะเข้าไปค้นได้จากหลายแหล่ง แต่ของคนไทยมักจะเป็นความเชื่อหรือ "เค้าบอกว่า" ต่อๆกันมา ทำให้ค่อนข้างมีปัญหาในการใช้ยา เพราะยาที่ควรใช้กลับไม่ใช้ยาที่ไม่ควรใช้กลับใช้ แต่หลังจากนี้ชาวสมาชิกใกล้มิตรชิดหมอจะมีความรู้และสามารถแนะนำคนอื่นได้อย่างถูกต้อง คงช่วยลดปัญหาความเชื่อผิดๆ ได้นะคะ ^^

**อย่างไรก็ตามย้ำอีกรอบว่าแม้ว่าจะมีข้อมูลแล้ว แต่ไม่ควรซื้อยากินเองหรือสั่งการรักษาเองจากคนที่ไม่ใช่แพทย์ ควรใช้ยาตามที่จำเป็นและตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น เพราะแม้ว่ายาจะมีหลักฐานว่าปลอดภัย มันก็ยังมีรายละเอียดของการใช้ยาอีกเยอะแยะมากมาย ที่จะให้เกิดความปลอดภัย ปรึกษาคุณหมอและเป็นเด็กดีเป็นทางเลือกที่จะทำให้คุณแม่และลูกน้อยปลอดภัยที่ง่ายที่สุดคะ

แหล่งข้อมูล
หมอเมษ์, ใกล้ชิดมิตรหมอ, https://www.facebook.com/photo.php?fbid=141817785997014&set=a.146343522211107.1073741844.138161163029343&type=1&ref=nf

ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์นิตยสารหมอชาวบ้าน ปีที่ 27 ฉบับที่ 317 กันยายน 2548
http://www.baby2talk.com/ยาที่ห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์.html

รูปประกอบ
http://www.webmd.com/baby/ss/slideshow-pregnant-beauty

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สิวขึ้นเรื้อรัง เป็นโรคต่อมไขมันอักเสบใช่ไหมเนี่ย?




"คุณเภสัชขา!!!  หนูชอบมี ผื่นแดง  มีสะเก็ดเล็ก ๆ เป็นขุยลอกเป็นมัน มีขอบเขตชัดๆเลย ของหนูหน่ะ เต็มหน้าผาก เหมือนเป็นสิว ทั้งปีทั้งชาติ ไม่หายขาดซ้ากที"  

อาการที่คุณน้ำตาล คนไข้สาวอวบที่มาที่ร้านยาจะบ่นๆๆๆๆ ให้ฟังทุกครั้ง อาการที่ว่านั้น อาจเป็นอาการของโรค โรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน (Seborrheic dermatitis) อยากรู้ไหมว่าทำไมถึงหายยากจริง ยากจัง เรามีคำแนะนำในการดูแลรักษาโรคน่ารำคาญที่บั่นทอนผิวสวย มาแบ่งปันกัน

โรคต่อมไขมันอักเสบ (Seborrheic dermatitis) คืออะไร?

เป็นโรคที่เกิดผื่นแบบอักเสบ ขึ้นอยู่ตามผิวหนังที่มีความมัน สามารถพบได้ในทุกๆเพศทุกๆวัย แต่ในวัยที่พบมากที่สุดก็คือ ในเด็กๆช่วงแรกเกิดและในวัยผู้สูงอายุ คือเมื่อคนเรามีอายุเพิ่มมากขึ้น แล้วมีอาการเครียด ร่างกายอ่อนแอ หรือต้องนอนโรงพยาบาลนานๆ โรคนี้ก็จะมาเยือนคุณทันที

Seborrheic dermatitis สามารถเกิดขึ้นในเด็กอ่อน ได้ตามตำแหน่ง หนังศรีษะ ใบหน้า ซอกหู 
รูปมาจาก http://www.aafp.org/afp/2008/0101/p47.html


ผิวหนังอักเสบแบบนี้ ชอบเกิดบริเวณกลางใบหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่มีความมันมาก อาการอักเสบถ้าเป็นน้อย ๆ หรือ เพิ่งเริ่มเป็นจะมีลักษณะเป็นขุยลอกเป็นหย่อมๆ ถ้าคันมากจะเป็นผื่นแดงกว้างขึ้น มีขุยหนา ลอกเป็นสะเก็ดอาจมีอาการคันร่วมด้วย 


ตำแหน่งที่มักเป็นบ่อย ของโรคนี้
รูปมาจาก http://www.aafp.org/afp/2000/0501/p2703.html

บริเวณที่ชอบเป็นบ่อยได้แก่ เหนือคิ้ว หัวคิ้ว ข้างจมูก ซอกจมูก ถ้าเป็นมากอาจลามไปขึ้นตามไรผม จอน หลังหู ต้นคอ และลงไปเกิดที่หน้าอกและหลังได้ด้วยเป็นผื่นแดง และเป็นขุยหรือสะเก็ดหนา บางคนเป็นผื่นและขุยที่ศีรษะเหมือนรังแค

