วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2556

อย.เข้มคุมร้านยา ห้ามขาย "ยาเสียสาว" แก้ปัญหาถูดจุดหรือไม่?

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประกาศยกระดับยาอัลปราโซแลม หรือที่รู้จักกันว่า “ยาเสียสาว” เนื่องจากมีการนำยานี้ไปใช้มอมผู้หญิงแล้วนำไปข่มขืนนั้น โดยจะมีการยกระดับให้ยานี้จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 2 ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท พ.ศ.2518 จากเดิมที่ยานี้จัดเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 4 โดยให้มีผล ในวันที่ 17 มิถุนายน 2556 


ข่าวนี้ไม่ใช่ข่าวใหม่ เป็นอีกครั้งหนึ่งที่น่าสงสัยว่า อย. แก้ปัญหาทุกจุดไหม?  ปัจจุบันร้านยาที่มีใบอนุญาตและขายยานี้ตามใบสั่งแพทย์ก้อมีน้อยมากอยุ่แล้ว ปัญหายาที่ผู้ร้ายนำมาก่อเหตุนั้น ทาง อย. แน่ใจหรือว่าหลุดมาจากร้านยาทั้งหมด ลองใช้คำว่า "ขายยานอนหลับ" หาใน google ดู websites เหล่านี้ จะพบว่าขายเต็มไปหมด ระบุเบอร์โทรให้ติดต่อซื้อ เลขที่บัญชีให้โอนเงิน เต็มอินเตอร์เนทไปหมด 

ต่อให้ร้านยาที่ขายมีการละเมิดเอง ก้อสามารถตรวจสอบระบบบัญชียาทั้งจากบริษัทและร้านยาเองได้ แต่ช่องทางที่ขายยาผิดกฎหมายเหล่านี้ ไม่มีทางตรวจสอบได้เลย  นอกจากไปค้นว่าว่า ยา lot นั้นๆ หลุดมาจากโรวฃงพยาบาล คลีนิค หรือร้านยาไหน การมาเหวี่ยงแหห้ามขายเช่นนี้ ทำให้สงสัยว่า อย. แก้ปัญหาถูกทางหรือไม่? 


เมื่อวันที่ 18 มกราคม ภก.ประพนธ์ อางตระกูล ผู้อำนวยการควบคุมวัตถุเสพติด อย. กล่าวว่า สำหรับตัวยาอัลปราโซแลมนั้นมีด้วยกัน 3 ขนาด คือชนิด 0.25 มิลลิกรัม 0.5 มิลลิกรัม และ 1.0 มิลลิกรัม โดยตั้งแต่ปี 2552-2555 มียอดใช้ยานี้ตามร้านขายยาที่มีใบอนุญาตให้ครอบครองวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 4 ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เฉลี่ยปีละ 2-3 ล้านเม็ด ในยาอัลปราโซแลมทุกขนาด ซึ่งไม่ถือว่ามีการใช้ยานี้สูงผิดปกติ แต่การที่ อย.ต้องดำเนินการยกระดับให้ยานี้เป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 2 ตาม พ.ร.บ.วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท เนื่องจากเห็นว่ามีการนำยานี้ไปใช้ในทางที่ผิดมากขึ้นเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องดำเนินการควบคุมให้มีจำหน่ายเฉพาะในสถานพยาบาลของรัฐและเอกชนมีใบอนุญาตให้ครอบครองวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 2 เท่านั้น
                
ภก.ประพนธ์กล่าวต่อว่า การยกระดับยาดังกล่าวเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 2 นั้น ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2555 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 มิถุนายนนี้ ดังนั้น ในช่วงนี้ยาอัลปราโซแลมจะยังถือว่าเป็นวัตถุออกฤทธิ์ประเภทที่ 4 อยู่ โดยจะมีเวลาให้ร้านขายยาทยอยคืนยานี้ไปยังบริษัทผู้ผลิต และบริษัทผู้นำเข้า จนถึงวันที่ 17 มิถุนายน หากหลังจากนี้ ยังพบว่าร้านขายยาใดครอบครองยาดังกล่าวจะถือว่ามีความผิดตามกฎหมาย ซึ่งมาตรการนี้จะเป็นมาตรการเดียวกันกับที่ใช้ควบคุมการใช้ยาแก้หวัดที่มีส่วนผสมของซูโดอีเฟดรีน คาดว่าจะยังคงมียาอัลปราโซแลมค้างสต๊อกอยู่ตามร้านขายยาต่างๆประมาณ 5-6 แสนเม็ดเท่านั้น เพราะโดยปกติแล้วร้านขายยามักจะไม่ให้ยาค้างสต๊อกนานกว่า 5-6 เดือน


แหล่งข้อมูล

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง เปลี่ยนแปลงประเภทวัตถุออกฤทธิ์ (ฉบับที่ ๒.๒๕๕๕
http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2555/E/191/35.PDF

นสพ. ข่าวสด 
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU9EUTVPVFl3TUE9PQ==&subcatid=

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น