วันศุกร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2554

รุ้จักมะเร็งตับอ่อน โรคร้ายที่พรากสตีฟ จ็อบส์ ไปจากโลกนี้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล



เมื่อวาน สตีฟ จ็อบส์ ศาสดาแห่งนวัตกรรมโลกไฮเทคและแนวทางใช้ชีวิต อดีตซีอีโอคนดังของ Apple ได้จากโลกนี้ไปด้วยวัยเพียง 56 ปีจากโรคมะเร็งตับอ่อน (Pancreatic cancer) ทั้งๆ ที่เขาได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลาหลายปี 
วันนี้เรามารุ้จักโรคนี้เพื่อจะได้เริ่มต้นสังเกตุอาการ แนวทางการรักษาและการป้องกัน เพื่อให้เรามีชีวิตยาวต่อไปเพื่อสร้างสรรค์สิ่งที่ดีเหมือนท่านศาสดาจะดีกว่า

มะเร็งคืออะไร รักษาหายได้ไหม?
มะเร็งเป็นการแตกตัวของเซลทีผิดปกติอย่างร้ายแรง แล้วไปทำลายเซลดีอื่นๆ ให้มันต้องเป็นเซลที่ร้ายไปด้วย แพร่ลามไปจากเซลล์เล็กๆจนลามไปทั่ว จนทำให้อวัยวะทั้งส่วนที่เป็นมะเร็งนั้น เสียหายไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ เปรียบเทียบง่ายๆ ว่าถ้าร่างกายเราเป็นโรงงาน ถ้าอวัยวะชิ้นใดโดนมะเร็งร้ายคร่ากินจนหยุดทำงานไปแล้ว โรงงานไม่มีพลังงาน ไม่มีผลผลิตไปหล่อเลี้ยงอวัยวะอื่นทั่วร่าง เจ้าของโรงงานก็ถึงแก่กาลต้องบ้ายบาย ถามว่าจะเร็วช้าขึ้นกับอะไร ตอบได้ว่าอยุ่กับว่าเป็นที่ไหนของร่างกาย ถ้าเป็นตับ หรือไต ลำไส้ใหญ่ ก้อจะเร็วกว่าที่อื่นๆ
ปัจจุบันโรคมะเร็งมีอัตราการเกิดเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆจนเป็นสาเหตุที่สำคัญอันดับต้นๆที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต สาเหตุของโรคมะเร็งเริ่มชัดเจนมากขึ้นว่าสัมพันธ์กับพันธุกรรมที่มียีนก่อมะเร็งร่วมกับพฤติกรรมความเป็นอยู่ที่รับสารพิษต่างๆจากสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น ทำให้เซลล์ในตำแหน่งต่างๆ ของร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงทั้งในลักษณะรูปร่างและการทำงาน เกิดเป็น”มะเร็ง” ขึ้น
ในอดีตการวินิจฉัยโรคมะเร็งค่อนข้างยากต้องรอจนกว่าผู้ป่วยมีอาการผิดปกติจากโรคซึ่งหมายความถึงโรคที่เป็นมากแล้วจึงจะสามารถวินิจฉัยได้แต่ในปัจจุบันทางการแพทย์ได้พัฒนาไปอย่างรวดเร็วจนสามารถนำเทคโนโลยีขั้นสูงมาช่วยหารอยโรคในเบื้องต้นของโรคมะเร็งบางชนิดได้โดยที่ผู้ป่วยยังไม่แสดงอาการ ทำให้มีโอกาสให้การรักษาโรคได้เร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เกิดอะไรขึ้นกับสตีฟ  จ็อบส์  
คุณสตีฟ ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนครั้งแรกในปี 2547  แพทย์วินิจฉัยว่าเขาเป็นมะเร็งตับอ่อนชนิด islet cell neuroendocrine tumor ซึ่งหาได้ยากมากๆ (คิดเป็นเพียงประมาณ 5% ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนทั้งหมด) และมีโอกาสหายได้หากได้รับการผ่าตัด ภายหลังที่เขาลาจากตำแหน่งอันยิ่งใหญ่ ชั่วคราวเพื่อกลับไปรักษาโดยการผ่าตัดเนื้องอกออกไปและพักฟื้นยาวกว่าจะหวนกลับเข้าทำงานได้ตามปกติ

