วันเสาร์ที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คู่มือรักษาสิว: ตอนที่ 5 รักษาสิวอย่างไรให้หาย โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

มาถึงตอนสำคัญกันแล้วคือการรักษาสิวที่ได้ให้หายสนิท มาดูกันว่ามีขบวนการรักษา ยาที่ใช้และการป้องกันไม่ให้สิวมารังควาญได้อีกต่อไปอย่างไร
สาเหตุสิวเกิด
มาทบทวนสาเหตุและกลไกการเป็นโรค รอย สิวแล้วจะทำให้เข้าใจในการรักษาต่อไปได้ง่ายขึ้น 
เริ่มต้นต่อมไขมันมีอยู่ทั่วๆไปตามผิวหนัง แต่พบมากบริเวณใบหน้า หนังศีรษะ หน้าอก และหลัง พอท่อเปิดของต่อมไขมันไปสู่รูขุมขนเกิดมีความผิดปกติ โดยเกิดมีการหนาตัวของชั้น corneum (hyper-cornification) ทำให้ท่ออุดตัน ถ้าการอุดตันนั้นยังมีทางเปิดสู่ผิวหนังภายนอกได้ก็จะพบสิวหัวเปิด (open or black head comedones) แต่ถ้ารูเปิดของท่อไขมันเล็กมากจนมองไม่เห็นเรียกว่า สิวหัวปิด (closed or white head comedones) เมื่อมีการอุดตันเพิ่มขึ้นไขมันจะสะสมอยู่ในท่อมากขึ้น เกิดอาการพองโตและแตก สารที่อยู่ภายในของต่อมไขมันกระจายไปสู่หนังกำพร้าและหนังแท้บริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดสิวอักเสบขึ้น ยิ่งโดนซ้ำเติมจากเชื้อ P. acnes ในต่อมไขมันหลั่งเอนไซม์ lipase ไปย่อยไขมันให้เกิดกรดไขมันอิสระซึมผ่านท่อต่อมไขมันไปสู่ผิวหนังใกล้เคียงทำให้เกิดการอักเสบ ถ้าการอักเสบอยู่ส่วนบนของผิวหนังจะเห็นเป็นตุ่มแดง (papule) และตุ่มหนอง (pustule) ถ้าการอักเสบอยู่ลึกลงไปจะเห็นเป็นก้อนบวม (nodule) หรือถุงสิว (cyst)

รูปการรักษาสิวแต่ละประเภท มาจาก http://www.medscape.com/viewarticle/726464_3
การรักษาสิวมีหลักเกณฑ์อย่างไรให้หายดังใจ
การรักษาจะว่าง่ายก็ใช่ โดยให้การดูแลตามสภาพพยาธิกำเนิด แต่คุณเองต้องเข้าใจก่อนว่า ผลการรักษาไม่สามารถจะให้หายได้อย่างรวดเร็วทันใจภายใน 1 สัปดาห์ ถ้าได้รับการรักษาที่เหมาะสมโดยทั่วไปอาจจะเห็นผลดีขึ้นบ้างอย่างน้อยภายใน 2-4 สัปดาห์ คุณเองจะรู้ได้ด้วยตนเองว่ามาถูกทางแล้วว่าสิวที่เกิดอักเสบลดลง สิวหัวขาวและดำลดปริมาณลงหรือเกิดและยุบลงเร็วกว่าเดิม
แต่การรักษาจะยากตรงที่คนไข้คาดหวังมากเกินไปและใจร้อน ซึ่งถ้าคุณเองได้รับการรักษาที่เหมาะสมและต่อเนื่องอาการสิวที่เลวร้ายจะค่อยๆหายไป จากประสบการณ์พบว่าต้องใช้เวลาประมาณ 2-6 เดือนขึ้นไป อาการจะดีมากขึ้นๆตามลำดับ 40% ของอาการโรคจะดีขึ้นเมื่อรักษาได้ครบ 2 เดือน เมื่อครบ 4 เดือนจะดีขึ้นประมาณ 60% และเมื่อครบ 6 เดือนจะดี ขึ้นประมาณ 80% หรือมากกว่าขึ้นกับการดูแลรักษาของคุณเองนั่นแหละครับ
ที่ยุ่งมากไปกว่านี้ ก้อคือปัญหาคนไข้มักใจร้อนทำให้รับการรักษาไม่ต่อเนื่อง คาดหวังมากเกินไปโดยหันไปหาทดลองวิธีใหม่ๆ หรือเปลี่ยนผู้ให้การรักษา ความจริงแล้วอาจจะเหมาะสมกว่าหรือแย่ลงก้อได้ คุณเองเป็นคนกำหนดครับว่าจะให้ความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญได้ดีแค่ไหน และพิสูจน์ได้จากอาการสิวควรจะดีขึ้นเรื่อยๆ
