วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ลูกเป็นโรคแพ้อากาศ ใช้ยาอะไรดี? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


 
“ลูกรักมีอาการจามฮัดเช้ยบ่อยๆ เดี๋ยวก้อน้ำมูกไหล

พอเป็นเยอะๆ ก้อคัดจมูก บางทีก็มีอาการคันตาร่วมด้วย”


คุณแม่อาจจะหนักใจ เพราะอาการเหล่านี้มักจะเป็นแบบเรื้อรัง พอไปหาหมอ ได้รับยามาทีก้อหายไป แต่พอเผลอๆเป็นหวัดแป้บเดียวก้อกลับมาเป็นได้อีก ครานี้เป็นทีก้อมีอาการเป็นยาวเลย อาการที่ว่ามานั้นเป็นหนึ่งในกลุ่มโรคภูมิแพ้ โรคยอดฮิตของเด็กๆทุกคน แต่คุณพ่อคุณแม่เองคงไม่ค่อยชื่นชมเท่าไหร่ เรามาดูว่าหากลูกรักเป็นโรคภูมิแพ้เข้าไปแล้ว 

เราจะมีวิธีการดูแลและใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยได้ผล โดยขอเน้นไปที่โรคแพ้อากาศก่อนเลย ในตอนนี้เพราะเป็นกันเย้อะในช่วงหน้าฝนนี้ เพื่อให้ลูกรักไม่มีน้ำมูกไหลมากวนใจอีก  

โรคภูมิแพ้คืออะไร?

ก่อนอื่น ต้องมาทำความเข้าใจกันก่อน ที่เรียกว่าโรคภูมิแพ้นั้น เกิดจากร่างกายเด็กๆได้รับสารก่อภูมิแพ้ หรือ allergens เข้าไปก่อนมาแล้ว แล้วกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารนั้นมากจนเกินไปและจดจำไว้  
 
รูปประกอบ: สารก่อภูมิแพ้ มีอะไรได้บ้าง
มาจาก http://thinkloud65.wordpress.com/2012/07/12/allergic-rhinitis-oh-that-itchy-runny-nose/


ภายหลังเมื่อได้รับสารนั้นเข้าไปอีก ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายเด็กเองจะจำได้ว่า มีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้นั้นๆ พอได้รับสาร Allergens ชนิดเดิมนั้นซ้ำเข้าไปอีก 
สารก่อภูมิแพ้นั้นจะทำปฏิกิริยากระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวชนิดหนึ่งในร่างกายลูกเรา ที่เรียกว่า Mast cell ที่มีภูมิคุ้มกันเฉพาะชนิดหนึ่งที่เรียก IgE ปล่อยสารเคมีชนิดที่ทำให้อวัยวะต่างเกิดอาการภูมิแพ้ออกมา

 สารเคมีหลักๆ ที่ถูกปล่อยออกมาเรียกว่า ฮีสตามีน (Histamine) คุ้นๆไหมครับ สารนี้จะทำให้เกิดอาการอักเสบ ที่อวัยวะต่างๆ ตัวอย่างเช่นในโรคแพ้อากาศ สารนี้จะไปทำให้เยื่อบุในโพรงจมูก บวม มีสารคัดหลั่งออกมาเป็นน้ำมูกไหลออกมา หรือในโรคลมพิษ  สารนี้ก็จะไปทำให้เกิดผื่นแดง  ร้อน คัน บวม ตามผิวหนังขึ้น  ซึ่งจะเกิดอาการเฉพาะในเด็กที่แพ้เท่านั้น ในเด็กปกติจะไม่เกิดอาการใดๆเลย แปลกไหม?

