วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

มะเร็งเต้านม ตรวจไว้ปลอดภัยกว่า


มะเร็งนับเป็นโรคร้ายที่น่ากลัวโรคหนึ่งสำหรับคนเรา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มะเร็งเต้านม ที่ทำให้ผู้หญิงไทยเสียชีวิตมากเป็นอันดับสอง รองจากมะเร็งปากมดลูก คุณผู้หญิงอาจกังวลมากมายในความเสี่ยงที่จะเกิดกับตัวเราหรือไม่ เรามีคำแนะนำดีๆมาให้ทำความเข้าใจกับโรคนี้ เพื่อเรียนรู้ และเข้าใจว่า "เมื่อไร...ควรตรวจมะเร็งเต้านม???"

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ มะเร็งเต้านม

* ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเท่าเทียมกันและปัจจัยที่จะทำให้ผู้หญิงบางคนมีความเสี่ยงมากกว่าคนอื่นๆ ก็คือเรื่อง ของกรรมพันธุ์ หรือวิถีในการดำเนินชีวิต
* ถ้าประวัติครอบครัวมีแม่เป็นมะเร็งเต้านม ลูกสาวก็จะมีความเสี่ยงเพิ่ม ยิ่งถ้าทั้งแม่ พี่สาว หรือน้อง สาวเป็นมะเร็งเต้านมพร้อมกัน จะยิ่งมีความเสี่ยงสูงขึ้น
* การกินอาหารที่มีไขมันสูงอาจส่งผลและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ดังนั้น สมาคมส่งเสริมการป้องกันมะเร็งของสหรัฐอเมริกา (American Cancer Society หรือ ACS) จึงแนะนำให้ผู้หญิงกินอาหารที่มีประโยชน์ ในสัดส่วนที่เหมาะสม เน้นอาหารที่มีกากใยมากและอาหารไขมันต่ำ รวมถึงให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
* สาเหตุของการเป็นมะเร็ง ไม่เกี่ยวกับการถูกกระแทก การถูก จับหรือลูบคลำ และมะเร็งเต้านมไม่ ใช่เป็นโรคติดต่อ
* ผู้หญิงที่ไม่เคยมีลูก จะมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิงที่เคยมีลูกและผู้หญิงที่มีลูกหลังอายุ ๓๐ ปี จะ มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมเพิ่ม มากกว่าผู้หญิงที่ไม่มีลูก
* ผู้หญิงที่มีประจำเดือนครั้งแรกตั้งแต่อายุน้อย เช่น สมัยก่อนเริ่มมีประจำเดือนอายุ ๑๖ ปี ปัจจุบัน อายุ ๑๑ ปี ก็เริ่มมีประจำเดือนแล้วและอีกกลุ่มหนึ่งผู้หญิงที่อยู่ในวัยทอง ก่อนนี้เคยหมดประจำเดือนเมื่ออายุ๔๕-๕๐ แต่ปัจจุบันช่วงวัยหมดประจำ เดือนจะอยู่ระหว่างอายุ ๕๐-๕๕ ปี
* อย่างไรก็ดี กล่าวโดยสรุปคือ ผู้หญิงทุกคนล้วนแล้วแต่มีความ เสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมเท่าๆ กัน เพราะผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมร้อยละ ๗๕ ไม่ได้มีความเสี่ยงที่กล่าวข้างต้น


อาการของ มะเร็งเต้านม*  จากสถิติพบว่าผู้ป่วยมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๙๐) มีก้อน ที่เต้านม แต่อย่าตกใจไป เพราะก้อน ในเต้านมที่พบ สมมุติ ๑๐๐ รายจะเป็นมะเร็งเต้านมเพียง ๑๕-๒๐ ราย
*  มีการเปลี่ยนแปลงของขนาด และรูปร่างของเต้านม
*  ผิวหนังเปลี่ยนแปลง เช่น มีรอยบุ๋ม ย่น หดตัว หนาผิดปกติ หรือ บางส่วนเป็นสะเก็ด
*  หัวนมมีการหดตัว คัน หรือแดงผิดปกติ
*  มีเลือดหรือน้ำออกจากหัว นม (ร้อยละ ๒๐ ของการมีเลือดออก เป็นมะเร็ง)
*  มีอาการบวมที่รักแร้ เพราะต่อมน้ำเหลืองโต

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น มะเร็งเต้านม
ปัจจุบันวงการแพทย์ยังไม่สามารถสรุปได้อย่างชัดเจน ว่ามะเร็งเต้านมเกิดจากสาเหตุใด ดังนั้น จึงยังไม่มีวิธีป้องกันที่ได้ผลเด็ดขาด ที่จะไม่ให้เกิดโรคนี้ขึ้น วิธีที่ดีที่สุดที่ทำได้ขณะนี้ก็คือ ต้องค้นหามะเร็งเต้านมให้พบโดยเร็วที่สุด ตั้งแต่ระยะ เริ่มแรกก่อนที่มะเร็งจะลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ และทำให้เสียชีวิต

เครื่องมือตรวจหา มะเร็งเต้านมปัจจัยสำคัญที่จะทำให้การตรวจ หามะเร็งเต้านม ได้ผลมากที่สุด ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ๓ ประการ คือ
๑. การตรวจเต้านมด้วยตน เอง (breast self examinations)
๒. การตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ (clinical examinations)
๓. การเอกซเรย์เต้านม หรือแมมโมแกรม (mammography)

ผู้หญิงกับการ ดูแลเต้านมมะเร็งเต้านม เป็นโรคที่อาจจะ เกิดขึ้นกับผู้หญิงคนไหนก็ได้ โดยที่ไม่ทันรู้ตัว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้หญิงที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากกว่าปกติ เพราะฉะนั้น การให้ความสนใจและให้ความสำคัญกับการดูแลเต้านม โดย หมั่นตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ สามารถช่วยชีวิตผู้หญิงให้รอดพ้นจากโรคร้ายที่น่ากลัวนี้ได้
* การตรวจเต้านมด้วยตนเองควรทำในผู้หญิงทุกวัน เพื่อทำความคุ้นเคยกับเต้านม ซึ่งจะทำให้เจ้าตัวค้นพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้ง่าย
* อายุ ๒๐ ปีขึ้นไป ควรเริ่มตรวจเต้านมด้วยตนเองทุกเดือน  และในช่วงอายุนี้ไม่จำเป็นต้องทำแมมโมแกรม 
* อายุ ๓๕ ปี ควรตรวจแมมโมแกรมเป็นพื้นฐาน และควรตรวจทุกๆ ๒ ปี
* อายุ ๔๐ ปี ควรตรวจแมมโมแกรมทุกปี
* อายุ ๕๐ ปีขึ้นไป ควรตรวจแมมโมแกรมทุก ๑-๒ ปี
* ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม ควรรีบปรึกษาแพทย์ เพราะอาจต้องตรวจแมมโมแกรมเร็วกว่าปกติ

วิธีการตรวจเต้านม ด้วยตนเอง
ในบ้านเรามีการแนะนำให้ตรวจ เต้านมด้วยตนเองมานานพอสมควรแล้ว 

"ผู้หญิงส่วนใหญ่พอบอกว่าให้ หัดคลำเต้านม ก็ไปคลำ แล้วมาบอก ว่าไม่เห็นเจออะไร พอคลำเดือน ต่อไปไม่มีอะไร ก็เลยเลิกสนใจ ความ จริงการตรวจเต้านมด้วยตนเองไม่ได้ หมายความว่าให้คลำเพื่อหาก้อนมะเร็ง เต้านมในตัวเอง แต่วัตถุประสงค์คือ หัดสังเกตการเปลี่ยนแปลงภายใน เต้านมด้วยตนเอง
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากเป็น การป้องกันตนเองเบื้องต้นจากโรคร้าย นี้ เพราะไม่มีใครรู้การเปลี่ยนแปลงภายในเต้านมได้ดีเท่าตัวเราเอง เพราะ ฉะนั้น เราต้องคลำจนเราชินว่า เต้านม ปกติของเราเป็นอย่างนี้ เมื่อเกิดความ ผิดปกติจะได้รีบปรึกษาแพทย์ คนส่วนใหญ่ที่มาที่นี่ ผมถามว่า ทำไม ถึงตรวจเต้านมตัวเองไม่ได้ผล เขา ตอบว่า ไม่รู้วิธี ไม่เข้าใจ และไม่มีเวลา ทำ เพราะฉะนั้นกว่าจะไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่จะมีอาการมากแล้ว

การตรวจ แมมโมแกรม
โดยปกติการถ่ายเอกซเรย์เต้านม จะแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ
๑. การตรวจแมมโมแกรมเพื่อ การวินิจฉัย (diagnostic mammo-graphy) คือการถ่ายเอกซเรย์เต้านม ผู้มาตรวจที่มีอาการผิดปกติ เพื่อดูว่า เป็นมะเร็งหรือเปล่า ซึ่งส่วนใหญ่จะมีก้อน (ประมาณร้อยละ ๙๐) และมี การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง หัวนม หรือมีเลือดออกจากหัวนม (ประมาณ ร้อยละ ๑๐)