ทำไมจึงมีการอักเสบที่ผิวมัน 

โดยปกติแล้ว ผิวที่อักเสบง่ายมักจะเป็นบริเวณผิวที่แห้ง เช่น ผิวด้านข้างของใบหน้า ซึ่งมีต่อมไขมันทำงานน้อยกว่า แต่ในกรณี SEBORRHEIC DERMATITIS กลับตางข้าม คือ เป็นผื่นอักเสบตรงบริเวณที่เป็นผิวมัน ซึ่งปกติแล้วไม่ควรจะอักเสบ


ถ้าเป็นตามโคนรากผมหรือหนังศรีษะ จะมีอาการเสมือนเป็นรังแคแบบเรื้อรัง
รูปมาจาก http://www.aafp.org/afp/2000/0501/p2703.html


จากการศึกษาพบว่า ผิวบริเวณดังกล่าวจะแบ่งตัวเร็วกว่าปกติ ทำให้เซลผิวหนังที่ยังไม่เจริญเต็มที่ เคลื่อนตัวขึ้นมาชั้นบนของผิวหนังเร็วเกินไป เซลที่ยังไม่แข็งแรงเหล่านี้จะไวต่อการรบกวนต่างๆ ทำให้เกิดการ บวมแดง เห่อ อักเสบ และหลุดลอกเป็นขุยได้ง่าย 

สาเหตุที่ทำให้ผิวหนังแบ่งตัวเร็วนั้น สันนิษฐานว่า เกิดจากสิ่งรบกวนจากภายในผิวหนังเอง 2 อย่าง คือ 

1. การรบกวนจากยีสต์ (YEAST) ยีสต์ เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่คล้ายเชื้อรา ชอบอาศัยอยู่ในรูขุมขนบริเวณที่มีผื่น SEBORRHEIC DERMATITIS พบว่ามียีสต์พันธุ์หนึ่งชื่อ PITYRIASIS OVALE มากกว่าปกติ เข้าใจว่ายีสต์เป็นตัวการปล่อยสารที่รบกวนผิว ทำให้อักเสบได้ง่าย 

2. กรดไขมัน (FATTY ACID) เป็นสารที่เปลี่ยนแปลงจากไขมันธรรมชาติที่สร้างจากต่อมไขมันระบายสู่รูขุม ขนบริเวณผิวมัน จะมีการสร้างไขมันอกมามาก และกลายเป็นกรดไขมันมารบกวนผิว ทำให้เกิดผื่นอักเสบขึ้น 

3. แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งว่า ตรงบริเวณผิวมันของทุกคนก็พบเชื้อ P. Ovole และกรดไขมันมากกว่าปกติอยู่แล้วแต่ทำไมจึงเกิดผื่นอักเสบ SEBORRHEIC DERMATITIS ในบางคนเท่านั้น เรื่องนี้มีผู้อธิบายว่า ในคนที่เป็นผื่นอักเสบบริเวณผิวมัน ผนังรูขุมขน และเซลผิวหนังขาดความแข็งแรงจึงไม่สามารถทนต่อการรบกวนของเชื้อยีสต์ P. Ovale และกรดไขมันได้และสาเหตุที่ทำให้ผิวหนังไม่แข็งแรงนั้น มักจะพบในคนที่ขาดสารชนิดหนึ่ง คือ LINOLEIC ACID ซึ่งใช้เป็นส่วนประกอบของเซลผิวหนัง 

การเกิดผื่นอักเสบ

SEBORRHEIC DERMATITIS เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อน และยังไม่มีใครสามารถพิสูจน์หาสาเหตุที่แท้จริงแต่เข้าใจว่า เริ่มต้นจากการที่ผนังรูขุมขนและเซลผิวหนังไม่แข็งแรง จึงถูกรบกวนโดยเชื้อ P.OVALE และกรดไขมันในรูขุมขนได้ง่าย โดยเฉพาะบริเวณ ผิวมัน ผลก็คือ เซลแบ่งตัวเร็วขึ้นและเมื่อได้รับสิ่งรบกวนซ้ำเติมจากภายนอก เช่น แสงแดด ความร้อน รังสี ความแห้งจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ความเป็นด่างของสบู่ ฟองครีมล้างหน้า โฟมล้างหน้า เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ฯลฯ ก็เลยทำให้อักเสบแดง เห่อ และลอกเป็นขุยตรงบริเวณที่ถูกรบกวนนั้น นอกจากนั้นเวลาสุขภาพร่างกายทรุดโทรม พักผ่อนน้อย เครียดวิตกกังวล ก็พบว่าผื่นอักเสบบริเวณผิวมันนี้มักจะกำเริบได้ง่าย

การรักษา 

1. รักษา การอักเสบในระยะที่มีผื่นอักเสบ เห่อและแดง แพทย์จะใช้ ตัวยาทาที่มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ให้ติดต่อกันประมาณ 3-4 วัน เพื่อให้เกิดการอักเสบที่เป็นผื่นแดง และคันยุบลง 

2. ยาปฏิชีวนะป้องกันเชื้อโรคแทรกซ้อน และยาที่ช่วยลดและควบคุมเชื้อยีสต์ โดยใช้ภายใต้พิจารณาของแพทย์ 

3. ใช้ยาช่วยลดการแบ่งตัวของเซล หลังจากลดยาระงับการอักเสบแล้ว เพื่อควบคุมไม่ให้เกิดผื่นแดงและการลอกเป็นขุย 