หายจากสิวแล้วต้องไปป้องกันไม่ให้เกิดใหม่
พอหายดีแล้ว อย่าได้ชะล่าใจไปอีก คุณๆที่ติดตามบทความชุดนี้มาจะทราบได้ว่าสงครามนี้ยังเกิดอีกยาวนานตราบเท่าที่คุณยังมีปัจจัยที่ทำให้เกิดสิวได้อีก ดังนั้นระหว่างรักษาคุณเองก้อต้องป้องกันไม่ให้สิวใหม่เกิดขึ้นหรือสิวเก่าเกิดการอักเสบมาได้อีก การป้องกันได้แก่
1. รักษาร่างกายให้แข็งแรงเพื่อเสริมภูมิความต้านทานของร่างกายต่อต้านเชื้อโรค โดยการลดความเครียด อย่าอดนอนหรือนอนดึก
2. บำรุงดูแลผิวหน้าให้สะอาด หลีกเลี่ยงการบีบ การแกะ การขัดถูสิว ตลอดจนการล้างหน้าบ่อยๆ เช็ดหน้าแรงๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามได้ จึงไม่ควรทำ
3. ค้นหาปัจจัยที่ก่อให้เกิดสิวของตัวเราเองให้ได้และหลีกเลี่ยงเสีย เช่นผู้ที่ผ่านพ้นวัยรุ่นไปแล้วยังคงเป็นสิว มักเกิดจากปัจจัยภายนอก เช่น สารเคมีในสบู่บางชนิด ครีมบำรุงผิว น้ำมัน และโลชันบางชนิด อาจกระตุ้นให้เกิดสิวได้
นอกจากนั้นควรหลีกเลี่ยงยาที่ไปเร่งขบวนการเกิดสิว ได้แก่สารสเตียรอยด์ทั้งชนิดทาและชนิดกิน Testosterone, Danazole, Lithium, Dilantin, Vitamin B 12 และยาที่มีส่วนผสมของเกลือโบรไมด์ ไอโอไดด์ในยาแก้ไอบางขนาน
วิธีที่ดีที่สุขในการรักษาสิวที่ได้ผล ผมว่ามาจากการกินอาหารที่ครบถ้วนพอเหมาะ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ รักษาความสะอาดร่างกายให้ดี รักษาจิตใจอย่าเครียด ทำจิตใจให้เบิกบาน ทำได้ดังนี้ "ผิวสวย หน้าใส" อยู่ไม่ไกลครับ
ตอนต่อไปเราจะมาเจาะลึกยาที่ใช้เรียงตัว ทั้งยาทาที่ใช้รักษาสิว กำจัดหัวสิว ต้านเชื้อแบคทีเรียและลดการอักเสบ รวมไปทั้งยากิน ทั้งยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ฮอร์โมนเพศ ยากินตัวใหม่ๆและวิตามินอาหารเสริมที่ช่วยลดสิว รักษาแผลเป็นจากสิวและบำรุงผิวหน้าให้ผ่องใสหลังหายจากสิวอีกด้วย
ถ้าคุณๆ ใจร้อนอยากทราบคำตอบทุกเรื่องเกี่ยวกับสิว จะตามไปอ่านบทความเกี่ยวกับการรักษาสิวที่ยังเข้มข้น สนุกสนานเหมือนเดิม โดยคลิ้กตามไปที่ link ข้างล่าง หรือจะให้ง่ายก้อ ใช้ google พิมพ์คำว่า อุทัย  สิว คุณก้อสามารถตาสว่างกับทุกคำตอบรักษาสิวให้หายสนิทต่อไป หรือส่งอีเมลล์มาถามที่ utaisuk@gmail.com ยินดีตอบรับทุกท่านครับ

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 24 ธค. 2554
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
·         John S. Strauss, MD, Chair of Workgroup, Guidelines of care for acne vulgaris management,4Th International Workshop for the Study of Itch Sanfrancisco California, September 9-11,2007, http://www.aad.org/research/_doc/ClinicalResearch_Acne%20Vulgaris.pdf
·         Lehmann HP, Robinson KA, Andrews JS, Holloway V, Goodman SN. Acne therapy:  Acne therapy: a methodologic review. J Am Acad Dermatol 2002;47:231-40.