โรคภูมิแพ้เกิดได้กับทั่วร่างกายเราเลยนะ

เวลาบอกว่าเป็นโรคภูมิแพ้นั้น ไม่ได้เกิดอาการแค่จุดใดจุดหนึ่ง แต่โรคนี้เป็นกลุ่มของโรคที่แสดงอาการได้กับหลายระบบของร่างกาย ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคภูมิแพ้ที่เป็น ซึ่งอาการที่แสดงออกมานั้นเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่ทำงานมากเกินไปทำให้เยื่อบุที่อวัยวะต่างๆ มีความไวต่อสิ่งกระตุ้นหรือสารก่อภูมิแพ้มากเกินไป สามารถเป็นได้ทุกระบบของร่างกายเลยนะครับ ได้แก่
  • ถ้าสารก่อภูมิแพ้ลอยมาสัมผัสที่ตาเด็ก เกิดจะเกิดอาการคันตา น้ำตาไหล จะเรียกว่า เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic conjunctivitis)
  • หากลูกรักรับประทานอาหารที่แพ้เข้าไปในระบบทางเดินอาหาร เกิดอาการอาเจียรหรือท้องเสีย เรียกว่า โรคแพ้อาหาร (food allergy)
  • ถ้าเด็กๆไปเล่น แล้วไปสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ที่ผิวหนัง จะเกิดอาการคันหรือผื่นลมพิษ เรียกว่า โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (atopic dermatitis)
  • อันนี้เกิดบ่อย หากจมูกเด็กเกิดสูดดมสารก่อภูมิแพ้เข้าไปก็เรียกว่า โรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ (allergic rhinitis) หรือโรคแพ้อากาศ เด็กๆจะมีอาการจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล  ที่คุณพ่อคุณแม่รู้จักกันดีแล้ว
  • ที่แย่กว่า หากลูกรักสูดสิ่งที่แพ้เข้าไปที่หลอดลม แล้วเกิดอาการหดเกร็งตัวมากกว่าปกติ จะทำให้เกิดโรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้ หรือโรคหอบหืด (asthma)

สาเหตุของโรคภูมิแพ้ ทำไมลูกเราจึงเป็นโรคนี้

เกิดจากปัจจัยทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ส่วนตัวการที่ทำให้เกิดอาการแพ้ เรียกกว่า สารก่อภูมิแพ้ (allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ซึ่งอาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การรับประทานอาหาร การสัมผัสทางผิวหนัง  การสัมผัสทางตา ทางหู หรือถูกแมลงกัดต่อยผ่านผิวหนังนั่นเอง



โรคแพ้อากาศคืออะไร?
โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจหรือเรียกันง่ายๆว่า โรคแพ้อากาศเป็นโรคที่เกิดจากที่เยื่อบุจมูกของเด็ก มีการอักเสบ ทำให้เกิดอาการคัดจมูก มีน้ำมูกไหล จามและคันจมูก โดยเกิดขึ้นหลังจากการได้รับสารก่อภูมิแพ้เข้าไป  

เด็กๆที่เป็นโรคนี้ไปแล้ว มักจะมีอาการเรื้อรัง  อาการจะเป็นมากตอนเช้า ๆ น้ำมูกไหลทะลักเกือบทุกวัน พอสายๆก้อหายไปเอง หรือเมื่อได้รับยาก้อจะดีขึ้น


 
รูปประกอบ: แสดงอาการต่างๆของโรคภูมแพ้อากาศ
มาจาก http://www.drugs.com/health-guide/hay-fever-allergic-rhinitis.html

มีหลายสาเหตุที่เด็กๆ เป็นโรคนี้ สาเหตุแรกจะมาจากไหน ไม่พ้นเกิดจากกรรมพันธุ์ ซึ่งถ้าพ่อหรือแม่เป็นภูมิแพ้ ลูกที่เกิดมาก็อาจเป็นโรคภูมิแพ้ได้ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ หรือถ้าทั้งพ่อและแม่เป็น โอกาสจะเพิ่มขึ้นเป็น 50 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือก้อมีสาเหตุมาจากภูมิคุ้มกันของน้องเอง ซึ่งช่วงที่เด็กแข็งแรงสบายดี ก็ยังไม่มีอาการอะไร แต่เมื่อไหร่ที่เป็นหวัดหรือมีการติดโรคอื่นๆมา เด็กที่เป็นภูมิแพ้ก็อาจมีอาการกำเริบขึ้นมา มีคัดจมูก แน่นจมูก หอบอย่างหนักก้อได้เพราะภูมิคุ้มกันที่ต่ำลง

สุดท้ายสารก่อภูมิแพ้ หรือ allergens อย่างเช่นสภาพอากาศเย็น ฝุ่น ละอองดอกไม้ เชื้อรา ไรฝุ่น ซากแมลงสาป ขนหรือรังแคของสัตว์เลี้ยง ละอองเกสร ต้นหญ้า ดอกไม้  ควันบุหรี่ ควันพิษ มลภาวะต่างๆ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ถ้าลูกเราไปสัมผัสกับสารที่ก่อภูมิแพ้มากๆ ยิ่งได้รับยิ่งเย้อะ ก็จะมีอาการเป็นเยอะมากขึ้นๆ ทำให้เกิดอาการแพ้ทางจมูก ได้แก่ จาม  คัดจมูก  น้ำมูกไหล และอาการแพ้ที่ปอด ได้แก่ ไอ หอบ หายใจลำบากและมีเสมหะตามมาได้ในที่สุด 


จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกเราแพ้อะไร?