4. ยาลดอาการคัน เช่น กลุ่ม ANTIHISTAMINES 

การป้องกัน 

1. หลีกเลี่ยงสิ่งรบกวนต่าง ๆ จากภายนอก เช่น สบู่ที่เป็นด่าง ฟองจากโฟมและครีมล้างหน้า เครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ แสงแดด ความร้อน

2. คนที่เป็น SEBORRHEIC DERMATITIS ควรใช้น้ำเปล่าหรือสบู่อ่อนเป็นพิเศษ ใช้ครีมกันแดดร่วมกับ MOISTURIZER เพื่อป้องกันการรบกวนจากรังสีในแสงแดด และให้ผิวชุ่มชื้น ไม่แห้งกร้าน และระคายเคือง

3. ในบางรายอาจต้องใช้อาหารเสริมหรือวิตามินบางชนิด เช่น LINOLEIC ACID เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของผิวหนัง

SEBORRHEIC DERMATITIS เป็นปัญหาผิวพรรณที่ค่อนข้างจะเรื้อรัง แต่ถ้าได้รับการดูแลอย่างถูกต้อง ระมัดระวังอย่าให้ผิวถูกรบกวน ก็สามารถควบคุมให้ผิวกลับเป็นปกติได้ ในกรณีที่ใช้ยาหรือผลิตภัณฑ์รักษาป้องกันปัญหาผิวพรรณอื่นๆ เช่น สิว ฝ้า กระ ริ้วรอย ที่เกิดร่วมด้วย การใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เสมอ

แหล่งข้อมูล: สถาบันโรคผิวหนัง
http://www.inderm.go.th/nuke_802/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=241

ภาพประกอบ:
http://hardinmd.lib.uiowa.edu/dermnet/seborrheicdermatitis36.html
http://www.rayur.com/seborrheic-dermatitis.html

ข้อเข่าเสื่อม พฤติกรรมอย่างไร ทำร้ายข้อเข่า???


ข้อเข่าเสื่อมนอกเหนือจากเสื่อมตามวัยแล้ว ยังเกิดจากการที่เราไม่เริ่มต้นดูแลเข่าของเรา ด้วยการมีพฤติกรรมที่ทำร้ายข้อเข่าจากจุดน้อยๆ แค่ปวดเมื่อย จนเสื่อมเสียสภาพมากขึ้นๆ และเกิดอาการเป็นโรคไขข้อเมื่อสูงอายุมากขึ้น เรามีคำแนะนำในการป้องกันการเสื่อมสภาเข่า และท่าบริหารในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม เพื่อบรรเทาอาการและชะลอการเสื่อมไม่ให้เจ็บป่วยอีกต่อไป

พฤติกรรมอย่างไร ทำร้ายข้อเข่า 
1.คนที่ชอบนั่งงอเข่า ขัดสมาธิ พับเพียบ หรือนั่งยอง ๆ เป็นประจำ จะเพิ่มแรงอัดภายในข้อเข่า ซึ่งจะรบกวนการนำอาหารไปสู่เซลล์กระดูกอ่อนผิวข้อ โรคข้อเข่าเสื่อมนี้ เริ่มจากการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อโดยตรง และเมื่อเป็นมากขึ้นการสึกหรอจะลามไปยังองค์ประกอบอื่นของข้อเข่า เช่น ชั้นใต้กระดูกอ่อนซึ่งเป็นกระดูกแข็ง จะเกิดถุงน้ำข้างใต้กระดูก หมอนรองเข่าสึก เอ็นหุ้มข้อเข่าหนาตัวขึ้น มีกระดูกงอกบริเวณปลายกระดูก เป็นต้น 

2.กรณีน้ำหนักตัวมากเกินก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่เร่งให้เกิดอาการข้อเสื่อมเร็วขึ้น เพราะข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวตลอดเวลาที่ใช้งานข้อ ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน หรือขึ้นลงบันไดก็ตาม 

3.การใส่รองเท้าส้นสูง จะทำให้ข้อเข่ามีแรงกดทับมากกว่าปกติ ทั้งยังทำร้ายข้อบริเวณโคนนิ้วหัวแม่เท้า เพราะเป็นอวัยวะที่ต้องรับน้ำหนักก่อนจุดอื่น ๆ ซึ่งเป็นจุดที่รับน้ำหนักได้ง่าย และหากคนที่ข้อเข่าไม่แข็งแรง หรือมีโครงสร้างร่างกายผิดปกติ จะมีผลกระทบมากกว่าคนปกติ

อาการข้อเสื่อม

ในระยะแรก จะสังเกตว่ามีเสียงดังขณะขยับข้อไปมา บางรายมีอาการข้อฝืดโดยเฉพาะเวลานั่งนาน ๆ หรือขณะเปลี่ยนอิริยาบถ จะเสมือนข้อถูกล็อกไว้ ต้องขยับไปมาสัก 2-3 ครั้ง จึงเหยียดเข่าออกได้ บางรายมีข้อบวมโต หรือมีบวมแดง มีน้ำภายในข้อ ซึ่งบ่งถึงการอักเสบที่เป็นมากขึ้นนั่นเอง ในรายที่เป็นมากอาจพบข้อติด ขยับไม่ได้เต็มที่ หรืออาจพบกล้ามเนื้อขาลีบเล็กลงกว่าข้างปกติ เป็นต้น