๒. การตรวจแมมโมแกรมเพื่อ การคัดกรอง (screening mam-mography) คือการตรวจเอกซเรย์เต้านมแก่ผู้มาตรวจ ซึ่งไม่มีอาการผิดปกติแต่อย่างไร แต่เป็นการตรวจ เมื่อถึงวัยที่เริ่มเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เต้านม ซึ่งเครื่องแมมโมแกรมสามารถ จะค้นพบก้อนตั้งแต่ยังคลำไม่ได้ หรือ ก้อนที่มีขนาดเล็กมาก ตั้งแต่ ๕ มิลลิ-กรัมจนถึง ๑ เซนติเมตรได้
มีคำกล่าวว่า เพราะเกิดเป็นผู้ หญิง ทุกคนจึงมีสิทธิ์เสมอกันที่อาจจะเป็นมะเร็งเต้านม (ยิ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยง ก็ยังมีโอกาสจะเป็นโรคนี้มากขึ้น) ดังนั้น จึงประมาทไม่ได้ ผู้หญิงทุกคนต้องใส่ใจสุขภาพของตัวเองอย่างจริงจัง คุณหมอธรรมนิตย์เล่าให้ฟังถึงกรณีที่น่าสนใจของผู้ที่มา ตรวจแมมโมแกรมว่า

"บางคนพอผลตรวจออกมาว่า เป็นมะเร็ง แล้วเขาเป็นคนที่มีการศึกษาหน่อย เขาบอกว่าไม่ใช่กลุ่มเสี่ยงเลย เขามีประจำเดือนมาปกติ กินอาหารชีวจิต กินอาหารที่ไม่มีไขมัน เขามีลูกเยอะ และให้นมบุตร แต่งงาน ก่อนอายุ ๓๐ ปี แล้วเขาเป็นมะเร็ง  ได้ยังไง ผมบอกผู้หญิงคนนั้นไปว่า บางครั้งก็ไม่เกี่ยวกัน ถ้าเราเอาสถิติทั้งหมดของคนที่เป็นมะเร็งเต้านมมา ดู ร้อยละ ๗๕ ไม่เกี่ยวข้องกับปัจจัย เสี่ยงต่างๆ ที่เราพูดๆ กันเลย แต่มัน เกิดขึ้นเพราะคุณเป็นผู้หญิง
เพราะฉะนั้น จึงพูดได้ว่า การตรวจด้วยเครื่องแมมโมแกรม เป็นวิธี ที่ดีที่สุด ในการที่จะตรวจหาก้อนมะเร็ง ให้เจอตั้งแต่ยังคลำไม่ได้ เพราะเรื่อง ของมะเร็งเต้านม บางครั้งก็เกินจะคาดเดา แต่ถ้ารู้ก่อนก็จะได้รีบรักษา"

ตรวจแมมโมแกรม เจ็บมากไหม
ปัญหาที่ทำให้ผู้หญิงจำนวนมาก ไม่มาถ่ายเอกซเรย์เต้านมก็คือ ความกลัว เพราะมีความเสี่ยงร่ำลือกันว่าเจ็บมาก และอีกเรื่องที่สำคัญไม่น้อย คือ ค่าใช่จ่ายที่สูงมาก (สำหรับคนยากจน) 

ในเรื่องกลัวเจ็บ คุณหมอธรรมนิตย์ อังศุสิงห์ ไขข้อข้องใจให้ฟังว่า
"เรื่องความเจ็บก็มีบ้างเป็นธรรมดา แต่จะเจ็บมากเจ็บน้อยนี่ขึ้น อยู่กับเจ้าหน้าที่รังสีเทคนิคด้วย ซึ่งถ้ามีความชำนาญและถ่ายทำถูกวิธี คนไข้จะไม่เจ็บมาก ที่สำคัญขึ้นอยู่กับความอดทนของคนไข้แต่ละคนไม่ เท่ากัน บางคนแตะนิดเดียวร้องลั่น เลย บ่นว่าเจ็บ! บางคนกดเท่าไหร่ก็ไม่เจ็บ อันนี้เป็นความรู้สึกส่วนบุคคล ไม่ได้เกี่ยวกับเต้านมเล็กหรือเต้านมใหญ่อะไรหรอก อีกประการหนึ่งคือ ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาที่มาถ่ายเอกซเรย์ด้วย เช่น ถ้าเราเอกซเรย์เต้านม ๓ วันก่อนเขามีประจำเดือน หรือระหว่างมีประจำ เดือน คนไข้อาจจะรู้สึกเจ็บมาก เราจึงมีคำแนะนำว่าให้คนไข้ถ่ายเอกซเรย์ หลังการมีประจำเดือน ซึ่งถ้าทำถูกวิธี มันไม่เจ็บหรอก ที่ศูนย์ถันยรักษ์เราทำสถิติไว้ให้ผู้มาตรวจกรอกข้อมูล มากกว่าร้อยละ ๙๙ บอกว่าเจ็บทนได้ น้อยกว่าร้อยละ ๑ บอกว่าเจ็บมาก" 
ค่าใช้จ่ายแพงไหม
ด้วยตัวเลขค่าใช้จ่ายในการตรวจครั้งละประมาณ ๑,๙๐๐-๒,๑๐๐ บาท (สำหรับโรงพยาบาลรัฐ หากเป็น โรงพยาบาลเอกชนราคาอาจสูงกว่านี้) ซึ่งนับเป็นจำนวนเงินที่มากพอสมควร สำหรับผู้มีอาชีพหาเช้ากินค่ำ เหตุผล นี้เองที่ทำให้ผู้หญิงไม่น้อยเพิ่มโอกาส เสี่ยงให้กับตัวเองโดยไม่รู้ตัว เกี่ยวกับ เรื่องนี้ นายแพทย์ธรรมนิตย์ อังศุสิงห์ แสดงความคิดเห็นว่า

"ในสถานการณ์ของเมืองไทยผมคิดว่าเราควรตั้งต้นการตรวจมะเร็ง เต้านมด้วยตนเองก่อน เพราะมันไม่มีค่าใช้จ่าย ขณะนี้ทางศูนย์ถันยรักษ์ ได้ร่วมมือกับกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เพื่อฝึกเจ้าหน้าที่ให้มีความ รู้เกี่ยวกับการตรวจมะเร็งเต้านมด้วย ตนเองที่ถูกต้อง เพื่อที่เขาจะได้ไปบอกกับชาวบ้านให้เข้าใจในเบื้องต้น
เพราะเข้าใจปัญหานี้ดี และเราต้องการที่จะช่วยประชาชน (ตาม พระประสงค์ของสมเด็จย่า) ให้ค้นพบมะเร็งในขณะที่ยังไม่แพร่กระจาย เราจึงทำรถเคลื่อนที่ (mobile) ออก ไปให้บริการกับหน่วยงานต่างๆ ที่มีพนักงานหญิงจำนวนมาก เรียกว่าให้ ความสะดวกกับเขาทุกอย่าง ด้วยค่า ใช้จ่ายที่ถูกลงมาก เหลือเพียงทั้งหมด ๑,๕๐๐ บาท เพื่อกระตุ้นให้ประชาชน สนใจเรื่องมะเร็งเต้านมกันมากขึ้น"
บางคนอาจจะคิดว่า โอ๊ย! ค่าใช้จ่ายมันสูง ตรวจทำไม เสียเงินเปล่าๆ ตรวจแล้วก็ไม่เป็น แต่ถ้าตรวจ พบในระยะแรกจะลดอัตราการเสียชีวิตลง ไม่ทุกข์ทรมาน คุณภาพชีวิต ก็จะดีขึ้น และค่าใช้จ่ายในการรักษาก็จะลดลงอย่างมาก

"สถิติของมะเร็งเต้านมในผู้หญิง ไทยจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อ คนไทยมีสุขภาพดีขึ้น อายุยืนขึ้น โอกาสเสี่ยงต่อโรคมะเร็งเต้านมก็เพิ่ม มากขึ้น"
สถิติของศูนย์ถันยรักษ์พบว่าผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมอายุน้อยกว่า ๔๐ ปี มีสูงถึงร้อยละ ๒๐ ดังนั้น ผู้หญิงไทยจึงควรเริ่มทำการตรวจกรองมะเร็งเต้านมด้วยแมมโมแกรม เป็นพื้นฐานเมื่ออายุ ๓๕ ปี

แหล่งข้อมูล
  • ศูนย์ถันยรักษ์ 
มูลนิธิถันยรักษ์ในพระราชูปถัมภ์
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

  • ธารดาว ทองแก้ว, นิตยสารหมอชาวบ้าน 280

สิงหาคม 2002, 
http://www.doctor.or.th/article/detail/2023

ภาพประกอบจาก

วันพุธที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ประโยชน์ของน้ำมันปลา (Fish Oil) กินอย่างไร ช่วยป้องกันโรค


น้ำมันปลา ( Fish Oil ) คือะไร? มีดีกว่าแค่ช่วยลดไขมันในเส้นเลือด จริงหรือไม่?
กินน้ำมันปลาอย่างไรให้ได้ผล แต่ละยี่ห้อต่างกันมั้ย? มาฟังคำตอบกัน


น้ำมันปลา เป็นน้ำมันที่สกัดจากส่วนของเนื้อ หนัง หัว และหางของปลาทะเลน้ำลึกโดยเฉพาะปลาในเขตหนาว ในน้ำมันปลามีกรดไขมันหลายชนิด แต่ที่สำคัญและมีการนำมาใช้ทางการแพทย์ คือ กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 และกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน กรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 3 ที่สำคัญ 2 ชนิด คือ กรดไอโคซาเพนตาอีโนอิก EPA (Eicosapentaenoic acid) และกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิก DHA (Docosahexaenoic acid)ซึ่งเป็นกรดไขมันที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเท่านั้น สำหรับกรดไขมันกลุ่มโอเมก้า 6 เป็นกรดไขมันที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งซึ่งมีผลในการลดไขมันในเลือด พบมากในน้ำมันพืชหลายชนิด เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วเหลือง เป็นต้น