อย่างไรก็ตาม เจ้ามะเร็งนี้ก็กลับมาคุกคามเจ้าของไอเดียไอแพดอีกครั้ง ถึงแม้นว่าเขาจะรับการผ่าตัดไปแล้ว อุบัติการณ์ของผู้โชคร้ายที่จะกลับไปเป็นโรคนี้ได้อีก ในอเมริกานั้นมีโอกาสสูงมากถึง 85% ที่ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนจะกลับมาเป็นอีกหลังการผ่าตัด และส่วนใหญ่จะมีชีวิตได้ไม่เกิน 5 ปีหลังการผ่าตัดครั้งแรก

ที่น่ากลัวก้อคือ หากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับอ่อนแล้ว ผู้ป่วย 75% จะตายภายในหนึ่งปี และ 94% ตายภายในห้าปี ทั้งๆที่สตีฟ จ๊อบส์มีอาการโรคที่เป็นรุนแรงน้อยกว่าแล้วก้อตาม เพราะข้อมูลที่ติดตามได้ มีแค่ 58% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่ตายภายใน 5 ปีหลังการวินิจฉัย คุณสตีฟได้รับการรักษาในรอบที่สองในปี 2552 เมื่อเขาต้องเข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับ ที่โรงพยาบาลแห่งมหาวิทยาลัยเมโธดิสต์ เมืองเมมฟิส รัฐเทนเนสซี่

สุดท้ายในขณะที่เราได้ชื่นชมกับไอแพด 2 และรอการมาของไอโฟน 5 คุณสตีฟก้อได้แถลงการณ์ขอลากลับไปรักษาตัวอีกครั้ง พร้อมด้วยข่าวลือมากมาย แต่เมื่อวานนี้ ข่าวลือทั้งหลายก้อโดนสยบ ด้วยการจากไปของเขาจากโลกนี้ไป

ทำไมมะเร็งตับอ่อนถึงได้เป็นมฤตยูร้าย?
ตามที่ได้เกริ่นถึงต้นเหตุ ขบวนการกัดกินของเซลล์มะเร็ง มาแล้ว ผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนจะมีอัตราการตายสูง เนื่องมาจากลักษณะอาการของโรคนี้มันมักจะแฝงตัวอยู่เงียบๆ ส่วนใหญ่กว่าผู้ป่วยจะรู้ตัวและมาตรวจ มะเร็งก็ลุกลามจนถึงระยะ metastasis แล้ว (ระยะที่เซลล์มะเร็งแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นๆแล้ว) มีเพียง 8% เท่านั้นที่โชคดีเจอเนื้องอกก่อนที่มันจะลุกลามเป็นมะเร็ง สาเหตุที่ตรวจพบได้ช้าเกินกาล ก้อเนื่องมาจากตับอ่อนเป็นอวัยวะที่อยู่หลัง เยื่อบุช่องท้อง การตรวจวินิจฉัยค่อนข้างยาก และอาการจะปรากฎเมื่อ มะเร็งมักจะลุกลามมากไปแล้ว จนให้การรักษาได้ไม่ทัน