บริหารกล้ามเนื้อข้อเข่าเพื่อเพิ่มความแข็งแรง

การออกกำลังกายหรือกายบริหารนั้น ช่วยส่งเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยเน้นกล้ามเนื้อหน้าขาหรือกล้ามเนื้อเหยียดเข่าเป็นหลัก ท่าบริหารข้างล่างนี้เริ่มจากง่ายไปยาก ดังนี้


ท่าบริหารในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

ท่าที่ 1 ท่านอนเหยียดเข่า

เป็นท่าบริหารกล้ามเนื้อหน้าขา นอนหงายให้หมอนใบเล็กๆ หนุนใต้เข่าให้เข่างอเล็กน้อย เหยียดให้เข่าตรงที่สุด เกร็งไว้ 10 วินาที ทำทีละข้าง ข้างละ 20 ครั้ง ท่านี้เหมาะกับคนที่ปวดหรือมีการอักเสบของเข่า เมื่อ ทุเลาแล้ว ใช้หมอนรองให้เข่างอมากขึ้น หรืออาจใช้ถุงทรายหรือน้ำหนักถ่วงเพิ่มประมาณ 1-2 กิโลกรัมบริเวณข้อเท้าเพื่อเพิ่มความแข็ง แรงกล้ามเนื้อให้มากขึ้น ถ้าใช้ถุงทรายแล้วมีอาการปวดข้อเข่ามากขึ้นให้งดการใช้ถุงทราย แล้วปรึกษานักกายภาพบำบัด

ท่าที่ 2 ท่านอนคว่ำงอเข่า

เป็นท่าบริหารกล้ามบริหารกล้ามเนื้อหลังขา โดยนอนคว่ำ งอข้อเข่าข้างที่เคยปวด หรืองอไม่ได้เข้ามาให้มากที่สุด เกร็งไว้ 10 วินาที แล้วเหยียดออก ทำทีละข้าง ข้างละ 20 ครั้ง และอาจใช้ถุงทรายถ่วงเพิ่มน้ำหนักแรงต้านที่ข้อเท้าได้เช่นกัน ถ้าใช้ถุงทรายประมาณ 1-2 กิโลกรัมแล้วมีอาการปวดข้อเข่ามากขึ้นให้งดการใช้ถุงทราย แล้วปรึกษานักกายภาพบำบัด

ท่าที่ 3 ท่าย่อตัวลงนั่ง

ให้ยืนหันหลังให้ขาชิดขอบเก้าอี้หรือฝาผนัง ค่อยๆ ย่อเข่าทั้งสองลงนั่งแล้วค่อยๆ ลุกขึ้นยืน ทำช้าๆ หรืออาจหยุดเกร็งค้างไว้ที่ช่วงใดช่วงหนึ่ง เมื่อทำได้ดีแล้วให้เปลี่ยนเก้าอี้ให้เตี้ยลงเรื่อยๆ ทำท่าละ 20ครั้ง

ท่าที่4 ท่านั่งเก้าอี้แล้วเหยียดเข่า

ให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้ แล้วจากนั้นค่อยๆเหยียดเข่าให้ตรง พร้อมกับกระดกข้อเท้าขึ้นค้างไว้ 10 วินาทีจากนั้นค่อยๆวางขาลงสู่ตำแหน่งเดิม ทำทีละข้าง ข้างละ 20 ครั้ง

การบริหารทุกท่าให้เริ่มทำจากน้อยไปมาก โดยทำชุดละประมาณ 20-30 ครั้ง วันละ 2-3 ชุด เป็นอย่างน้อย ค่อย ๆ เพิ่มตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบเข่าของแต่ละคน จนได้ประมาณ 100 ครั้งต่อวัน

ใช้ข้อเข่าอย่างถูกวิธี

การใช้ข้ออย่างถูกวิธี จะช่วยถนอมข้อเข่าให้สามารถใช้งานได้นานขึ้น ชะลอความเสื่อม ซึ่งวิธีการนั้นตรงข้ามกับพฤติกรรมซึ่งทำร้ายข้อนั่นเอง กล่าวคือ

• ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกิน

• เลี่ยงกิจกรรมที่ต้องงอเข่า พับเพียบ ขัดสมาธิ หรือการนั่งยอง ๆ

• ขึ้นลงบันไดเท่าที่จำเป็น หากอยู่บ้านชั้นล่างได้จะเป็นการดีมาก ไม่ต้องขึ้นลงบ่อย ๆ

• เลือกประเภทของการออกกำลังกายที่ไม่มีผลร้ายต่อข้อเข่า เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น

• หมั่นบริหารกล้ามเนื้อรอบเข่าให้แข็งแรงอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อได้

• ใช้สนับเข่าเท่าที่จำเป็น มักเลือกใช้ในรายที่ข้อเสียความมั่นคง แต่หากข้อยังมีความมั่นคงอยู่ การใช้สนับเข่า อาจทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบเข่าอ่อนแรงได้

• หากมีอาการเจ็บข้อเข่ามากอย่างเฉียบพลัน อาจถือร่มหรือไม้เท้าในด้านตรงข้ามกับขาที่เจ็บ จะช่วยลดแรงกระทำต่อข้อ และลดอาการปวดได้

แหล่งข้อมูลและรูปประกอบ
  •  physicalagency.com
  •  Rama Channel True Visions 80 "พฤติกรรมทำร้ายข้อเข่า จนทำให้เกิดข้อเข่าเสื่อม"

นมผงเลี้ยงลูก...ทำไมจึงมีหลายแบบจังเลย เลือกยี่ห้อไหนดีนะ ?