            ในปี ค.ศ. 1976 ได้มีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าชาวเอสกิโม ซึ่งอาหารหลักในชีวิตประจำวันคือ ปลา มีอุบัติการณ์เกิดเส้นเลือดอุดตันต่ำมาก รวมทั้งพบว่ามีระดับไขมันในเลือดต่ำ การเกาะกันของเกล็ดเลือดน้อยกว่าชาวเดนมาร์กซึ่งอาหารหลักคือเนื้อสัตว์และ ผลิตภัณฑ์นม และสี่ปีต่อมาในปีค.ศ. 1980 ผลการวิจัยในประเทศญี่ปุ่นพบว่าชาวบ้านในหมู่บ้านประมงซึ่งรับประทานปลาเป็น อาหารหลักก็มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจต่ำกว่าทั่วไป การเกาะกันของเกล็ดเลือดและความหนืดของเลือดต่ำกว่าชาวญี่ปุ่นในหมู่บ้านที่ เลี้ยงสัตว์ อาหารประจำวันของผู้ที่อาศัยในหมู่บ้านประมงเป็นอาหารทะเลมากกว่าในหมู่บ้าน ที่เลี้ยงสัตว์กว่า 2 เท่า และยังพบว่าในอาหารทะเลมีกรดไขมันชนิด EPA ในปริมาณสูง

            คณะผู้วิจัยได้สกัดกรดไอโคซาเพนตาอีโนอิกออกจากน้ำมันปลาซาร์ดีน บรรจุในแคปซูลให้อาสาสมัครรับประทาน วันละ 1.4 กรัม พบว่าความหนืดของเลือดของอาสาสมัครลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจนหลังจากรับประทาน ติดต่อกัน 4 สัปดาห์ เกิดข้อสรุปว่าอาหารทะเลช่วยลดความหนืดของเลือดซึ่งเป็นกลไกหนึ่งในการ ป้องกันหรือรักษาภาวะเส้นเลือดอุดตัน นับตั้งแต่ปีค.ศ. 1983 เป็นต้นมา น้ำมันปลาก็เริ่มเป็นที่สนใจรู้จักกันทั่วไป แต่ในเวลานั้นผลการศึกษาวิจัยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถสรุปประสิทธิภาพของน้ำมัน ปลาในการป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันได้อย่างแน่นอน เพราะการศึกษาไม่ได้ทำในวงกว้างขวาง จนกระทั่งสิบกว่าปีผ่านไปพร้อมกับรายงานการศึกษาที่ตีพิมพ์ออกมาเรื่อยๆว่า น้ำมันปลามีประสิทธิภาพในการป้องกันหลอดเลือดอุดตัน โรคหลอดเลือดหัวใจ และยังมีรายงานว่าช่วยป้องกันโรคมะเร็งและข้ออักเสบได้อีกด้วย

            แหล่งน้ำมันปลาในธรรมชาติที่ดีที่สุด คือ ปลาทะเล หอยนางรมแปซิฟิก และปลาหมึก ปลาทะเล เช่น แซลมอน ทูน่า ซาบะ ซาร์ดีน เฮอร์ริ่ง แองโชวี่ ไวท์ฟิช บลูฟิช ชอคฟิช เทราท์ แมคเคอเรล เป็นต้น ปลาทะเลที่มีน้ำมันปลามาก คือ ปลาทู ปลาสำลี ปลารัง ปลากระพง เป็นต้น พบว่าปลาที่จับได้ในธรรมชาติจะมีปริมาณกรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 ในสัดส่วนที่เหมาะสม ส่วนปลาที่เลี้ยงในบ่อจะมีปริมาณของกรดโอเมก้า 6 มากกว่าโอเมก้า 3 ปัจจุบันน้ำมันปลาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่ได้รับความนิยมในการรับประทาน อย่างแพร่หลาย ส่วนน้ำมันตับปลาที่เรารู้จักกันดี สกัดจากตับของปลาทะเล เช่นปลาคอด แฮลิบัท เฮอร์ริ่ง มีสารสำคัญคือวิตามินเอ และดี

ประโยชน์ของน้ำมันปลา

            ลดระดับของไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือด และเพิ่มระดับของเอชดีแอลโคเลสเตอรอล ซึ่งเป็นไขมันที่ดี น้ำมันปลาสามารถลดระดับของไตรกลีเซอไรด์ลงได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่าน้ำมันข้าวโพดและน้ำมันดอกคำฝอยมาก ผู้ชายที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง เมื่อให้กินปลาประมาณ 18 ออนซ์ต่อวันเป็นเวลา 3 เดือน พบว่าระดับไตรกลีเซอไรด์ลดลงและระดับเอชดีแอลโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น

            ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยลดการเกาะตัวกันของเกล็ดเลือด ทำให้เลือดไม่เกาะตัวเป็นลิ่ม เลือดจึงไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความหนืดของผนังหลอดเลือด ทำให้ผนังหลอดเลือดมีความยืดหยุ่น

            ลดความดันโลหิต จากรายงานผลการศึกษาวิจัยพบว่าอาหารที่ประกอบด้วยปลาหางแข็งหรือปลาทูซึ่งมี EPA ในปริมาณ 2.2 กรัมต่อวันสามารถลดความดันเลือดซิสโตลิกในคนไข้ที่มีโรคความดันผิดปกติทาง กรรมพันธุ์ที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลในเลือดสูง และทำให้เกิดโรคหัวใจในขณะที่อายุยังน้อยอยู่ อาหารที่มีปลาหางแข็งหรือปลาทู ยังช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลงได้เป็นเวลา 3 เดือน หลังจากนั้นระดับกลับสูงขึ้นไปเหมือนเดิมอีก ในผู้ที่มีความดันเลือดสูงในระดับปานกลาง พบว่าอาหารที่มีปลาหางแข็งหรือปลาทูลดความดันซิสโตลิกลงได้เกือบร้อยละ 10 ระดับโซเดียมในเลือดลดลง และเรนินซึ่งเป็นฮอร์โมนตัวหนึ่งที่สร้างในไตซึ่งมีผลมากต่อความดันเลือด นั้น ก็ทำงานได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 64 การศึกษาวิจัยในผู้ป่วยที่มีความดันเลือดสูงเล็กน้อย โดยให้กินน้ำมันปลาแคปซูลเป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าความดันตัวบนหรือซิสโตลิกลดลงอย่างชัดเจน

บรรเทาอาการอักเสบ ปวด บวมของโรคปวดข้ออักเสบรูมาตอยด์

บำรุงระบบประสาทและสมอง ทำให้ความจำและความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

ลดการอักเสบของโรคสะเก็ดเงินหรือโรคเรื้อนกวาง

ความสำคัญของน้ำมันปลา

            กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกมีความจำเป็นต่อการพัฒนาของจอตาและสมองของทารก แต่ทารกไม่สามารถสังเคราะห์ DHA ได้ด้วยตนเอง ต้องอาศัยจากน้ำนมแม่ โดยทารกแรกเกิดควรได้รับ DHA ไม่ต่ำกว่าวันละ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม จากการศึกษายังพบว่าเด็กที่คลอดก่อนกำหนด เมื่อได้รับนมเสริม DHA จะสามารถมองเห็นได้ชัดเร็วกว่าเด็กที่ไม่ได้รับอีกด้วย มารดาและหญิงที่ให้นมบุตรจึงควรบริโภค DHA อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกที่ได้รับ ส่งต่อไปยังลูกโดยผ่านทางรกและน้ำนม

            กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกเป็นส่วนหนึ่งของเซลล์สมองและเซลล์ประสาทซึ่งมีผลต่อ สติปัญญา หากร่างกายขาด DHA จะทำให้เซลล์สมองและเซลล์ประสาทขาดประสิทธิภาพไปด้วย เด็กในวัยนี้จึงควรได้รับ DHA ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาการเรียนรู้และการเจริญเติบโตของสมอง

            คนในวัยทำงานมักประสบความเครียดอยู่เสมอ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะร่างกายขาดDHA ในปริมาณที่เหมาะสม กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจะผ่านเข้าไปเสริมสร้างการเจริญเติบโตของปลายประสาท ของเซลล์สมอง ซึ่งทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญญาณและผ่านข้อมูลระหว่างเซลล์สมองด้วยกัน ทำให้สมองทำงานดีขึ้น หากรับประทานอาหารที่มีกรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกจำนวนมากอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สัดส่วนของ DHA ในสมองสูงขึ้น ซความเครียดจะลดลงและสมองทำงานได้ดียิ่งขึ้น

            ผู้สูงอายุจะเกิดภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ได้ง่ายกว่าคนในวัยอื่นๆโดยไม่ ทราบแน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่จากการทดลองโดยการให้กรดโดโคซาเฮ็กซาอีโนอิกแก่ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ใน ประเทศญี่ปุ่น พบว่าความสามารถในการคำนวณ ความสามารถในการตัดสินใจ และประสิทธิภาพระดับสูงของผู้ป่วยดีขึ้น โดยกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับ DHA เป็นเวลา 6 เดือนจะมีอาการที่ดีขึ้นมากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับ DHA อย่างเห็นได้ชัด

