"ไอมาตั้งนานแล้ว ทำไมไม่หายซักที"
คนไข้ที่มายืนไอค้อกแค้กโชว์ที่หน้าร้านยา มักจะบ่นดังว่า
จริงๆแล้วอาการไอเป็นกลไกป้องกันภัยของร่างกายเราแท้ๆ แต่ไออะไรที่มากเกินไป ทำให้ทำงานไม่ได้เลย นอนก้อนอนไม่หลับ เรามาดูว่า ทำไมเราจึงไอได้มาราธอนเช่นนี้เพื่อหาทางรักษากัน
อาการไอมักเกิดจาก...
คนไข้ที่มีอาการไอต่อเนื่อง ยาวนานมักจะมาด้วยอาการ 2 ลักษณะคือ
1. คนไข้มีอาการหวัดเจ็บคอร่วมกับมีอาการไอ เมื่ออาการหวัดหายดีขึ้น พร้อมๆกับอาการไอก้อจะค่อยๆหายไป หรือ
2. ผู้ป่วยที่มีอาการไอเรื้อรังเนื่องจากเหตุอื่นๆ
"แล้วทำอย่างไรจะหายหล่ะ คุณเภสัช?"
ง่ายมากครับ ถ้าอยากให้หายไอ ต้องให้การรักษาต้นเหตุไปพร้อมกับบำบัดอาการไอไปด้วย ส่วนสาเหตุก้อมีได้มากมาย เป็นได้ตั้งแต่ทางเดินหายใจของเรามักจะอ่อนไวตามมาหลังการเป็นหวัดธรรมดา จนกระทั่งโรคต่างๆที่ต้องการรักษาเฉพาะที่หรือโรคร้ายอื่นๆที่อาจซ่อนแฝงตามมาเช่น มะเร็งปอด วันนี้เราจึงมาทบทวนให้คุณๆที่รักได้ตรวจสอบตัวเองว่าเมื่อมีอาการไอ เมื่อไรจะเข้าข่ายไอเรื้อรัง จะเริ่มต้นซื้อยากินเอง หรือต้องไปพบแพทย์เมื่อไร รวมทั้งแนวทางวินิจฉัยและรักษาอย่างไรเพื่อจะไม่ต้องมาไอให้รำคาญจิตกันต่อไป
นานแค่ไหนถึงจะเรียกว่าไอเรื้อรัง ?
มาตอบคำถามเรื่องอาการไอกันต่อ คนไข้ที่มาที่ร้านด้วยอาการดังกล่าวจะมีอยู่ 2 ลักษณะคือ
1. อาการหวัดเจ็บคอร่วมกับมีอาการไอ เมื่ออาการหวัด ไม่ว่าจะมีน้ำมูกไหล จมูกคัด คอติดเชื้อมาก่อน พอเรากินยาครบ หรือร่างกายหายดีขึ้น หากมีอาการไออยุ่ จะไอมากในช่วงต้นๆ แต่พอเราฟื้นสภาพ อาการไอก้อจะค่อยๆหายไป ของอาการไอเนื่องจากหวัดมักหายภาย ใน 3 สัปดาห์ และอย่างช้าก็มักไม่เกิน 2 เดือน พอภูมิต้านทานดีขึ้นโรคหวัดค่อยๆหายไป เสียงไอก้อจะเบาลง ความถี่ของการไอก้อห่างนานออกไปเรื่อยๆจนคนไข้ลืมไปแล้วว่าเคยมีอาการไอมาก่อน กลับไปมีคุณภาพชีวิตดีมีความสุขอีก ดังนั้นถ้ามีอาการไอตามมาหลังเป็นหวัดหายอย่าตกใจไปเลยครับ รีบรักษาร่างกายให้แข็งแรง เดี๋ยวก้อหายไอได้ครับ
2. อาการไอเรื้อรัง คนไข้เหล่านี้มักได้รับการบำบัดอาการไอมาก่อนแล้ว แต่ไม่ยอมหาย อาจไปหาหมอมาก่อน ไม่ดีขึ้น มาหาเภสัช ไม่ดีอีกเปลี่ยนร้านยากะไปโรงพยาบาลเป็นงานประจำก้อมี ทำงานไปก้อไอไปอยู่เป็นเดือนๆ เช่นนี้เราเรียกว่าอาการไอเรื้อรัง ถ้าอยากให้หายต้องให้การรักษาต้นเหตุไปพร้อมกับบำบัดอาการไอไปด้วย
ส่วนสาเหตุก้อมีได้มากมาย เป็นได้ตั้งแต่อาการไอเนื่องจากภาวะหลอดลมทางเดินหายใจอ่อนไหวได้ง่ายตามหลังการเป็นหวัดธรรมดา จนกระทั่งโรคต่างๆที่ต้องการรักษาเฉพาะที่ หรือโรคร้ายอื่นๆที่อาจซ่อนแฝงตามมาเช่น มะเร็งปอด
ระยะเวลาไอที่เข้าข่ายกลุ่มไอเรื้อรังอาจแตกต่างกันไป อาจนับตั้งแต่ 3 สัปดาห์จน กระทั่งถึง 8 สัปดาห์ ระยะเวลาดังกล่าวกำหนดขึ้นเพื่อ แยกอาการไอจากหวัดส่วนใหญ่ออกไปก่อน เพราะร้อยละ 70-80 ของอาการไอเนื่องจากหวัดมักหายภาย ใน 3 สัปดาห์ และอย่างช้าก็มักไม่เกิน 2 เดือน การที่ผู้ป่วยบางรายหายไอช้าเนื่องจากเยื่อบุผิวหลอดลมในทางเดินหายใจอาจยังไม่เข้าสู่สภาวะปกติหรือมีภาวะหลอดลมไวเกินไปหลงเหลืออยู่
เราควรไปตรวจเมื่อใด ?
