“อยากรู้จริงๆว่า ทำไมเราเป็นสิวได้ง่ายนักนะ อะไรเป็นตัวเร่งทำให้สิวเกิดขึ้นยุ่บยั่บ จะได้ดูแลและป้องกัน หน้าจะได้นวลใสเสียที“
ไม่ว่าคุณจะเป็น เด็กวัยรุ่น สาววัยทำงาน หรือย่างเข้าสุ่วัยกลางชีวิต แล้วก้อตามแต่ละคนมีโอกาสสัมผัสประสบการณ์ปุ่มปมของสิวทั้งที่เกิดบนใบหน้าหรือแผ่นหลังมาอย่างแล้วอย่างโชกโชน จนเบื่อแสนเบื่อมาแล้ว ลองมาติดตามหาคำตอบของคำถามข้างบน เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วจะได้หาวิธีรักษาและดูแลผิวให้หายสนิทจากสิวกันต่อไปสาเหตุของการเกิดสิว
จากไขมันอุดตัน แล้วกลายไปเป็นสิวได้อย่างไร
เมื่อตอนที่แล้วเราได้สืบไปถึงต้นเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงฮอร์โมนเพศ ที่ไปมีผลต่อสภาพผิวของเราเมื่อย่างเข้าสู่วัยเริ่มเป็นหนุ่มสาว จนเป็นต้นเหตุให้เกิดสิวอุดตันเล็กๆขึ้นมา ครานี้ไอ้ก้อนตุ่มสิวปูดโปนแล้วมีแดง บวม จนบางทีมีหนองอักเสบนี่มันมาได้อย่างไรนะ เราลองมาดูกัน
การเกิดสิวใต้ผิวหนังเราเกิดได้อย่างไร?
รูปประกอบมาจาก http://www.knowabouthealth.com/basic-facts-about-formation-of-pimple/2688/
1. เริ่มต้น ผิวหนังตรงสิวปูดโปนขึ้นมา เกิดจากการหนาตัวของผิวหนังชั้น corneum (hyper-cornification)
เราได้เล่าให้ฟังถึงว่า ต่อมไขมัน (sebaceous gland) ที่ใต้ผิวหนังโตขึ้นและผลิตไขมัน (sebum) ออกมามากขึ้น และในยามที่คุณดูแลผิวดี ก็จะระบาย sebum นี้ ออกมาตามรูขุมขน ถ้าหากรูขุมขนเกิดการอุดตัน ท่อของรูขุมขนซึ่งต่อมไขมันมาเปิดเชื่อมต่อมีการหนาตัวมากขึ้นๆ เกิดจากการระคายเคืองจากไขมัน จากต่อมไขมันที่อุดตัน
2. เสริมกับต้นเหตุจากฮอร์โมนที่ชื่อว่า Testosterone ในกระแสเลือด
เจ้าฮอร์โมนนี้จะเปลี่ยนไปเป็น dihydrotestosterone ในเนื้อเยื่อของเราเอง โดยอาศัยเอนไซม์ 5-a reductase dihydrotestosterone ไปกระตุ้นให้ต่อมไขมันมีขนาดใหญ่ขึ้นๆ และหลั่งไขมันออกมามากขึ้นทุกทีๆ ไขมันก้อนนี้แหละจะมีส่วนประกอบของ free fatty acid, squalene และsqualene oxide ที่จะไปซ้ำเติมเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสิวและการอักเสบที่ผิวหนัง แต่ในคนไข้บางรายมีระดับ testosterone ในกระแสเลือดปกติ แต่กลับพบว่า dihydrotestosteroneในเนื้อเยื่อสูงกว่าปกติจึงทำให้เกิดสิวตามมาเยอะได้ในที่สุด
3. ถ้าไม่รักษาความสะอาดให้ดี แบคทีเรียจะมาซ้ำเติมให้เกิดการอักเสบ
แบคทีเรียตัวหลักคือคือ Propionibacterium acnes (P. acnes) เชื้อตัวนี้มันจะไปย่อยไขมันจากต่อมไขมันให้เป็น free fatty acid โดยอาศัยเอนไซม์ lipase นอกจากนั้น P. acnes ยังหลั่งเอนไซม์ protease, hyaluronidase และ low molecular weight chemotactic factor ซึ่งสารเหล่านี้จะทำให้เกิดกระบวนการอักเสบขึ้น
4. สุดท้ายขึ้นอยุ่กับว่าร่างกายของคุณเองมีการตอบสนองอย่างไร
เนื่องจากพอเกิดขบวนการอักเสบขึ้นมา ร่างกายคุณเองจะมีการตอบสนองที่แตกต่างกันไป เราพบว่าผู้ที่เป็นสิวอย่างรุนแรงจะมีปริมาณของสารที่ทำให้เกิดภูมิต้านทานหรือแอนติบอดี้ต่อต้าน P. acnes มากขึ้น จึงทำให้อาการสิวมากอย่างรุนแรง
ต้นเหตุการเกิดสิว รูปประกอบจาก http://www.knowabouthealth.com/basic-facts-about-formation-of-pimple/2688/
ปัจจัยอะไรที่กระตุ้นให้เกิดสิวมีอะไรบ้าง
อันนี้เป็นคำถามยอดนิยม ว่ามีอะไรกันนะที่เร่งให้เป็นสิวได้ง่าย เรามาดูว่าอะไรกันแน่นะที่เป็นตัวซ้ำเติมให้เรามีอาการสิวมากขึ้น
1. พันธุกรรม เราพบว่าในเด็กที่เป็นสิวจะมีพ่อหรือแม่เป็นสิวมาก่อนมากถึง 45% แต่ในเด็กที่ไม่เป็นสิวจะมีพ่อหรือแม่เป็นสิวเพียง 8% เท่านั้น ถ้ารู้ว่าเราเป็นสิวมาก่อน คงต้องเตรียมตัวดูแลลูกเราให้ดีต่อไปนะครับ
2. ยาหลายชนิดอาจทำให้เกิดสิว หรือทำให้เกิดสิวเห่อมากขึ้น ยาบางอย่างทำให้เกิดสิวได้ และจะเกิดเฉพาะคนบางคนเท่านั้น ยาที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคสิวในคนส่วนใหญ่ ได้แก่