คุณแม่คุณพ่อเมื่อมีสมาชิกใหม่มาเป็นลูกตัวเล็กๆในบ้าน จะงงมากเลยว่า นอกเหนือจากข้าวปลาอาหารแล้ว อาหารสำหรับลูกรัก อันได้แก่นมสำหรับเด็กและอาหารเสริมต่างๆทางการแพทย์ ทำไมถึงมีมากมายนัก  เรามีบทสรุปง่ายๆให้เข้าใจถึงอาหารนมสำหรับทารกและเด็กมาให้ได้เข้าใจอย่างง่ายๆกัน

กลุ่มที่ 1: นม
ผลิตภัณฑ์จากนมวัวปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ นมครบส่วน (whole milk) และ นมดัดแปลง (modified cow’s milk)

1.นมครบส่วน(Whole milk)
หมายถึง นมวัวที่มิได้ดัดแปลงปริมาณโปรตีน, คาร์โบไฮเดรตและไขมัน เมื่อนำมาผ่านกรรมวิธีทำให้แห้งจะได้ whole milk ชนิดผง เรียกว่านมผงชนิดธรรมดา นมดังกล่าวมีทั้งชนิดที่ไม่มีการเติมสารอื่นลงไปและชนิดที่เติมวิตามินเอและดี ชนิดที่เติมวิตามินและธาตุเหล็ก

น้ำนมที่ผ่านกรรมวิธีและจำหน่ายในรูปของเหลวแบ่งออกเป็น 4 ประเภทได้แก่ นมพาสเจอร์ไรซ์ (pasteurized), นมยูเอชที(UHT), นมสเตอริไลซ์(sterilized) และนมข้นไม่หวาน(evaporated milk)



whole milk ที่ไม่ผ่านการดัดแปลงทั้งในรูปผงแห้งและของเหลวสามารถนำมาใช้เลี้ยงทารกและเด็กอายุ 9-12 เดือนขึ้นไป

2.นมดัดแปลง (modified cow’s milk)



หมายถึงนมวัวที่ที่มีการปรับแต่งหรือดัดแปลงส่วนประกอบของนมวัวแบ่งออกเป็น 4 ประการคือ
ก. เพื่อใช้เลี้ยงทารกปรกติ ได้แก่ นมดัดแปลงและอาหารเสริมชนิดครบถ้วนสำหรับเด็ก
ข. เพื่อใช้เลี้ยงทารกที่มีภาวะดูดซึมบกพร่องได้แก่ low lactose milk
ค. เพื่อการควบคุมน้ำหนัก ได้แก่ นมพร่องมันเนยและนมขาดมันเนย
จ. เพื่อนำส่วนประกอบบางส่วนไปใช้ประโยชน์ ได้แก่ นมแปลงไขมัน
ในเด็กทารกช่วง 6 เดือนแรกไม่สามารถย่อยและดูดซึมนมวัวได้ดี การให้นมที่ไม่มีการดัดแปลงจึงอาจทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กได้  จึงมีการดัดแปลงส่วนประกอบต่างๆในนมวัวให้ใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด



นมดัดแปลงสำหรับทารก หมายถึงอาหารที่ผลิตขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของนมวัวให้มีองค์ประกอบของสารอาหารที่เหมาะสมและเพียงพอกับที่จะใช้เลี้ยงทารกให้ใกล้เคียงนมแม่มากที่สุด เพื่อความมุ่งหมายที่จะใช้เลี้ยงทารกตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 6 เดือน แทนหรือทดแทนนมมารดา  แต่เมื่อทารกอายุมากกว่า 6 เดือนขึ้นไปสามารถเปลี่ยนไปใช้นมที่มีโปรตีนสูงกว่าได้แก่ นมสูตรต่อเนื่องหรือนมครบส่วนได้ เนื่องจากไตของเด็กปกติอายุเกิน 6 เดือนสามารถขับของเสียที่เกิดขึ้นจากโปรตีนได้ดีขึ้นแล้ว