ถ้าไอไม่หายใน 3 สัปดาห์ ก็ควรพบแพทย์ได้เลย เพื่อจะได้ทบทวนอาการ ประวัติความเจ็บป่วยใหม่ทั้งหมด ว่าเริ่มต้นเป็นมาอย่างไร มีอาการอื่นร่วมด้วยหรือไม่ สิ่งแวดล้อมที่อยู่เป็นอย่างไร ทานยาอะไรอยู่ พร้อมทั้งตรวจร่างกายโดยละเอียด เพราะโรคที่เป็นเหตุให้ไอเป็นได้ตั้งแต่บริเวณหู คอ จมูก หลอดลม ปอด หัวใจ กระบังลม และทางเดินอาหารส่วนบน
ส่วนใหญ่ถ้าคนไข้ไม่มีอาการโรคหวัดนำมาก่อนเลย คุณอาจได้รับการขอตรวจร่างกายอย่างละเอียดมากๆเพื่อแจกแจงลักษณะการไอของแต่ละโรคเพื่อสรุปหาต้นเหตุที่แท้จริง อย่าได้รำคาญหรือคิดว่าเรากำลังถ่วงเวลาแต่อย่างใด ระหว่างการไปตรวจรักษา อาจารย์หมอใจดีรวมทั้งทีมเภสัชกรจะให้ข้อมุลคุณอย่างครบถ้วนเพื่อบอกถึงสาเหตุของโรค แนวทางการรักษา ยาที่ใช้ การปฎิบัติตัวให้หายไอต่อไป
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 29 กย. 2553
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
- อาการไอ สาเหตุและแนวทางการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
- http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/07/25/entry-1
- ลูกรักมีอาการไอเรื้อรัง รักษา ป้องกันอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/07/29/entry-1
- Clinical Practice Guidelines: COUGH, The Royal Children's Hospital, Melbourne
- · Coughs, WebMD , http://www.emedicinehealth.com/coughs/article_em.htm
- · Cough, NetDoctor.co.uk , http://www.netdoctor.co.uk/health_advice/facts/cough.htm
- · Your child’d cough, KidsHealth,http://kidshealth.org/parent/general/eyes/childs_cough.html
- · ศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ,ไอ บอกสุขภาพลูก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.elib-online.com/doctors51/child_fever001.html
- · ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ ทำไมลูกไม่หายไอสักที, วิชัยยุทธจุลสาร, ฉบับที่ 36 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 2550
- · ผศ.นพ.จักรพันธ์ สุศิวะ โรคไอเรื้อรังในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ม.มหิดล
- · ยาแก้ไอ, Thailabonline , http://www.thailabonline.com/drug/drug9.htm
- · ภก.พนิดา จารุศิลาวงศ์, ยาแก้ไอ,หมอชาวบ้าน เล่ม : 2 เดือน-ปี : 06/2522, http://www.doctor.or.th/node/5109
- · นพ. สิทธิ์เทพ ธนกิจจารุ,ไอเรื้อรัง, วิชัยยุทธจุลสาร ฉบับที่ 35 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม 2549, http://www.vichaiyut.co.th/html/jul/35-2549/p29-31_35.asp
- · จงรักษ์ อุตรารัชต์กิจ และ ผศ.นพ.อรรถพล เอี่ยมอุดมกาล, วิธีการระบายน้ำมูกในโพรงจมูก, หน่วยโรคระบบการหายใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี , http://www.oknation.net/blog/DrPon/2009/12/16/entry-1
- · รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น