วิธีที่ง่ายที่สุดสำหรับคุณพ่อคุณแม่ คือต้องสวมบทเป็นนักสืบคือสังเกตว่าแพ้ลูกเราอะไร  เวลาไหน อาการอย่างไรบ้าง บันทึกเอาไว้และรวบรวมเพื่อหาสาเหตุให้ได้ จำเป็นอย่างมาก


 หลักการรักษาโรคภูมิแพ้ เป็นอย่างไร?
ทำไมเราต้องรู้ต้นเหตุหล่ะ เนื่องจากโรคภูมิแพ้เป็นโรคเรื้อรัง  จำเป็นต้องใช้เวลาในการรักษานาน  การรักษาที่สำคัญที่สุด จะเริ่มตั้งแต่การสืบค้นให้ได้แน่ชัดว่าแพ้อะไร จากการสอบทานประวัติของผู้ป่วย  การทำการทดสอบทางผิวหนัง  และการตรวจเลือด  จะทำให้แพทย์พอจะทราบว่าสารก่อภูมิแพ้คืออะไร  เพราะหลักการรักษาที่ดีที่สุดและได้ผลที่สุดปลอดภัยอย่างสูงสุดด้วย น่านก้อคือคือหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้นั้น 

ยาที่ใช้รักษาโรคแพ้อากาศมีอะไรมั่ง?

ถ้าหากเราไม่ทราบสาเหตุ หรือรุ้แล้วก้อตาม แต่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงจากสิ่งที่แพ้ ก็จำเป็นต้องรักษาด้วยยารักษาภูมิแพ้ซึ่งมีหลายกลุ่มเหลือเกิน แต่ทบทวนกันก่อนว่าก่อนใช้ยาใดๆ ควรปรึกษาเภสัชกรทุกครั้งเพื่อให้คุณแม่แน่ใจได้ว่าลูกรักได้รับยาอย่างปลอดภัยและได้ผล นะครับ  ยาหลักๆที่เลือกใช้ ได้แก่
  1. กลุ่มยาต้านสารฮีสตามีน (Anti-histamine) เป็นยาที่นิยมใช้มากที่สุด เนื่องมาจากใช้มานาน ได้ผลดีและทราบข้อระวังต่างๆอย่างถี่ถ้วนแล้ว เนื่องมาจากยาในกลุ่มนี้มักก่อให้เกิดอาการง่วงนอน  ดังนั้นหลังจากกินยากลุ่มนี้ เด็กๆอาจจะง่วงซึม ทำให้เรียนหนังสือหรือไปทำกิจกรรมกับเพื่อนๆ ไม่ทันก้อได้   แต่ข่าวดีในปัจจุบันมียาต้านใหม่ ๆ หลายชนิดที่ไม่มีผลข้างเคียงเรื่องง่วงนอนหรือมีก้อน้อยมาก
  2. กลุ่มยาลดอาการคั่งของจมูก (Decongestant) เหมาะสำหรับน้องๆที่มีอาการจมูกตัน คัดแน่นบวม จนหายใจไม่ออก ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์ทำให้เส้นเลือดในจมูกหดตัว ทำให้น้ำมูกลดลง  จมูกโล่ง  ไม่คัดจมูก  แต่ข้อควรระวังอย่างมากของยากลุ่มนี้ ในเด็กอาจทำให้คอแห้ง  กระวนกระวาย ใจสั่น  นอนไม่หลับหรือ hyper ไปก้อได้   ยาในกลุ่มนี้มีทั้งชนิดกินและชนิดพ่นจมูก  สำหรับยาชนิดพ่นไม่ควรใช้นานเกิน 7 วัน  มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดอาการติดยาและคัดจมูกมากกว่าเดิม  เกิดเป็นภาวะจมูกอักเสบเรื้อรังจากยาได้
  3. กลุ่มยาสเตียรอยด์ที่ใช้พ่นทางจมูก (Steroids) ใช้ช่วยลดอาการอักเสบของเยื่อบุจมูก  และลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ที่บริเวณเยื่อบุจมูกโดยไม่ก่อให้เกิดอาการติดยาเหมือนกลุ่มที่แล้ว