รักษาได้ไหม?
มะเร็งตับอ่อนก็สามารถรักษาได้เหมือนโรคมะเร็งอื่นๆ คือ วิธีรักษามีอยู่ 3 วิธีหลัก คือ (1) การผ่าตัด (2) การฉายแสง และ (3) การให้ยาเคมีบำบัด ทั้งนี้วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับระยะของโรคเป็นสำคัญ ปัจจุบันนี้มีการรักษาแบบจำเพาะ (Targeted therapy) มียาบางชนิดซึ่งสามารถออกฤทธิ์ได้จำเพาะกับเซลล์มะเร็งเท่านั้น โดยที่ยากลุ่มนี้จะออกฤทธิ์ แตกต่างจากยาเคมีบำบัดทั่วไป และมีผลข้างเคียงน้อยกว่า
ทำไมคุณสตีฟได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดไปแล้ว จึงกลับมาเป็นได้อีก เนื่องมาจากการผ่าตัดมี 2 วิธีในการรักษามะเร็งตับ คือ 1. การผ่าตัดแบบหวังผลหายขาด คือเอาก้อนเนื้อออกได้หมด และ2. การผ่าตัดประคองอาการ คือ การผ่าตัดเพื่อบรรเทาอาการเนื่องจากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่มาก หรือกระจายเกินกว่าจะผ่าตัดได้หมด หรือเพื่อป้องกันภาวะปัญหาบางอย่าง เช่น การอุดตันของท่อน้ำดี เป็นต้น
จากการศึกษาเราพบว่า การผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกเพียงบางส่วนไม่ช่วยให้ผู้ป่วยอยู่ได้นานขึ้นแต่อย่างใด ยิ่งไปกว่านั้น การผ่าตัดมะเร็งตับอ่อนเป็นหนึ่งในการผ่าตัดที่ยากที่สุดของศัลยแพทย์ และผู้ป่วยต้องรักษาตัวหลังผ่าตัด ซึ่งอาจจะเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ในตลอดหลายสัปดาห์ในระยะพักฟื้น จะเห็นได้ว่าต่อให้รุ้ก้อรักษาไม่ทันแล้ว
ถ้าไม่อยากจากไปเร็ว เหมือนท่านศาสดา ควรหมั่นตรวจสังเกตุอาการดังต่อไปนี้
ดังนั้นการป้องกันตนเอง เมื่อแรกเริ่มมีอาการเตือน น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด หากเราพบว่ามีอาการดังต่อไปนี้ อย่าได้วางใจเพราะมันเป็นสัญญานเริ่มต้นของอาการแสดงออกของมะเร็งตับอ่อน
  • อยุ่ๆ ตัวเราเกิดอาการตัวเหลือง ตาเหลือง ขึ้นมาเฉยๆทั้งๆที่ไม่เคยเป็นพาหะโรคตับอักเสบชนิดบีมาก่อนเลย สาเหตุที่ตัวเหลืองนั้นเกิดจากสารบิลิรูบิน (bilirubin) ที่สร้างจากตับเกิดการคั่ง พบว่าอย่างน้อยร้อยละ 50 ของผู้ป่วยมะเร็งตับอ่อนมีตัวเหลือง ตาเหลือง แต่อาการตัวเหลือง ตาเหลืองเองนั้นก็อาจจะเกิดจากโรคอื่นๆ ได้เช่นกัน
  • ปวด อาการปวดท้องร้าวไปหลัง คืออาการที่พบบ่อย ของมะเร็งตับอ่อนระยะลุกลาม แต่อาการปวดไม่จำเพาะต่อโรค เกิดจากโรคอื่นๆ ได้อีกมากมาย
  • น้ำหนักลดฮวบฮาบโดยไม่ทราบสาเหตุ ทั้งๆที่ไม่ได้ตั้งใจลดน้ำหนักแต่อย่างใดเลย แต่เรากลับมีน้ำหนักลดลงให้หลงดีใจ หารุ้ไม่ว่ามันเป็นอาการพบบ่อยของผู้ป่วยมะเร็งแทบทุกชนิด และมักพบอาการเหนื่อยเพลีย ไม่อยากอาหารร่วมด้วย
  • เวลากินข้าวเสร็จมักมีปัญหาในการย่อยอาหารได้ยากตามมาบ่อยๆ เกือบทุกมื้อ เนื่องมาจากมะเร็งตับอ่อนนี้ไปหยุดการหลั่งเอ็นไซม์ ในการช่วยย่อยอาหาร โดยเฉพาะอาหารจำพวกไขมัน รวมไปถึงการมีอุจจาระสีซีด ปนกับถ่ายเป็นไขมัน ส่วนอาการอื่นๆ ที่พบได้คือ คลื่นไส้ อาเจียน และปวดท้องได้บ่อยๆหลังจากการรับประทานอาหาร
  • สุดท้าย หากเราไปตรวจร่างกายทั้งตามปกติประจำเวลาหรือเริ่มมีอาการผิดปกติตามที่กล่าวมาแล้ว แพทย์อาจตรวจพบว่า ถุงน้ำดีใหญ่บวมได้จากการตรวจร่างกาย หรือการใช้ภาพรังสีวินิจฉัย รวมไปถึงอาจพบว่าเลือดแข็งตัวในหลอดเลือด หรือในชั้นไขมันของผิวหนัง ซึ่ง ก้อนเลือดแข็งตัวนี้สามารถไหลผ่านเข้าไปที่ปวด ทำให้หายใจหอบเหนื่อยได้ อย่างไรก็ตาม ภาวะเลือดแข็งตัวดังกล่าวไม่ได้จำเพาะต่อมะเร็งเท่านั้น ยังสามารถเกิดจากโรคอื่นๆ ได้อีกมากมาย