การปรับปริมาณสารอาหารต่างๆ ในนมวัว
มีแบบแผนการปรับดังนี้
1. ลดจำนวนโปรตีนลงเพื่อช่วยลดสารที่ขับทางไต  เนื่องจากนมวัวมีโปรตีนมากกว่านมแม่ถึง 3-4 เท่าซึ่งมากเกินไป
2. เพิ่มอัตราส่วน Whey : Casein โปรตีนในนมแม่มีอัตราส่วน Whey : Casein  เท่ากับ 60 : 40 แต่ในนมวัวมี Casein : Whey เท่ากับ 20 : 80
Whey ของนมแม่มีอัลฟาแลกตัลบูมินเป็นองค์ประกอบหลัก whey จากนมวัวมีเบต้าแลคโตกลอบูลินเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีแอนติเจนิซิตี้สูงก่อให้เกิดการแพ้นมวัวได้ง่าย
3. ปรับชนิดไขมัน นมแม่มีกรดไขมันอิ่มตัวน้อยกว่าครึ่งส่วน นมวัวมีกรดไขมันอิ่มตัวที่มากกว่า ไขมันในนมดัดแปลงจะต้องมีสัดส่วนกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงกว่ากรดไขมันอิ่มตัว และมีอัตราการดูดซึมไม่น้อยกว่า 85% ของปริมาณที่ได้รับ
4. ลดปริมาณแร่ธาตุได้แก่ แคลเซียม, ฟอสฟอรัส และ โซเดียมซึ่งในนมแม่มีแร่ธาตุเหล่านี้ต่ำกว่านมวัว
5 .เพิ่มปริมาณสารอาหารที่จำเป็น เช่น ธาตุเหล็ก  เพราะธาตุเหล็กในนมวัวมีน้อยและดูดซึมได้น้อยกว่านมแม่ อาจมีการเติมกรดอะมิโนให้ใกล้เคียงกับนมแม่ เช่น  ทอรีน นิวคลีโอไทด์ อาร์จีนิน คาร์นิทีน โอลิโกซัคคาไรด์ เพราะเมื่อลดโปรตีนลงอาจทำให้ระดับกรดอะมิโนที่จำเป็นบางชนิดลดลงได้
ความแตกต่างระหว่าง นมดัดแปลงสำหรับทารกและนมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก

นมดัดแปลงสำหรับทารก นมดัดแปลงสูตรต่อเนื่องสำหรับทารกและเด็กเล็ก
อายุที่ใช้ 0- 6 เดือน                                          ตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป
พลังงาน ต่ำกว่า                                               พลังงานสูงกว่า
โปรตีน ต่ำกว่า                                              โปรตีนสูงกว่า
คาร์โบไฮเดรต กำหนดปริมาณแลกโตส                    ไม่กำหนดปริมาณแลกโตส
วิตามิน ต่ำกว่า                                              วิตามินเอ บี 6 และ ดีสูงกว่า
ไม่มีการกำหนดปริมาณโคลีน
แร่ธาตุ ส่วนใหญ่กำหนดค่าต่ำกว่า                โซเดียม เหล็ก แคลเซียม ฟอสฟอรัสสูงกว่า
ไม่กำหนดค่าสูงสุดของโปแตสเซียม คลอไรด์ ไอโอดีน
ไม่กำหนดปริมาณทองแดงและมังกานีส
กลุ่มที่ 2: อาหารทางการแพทย์สำหรับทารกและเด็ก

1. อาหารทางการแพทย์สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดเป็นอาหารทางการแพทย์สำหรับทารกคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ หรือมีน้ำหนักตัวน้อยกว่า 1,800 กรัม ( Premature formula)  ชื่อการค้า เอนฟาแล็ค พรีมาชัวร์ , Similac neosure และ พรีแนน
 


คุณสมบัติของอาหารทางการแพทย์สูตร ( Premature formula)
1. ให้พลังงานสูงกว่าอาหารทางการแพทย์สำหรับทารกคลอดตามกำหนด
2. อัตราส่วน Whey : Casein ใกล้เคียงกับนมแม่
3. คาร์โบไฮเดรต ดัดแปลงให้มีคาร์โบไฮเดรต 2 ชนิด คือ lactose และ Maltodextrin เพื่อเพิ่มการย่อย เนื่องจากทารกคลอดก่อนกำหนดมีเอนไซม์ glucoamylase ที่ย่อย maltodextrin มากกว่าเอนไซม์ lactase
4. ไขมัน ดัดแปลงให้มี medium-chain triglyceride (MCT) แทน long-chain triglyceride (LCT) บางส่วนเนื่องจากทารกคลอดก่อนกำหนด จะมีความบกพร่องในการย่อยและการดูดซึมไขมันชนิด LCT เนื่องจากมี bile pool น้อย
5. ปริมาณ sodium calcium phosphorus สังกะสีและทองแดงมากขึ้นเท่ากับปริมาณที่ทารกต้องการ
6. ปริมาณวิตะมินหลายชนิดมีมากขึ้น
7. ค่า osmolarity ใกล้เคียงกับ osmolarity ของนมแม่

2. อาหารทางการแพทย์สูตร Lactose free formula
สำหรับทารกและเด็กที่มีปัญหาขาดน้ำย่อย lactase ทำให้จุลินทรีย์ในลำไส้ นำน้ำตาล lactose ไปใช้ ทำให้เกิดการสร้างกรดและก๊าซ มีการดึงน้ำเข้ามาในลำไส้ ทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วขึ้น เกิดอาการท้องเสีย ส่วนก๊าซจะทำมีอาการแน่นท้อง ปวดท้อง เสียดท้อง ท้องอืด มีชื่อการค้า Olac (ปัจจุบันใช้ชื่อ Enfalac A+Lactofree) , Similac LF

 

คุณสมบัติของอาหารทางการแพทย์สูตร Lactose free formula
1. ดึงน้ำตาล lactose ออกจากนมและใช้ น้ำตาล sucrose และ maltodextrin แทน
2. โปรตีนจากนมวัว และไขมันเกือบทั้งหมดเป็น long chain triglyceride

