มหาอุทกภัยที่มาเคาะประตูประเทศไทยครั้งนี้ ใหญ่หลวงนัก ทำให้นึกถึงวีรกรรมของบรรพบุรุษเรา ชาวอโยธยาคราต้านศึกสงครามในอดีตเพื่อปกป้องสายเลือดไทยมาจนทุกวันนี้เลย ถึงเวลานี้ชาวบ้านหรืออาสาสมัครที่ต้องทนแช่น้ำมาโดยตลอด อาจต้องทนทุกข์กับโรคภัยที่ตามมาด้วย เรามาทำความรุ้จักแต่ละโรคที่อาจเกิดและแนวทางการป้องกันและรักษาดีกว่า
โรคน้ำกัดเท้าและผื่นคัน
เป็นโรคอันดับหนึ่งที่ต้องเจอ
หลังจากแช่น้ำมานาน
ผิวหนังเท้าของเราที่ชุ่มชื้นอมน้ำมาตลอด โดยเฉพาะที่ง่ามเท้าเกิดเปียกชื้นและสกปรก เวลาที่เท้าสกปรก สิ่งสกปรกจะเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ทำให้เชื้อราหรือเชื้อโรคเจริญเติบโตได้ดี เท้าที่แช่น้ำหรือเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา จะทำให้ผิวหนังที่เท้าอ่อนส่วนผิวๆของหนังจะเปื่อยและหลุดออก เศษผิวหนังที่เปื่อยนี้จะทำให้เชื้อราและเชื้อโรคที่ปลิวไปปลิวมาเกาะติดได้ง่าย และผิวที่เปื่อยก็เป็นอาหารของเชื้อราได้ดี เชื้อราจึงไปอาศัยทำให้เกิดแผลเล็กๆขึ้นตามซอกนิ้วเท้าเกิดเป็นโรคน้ำกัดเท้าขึ้นให้คันเขยอได้
โรคน้ำกัดเท้า มักพบว่ามีอาการคันและอักเสบตามซอกนิ้วเท้า (หรือนิ้วมือ) และถ้ามีเชื้อแบคทีเรียเข้าแทรกซ้อนด้วย ก็จะทำให้อักเสบเป็นหนอง และเจ็บปวดจนเดินลำบากได้
โรคไข้หวัด
เจอฝนมากๆ ร่างกายเปียกชื้น จนภูมิต้าทานลดลง เราอาจเป็นไข้หวัด ผสมโรงจากการติดเชื้อของจมูก และคอ เราเรียกว่า upper respiratory tract infection หรือ URI สาเหตุหลักมักเกิดจากเชื้อไวรัสซึ่งรวมเรียกว่า Coryza viruses ประกอบด้วย Rhino-viruses เป็นสำคัญ เชื้อชนิดอื่นๆมี Adenoviruses, Respiratory syncytial virus เมื่อเชื้อเข้าสู่จมูก และคอจะทำให้เยื่อจมูกบวม และแดง มีการหลังของเมือกออกมาแม้ว่าจะเป็นโรคที่หายเองใน 1 สัปดาห์ โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นไข้ หวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้ง ผู้หญิงเป็นบ่อยกว่าผู้ชายเนื่องจากใกล้ชิดกับเด็ก คนสูงอายุอาจจะเป็นปีละครั้ง
โรคเครียดวิตกกังวล
โดยเฉพาะผู้ซ้องเสพข่าวเยอะๆ ความจริงแล้ว ความเครียดเป็นระบบเตือนภัยของร่างกายให้เตรียมพร้อมที่กระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง การมีความเครียดน้อยเกินไปและมากเกินไปไม่เป็นผลดีต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่เข้าใจว่าความเครียดเป็นสิ่งไม่ดีมันก่อให้เกิดอาการปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หัวใจเต้นเร็ว แน่นท้อง มือเท้าเย็น แต่ความเครียดก็มีส่วนดีเช่น ความตื่นเต้นความท้าทายและความสนุก สรุปแล้วความเครียดคือสิ่งที่มาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชีวิตซึ่งมี่ทั้ง ผลดีและผลเสีย
โรคตาแดงหรือโรคติดเชื้อที่ตา
ไม่ว่าระหว่างน้ำมาหรือน้ำลด โรคตาแดงเป็นการอักเสบของเยื่อบุตา(conjuntiva)ที่คลุมหนังตาบนและล่างรวมเยื่อบุตา ที่คลุมตาขาว โรคตาแดงอาจจะเป็นแบบเฉียบพลัน หรือแบบเรื้อรัง สาเหตุอาจจะเกิดจากเชื้อแบคทีเรีบ ไวรัส Chlamydia trachomatis ภูมิแพ้ หรือสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตา สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส มักจะติดต่อทางมือ ผ้าเช็ดหน้าหรือผ้าเช็ดตัวโดยมากใช้เวลาหาย 2 สัปดาห์ ตาแดงจากโรคภูมิแพ้มักจะเป็นตาแดงเรื้อรัง มีการอักเสบของหนังตา ตาแห้ง
โรคท้องเสีย อุจาระร่วง
ภาวะน้ำท่วมที่เราอาจพบการขังตัวของมวลน้ำและการสะสมของเสียต่างๆหรือน้ำที่พัดพาสิ่งสกปรกที่พามา หากเราเผลอดื่มหรือกินเข้าไป รวมไปถึงใช้แหล่งน้ำไม่สะอาด เราจักจะเกิดโรคท้องเสียตามมาได้ โรคท้องร่วงเป็นสภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โรคดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 14 ตค. 2554
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
Flood Contingency Plans, http://www.systemiccoaching.com/emergency/flood_plan.htm
Emergencies - floods, http://www.betterhealth.vic.gov.au/bhcv2/bhcarticles.nsf/pages/Emergencies_floods
Prepare a family emergency flood plan,http://www.health.qld.gov.au
Version: 2. 05 January 2011, http://www.health.qld.gov.au/healthieryou/disaster/documents/familyfloodplan.pdf
Version: 2. 05 January 2011, http://www.health.qld.gov.au/healthieryou/disaster/documents/familyfloodplan.pdf
คู่มือ รับสถานการณ์น้ำท่วม (คู่มือน้ำท่วมฉบับเต็ม) e-book & Download , http://www.cendru.net
ยาที่ใช้ยามน้ำท่วม. มูลนิธิเพื่อการวิจัยและพัฒนาระบบยา
http://www.yaandyou.net/index.php/component/flexicontent/item/518-2011-10-11-14-42-21.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น