การรับประทานน้ำมันปลา

รับประทานเป็นอาหารเสริมเพื่อป้องกันโรคหัวใจ วันละ 1,000 มิลลิกรัม (1 แคปซูล) หลังอาหาร

รับประทานเพื่อรักษาโรค วันละ 3 กรัม (3 แคปซูล) หรือมากกว่านั้นตามคำแนะนำของแพทย์

            การรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการเป็นรากฐานสำคัญของการป้องกันและรักษา ภาวะโคเลสเตอรอลสูงในเลือด จึงควรเข้าใจถึงแนวทางในการบริโภคอาหารที่ถูกต้องเพื่อควบคุมระดับคอเลสเตอร อลในเลือด และต้องมีความตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติให้ได้ในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง หลีกเลี่ยงโรคร้ายต่างๆ ซึ่งมีภาวะโคเลสเตอรอลสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ เช่น โรคหลอดเลือดแดงแข็ง โรคหัวใจขาดเลือด

            หลักการบริโภคอาหารที่สำคัญเพื่อป้องกันและลดระดับโคเลสเตอรอลสูงใน เลือด ประการแรกคือ รับประทานโคเลสเตอรอลไม่เกินวันละ 300 มิลลิกรัม โคเลสเตอรอลมีเฉพาะในอาหารที่มาจากสัตว์เท่านั้น และมีมากในอาหารบางชนิด เช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ มันสัตว์ สัตว์น้ำบางชนิด จึงควรหลีกเลี่ยงรับประทานอาหารเหล่านี้ในปริมาณมาก รับประทานอาหารในแต่ละวัน ซึ่งให้พลังงานรวมแล้วเพียงพอต่อการรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยผู้ใหญ่ควรมีดัชนีความหนาของร่างกายประมาณ 20-25 กิโลกรัม/ตารางเมตร โดยคำนวณจากน้ำหนักตัว หน่วยเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร ยกกำลังสอง

            หลีกเลี่ยงรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น กะทิ ไขมันจากสัตว์ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ที่มีมันติดมากๆ เช่น หมูสามชั้น เพราะกรดไขมันอิ่มตัวส่วนใหญ่ทำให้ระดับโคเลสเตอรอลในเลือดสูงขึ้น ควรรับประทานอาหารที่ให้กรดไขมันไลโนเลอิกโดยสม่ำเสมอ ซึ่งพบได้ประมาณร้อยละ 50 ในน้ำมันพืชบางชนิด เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด ควรรับประทานอาหารที่มีกรดไขมันไลโนเลอิกประมาณร้อยละ 7-10 ของพลังงานที่ได้รับ เช่น วันหนึ่งต้องการพลังงาน 2000 กิโลแคลอรี่ ควรได้กรดไลโนเลอิกประมาณ 16-22 กรัม ซึ่งได้จากน้ำมันถั่วเหลืองประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือดได้

แหล่งข้อมูล

ประโยชน์ของน้ำมันปลา (Fish Oil)

http://www.thaihealth.or.th/healthcontent/article/17557


ภาพประกอบ
http://www.scienceinperformance.com/1/post/2012/06/fish-oil-infographic.html

วันอังคารที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย จากอย. รู้ไว้ปลอดภัยกว่า


ภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย อ้างลดน้ำหนัก และเสริมสมรรถภาพทางเพศ

อย. เตือนผู้บริโภค ระวังโฆษณาชวนเชื่อหลอกให้ซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่อวดสรรพคุณในรูปแบบต่างๆ 

เยอะมากๆ ตามไปดูได้ที่นี่ครับ

http://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/1043520272

แหล่งข้อมูล : กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค โทร 02 5907117,7123
วันที่ 16 พฤษภาคม 2555
http://www.fda.moph.go.th/www_fda/data_center/ifm_mod/nw/1043520272_ภาพผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผิดกฎหมาย_อ้างลดน้ำหนัก_และเสริมสมรรถภาพทางเพศ.pdf

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

สังเกตอาการเบื้องต้นโรคไข้เลือดออกของลูกรัก ด้วยตัวคุณแม่เอง

คาดการณ์ของกระทรวงสาธารณสุข  ปี 2556 โรคไข้เลือดออกจะระบาดรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา ท่าจะเป็นจริงเสียแล้ว เพราะจากรายงานของสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 15 พ.ค. พบจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกสะสมรวม 30,886 ราย เสียชีวิต 36 ราย กว่าร้อยละ 50 เป็นเด็กวัยเรียน จำนวนผู้ป่วยสูงกว่าปี 2555 กว่า 3 เท่าตัว 

เรามีคำแนะนำจาก  ศ.คลินิก พญ.ศิริเพ็ญ กัลยาณรุจ ศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านโรคไข้เลือดออก สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข มาให้คำแนะนำการดูแลว่าลูกรักของเราจะมีโอกาสเป็นโรคร้ายหรือไม่ ดังนี้ 

อาการเบื้องต้นโรคไข้เลือดออก
       โดยลักษณะอาการนั้นจะมีไข้สูงลอย 2-7 วัน มักไม่มีอาการไอ ไม่มีน้ำมูกไหล อาจมีอาการปวดท้อง ถ่ายเหลว ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ มีผื่นแดงตามร่างกาย มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง เลือดกำเดาไหล เลือดออกตามไรฟันผิดปกติ หรือเด็กบางรายที่มีอาการรุนแรงมากอาจมีอาการช็อก ซึ่งสังเกตได้ยาก เนื่องจากยังรู้สติดีอยู่ แต่จะดูอ่อนเพลีย ไม่มีแรง ข้อสังเกตคืออาการช็อกจะตรงกับวันที่ไข้ลง หรือไข้ต่ำลง


วิธีสังเกตอาการเบื้องต้นโรคไข้เลือดออก หากเฝ้าสังเกตและพบเห็นอาการบ่งชี้ว่า อาจเป็นอาการนำของภาวะช็อกควรรีบนำตัวเด็กเข้ารับการรักษากับแพทย์ผู้มีความเชี่ยวชาญอย่างเร่งด่วน ซึ่งมีทั้งหมด 9 อาการด้วยกัน ดังนี้
     
       1. ไข้ลงหรือไข้ลดลงแต่ยังไม่สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้ตามปกติ อาทิ เบื่ออาหาร ไม่ค่อยเล่น และอ่อนเพลีย
     
       2. คลื่นไส้ อาเจียน ตลอดเวลา
     
       3. ปวดท้องมาก
     
       4. มีเลือดออกมาก เช่น เลือดกำเดาไหล อาเจียน หรือถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ
     
       5. พฤติกรรมของเด็กเปลี่ยนไปจากปกติ
     
       6. กระหายน้ำตลอดเวลา
     
       7. ร้องกวนมากในเด็กเล็ก
     
       8. ตัวเย็นชื้น สีผิวคล้ำลง หรือตัวเป็นลายๆ

รูปประกอบ: จุดเลือด ตามผิวหนัง
     
       
9. ปัสสาวะน้อยลง หรือไม่ถ่ายปัสสาวะนานเกิน 4-5 ชั่วโมง


วิธีในการเตรียมความพร้อมก่อนไข้เลือดออกระบาดหนัก 
ต้องช่วยกันกำจัดยุงลายซึ่งเป็นแหล่งแพร่เชื้อไข้เลือดออก 


  • ด้วยการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายตามภาชนะที่มีน้ำขังที่อยู่ในบ้านหรือรอบๆ บ้าน 
  • รวมถึงต้องป้องกันและดูแลเด็กให้ห่างไกลโรคไข้เลือดออกด้วย โดยการใส่เสื้อผ้าแขนยาวและกางเกงขายาว หรือนอนหลับในห้องที่ติดมุ้งลวดมิดชิด 
  • ทาสารกันยุงที่ปลอดภัย เช่น ตะไคร้หอม 
  • ระดับครัวเรือนควรกำจัดแหล่งน้ำขังตามสถานที่ต่างๆ อาทิ อุปกรณ์ในครัวเรือนและอุปกรณ์ซักล้างควรคว่ำหรือปิดฝาให้เรียบร้อย เปลี่ยนน้ำรองขาโต๊ะหรือในแจกันทุกสัปดาห์ หรือผสมเกลือ 
  • หรือตรวจสอบรอบบริเวณบ้าน รางระบายน้ำบนหลังคาว่ามีแอ่งขังน้ำหรือไม่ 
  • และการป้องกันในระดับชุมชน ต้องร่วมมือกันในการรณรงค์กำจัดแหล่งน้ำขังภายในชุมชนปีละ 2-3 ครั้ง หรือพ่นยาฆ่าแมลงในเขตชุมชนปีละ 2-4 ครั้ง เป็นต้น

       
 ลงมือทำเถิดครับ เพื่อป้องกันเด็กน้อยและผู้ใหญ่ ให้ห่างไกลจากโรคไข้เลือดออกนี้

แหล่งข้อมูล 

เช็ก 9 สัญญาณอันตราย ก่อนโรคไข้เลือดออกระบาด, http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000062759

รูปประกอบ 
http://www.lampangcity.go.th/detail_news_infomation.php?id=2758

ยาลดความอ้วน Phentermine ใช้อย่างไรให้ปลอดภัยและได้ผล



โรคอ้วนเป็นโรคเรื้อรังที่จำเป็นต้องได้รับการรักษา เนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนในระยะยาวได้ เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง หรือโรคเบาหวาน  