        เภสัชกรหนุ่มหล่อขอจบบทความนี้ ด้วยอมตะวาจาของคุณสตีฟเมื่อปรารภถึงแนวทางการใช้ชีวิตและความตาย นั่นก็คือ "ถ้าคุณใช้ชีวิตในแต่ละวันเหมือนกับเป็นวันสุดท้ายในชีวิตของคุณ สักวันคุณจะดีขึ้นแน่นอน" สุดท้ายไม่มีสิ่งใดที่คงทน คุณสตีฟ จ๊อบส์เองก้อได้ต่อสู้กับมะเร็งได้ยาวนานถึง 7 ปี และได้ลาจากโลกนี้ไปแต่ไม่ลาจากใจของเรา
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 7 ตค. 2554  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
รูปประกอบจาก
  1. 1.           Steve Jobs and Pancreatic Cancer: Why This Disease Is So Deadly Oct 5, 2011 | 9:14 PM ET | By Karen Rowan, MyHealthNewsDaily, Managing Editor, http://www.myhealthnewsdaily.com/steve-jobs-pancreatic-cancer-deadly-1978/
  2. 2.           Pancreatic cancer, National Cancer Institute (NCI) booklet is about cancer , http://www.cancer.gov/cancertopics/wyntk/pancreas/page1
  3. 3.           Pancreatic cancer, MedicineNet, Inc, http://www.medicinenet.com/pancreatic_cancer/article.htm
  4. 4.           Pancreatic cancer, WebMD, Inc. http://www.emedicinehealth.com/pancreatic_cancer/article_em.htm
  5. 5.           NCCN Clinical Practice Guidelines in Oncology: Pancreatic Adenocarcinoma. V 2.2011. Available at http://www.nccn.org/professionals/physician_gls/pdf/pancreatic.pdf. Accessed March 28, 2011.
  6. 6.           Yeo CJ, Abrams RA, Grochow LB, et al. Pancreaticoduodenectomy for pancreatic adenocarcinoma: postoperative adjuvant chemoradiation improves survival. A prospective, single-institution experience. Ann Surg. May 1997;225(5):621-33; discussion 633-6. [Medline].
  7. 7.           Tomislav Dragovich,  Pancreatic Cancer Treatment Protocols , medscape.com, http://emedicine.medscape.com/article/2007067-overview
  8. 8.           Pancreatic cancer: ESMO Clinical Practice Guidelines for diagnosis, treatment and follow-up. Annals of Oncology. 2010. 21(5): 55–58.
  9. 9.           Guidelines for the management of patients with pancreatic cancer periampullary and ampullary carcinomas. Pancreatic Section of the British Society of Gastroenterology, Pancreatic Society of Association of Upper Gastrointestinal Surgeons of Great Britain and Ireland. Gut. 2005. 54: 1–16.
  10. 10.      Control of pain in adults with cancer: A national clinical guideline (106). 2008. Scottish Intercollegiate Guidelines Network (SIGN).
  11. 11.      Liver Cancer, MedicineNet, Inc, http://www.medicinenet.com/liver_cancer/article.htm
  12. 12.      liver cancer:, A Service of the National Cancer Institute, http://www.cancer.gov/cancertopics/types/liver
