วันพุธที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2554

โรคกรดไหลย้อน จะรู้ได้ไง ว่าเป็นโรคนี้ โดยเภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


หากวันนี้กินข้าว มื้อไหนๆก้อตาม เกิดอาการแสบร้อนบริเวณหน้าอก และรู้สึกเปรี้ยวขมในปาก 
 จุกเสียดตึงแน่นกระเพาะไปหมด ตามมาด้วยอาการแสบคอ เจ็บคอบ่อยๆ บางวันเสียงแหบไปเลยก้อมี


สงสัยไหมว่าเรากำลังเป็นโรคอะไรกันแน่นะ หรือจะเป็นโรคยอดฮิต  “โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal Reflux Disease)” 
 เภสัชกรหนุ่มหล่อจึงจะมาแนะนำคุณให้รู้จักกับวิธีสังเกตุว่า เอ๊ะ! นี่เรากำลังเป็นโรคนี้หรือเปล่า จะได้หาวิธีการปฏิบัติตัว แนวทางการรักษา และเทคนิคต่าง ๆ ที่จะช่วยให้เรามีอาการดีขึ้นได้

ทำไมถึงเป็นโรคนี้ได้นะ
โรคกรดไหลย้อนเชื่อว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง มีการคลายตัวอย่างผิดปกติ 
ทำให้มีการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่าย จึงมีกรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอย กล่องเสียง และปอดได้
ต้นเหตุสำคัญที่ทำให้คนเราเป็นโรคนี้คือ พฤติกรรมการบริโภคที่หันไปใช้ชีวิตเร่งรีบ  
กินอาหารมื้อเย็นหนักๆ แถมมื้อดึก แล้วก็รีบเข้านอน อาหารที่ยังย่อยไม่หมดจึงยังตกค้างอยู่ในกระเพาะ 
ร่างกายก็ต้องหลั่งกรดออกมาย่อยอาหารที่ยังตกค้างอยู่ ทำให้กรดในกระเพาะไหลย้อนขึ้นมาที่ลำคอ เกิดอาการแสบระคายเคืองขึ้นมาบนคอ ตอนแรกๆคงไม่เป็นไรหรอก แต่ถ้าปล่อยให้หลอดอาหารส่วนปลายระคายเคืองไปนานๆ อาจทำให้หลอดอาหารเป็นมะเร็งได้

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคนี้
ให้เริ่มต้นสังเกตุอาการดังต่อไปนี้  
  • รู้สึกปวดแสบปวดร้อนบริเวณลิ้นปี่  กลางหน้าอก ซึ่งมักเกิดขึ้นหลังกินอาหาร บางครั้งอาจร้าวไปที่บริเวณคอได้ รู้สึกคล้ายมีก้อนอะไรไม่รุ้ จุกอยู่ในคอ
  • เรอบ่อยๆ บางรายมากจนทำอะไรไม่ได้เลยเรอตลอดจนเสียบุคลิก  คลื่นไส้ รู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย
  • เวลากินอาหาร เคี้ยวอร่อย แต่กลืนลำบากมากๆๆๆ หรือกลืนแล้วเจ็บ จนอยากจะคายออกมา
  • รู้สึกเปรี้ยวปากที่ไม่ได้เกิดจากการอยากดื่มเหล้า หรือมีอาการขมในปากและคอ  รู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือรสเปรี้ยวของกรดในคอหรือปาก 
  • หลายรายจะมีอาการท้องอืด จุกเสียด แน่นท้องบ่อยมาก
อาการอื่นๆ ที่อาจลุกลามไปติดระบบทางเดินหายใจ ที่เราอาจคาดไม่ถึง แต่หากมีอาการเหล่านี้เป็นบ่อยๆ เราก้อต้องระวัง 
หากเราพบว่า 
  • ทำไมเป็นหวัดหรือเจ็บคอได้บ่อยมากๆ มีอาการเจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้าตื่นขึ้นมา
  • พอไปทำงานอยุ่ๆก้อมีเสมหะอยู่ในลำคอ หรือระคายคอตลอดเวลา
  • ไอเรื้อรังโดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน
  • พอเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ เสียงเราก้อจะแหบเรื้อรัง เสียงเปลี่ยนไปเลยก้อมี
  • หากเราเคยมีประวัติเป็นโรคหืดมาก่อน ทำไมกินยาก้อแล้ว พ่นยาก้อแล้วเคยหายดี แต่ครั้งหลังๆมาเนี่ย อาการหอบหืดกลับไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตามปกติ ไม่ค่อยได้ผล หืดจับบ่อยๆ
สุดท้ายเรามักมีอาการเจ็บหน้าอกที่ไม่ได้เกิดจากโรคหัวใจ หากไม่รักษา ที่น่ากลัวสุดๆ ก้อคือโรคกรดไหลย้อนยังอาจทำให้หลอดอาหารเกิดการอักเสบ เป็นแผลรุนแรงจนตีบ หรือเกิดเป็นมะเร็งหลอดอาหารให้ถึงกลับเสียชีวิตได้