การรักษาโรคอ้วนสามารถทำได้โดยการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยา การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการผ่าตัด  ปัจจุบันพบว่าการรักษาด้วยวิธีการรับประทานยานั้นเป็นที่นิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในวัยรุ่นหรือผู้หญิงที่มีค่านิยมในการอยากผอม การใช้ยาลดความอ้วนอย่างถูกต้องเป็นวิธีที่เห็นผลเร็วและมีประสิทธิภาพดี  แต่ในปัจจุบันมีการใช้ยาลดความอ้วนอย่างผิดๆ ทั้งจากบุคลากรทางการแพทย์ซึ่งขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในกลไกการออกฤทธิ์ อาการข้างเคียง และวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง รวมถึงประชาชนบางกลุ่มที่ไปแสวงหายาลดความอ้วนมาใช้โดยไม่ได้ศึกษาข้อมูลหรือตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับตนเองจากการใช้ยาซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพตามมาเป็นอย่างมาก

อย่างไรจึงเรียกว่า“อ้วน”
มาตรฐานสำคัญที่ใช้บ่งชี้ว่าบุคคลใดมีภาวะอ้วนหรือไม่นั้น ในปัจจุบันนิยมใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index; BMI) ซึ่งคำนวณได้จาก
    
ดัชนีมวลร่างกาย (BMI) = น้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัม
                                  (ส่วนสูงเป็นเมตร) 2

หลังจากนั้นจึงนำค่า BMI ที่คำนวณได้มาแปลผล ดังนี้
ภาวะ
ค่าที่คำนวณได้
ผอม
ต่ำกว่า18.5
ปกติ
18.5 - 23
น้ำหนักเกิน รูปร่างท้วม
23 – 27.5
อ้วน
27.5 ขึ้นไป
       หมายเหตุ- การคำนวณวิธีนี้ ไม่ใช้กับเด็กที่กำลังเจริญเติบโต สตรีมีครรภ์ และนักกีฬา

นอกจากนี้ยังมีมาตรฐานอีกชนิดหนึ่งที่ใช้บ่งชี้ถึงความอ้วนได้ คือ เส้นรอบเอว (waist circumference) ซึ่งมาตรฐานรอบเอว (waist circumference) สำหรับคนไทย คือ
- ผู้ชายไม่ควรเกิน 36 นิ้วหรือ 90 ซม.
- ผู้หญิงไม่เกิน 32 นิ้ว หรือ 80 ซม.

วิธีการวัดเส้นรอบเอว ควรวัดรอบพุงให้ทำในช่วงเช้า ขณะยังไม่ได้รับประทานอาหาร
ตำแหน่งที่วัดไม่ควรมีเสื้อผ้าปิด โดยมีรายละเอียดดังนี้
  1. อยู่ในท่ายืน
  2. ใช้สายวัด วัดรอบเอวโดยวัดผ่านสะดือ
  3. วัดในช่วงหายใจออก(ท้องแฟบ) โดยให้สายวัดแนบกับลำตัวไม่รัดแน่นและ ให้ระดับของสายวัดที่วัดรอบเอววางอยู่ในแนวขนานกับพื้น

ยาชุดลดความอ้วน : ใช้ผิดมีสิทธิ์ตาย
จากการสำรวจของกองควบคุมวัตถุเสพติดพบว่ายาชุด “ยาลดน้ำหนัก” หรือ “ยาลดความอ้วน” มักจะประกอบไปด้วยยาหลายชนิดเพื่อช่วยเสริมผลในการลดน้ำหนัก เช่น ยาลดความอยากอาหาร ชื่อ เฟนเทอร์มีน (phentermine) ยาธัยรอยด์ฮอร์โมน ยาขับปัสสาวะ และยาระบาย ซึ่งยาเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงได้หากมีการใช้ผิดวิธี เช่น

- การใช้ยาขับปัสสาวะเป็นการลดน้ำหนักโดยทำให้ปริมาณน้ำในร่างกายลดลงเท่านั้น ซึ่งผลเสียคือ ร่างกายสูญเสียแร่ธาตุที่จำเป็นในการทำงานของร่างกายออกไปกับปัสสาวะด้วย ทำให้มีอาการผิดปกติของหัวใจ-สมองซึ่งทำให้หัวใจวายหรือหมดสติได้

- การใช้ยาธัยรอยด์ฮอร์โมนเพื่อเพิ่มอัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย มีผลทำให้เพิ่มการทำลายโปรตีนของกล้ามเนื้อ ใจสั่น หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นต้น

- ยาลดความอยากอาหาร “เฟนเทอร์มีน”(phentermine) เป็นยาที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลางและมีผลทำให้เกิดอาการติดยาได้ ดังนั้นจึงถูกจัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทประเภทที่ 2 ซึ่งต้องมีการควบคุมการซื้อขายไว้สำหรับโรงพยาบาลหรือคลินิกเพื่อจ่ายให้กับผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยอย่างเหมาะสมแล้วเท่านั้นซึ่ง phentermine มีข้อบ่งชี้ในการรักษาโรคอ้วนโดยตรงแต่ให้ใช้ในระยะสั้นเท่านั้น เช่น ไม่ควรเกิน 3-6 เดือน ข่าวเกี่ยวกับการเสียชีวิตจากการรับประทานยา phentermine ยังคงมีให้เห็นอยู่เป็นระยะและไม่มีทีท่าว่าจะหมดไป

Phentermine เป็นยาลดความอ้วนที่ใช้เสริมกับวิธีการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม โดย phentermine จะทำหน้าที่ลดการทำงานของศูนย์ควบคุมความหิวบริเวณด้านข้างของสมองส่วนไฮโปธาลามัส ทำให้มีการเพิ่มปริมาณสารสื่อประสาท 2 ชนิด คือ นอร์อีพิเนฟริน (norepinephrine; NE) และ โดปามีน (dopamine; DA)ถที่สมอง จึงมีผลทำให้ลดความอยากอาหารลงอย่างมาก อย่างไรก็ดีสารสื่อประสาทเหล่านี้นอกจากจะส่งผลกระทบต่อความอยากอาหารแล้วยังส่งผลกระทบอื่นๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพชีวิตได้ เช่น ทำให้นอนไม่หลับ กระวนกระวาย มีอาการเคลิ้มฝัน ปวดศีรษะ ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ ปากแห้ง เหงื่อออก คลื่นไส้ ท้องผูก มองเห็นภาพไม่ชัด มองเห็นสีผิดปกติไปจากเดิม และผลจากการเพิ่มสารสื่อประสาทโดปามีนอาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อจิตประสาท เช่น หงุดหงิด หวาดระแวง หูแว่ว เห็นภาพหลอน และเกิดอาการติดยาได้

เมื่อรับประทานยา phentermine ติดต่อกันไประยะหนึ่ง อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการซึมเศร้าได้ และอาจรับประทานยามากกว่าเดิม เนื่องจากยาไปมีผลทำให้ระดับ NE และ DA ลดน้อยลงอย่างมาก ซึ่งผู้ป่วยบางรายอาจเกิดภาวะเบื่ออาหารอย่างมาก (anorexia)จนทำให้ภูมิต้านทานลดลงจากการขาดสารอาหาร ซึ่งอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้

 นอกจากนี้ ในกรณีที่หยุดรับประทานยาผิดวิธีก็อาจทำให้เกิดภาวะถอนยาได้อีกเช่นกัน ซึ่งอาการถอนยาที่เกิดขึ้น ได้แก่ มีอาการอ่อนเพลีย ง่วงซึม ไม่มีแรง ซึมเศร้า และหลับเป็นเวลานาน จะเห็นได้ว่าการใช้ phentermine ผิดวิธีสามารถก่อให้เกิดปัญหาได้มากและมีมอันตรายสูง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีปัญหาสุขภาพอยู่แล้ว เช่น
- ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ
- ผู้ป่วยที่มีโรคหลอดเลือดอุดตัน
- ผู้ป่วยโรคต้อหิน (glaucoma)
- ผู้ป่วยที่มีภาวะต่อมธัยรอยด์ทำงานมากเกิน
- ผู้ป่วยที่เคยมีประวัติการใช้ยาในทางที่ผิด
- ผู้ป่วยที่มีประวัติเป็นโรคจิต หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ
- ผู้ป่วยขณะที่กำลังได้รับยากลุ่ม  monoamine oxidase inhibitors (MAOI)รวมทั้งที่         เคยได้รับ  MAOI  มาก่อนหน้านี้ไม่เกิน  14  วัน

ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้ถือเป็นข้อห้ามใช้ของยา phentermineเนื่องจากผลข้างเคียงจากยาจะมีผลทำให้โรคประจำตัวของผู้ป่วยมีสภาวะเลวลง

 ดังนั้นการไปหาซื้อยาชุดหรือยาลดความอ้วนมาใช้เอง ทั้งจากคลินิกและสถานเสริมความงามที่ไม่มีแพทย์ที่มักไม่มีการตรวจร่างกายผู้ป่วยอย่างละเอียด รวมถึงจากร้านขายยาที่ลักลอบนำมาขาย อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