  13. 13.      FIGHTING LIVER DISEASE British Liver Trust 2011, British Liver Trust 2 Southampton Road Ringwood BH24 1HY, http://www.britishlivertrust.org.uk/home/the-liver/liver-diseases/liver-cancer.aspx
  14. 14.      Masatoshi Makuuchi, Norihiro Kokudo, Clinical practice guidelines for hepatocellular carcinoma: the first evidence based guidelines from Japan,
  15. 15.      World J Gastroenterol 2006 February 7; 12(5):828-829 World Journal of Gastroenterology ISSN 1007-9327,
  16. 16.      http://www.wjgnet.com/1007-9327/12/828.pdfJordi Bruix et.al.,
  17. 17.      Clinical Management of Hepatocellular Carcinoma. Conclusions of the Barcelona-2000 EASL Conference, Journal of Hepatology 35 (2001) 421–430,http://e-learning.med.unifi.it/didonline/Anno-IV/spec-medchirII/oncologiamed/reviews/JHepBarcelona.pdf
  18. 18.      S. Jelic  and On behalf of the ESMO Guidelines Working Group,Hepatocellular carcinoma: ESMO Clinical Recommendations for diagnosis, treatment and follow-up, Ann Oncol (2009) 20(suppl 4): iv41-iv45 doi:10.1093/annonc/mdp12
  19. 19.      Treating liver cancer,  http://www.nhs.uk/Conditions/Cancer-of-the-liver/Pages/Treatment.aspx
  20. 20.      มะเร็งตับอ่อน,สาขารังสีรักษาและมะเร็งวิทยา ฝ่ายรังสีวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, http://www.chulacancer.net/newpage/information/pancreas_cancer/what-is.html
  21. 21.      มะเร็งตับอ่อน , Biomarkers 2005 , คลินิกกรุงเทพอาร์ไอเอ, http://www.screenoncancer.com/TH/download_TH/pancreatic%20cancer_TH.html
  22. 22.      พล.ต.ต.นพ.นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์, มะเร็งตับอ่อน,  ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ การดูแลผู้สูงอายุ Eldercarethailand, http://www.eldercarethailand.com/content/view/450/29/
  23. 23.      ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิง พวงทอง ไกรพิบูลย์, มะเร็งตับอ่อน, สมาคมรังสีรักษาและมะเร็งวิทยาแห่งประเทศไทย,http://thastro.org/pages/4604/
  24. 24.      สถาบันมะเร็งแห่งชาติ, มะเร็งตับอ่อน, http://www.nci.go.th/Knowledge/tubaon.html
  25. 25.      การรักษามะเร็งตับอ่อน, symptomsofpancreaticcancers.net, http://www.symptomsofpancreaticcancers.net/th/การรักษามะเร็งตับอ่อน/
  26. 26.      ผศ.ภก.สุภัสร์ สุบงกช, ยาใหม่ที่ใช้ในการรักษาโรคมะเร็งตับ Molecular Targeted Therapy in Hepatocellular Carcinoma, วารสารคลินิก เล่ม : 283 เดือน-ปี : 07/2551, http://www.doctor.or.th/node/7097
  27. 27.      นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์, 9 วิธีป้องกันมะเร็งตับอ่อน, โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง, ,http://www.oknation.net/blog/health2you/2009/06/28/entry-4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น