"ทำไมลูกเป็นไข้อีกแล้ว" คุณพ่อคุณแม่มักจะวิตกกังวล คอยดูแลอาการต่างๆจนไม่ได้หลับนอน
มาดูคำแนะนำในการดูแล ป้องกันให้ลูกรักปลอดจากอาการไข้กันดีไหม?
เป็นไข้ ตัวร้อนเหรอ? เป็นเรื่องธรรมชาติ
จริงๆนะ ที่เราเรียกว่ามีอาการไข้นั้น เกิดขึ้นจากเมื่อเราไปวัดอุณหภูมิในร่างกายน้องน้อยเขาจะ
สูงกว่าระดับปกติ ในยากชิลๆปกติร่างกายเราจะมี "ช่วง" อุณหภูมิร่างกายอยู่ที่ประมาณ 37 C ที่เรียกว่าช่วงนั้นก้อเพราะว่า ระหว่างวัน ร่างกายของเขาจะมีอุณหภูมิเปลี่ยนแปลงไปได้เล็กน้อย อย่างเช่น จะต่ำกว่าปกติเล็กน้อยในตอนเช้าเพราะเพิ่งตื่น ยังไม่มีกิจกรรมมากนัก พอตอนไปโรงเรียนหรือเล่นเกมส์อย่างสนุกสนานก้อจะเพิ่มขึ้น ร้องไห้ตะเบ็งเสียงดังก้อจะสูงปริ้ด
ทำไมหล่ะ ก้อมนุษย์เราเป็นสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าเลือดอุ่น ทำให้เราสามารถเพิ่มอัตราการเผาผลาญอาหารหรือระบบของการหมุนเวียนโลหิตให้สุงขึ้นระดับนึงเพื่อตอบโต้ต่อสถานการต่างๆที่แปรผันไปในแต่ละวันไงครับ
อาการตัวร้อน เป็นไข้อย่างไหนที่ต้องระวัง?
แต่ทว่าอุณหภูมิในร่างกายน้องน้อยเขาเปลี่ยนแปลงสูงกว่าปกติเกินไป ที่ไม่ได้มาจากกิจกรรมตามปกติชีวิตเด็กน้อย อาจเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้
- ลูกน้อยไปติดเชื้อมา เกิดจากการติดเชื้อหรือโรคอื่น ๆมา น้องเขาจะมีไข้ เนื่องมาจากร่างกายกำลังต่อสู้กับการติดเชื้อด้วยระบบภูมิคุ้มกันของเขากำลังทำงานตามหน้าที่ เพื่อต่อสู้กับเชื้อโรคบางอย่างที่บุกรุกเข้าสู่ร่างกายเช่น แบคทีเรียหรือไวรัส โดยที่ร่างกายจะไปกระตุ้นการผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวและระบบภูมิคุ้มกันอื่น ๆ เพื่อทำลายผู้บุกรุกนั้น จึงทำให้ตัวร้อนขึ้น น่านไงหล่ะ
- ลูกน้อยเพิ่งไปรับการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน เด็กๆ บางครั้งอาจมีไข้ต่ำๆ หลังจากการฉีดวัคซีนได้ เกิดจากกลไกแรกที่กล่าวมาน่านแหละครับ
ดังนั้น หากแยกได้ว่าตัวร้อนอาจเกิดจากภาวะปกติ หรือลูกเรากำลังมีไข้ตัวร้อนขึ้นมาจริงๆ พอเขามีอาการนี้ขึ้นมา เราควรจะดีใจ เพราะนั่นหมายความว่า เราสามารถตรวจพบสัญญานของความผิดปกติ หรืออาการของโรคอะไรสักอย่างหนึ่ง ที่กำลังเกิดกับเขา เราจะได้รีบไปหาค้นหาสาเหตุเพื่อยับยั้ง หรือรีบรักษาให้หายต่อไปไงครับ มิฉะนั้นหากปล่อยให้อุณหภูมิสุงขึ้นไปเรื่อยๆจะอันตรายยิ่งกว่า
เรามาดูว่าสาเหตุของอการตัวร้อน เป็นไข้เกิดจากโรคหรือสาเหตุอะไรได้บ้าง
จากตารางที่สรุปมาให้แล้ว คุณพ่อคุณแม่จึงต้องสวมวิญญานนักสืบ หมั่นสังเกตุว่าระหว่างมีไข้ น้องเขามีอาการต่างๆ ตามที่ระบุหรือไม่
หากกำลังมีอาการต่างๆ ร่วมด้วย อย่าได้วางใจควรรีบพาเขาไปรับการรักษาต่อไป
แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรหล่ะ ว่าอย่างไหนกำลังเป็นไข้จริงๆ พ่อแม่หลายคน มาที่ร้านยามักจะบอกว่า เอามืออังดู สัมผัสผิวหนัง หน้าผากลูกรัก "มีไข้มั้ง เห็นตัวร้อนๆ" ในฐานะเภสัชกรร้านยา อยากบอกตรงๆเลยว่าการใช้ความรู้สึกสัมผัส มันไม่ค่อยได้ผล เนื่องมาจากลูกรักมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิตลอดเวลา แถมบวกด้วยความห่วงใย เอะอะ อะไร ลูกก้อเป็นไข้ตลอด | ||
อุปกรณ์สำคัญและจำเป็นยิ่งยวดที่ต้องมีติดบ้านไว้ คือ เทอร์โมมิเตอร์ หรือปรอทวัดไข้ที่มีคุณภาพ จะเลือกแบบด้ามสำหรับวัดทางปากหรือหนีบที่ใต้รักแร้ แต่เราไม่แนะนำให้วัดปรอททางปากใน เด็กอายุต่ำกว่า 4 ปี เพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการกัดปรอทแตกได้ จะเป็นแถบวัดอุณภูมิทางหน้าผากก้อได้ หรือลงทุนอีกนิด ในปัจจุบันมีอีกวิธีหนึ่งที่ศึกษามาแล้วว่า เป็นการวัดอุณหภูมิของร่างกายได้ค่าคลาดเคลื่อนน้อยที่สุด คือ การวัดอุณหภูมิทางหู (Tympanic temperatures ) เพราะในช่องหูใช้การจ่ายเลือดส่วนเดียวกับศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายในสมอง ซึ่งจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายได้เร็ว และใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุด กว่าจุดอื่น ๆ แต่ควรฝึกฝนวิธีนี้ ก่อนนำมาใช้
อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 22 กย. 2554
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
ภาพประกอบจาก
http://www.tinyzone.tv/images/FckUpload/image/health/2011/a2b9de0ccfc9f68ea4c421f36f1bb87c.jpg และ
โรงพยาบาลแมคคอมิค
http://www.mccormick.in.th/health%20tip_baby_hot.htm
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น