3. อาหารทางการแพทย์สูตร Lactose free, soy-based  formula
สำหรับทารกและเด็กที่มีปัญหาแพ้นมวัวหรือมีปัญหาขาดน้ำย่อย lactase ชื่อการค้า Similac isomil advance , Enfalac Prosobee  (อ่านบทความเพิ่มเติม "โรคแพ้โปรตีนนมวัว")

 

การเกิดการแพ้นมวัวนั้น ส่วนใหญ่พบในทารกอายุน้อยกว่า 2 ปี ซึ่งในกลุ่มที่มีอาการรุนแรงเป็น anaphylaxis เกิดทันทีเมื่อได้รับ casein, -lactoglobulin หรือ lactalbumin เพียง 1 gm เท่านั้น แต่ส่วนใหญ่ทารกจะมีอาการแสดง เช่น อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด อุจจาระเป็นน้ำ ปวดท้อง มีผื่นที่ผิวหนัง อาการเกิดใน 1-24 ชั่วโมง หลังจากได้รับนมปริมาณมากขึ้น และยังพบว่าทารกหลายรายได้รับนม 100 ml. ก็ไม่เกิดอาการเหล่านั้น  แต่เมื่อได้รับนมวัวปริมาณมากขึ้น เป็น 200 ml  แล้วจะเกิดอาการแพ้นมวัวขึ้นได้
อาการแสดงทางคลินิคของการแพ้โปรตีนนมวัวนั้น มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายใน 1 ชั่วโมงหลังการกินนมวัว ทำให้มารดาสงสัยว่าน่าจะเกิดการแพ้โปรตีนนมวัว แต่บางครั้งอาจเกิดอาการหลังจากการกินนมวัวภายใน 48 ชั่วโมง ดังนั้นเด็กทารกที่มีภาวะแพ้นมวัวจึงควรดื่มนมแม่ หรือเลือกสูตรนมที่ไม่ใช้โปรตีนจากนมวัว

คุณสมบัติของอาหารทางการแพทย์สูตร Lactose free ,soy-based  formula

1. ใช้กับทารกที่แพ้นมวัวและมีปัญหาขาดเอนไซม์ lactase
2. โปรตีนเป็นโปรตีนจากถั่วเหลือง (soy protein) โดยทำการเสริม limiting amino acid คือ methionine แล้ว
3. คาร์โบไฮเดรตจะไม่มี lactose โดยจะเปลี่ยนแปลงคาร์โบไฮเดรตเป็น sucrose และ corn syrup
4. ไขมันได้มาจากถั่วเหลือง ดอกทานตะวันและมะพร้าว

นอกจากนี้ยังมีสูตรพิเศษซึ่งมีการเปลี่ยนเป็นโปรตีนที่มีขนาดโมเลกุลเล็กลงคือสารย่อยสลายจากโปรตีนสายยาวเป็นสายสั้น (Extensive protien hydrolyzed formula) เนื่องจากผู้ป่วยที่แพ้นมวัวอาจแพ้นมถั่วเหลืองได้การใช้นมชนิดนี้ซึ่งไม่เป็นแอนติเจนจึงปลอดภัยกว่า ชื่อการค้าคือ นูตรามีเยน (Nutramigen)

4. อาหารทางการแพทย์สูตร Lactose free, medium chain triglyceride(MCT) formula
ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาการย่อยการดูดซึมไขมันบกพร่องและคาร์โบไฮเดรต  ได้แก่ Pan-Enteral(ใช้ในผู้ใหญ่) , Neo-mune(ใช้ในผู้ใหญ่) , Pedisure (ใช้ในเด็กอายุมากกว่า 1 ปี)


เด็กที่มีปัญหาในการดูดซึมไขมัน จะพบอาการแสดง ได้แก่  อุจจาระลักษณะซีดและมีปริมาณมาก ท้องเสียแต่ไม่อาการท้องอืดร่วมด้วย อุจจาระใน fat malabsorption จะมีกลิ่นเหม็น ลักษณะเป็นมัน

คุณสมบัติของอาหารทางการแพทย์สูตร Lactose free, MCT formula
1. ไม่มี lactose ในสูตร แต่ใช้คาร์โบไฮเดรตอื่นแทน lactose ได้แก่ dextrin และ sucrose
2. มีไขมันในรูปของ MCT อยู่ประมาณ 40-50 % ซึ่ง MCT สามารถดูดซึมจากลำไส้เข้าสู่ตับได้โดยตรง ไม่ต้องอาศัย pancreatic lipase  และ bile salt

5. อาหารทางการแพทย์สูตร Protein hydrolysate,soy based formula
ใช้สำหรับผู้ป่วยที่แพ้นมวัวหรือแพ้โปรตีนชนิดอื่นๆ ได้แก่ NAN H.A.1, Enfalac H.A.