การใช้ยา phentermine ที่ถูกต้องเป็นอย่างไร ?
          1. ไม่มีการไปแสวงหายานี้มาใช้โดยไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง
          2. แพทย์ต้องเป็นผู้ที่สั่งจ่ายเท่านั้น และยานี้ห้ามจำหน่ายในร้านยา
          3. แพทย์ควรประเมินว่าผู้ป่วยมีความจำเป็นจะต้องได้รับยาลดความอ้วนหรือไม่
             โดยอ้างอิงตามเกณฑ์ข้อบ่งใช้ของยาลดความอ้วน คือ
- BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 30 กก/ม2
- BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 27 กก/ม2 ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงเช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูงผิดปกติ
4. ถ้าผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับการรักษาโดยการใช้ยาลดความอ้วน ผู้ป่วยต้องไม่มีข้อห้าม
    ของการใช้ยา phentermine
5. ควรเริ่มด้วยขนาดยาต่ำๆ ก่อน เช่น 7.5 mg ในตอนเช้า ไม่เกิน 9.00 น. เพราะถ้าใช้
   ยาในช่วงกลางวันอาจทำให้นอนไม่หลับได้ จากนั้นจึงค่อยๆ เพิ่มขนาดยาขึ้นเป็น 15
   mg อย่างช้าๆ
6. มีการติดตามผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น
7. ไม่ควรใช้ยานี้ติดต่อกันนานเกิน 3 เดือน เพราะมีโอกาสทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้
8. ต้องระวังปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเกิดขึ้นได้กับ phentermine

ข้อมูลจากการศึกษาและคำแนะนำจากองค์กรต่างๆ เช่น องค์การอนามัยโลก (WHO) หรือ องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USFDA) แนะนำให้ใช้ phentermine ในระยะสั้นเท่านั้น (ไม่เกิน 3เดือน) และต้องมีความระมัดระวังในการรับประทานอาหารหรือยาอื่นๆ ร่วมกับ phentermine เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา หรือที่เรียกว่า “ยาตีกัน” และส่งผลให้ผู้ที่รับประทานได้รับอันตรายจากผลข้างเคียงหรือความเป็นพิษของยาได้ในที่สุด

การรักษาโรคอ้วนที่ดี ประหยัด และปลอดภัยที่สุด คือ การลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารอย่างถูกวิธี การออกกำลังกาย และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่ปัจจัยหลายประการ เช่น การตามใจปาก ความเกียจคร้าน ภาระงานที่รัดตัว การขาดความมั่นใจในรูปร่าง ทำให้ผู้ที่มีปัญหาโรคอ้วนไม่มีเวลา หรือไม่กล้าที่จะปฏิบัติตามวิธีการรักษาดังกล่าว ทำให้การใช้ยาลดความอ้วนเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับบุคคลเหล่านั้น อย่างไรก็ดีแม้ว่าการใช้ยาลดความอ้วนจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพดีและเห็นผลเร็ว แต่ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้นก่อนตัดสินใจรับประทานยาลดความอ้วนหรือยาใดๆ ตาม ควรศึกษาวิธีการใช้ยาที่ถูกต้องและข้อมูลความปลอดภัยของยาจากเภสัชกร หรือเข้ารับคำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสมจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ทางด้านอายุรศาสตร์โรคต่อมไร้ท่อ หรือโภชนวิทยา จะช่วยให้เกิดความปลอดภัยจากการใช้ยาได้มากที่สุด

Reference:
  1. Phentermine. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2010 Jan 13. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2010. [cited 2010 Feb 3].
  2. กองควบคุมวัตถุเสพติด. โรคอ้วนและปัญหาการใช้ยาลดความอ้วนในประเทศไทย[Online]. [cited 2010 Feb 3]. Available from: URL:http://www.fda.moph.go.th/youngfda/knowledge/page5.shtm
  3. ข้อควรรู้เกี่ยวกับ ยาลดความอ้วน Phentermine: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล,http//www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id
  4. ภาพประกอบจาก http://www.steadyhealth.com/4542/Image/phentermine_main.jpg

วันศุกร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

เตือนภัย ดื่มน้ำด่างต้านมะเร็งที่ไม่ถูกส่วน อันตรายสุดๆ


แจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับ “การดื่ม น้ำด่าง” 
โดยเฉพาะ น้ำด่างเข้มข้น บรรจุขวด เนื่องจากหากผสมสัดส่วนไม่ดีจะมีคุณสมบัติกัดกร่อน ระคายเคืองจนปาก หลอดอาหาร กระเพาะลำไส้ ไหม้เป็นแผลเป็นได้ รวมทั้งยังไม่มีข้อสรุปทางการแพทย์ที่ยืนยันคุณสมบัติการรักษาโรค มะเร็ง ของ น้ำด่าง แต่อย่างใด


ทีมงาน ได้ขอข้อมูลจากแพทย์ที่แจ้งข่าว และได้ศึกษาเพิ่มเติมพบว่า น้ำด่างเข้มข้น ที่เป็นปัญหามีผู้ป่วยหลายรายหลงเชื่อดื่มเข้าไปจนต้องเข้ารับการรักษานั้น ขวดมีลักษณะดังในภาพ
น้ำด่างเข้มข้นต้านมะเร็งน้ำด่างเข้มข้นต้านมะเร็ง
และเมื่อทดสอบความเป็นกรดด่างแล้ว มีค่า PH 12 ซึ่งมีความเป็นด่างใกล้เคียงกับโซดาไฟ (PH 13) ซึ่งโซดาไฟมีฤทธิ์กัดกร่อนอย่างไร คงจะเข้าใจได้ไม่ยาก โดยบรรยายว่าทำจากการบ่มน้ำขี้เถ้าไม้เนื้ออ่อนตามธรรมชาติ
ข้างขวดแนะนำให้ผสม “น้ำด่างเข้มข้น” นี้กับน้ำเปล่าเพื่อเจือจางก่อนดื่ม แต่ก็พบว่า ค่า PH เท่ากับ 9 (และถ้าต้องการเครื่องดื่มทีมี PH ประมาณ 9 ก็สามารถดื่มชาก็ได้)
ค่า ph กรด ด่างค่า ph กรด ด่าง
(ค่าชาร์ทแสดงกรดด่างของ อาหาร สิ่งของต่างๆ ดัดแปลงจาก http://adrianasassoon.wordpress.com)
ทั้งนี้เนื่องจากกระแสของน้ำด่าง ที่หลายๆคนเรียกเป็นสินค้าใหม่ว่า Alkaline water อ้างว่าสามารถ ต้านมะเร็ง ปรับสมดุลกรดในร่างกาย ล้างลำไส้ ช่วยการดูดซึมอาหาร ชะลอความแก่ ซึ่งในต่างประเทศก็มีการถกเถียงคัดค้านเช่นกัน
โดยที่กระแสนี้ มาจากแนวทางความรู้ที่ว่าเซลส์มะเร็งจะเติบโตได้ดีในสภาพกรด เช่น กินเนื้อสัตว์มากๆ ท้องผูกมีของเสียในร่างกาย อั้นปัสสาวะไว้ (ปัสสาวะเป็นกรด) การทานอาหารรสหวาน (จะถูกย่อยเป็นสารอาหารฤทธิ์เป็นกรด) และแนะนำว่า พวกเราควรประพฤติตัวเพิ่มความสมดุล ด้วยการเพิ่มด่างให้แก่ร่างกาย คือ การออกกำลังกาย (เพื่อหายในเอาออกซิเจนเข้าไป) ไม่อั้นปัสสาวะ ทานผักมากๆ (เป็นด่าง) และรักษาสุขภาพจิตให้ดี
ดังนั้น จึงมีคนเกาะกระแสทำ น้ำด่างเข้มข้น เพื่อขายให้ดื่ม (และแนะนำว่าให้ดื่มแบบเจือจางก่อน) ส่วนต่างชาติก็โหมกระแส น้ำด่าง สำหรับดื่มเช่นกัน (แต่เป็นน้ำด่างที่บ่มจาก สารประกอบแคลเซียม และโพแทสเซียม) โดยอ้างว่ามี PH ประมาณ 8-9 รวมทั้งขายเครื่องทำน้ำด่างไว้ดื่มเอง
ทั้งนี้ ทีมแพทย์ดังกล่าวได้ เสนอผลสรุปวิจัยจากแพทย์ต่างชาติซึ่งบอกว่า
•    เลือดของคนเรามีค่า PH ประมาณ 7-7.4  ซึ่งมีความเป็นด่างอ่อนๆอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเพิ่มความด่างให้แก่เลือดอีก
•    กระเพาะของคนเรามีค่าเป็นกรด เพื่อย่อยอาหาร การเจือจางน้ำย่อยด้วยด่างก็ยิ่งทำให้ย่อยไม่ดี แต่ถึงอย่างไร ร่างกายจะพยายามปรับสมดุลจนน้ำย่อยทำงานได้
•    และสุดท้าย เมื่อไปถึงลำไส้ น้ำย่อยจากตับอ่อน มีค่าเป็นด่างอยู่แล้วอยู่ดี
ถึงแม้ไม่ได้ดื่มน้ำด่างใดๆ แค่น้ำเปล่าปกติ พอถึงลำไส้ก็เป็นด่าง ซึมเข้ากระแสเลือดเป็นเป็นด่างอยู่แล้ว
และยืนยันว่า การรับประทานอาหารให้สมดุลครบห้าหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารทอด ปิ้ง ย่าง ออกกำลังกายอย่างเพียง พักผ่อนเพียงพอและไม่เครียด ก็สามารถต่อต้านโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว (ส่วน  ผัก ผลไม้ สีแดง สีเหลือง และข้าวกล้อง ต้านมะเร็งก็มีส่วนที่เป็นความจริง และกระทำได้โดยไม่มีพิษภัย)