ตอนหน้าเรามาดูว่า ถ้ามีอาการอย่างที่ว่ามาแล้ว คุณเภสัชกรจะมีคำแนะนำอย่างไร

อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 5  ตค. 2554  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

รูปประกอบจาก  http://thetop10tips.com/wp-content/uploads/2011/08/acid-reflux-stomach.jpg
    http://mylearningworld.com/admin/event/gerd.jpg
  1. Joel J Heidelbaugh, MDUMHS GERD Guideline, January 2007, Family Medicine, Regents of the University of Michigan, cme.med.umich.edu/pdf/guideline/GERD07.pdf
  2. Updated Guideline for the Diagnostic and  Treatment of Gastroesophageal Reflux Disease (GERD). , Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition, 49:498–547 # 2009, European Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition and North American Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition
  3. Clinical Standard for Adult Gastroesophageal Reflux (GERD), The Madigan Army Medical Center - Quality Services Division, Revised:  October 2001, http://www.mamc.amedd.army.mil/clinical/standards/gerd_alg.htm
  4. Evidence-Based GERD Guidelines Released By The American Gastroenterological Association, Article Date: 22 Oct 2008, http://www.medicalnewstoday.com/releases/126415.php
  5. Gastroesophageal Reflux Disease (GERD, Acid Reflux, Heartburn), Medicinenet., http://www.medicinenet.com/gastroesophageal_reflux_disease_gerd/article.htm
  6. Dr. Alan L Ogilivie, Gastro-oesophageal reflux (acid reflux), http://www.netdoctor.co.uk/diseases/facts/gastrooesophagealreflux.htm
  7. Acid Reflux (GERD) Drug Information, HealthCentral.com, http://www.healthcentral.com/acid-reflux/find-drug.html
  8. รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, โรคกรดไหลย้อน ตอนที่ 1 และ 2,   ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=294, http//www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=295
  9. รศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์,กรดไหลย้อน.....ภัยเงียบวัยทำงาน, สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=726
  10. รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน,สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน , ตอนที่ 1 และ 2, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=631 , http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=632
  11. สุวรรณา  กิตติเนาวรัตน์, ภาวะกรดไหลย้อน  (GERD), คม.(นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร), ET., วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย, http://www.google.com/url?sa=t&source=web&cd=28&ved=0CEgQFjAHOBQ&url=http%3A%2F%2Fimages.cdri.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FS3P98AooCkQAABASlcA1%2FGERD.doc%3Fkey%3Dcdri%3Ajournal%3A16%26nmid%3D81114654&ei=GluGTpbZDsiHrAej-My-Dw&usg=AFQjCNE5a-l7Y0sWz1I6--uOELkvO0XzSQ&sig2=DXEX73ScA--r3T9nqAmuJg
  12. การรักษาโรคกรดไหลและยาที่ใช้, http://www.gerdthai.com/gerd.php

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น