  

คุณสมบัติของอาหารทางการแพทย์สูตร Protein hydrolysate,soy based formula1. มีการดัดแปลงอาหาร 3 ชนิด ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีนและไขมัน เหมาะสำหรับผู้ที่แพ้โปรตีนทั้งนมวัวและนมถั่วเหลือง
2. คาร์โบไฮเดรต ลดสัดส่วนของ lactose ลง ใช้ dextrin ทดแทน
3. โปรตีน เป็นโปรตีนจากถั่วเหลืองที่ผ่านการย่อยสลายมาแล้ว ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพ้ได้ดี โดยเสริม limiting amino acid คือ methionine แล้ว
4. ไขมัน ใช้ไขมันจากหลายๆ แหล่ง ไม่มี MCT  เพราะไม่มีความผิดปกติในการดูดซึมไขมัน
นอกจากนี้แล้ว NAN H.A. ยังมีการเพิ่มจุลินทรีย์ เพื่อช่วยการทำงานของลำไส้ด้วย

6. อาหารทางการแพทย์สูตรดัดแปลงคาร์โบไฮเดรต,โปรตีนและไขมันใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการย่อยและดูดซึมคาร์โบไฮเดรต,โปรตีนและไขมันบกพร่องเป็นสูตรที่ไม่มีแลคโตสมีการเติมไตรกลีเซอไรด์สายปานกลางและโปรตีนมีการย่อยสลายให้เป็นสายเล็กเหมาะสำหรับผู้ป่วยที่แพ้โปรตีนจากทั้งนมวัวและนมถั่วเหลือง ชื่อทางการค้า Pregestimil พรีเจสติมิล ใช้เลี้ยงทารกที่มีภาวะ Galactosemia
นอกจากนี้ยังจัดอยู่ในกลุ่ม Extensively protein hydrolysed formula (กลุ่มเดียวกับ Nutramigen)


หมายเหตุ pregestimil ฉลากปัจจุบันเป็นพื้นเงิน (ในรูปพื้นสีทอง)
 7. อาหารทางการแพทย์สูตรอะมิโนแอซิด (Amino acid-based formula)เป็นสูตรนมที่มีโปรตีนที่ผ่านขบวนการย่อยเป็นกรดอะมิโน โดยที่ผู้ป่วยร้อยละ 2-10 ใช้สูตรนม Extensively hydrolyzed formula ยังมีอาการแพ้ จึงจำเป็นต้องใช้  Amino acid-based formula แต่นมชนิดนี้มีข้อจำกัดในการใช้ เนื่องจากราคาสูงและรสชาติที่ทารกรับได้ยาก ชื่อการค้าได้แก่ Nutramigen AA, Neocate LCP(อ่านบทความเพิ่มเติม "โรคแพ้โปรตีนนมวัว")
   
นีโอเคต Neocate อาหารทารก สูตรกรดอะมิโนครบถ้วน สำหรับทารกที่มีภาวะภูมิแพ้
Neocate กระป๋องสีฟ้า สำหรับเด็กที่อายุมากกว่า 1 ขวบ
ลักษณะสำคัญ

-มีกรดอะมิโนบริสุทธิ์ 100% ซึ่งเป็นโมเลกุลที่เล็กที่สุด และไม่ทำให้เกิดการแพ้
-มีสารอาหารครบถ้วนสำหรับเด็กอายุ 1-10 ปี เพื่อการเจริญเติบโตที่ต่อเนื่อง
-มี MCT oil 35% ซึ่งลำไส้สามารถดูดซึมไปใช้เป็นพลังงานได้ง่าย

8. นมสำหรับทารกที่มีอาการแหวะนมหรืออาเจียน A.R. anti regergitation

C. อาหารทางการแพทย์ชนิดอื่นๆ ที่ควรรู้จัก
Aminoleban-oral
 ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคตับ



Choice DM ใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน

Ensure powder ใช้สำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ขาดสารอาหารหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ



GEN-DM ใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน



Glucerna ใช้สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน



Isocal ใช้สำหรับผู้ที่ต้องได้รับอาหารทางสายให้อาหาร



Neomune ใช้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการพลังงานสูง เช่น ผ่าตัดลำไส้ แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวกรุนแรง



Nepro nutrition liquid ใช้สำหรับผู้ป่วยโรคไต




Nutren Optimum nutrition .ใช้สำหรับผู้สูงอายุ



Nutren fiber  nutrition ใช้สำหรับผู้ป่วยทั่วไปที่ต้องการเสริมเส้นใยอาหาร 



Pan-enteral ใช้สำหรับผู้ป่วยทั่วไป 



Peptamen ใช้สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาที่เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมต้องการโปรตีนเป็ปไทด์



แหล่งข้อมูล และรูปประกอบ:
1. นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 266 เดือน-ปี : 06/2544
2. อาหารทางการแพทย์สำหรับผู้ป่วยเด็กและทารก เรียบเรียงโดย นศภ. กัญญ์วรา นิยม และ นศภ. ทัศนัย วงษ์เจริญชัย
3. จงจิตร  อังคทะวานิช, อุมาพร สุทัศน์วรวุฒิ, จุฬาภรณ์  รุ่งพิสุทธิพงษ์  คู่มือการเลือกใช้นมและอาหารทางการแพทย์ในเด็กและ . สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
4. กัลยาณี กิจทวีปวัฒนา. การพัฒนาผลิตภัณฑ์นมและอาหารสำหรับทารก. 2540  เอกสารวิชาการ กองควบคุมอาหาร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
5. นมและอาหารทางการแพทย์สำหรับเด็กและทารก, http://competencyrx.com/index.php?option=com_content&view=article&id=122:2010-06-30-08-09-18&catid=48:2010-03-22-09-59-11&Itemid=101
6. ภาพประกอบจาก http://www.cbsnews.com/2300-204_162-10004624-2.html