สำคัญที่สุดของการดูแลลูกรักจากโรคนี้  ก้อคือ หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ให้ได้มากที่สุด และแน่นอนที่สุดก้อคือ หมั่นดูแลสุขภาพเขาให้แข็งแรง ทำให้เด็กมีปฏิกิริยาต่อสารก่อภูมิแพ้น้อยลง การใช้ยาควรเป็นทางเลือกสุดท้ายนะครับ  จะเห็นได้ว่าโรคภูมิแพ้นี้มีรายละเอียดเย้อะมาก ตอนหน้าเราจะมาดูถึงยาที่ใช้ในการรักษาอาการโรคอื่นๆ รวมไปถึงการใช้วิตามินเสริมจะช่วยได้จริงหรือไม่

แหล่งข้อมูล
·         เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 7 มิย. 2556
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มา
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

รูปประกอบ
http://www.medicalobserver.com.au/news/allergic-rhinitis-part-2
ลูกน้อยมีอาการแพ้ น้ำมูกไหล ควรใช้ยาอย่างไรให้ปลอดภัยและได้ผล โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

ทำไมเด็กไทยจึงเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,

Antihistamines for Allergies, WebMD,

Ellis AK, Day JM. Second-and third-generation antihistamines. Detmatologic Therapy. 2000; 13:327-36

Antihistamines for allergies, U.S. National Library of Medicine, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/ency/patientinstructions/000549.htm


Handley DA, Magnetti A, Higgins AJ. Therapeutic advantages of third generation antihistamines.. Expert Opin Investig Drugs. 1998;7(7):1045-54.

Antihistamines, Decongestants, and Cold Remedies, The American Academy of Otolaryngology—Head and Neck Surgery (AAO-HNS), http://www.entnet.org/HealthInformation/coldRemedies.cfm



International Rhinitis Management Working Group.  International consensus report in the diagnosis and management of rhinitis.  Allergy 1994;49 (suppl 19):5-34.

Considerations on third generation antihistamines. Clin Exp All. 2002;32:179.

ศ.นพ.เกียรติรักษ์รุ่งธรรม,  รศ.นพ.สุวัฒน์เบญจพลพิทักษ์, The Semi-Annual Meeting of The Allergy, Asthma and Immunology Society of Thailand, Practical Uses ofNew Antihistamines,

น.พ. กิตติ  โตเต็มโชคชัยการ, แนวทางป้องกันโรคภูมิแพ้, คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล,

อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ พ.บ., ศาสตราจารย์ ปิยะพร ชื่นอิ่ม พ.บ., อาจารย์ หน่วยโรคระบบหายใจเด็ก  คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, สุรางค์ เจียมจรรยา พ.บ. ศาสตราจารย์, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล, การรักษาโรคหวัดในเด็ก, วารสารคลินิก เล่มที่: 294
เดือน/ปี: มิถุนายน 2009, http://www.doctor.or.th/clinic/detail/9088

นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
หน่วยโรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันทางคลินิก ภาควิชาอายุรศาสตร์
คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, http://www.oocities.org/poompae/allergy_care1.htm

นพ. สงวนศักดิ์ ธนาวิรัตธนานิจ, Current Practice and Guidance in Allergic Rhinitis Management
, Srinagarind Med J 2011: 26 (Suppl), http://www.md.kku.ac.th/library/main/eproceeding/11-20.pdf

พ.ญ.กาสะลอง รักคง, ภูมิแพ้ในเด็กรู้เท่าทัน ป้องกันได้,

แนวทางการประเมินและรักษาโรคจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ในเด็กสำหรับประเทศไทย
ภก.วิรัตน์ ทองรอด
,ยาลดน้ำมูกในเด็ก, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่มที่: 301, พฤษภาคม 2004, http://www.doctor.or.th/article/detail/3044

ยาแก้แพ้,
           
พญ.รัตนา เพ็ญศรีชล
กุมารเวช : กุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และอิมมูโนวิทยา,Vejthani Hospital,
โรคเยื่อบุจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ในเด็ก (Allergic Rhinitis),

นพ.กัลย์ กาลวันตวานิช กุมารแพทย์, ภูมิแพ้ในเด็ก รีบแก้ ดูแลได้, โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์, http://www.bumrungrad.com/healthspot/february-2012/allergy-in-children

น้ำมูกบอกอาการเจ็บป่วย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

เมื่อเด็กเป็นหวัดหรือไอ ควรทำให้ร่างกายเด็กอบอุ่น และชวนให้เด็กกินอาหารและดื่มน้ำให้มาก
 เท่าที่จะทำได้, สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น