กราบขอบพระคุณแหล่งข้อมูล
เรียบเรียงโดย ทีมข่าว Mthai
อ้างอิงข้อมูลจาก
  • Building strong muscles can lead to strong bones. Dr. Gabe Mirkin, Special to the Washington Times, 9 March 2003, The Washington Times.
  • Snake oil and water.(Chemfusion) Schwarcz, Joe, 1 April 2010, Canadian Chemical News.
  • The Healthy Skeptic; It’ll quench your thirst, of course; But whether ionized water can slow aging and fight disease is another matter. Chris Woolston, 22 January 2007, Los Angeles Times.
  • Is alkaline water better for you than plain water?, Katherine Zeratsky, R.D., L.D., http://www.mayoclinic.com/health/alkaline-water/AN01800
  • Alkaline Water: Is It Better for Your Body?http://goaskalice.columbia.edu/alkaline-water-it-better-your-body

    รูปประกอบมาจาก
    น้ำด่างมีคุณประโยชน์ทางการแพทย์หรือไม่???
    โดย นส.ภ.สุวัฒนา พาจะโปะ
    http://www.slideshare.net/UtaiSukviwatsirikul/jc-ppt

วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

จะรู้ได้อย่างไร ว่าเราควรตรวจค้นหามะเร็ง???


คำว่า "มะเร็ง" เป็นโรคที่พามาทั้งอาการโรคทางกายและความเกรงกลัวทางจิตใจ 


จะดีไหม ถ้าเรากังวลในโรคนี้และมีแนวคิดมาช่วยเราตัดสินใจ ถึงเวลาที่เราต้องตรวจค้นหามะเร็งในระยะเริ่มแรกๆ เสียทีมาแนะนำกัน และถ้าต้องรับการตรวจจริงๆขึ้นมาละก้อ จะมีขบวนการตรวจอย่างไรบ้าง??? มาแบ่งปันกัน เพื่อลดความกังวลและช่วยชีวิตเราให้รอดพ้นจากโรคร้ายนี้

โรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบในระยะเริ่มแรก
การตรวจสุขภาพทั่วไปในผู้ที่มีอาการปกติ เพื่อค้นหาความผิดปกติของร่างกาย ซึ่ง อาจเกิดขึ้นได้อย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะโรคมะเร็ง ทั้งนี้เพื่อหวังผลในการรักษา เนื่อง จากโรคมะเร็งสามารถรักษาให้หายขาดได้ หากพบในระยะเริ่มแรก หรือยิ่งพบโรคได้ เร็วเพียงใด ชีวิตก็ปลอดภัยมากขึ้นเพียงนั้น 

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก มีหลักการดังนี้ 
1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด
2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด
3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการ

1. การสอบถามประวัติโดยละเอียด 
มีความสำคัญเนื่องจาก อาจเป็นแนวทางเบื้องต้นที่ช่วยในการวินิจฉัยได้ เช่น

1.1 ประวัติครอบครัว
มะเร็งส่วนใหญ่ไม่ใช่โรคที่สืบเนื่องโดยตรงเกี่ยวกับ พันธุกรรม แต่มีมะเร็งบางอวัยวะมี ความโน้มเอียงที่จะเกิดในพี่น้องครอบครัวเดียวกัน เช่น มะเร็งตาบางชนิด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ เป็นต้น

1.2 ประวัติสิ่งแวดล้อม
มีข้อสังเกตว่าสิ่งแวดล้อมบางอย่างเป็นเหตุส่งเสริม ให้เกิดโรคมะเร็งบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสารกัมมันตภาพรังสีเป็นระยะเวลานาน ๆ อาจเป็นโรคมะเร็ง เม็ดเลือดขาวมากกว่าผู้ที่ประกอบอาชีพอื่น

1.3ประวัติส่วนตัว
อุปนิสัยและพฤติกรรมส่วนตัวของแต่ละบุคคลก็อาจเป็น เหตุสนับสนุนให้เกิดโรคมะเร็ง บางอย่าง เช่น
- ผู้ที่สูบบุรี่มาก ๆ เป็นระยะเวลานาน ๆ จะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอด มากกว่า ผู้ที่ไม่สูบ บุหรี่
- ผู้ที่มีประวัติการร่วมเพศตั้งแต่อายุน้อย มีประวัติสำส่อนทางเพศ , มีบุตรมากจะเป็น มะเร็งปากมดลูกได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยแต่งงาน
- ท้องอืด เบื่ออาหาร ผอมลงมาก
- เสียงแหบอยู่เรื่อย ๆ ไอเรื้อรัง
- หูด หรือปานที่โตขึ้นผิดปกติ
- การเปลี่ยนแปลงในการถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดไปจากปกติ

1.4 ประวัติเกี่ยวกับอาการเจ็บไข้ต่าง ๆ
- เป็นตุ่ม ก้อน แผล ที่เต้านม ผิวหนัง ริมฝีปาก กระพุ้งแก้มหรือที่ลิ้น
- ตกขาวมาก หรือมีเลือดออกทางช่องคลอดผิดปกติ
- เป็นแผลเรื้อรังไม่รู้จักหาย 


2. การตรวจร่างกายโดยละเอียด 
ช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ แต่ในทางปฏิบัติ แพทย์ไม่สามารถจะตรวจร่างกายได้ ทุกอวัยวะ ทุกระบบโดยครบถ้วน จึงมีหลักเกณฑ์ว่า ในการตรวจร่างกายทั่วไปเพื่อตรวจ หามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้น ควรตรวจอวัยวะต่างๆ เท่าที่สามารถจะตรวจได้ ดังนี้ 
- ผิวหนัง และเนื้อเยื่อบางส่วน 
- ศีรษะ และคอ 
- ทรวงอก และเต้านม 
- ท้อง 
- อวัยวะเพศ 
- ทวารหนัก และลำไส้ใหญ่ส่วนล่าง

3. การตรวจทางห้องปฏิบัติการและการตรวจอื่น ๆ 

3.1 การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ช่วยในการตรวจค้นหา การวินิจฉัย การรักษา รวมทั้งการติดตามผลการรักษา โรคมะเร็งด้วย ได้แก่
- การตรวจเม็ดเลือด
- การตรวจปัสสาวะ , อุจจาระ
- การตรวจเลือดทางชีวเคมี

3.2 การตรวจเอ๊กซเรย์
มีประโยชน์ในการวินิจฉัยและรักษาโรคมะเร็งบางชนิด ซี่งมีวิธีการหลายอย่างเช่น
- การเอ๊กซเรย์ปอด
เป็นวิธีการพื้นฐานอย่างหนึ่ง ในการตรวจสุขภาพ

- การเอ๊กซเรย์ทางเดินอาหาร
ทำในรายที่มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินอาหาร

- การตรวจเอ๊กซเรย์เต้านม
เป็นการตรวจลักษณะความผิดปกติที่เต้านม


3.3 การตรวจทางเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 
หลักสำคัญในการตรวจคือ ให้ผู้ป่วยกลืน , ฉีดสารกัมมันตภาพรังสีบางชนิด สารดังกล่าว จะไปรวมที่อวัยวะบางส่วน แล้วถ่ายภาพตรวจการกระจายของสารกัมมันตภาพรังสีนั้น ๆ เช่น การตรวจเนื้องอกของต่อมไทรอยด์ ,สมอง , ตับ , กระดูก เป็นต้น 

3.4 การตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ 
เพื่อดูลักษณะเยื่อบุภายในของอวัยวะบางอย่าง เช่นหลอดลม หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ เป็นต้น 

3.5 การตรวจทางเซลล์วิทยา และพยาธิวิทยา
การตรวจทางเซลล์วิทยา เป็นวิธีการตรวจหา มะเร็งระยะเริ่มแรกของอวัยวะต่าง ๆ เช่น
- การขูดเซลล์จากเยื่อบุอวัยวะบางอย่างให้หลุดออกมา เช่น ปากมดลูก , เยื่อบุช่องปาก เป็นต้น
- เก็บเซลล์จากแหล่งที่มีเซลล์หลุดมาขังอยู่ เช่น ในช่องคลอด ในเสมหะ 

3.6 การตรวจเนื้อเยื่อทางพยาธิวิทยา 
เป็นการตรวจที่สำคัญที่สุดในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง โดยการตัด เนื้อเยื่อจากบริเวณที่ ่สงสัย ส่งตรวจละเอียดโดยกล้องจุลทรรศน์ อนึ่ง โรคมะเร็งอาจเกิดกับอวัยวะต่างๆ กัน มะเร็งบางอวัยวะอาจตรวจวินิจฉัยได้ง่าย บางอวัยวะตรวจได้ยาก แต่มีข้อสังเกตว่า มะเร็งที่พบได้บ่อย ๆ ในประเทศของเรา เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเต้านม มะเร็งช่องปาก เป็นโรคที่ตรวจวินิจฉัยได้ไม่ยาก ถ้าสนใจตรวจสุขภาพเป็นประจำ 
ประโยชน์ของการตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก 

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรกนั้นมีประโยชน์ เพราะมะเร็งระยะเริ่มต้น การรักษา ได้ผลดีมาก และเป็นการป้องกัน มิให้ผู้ป่วยเป็นโรคมะเร็งระยะลุกลาม ซึ่งจะเป็น อันตรายแก่ชีวิตได้

แหล่งข้อมูล

การตรวจค้นหามะเร็งระยะเริ่มแรก, สถาบันมะเร็งแห่ง ชาติ,

http://www.nci.go.th/th/Knowledge/firststep.html เป็น website ที่ให้ความรุ้เรื่องโรคมะเร็งได้ดีมาก อยากให้ทุกท่านแวะไปค้นหาความรู้ ด้วยตัวเราเองนะครับ


ภาพประกอบ 
http://trialx.com/curetalk/2011/11/faqs-about-the-latest-psa-screening-test-recommendations/

สงสัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม จะรู้ได้อย่างไร???