·         ACNE, U.S. National Library of Medicine 8600 Rockville Pike, Bethesda, MD 20894 U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/acne.html
·         American Academy of Dermatology, ACNE, http://www.skincarephysicians.com/acnenet/acne.html
·         ACNE, Acne Treatment Site, D1 Interactive Media, Inc. - Acne Treatment Products, Forums, & Information Acne, http://www.acne-site.com/
·         Acne.com - Dermatologist advice on Acne, http://www.acne.com/#
·         ACNE, MedicineNet, http://www.medicinenet.com/acne/article.htm
·         Acne Medications, Drugs.com, Data sources include Micromedex™ [Updated 10 September 2010], Cerner Multum™ [Updated 21 September 2010], Wolters Kluwer™ [Updated 2 September 2010] and others.,  http://www.drugs.com/condition/acne.html
·         Prescription treatments for acne, Acne.org - A community organization, http://www.acne.org/prescription.php
·         ACNE: Treatments and drugs By Mayo Clinic staff, Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER).,http://www.mayoclinic.com/health/acne/DS00169/DSECTION=treatments-and-drugs
·         Acne Drug Information, Health Central-MY skincare connection, The HealthCentral Network, http://www.healthcentral.com/skin-care/drug-info.html
·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) , คลีนิคเล่ม: 277 เดือน-ปี: 01/2551, http://www.doctor.or.th/node/6867
·         Thiboutot D. New treatments and therapeutic strategies for acne. Arch Fam Med 2000;9:179-87.
·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 2 , คลีนิคเล่ม: 228 เดือน-ปี: 02/2551, http://www.doctor.or.th/node/6921
·         Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9
·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 3 , คลีนิคเล่ม: 229 เดือน-ปี: 03/2551,
·         Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9.
·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 4 , คลีนิคเล่ม: 230 เดือน-ปี: 04/2551
·         Goldsmith LA, Bolognia JL, Callen JP, Chen SC, Feldman SR, Lim HW, et al. American Academy of Dermatology Consensus, Conference on the safe and optimal use of isotretinoin: summary and recommendations. J Am Acad Dermatol 2004;50:900-6. Erratum in J Am Acad Dermatol 2004;51:348.
·         1984;10:490-6.ปรียา กุลละวณิชย์ และประวิตร พิศาลบุตร บรรณาธิการ, Dermatology 2000 ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบันกรุงเทพมหานคร: บริษัทโฮลิสติกพับลิชชิ่งจำกัด2540.
·         อภิชาติ ศิวยาธร และกนกวลัย กุลทนันทร์ บรรณาธิการโรคผิวหนังที่ต้องรู้สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไปกรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน2546
·         ประทีป วรรณิสสร พยาธิกำเนิดของโรคสิว องค์ความรู้ใหม่ วารสารโรคผิวหนัง 2549; 22: 74-81. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
·         ผศ. ภญ. นิตยาวรรณ กุลวณาวรรณภญ. นิตย์ธิดา ภัทรธีระกุล, ยารักษาสิว, วารสารเภสัชชุมชน ปีที่ ฉบับที่ 43 พศ.2553
·         รศ. นพนภดล นพคุณ แนวทางการดูแลรักษาโรค Acne Clinical Practice Guideline Acne, thaigovweb.com/mophweb/file/doc/news21193-121209-173007.pdf
·         สาเหตุ และ ประเภทของ สิว (Acne), Doctor Cosmetic, http://www.doctorcosmetics.com/read_content.php?id=1607&pagetype=articles
·         รัศนี อัครพันธุ์. โรคของต่อมไขมัน. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังใน เวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010). กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70.
·         ปรียา กุลละวณิชย์วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์. Facial dermatitis. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010) . กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70
·          Acne Treatments & Skin Care, SkinCareGuide.com, http://www.acne.ca/index.html
·         ประวิตร พิศาลบุตรยารับประทานโรคสิววิชัยยุทธเวชสาร, July 2528, ,www.vichaiyut.co.th/jul/28_02-2547/28_02-2547_P77-81.pdf
·         ประวิตร พิศาลบุตร, blog ความรู้เรื่องผิวหนัง http://myskinarticles.blogspot.com
·         เพ็ญวดี ทิมพัฒนพงศ์. ตำราเรื่องสิว วิทยาการก้าวหน้าและโรคที่เกี่ยวข้อง. 2536 หน้า 87-99
คู่มือรักษาสิวให้หายสนิทตอนที่ ทุกคำถามเรื่องสิว เรามีคำตอบ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/08/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคสิว โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล , http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/11/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ สาเหตุของการเกิดสิว โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/14/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ 4 ประเภทของสิว โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุลhttp://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/11/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ 5 รักษาสิวอย่างไรให้หายและไม่เกิดแผลเป็น โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/11/15/entry-1



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น