จากข่าวดาราดังแองเจลีน่า โจลี่ ที่สมัครใจเข้าไปตรวจคัดกรองความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งทรวงอก และรับเข้ารับการผ่าตัดทรวงอก เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งนั้น 

คุณผู้หญิงคงอยากรู้แล้วหล่ะว่า มะเร็งเต้านมคือโรคอะไร ใครบ้างมีโอกาสเป็น เราจะสังเกตและดูแลตัวเองอย่างไรดีเพื่อให้รู้ไว้เพื่อป้องกันตนเองต่อไป  


ก้อนที่เต้านม ไม่เจ็บสิน่ากลัว 
              บ่อยครั้งสาเหตุที่คนไข้มาหาหมอ มาจากก้อนที่เต้านมเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ อาการเจ็บเต้านม ผู้หญิงส่วนใหญ่เมื่อมีอาการเจ็บเต้านม มักจะเริ่มสังเกตและคลำที่เต้านม ส่วนหนึ่งจะพบก้อนร่วมด้วย อีกส่วนหนึ่งไม่พบก้อนหรือไม่แน่ใจ แต่มักจะลงเอยด้วยการพบหมอหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มั่นใจว่าไม่เป็นมะเร็งเต้านม ซึ่งมักจะมาพบหมอค่อนข้างเร็ว ผิดกับผู้ที่มีก้อนที่เต้านม คลำได้ แต่ไม่รู้สึกเจ็บ มักจะปล่อยเอาไว้เพราะคิดว่าไม่เป็นไร


รูปประกอบ: อาการเริ่มต้นของมะเร็งเต้านม
จาก http://th.wikipedia.org/wiki/มะเร็งเต้านม

ซีสมักจะเจ็บ ส่วนมะเร็งมักจะไม่เจ็บ
               ในบรรดาก้อนที่เต้านมนั้น มีโรคกลุ่มหลัก ๆ อยู่ กลุ่ม คือ 1) ซีสเต้านม 2) เนื้องอกเต้านม (ไม่ร้าย) 3) มะเร็งเต้านม ซีสที่เต้านมจะมีการเปลี่ยนแปลงตามรอบเดือน โตก่อนรอบเดือนมาและเล็กลงหลังรอบเดือนมาแล้ว ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่มีซีส มักจะเจ็บที่ก้อน ซึ่งผิดกับกลุ่มเนื้องอกหรือมะเร็ง ซึ่งมักจะไม่ค่อยเจ็บ พบว่าร้อยละ 90 ของคนที่เป็นมะเร็งเต้านม ระยะเริ่มแรกจะมีแต่ก้อน ไม่มีอาการเจ็บ ผู้หญิงหลายๆ คนมีความเข้าใจผิดคิดว่าก้อนที่ไม่เจ็บคงไม่เป็นไรและปล่อยทิ้งไว้จนกระทั่งก้อนมะเร็งใหญ่โตขึ้นมากแล้วจึงรู้สึกเจ็บได้


มะเร็งเต้านมพบได้บ่อยแค่ไหน
                แนวโน้มคนไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งสูงขึ้นทุกปี ซึ่งกว่าร้อยละ70 ของโรคมะเร็ง เกิดจากสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นสภาพอากาศที่เปลี่ยนไป มีมลภาวะเพิ่มมากขึ้น สารพิษที่ปนเปื้อนมากับอาหาร รวมถึงความเครียดภายในจิตใจ จากอุบัติการณ์ในการเกิดโรคมะเร็ง โดยเฉลี่ยแล้วทุก ๆ 3 ชั่วโมง จะพบว่าผู้หญิงไทยป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม คน และพบว่ามีอัตราการเสียชีวิตถึงร้อยละ 30 ของการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ทั้งนี้อัตราการพบมะเร็งเต้านมในแต่ละประเทศไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับเชื้อชาติและวิถีการดำเนินชีวิต เช่น ในประเทศตะวันตก พบมะเร็งเต้านมได้มากกว่า 100 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ แสนคน ส่วนในเอเชียพบน้อยกว่า ข้อมูลจากสำนักระบาดวิทยาของไทยที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารระบาดวิทยาระดับโลก พบว่าหญิงไทยมีอัตราการพบมะเร็งเพียง 40 คน ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ 1แสนคน ซึ่งถ้าเทียบเป็นร้อยละก็เพียง 0.04  ซึ่งนับว่าน้อยมาก 

ใครบ้างที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
                 อายุ ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่สุดต่อการเป็นมะเร็งเต้านม พบว่ายิ่งอายุมากขึ้นโดยเฉพาะสตรีวัย 60 ปีขึ้นไป ยิ่งมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึงร้อยละ 50 – 60 รองลงมาคือการเคยผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านม และพบว่าเป็นซีสเต้านมชนิดที่เริ่มผิดปกติ (atypia) และการพบว่ามีญาติสนิท(แม่ พี่สาว น้องสาว หรือลูก) เป็นมะเร็งเต้านมมากกว่า 2คน รวมถึงปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความเสี่ยงเพียงเล็กน้อย ได้แก่ การเริ่มมีประจำเดือนมาครั้งแรกตั้งแต่อายุยังน้อย การหมดประจำเดือน (วัยทอง) ช้า การไม่มีบุตร  หรือมีบุตรยาก และการที่เคยใช้ยากลุ่มฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือนติดต่อกันเป็นเวลานานมากกว่า 10 ปี เป็นต้น



สงสัยว่าเป็นมะเร็งเมื่อไร 
                   ดังได้กล่าวมาแล้ว มะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บหรือปวด (มีเพียงร้อยละ10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มาพบหมอด้วยอาการปวดเต้านม) แต่จะคลำพบก้อนที่เต้านมสังเกตถ้าก้อนที่เป็นมะเร็งเต้านมมักจะแข็งและขรุขระ แต่อาจเป็นก้อนเรียบๆ ได้  อาการอื่น ๆ อาจพบผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปคล้ายลักยิ้ม หรือมีรูปร่างของเต้านมผิดไปจากเดิม หรืออาจมีแผลที่หัวนมและรอบหัวนม หรือมีน้ำเหลืองหรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม บางรายคลำพบก้อนบริเวณรักแร้ และนานๆ ครั้งจะพบมะเร็งเต้านมที่มีอาการบวมแดงคล้ายการอักเสบที่เต้านม นอกจากอาการผิดปกติที่เต้านมแล้ว การตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมแกรม(mammogram) และ อัลตราซาวด์ (ultrasound) ยังสามารถตรวจพบมะเร็งเต้านมขนาดเล็กตั้งแต่ยังไม่มีอาการได้ โดยอาจพบก้อน หรือจุดหินปูนในเนื้อเต้านมได้  

ตรวจเลือดและยีน (gene)  บอกได้ไหมว่าเป็นมะเร็งเต้านม
                   การตรวจเลือดเพื่อหามะเร็งเต้านมนั้น  มีความแม่นยำค่อนข้างต่ำ เนื่องจากผู้ที่เป็นมะเร็งเต้านมจะพบผลการตรวจเลือดเกี่ยวกับมะเร็ง เช่น CA153, CEA ผิดปกติน้อยกว่าร้อยละ 20 ขณะเดียวกันผู้ที่มีผลเลือดปกติ ก็อาจเป็นมะเร็งเต้านมอยู่แล้ว 
                  ส่วนการตรวจยีน เช่น gene BRCA1, BRCA2 ซึ่งจะมีความผิดปกติในมะเร็งเต้านมที่เป็นกันทั้งครอบครัว หากตรวจพบก็ไม่ได้หมายความว่า กำลังเป็นมะเร็งอยู่ เพียงแต่ทำให้รู้ว่าโอกาสจะพบมะเร็งเต้านมในคน ๆ นั้นมีมากกว่าคนทั่วไป และยีนดังกล่าวก็พบได้เพียงร้อยละ 5 - 10 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมทั้งหมด ดังนั้นหากตรวจยีนดังกล่าวแล้วปกติก็ยังมีสิทธิ์เป็นมะเร็งเต้านมอยู่ไม่น้อย


                  รู้อย่างนี้แล้วกันไว้ดีกว่า ด้วยการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำ พบแพทย์ตรวจเมื่อมีอาการสงสัย อย่าปล่อยไว้เพราะไม่เจ็บ และตรวจแมมโมแกรมประจำปีตั้งแต่อายุ40 ปีขึ้นไป จะได้ไม่ต้องเสียใจภายหลัง

แหล่งข้อมูล
รศ.นพ.อดุลย์  รัตนวิจิตราศิลป์
ศัลยแพทย์ด้านศีรษะ คอ เต้านม
Faclty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


รูปประกอบจาก http://www.ipesp.ac.th/learning/poungkaew/chapter8/Unti8_3_5.html