· corticosteroids ทั้งยารับประทานและยาทา
· androgens รวมทั้ง anabolic steroids และ gonadotropins
· testosterone รวมทั้งในรูปยาฉีดด้วย
· ยาอื่นๆได้แก่ danazole, lithium, dilantin, vitamin B 12, ยาที่มีส่วนผสมของเกลือโบรไมด์ ไอโอไดด์ เช่น ยาแก้ไอบางขนาน
3. เครื่องสำอาง บำรุงผิว (cosmetic acne, acne detergicans, pomade acne)
ในบางคนพอไปใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ olive oil, white petrolatum, lanolin หรือสบู่ที่มีส่วนผสมของ tar, sulfur หรือสารฆ่าเชื้อบางตัว เช่น hexachlorophene ซึ่งสารเหล่านี้สามารถกระตุ้นให้เกิดสิวได้
4. Premenstrual acne
นี่เป็นคำตอบว่าทำไมคุณผู้หญิงจึงมักจะมีสิวมากขึ้นใน 1 สัปดาห์ก่อนมีประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่หลั่งออกมามากในช่วงนั้นทำให้มีการคั่งของน้ำในร่างกาย รูขุมขนจะบวมมากขึ้น การไหลผ่านของไขมันเป็นไปได้ไม่ดี สิวมักเห่อใน 2-3 วันต่อมาในที่สุด
5. ภาวะเครียด
ไม่ว่าต้นเหตุจะเกิดจากที่ร่างกายอดนอนบ่อยๆ หรือนอนดึก ชั่วโมงนอนไม่เพียงพอ สตรีในช่วงขณะมีประจำเดือนที่กล่าวมาแล้ว ทำไมความเครียดจึงทำให้สิวมากขึ้นคาดว่าเกิดจากช่วงนั้นจะมีการหลั่งฮอร์โมนกระตุ้นให้เกิดสิวมากขึ้น ซ้ำด้วยร่างกายที่อ่อนแอลงมีผลต่อเนื่องทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายคุณเองจะลดต่ำลง จึงทำให้เชื้อโรคเจริญเติบโตมากขึ้นกระตุ้นให้เกิดสิวมากขึ้นตามาอีก
6. อาชีพและสิ่งแวดล้อม
คุณที่ต้องอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ทำงานในที่ที่มีอากาศร้อนชื้น ทำให้เหงื่อออกมาก ทำให้เกิดการบวมของท่อไขมันและเกิดสิวตามมาได้ รวมไปถึงการทำงานที่ต้องสัมผัสกับน้ำมันก็อาจทำให้เกิดสิวได้ เช่น น้ำมันเครื่องจักรกล, crude petroleum tar
7. พฤติกรรมการดูแลผิวของคุณเอง
พอคุณได้มีความรู้ไปดูแลผิวแล้ว หมั่นทำความสะอาดผิวให้ถูกวิธี เลี่ยงการใช้สารเคมีที่กระตุ้นให้สิวเบ่ง เลิกพฤติกรรมในการบีบ การแกะ การขัดถูสิว ตลอดจนการล้างหน้าบ่อยๆ เช็ดหน้าแรงๆ ซึ่งทำให้เกิดการติดเชื้อลุกลามได้
สุดท้ายเป็นคำถามยอดนิยม ช็อกโกแลตหรืออาหารที่มีไขมันมาก มีผลทำให้สิวเห่อมากขึ้นหรือไม่ แต่จากการศึกษาเรากลับไม่พบความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับความรุนแรงของสิวแต่อย่างใดครับ
ตอนหน้ามาดูว่าประเภทของสิวจะมีอะไรบ้าง ทั้งสิวหัวดำ สิวอักเสบ จะได้รักษากันให้ถูกต้องต่อไป ส่วนท่านที่เพิ่งตามมาอ่าน ตามไปอ่านตอนย้อนหลังได้ที่แหล่งข้อมูลครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 21 ธค. 2554
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
· รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
· John S. Strauss, MD, Chair of Workgroup, Guidelines of care for acne vulgaris management,4Th International Workshop for the Study of Itch Sanfrancisco California, September 9-11,2007, http://www.aad.org/research/_doc/ClinicalResearch_Acne%20Vulgaris.pdf
· Lehmann HP, Robinson KA, Andrews JS, Holloway V, Goodman SN. Acne therapy: Acne therapy: a methodologic review. J Am Acad Dermatol 2002;47:231-40.
· ACNE, U.S. National Library of Medicine 8600 Rockville Pike, Bethesda, MD 20894 U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/acne.html
· American Academy of Dermatology, ACNE, http://www.skincarephysicians.com/acnenet/acne.html
· ACNE, Acne Treatment Site, D1 Interactive Media, Inc. - Acne Treatment Products, Forums, & Information Acne, http://www.acne-site.com/
· Acne.com - Dermatologist advice on Acne, http://www.acne.com/#
· ACNE, MedicineNet, http://www.medicinenet.com/acne/article.htm
· Acne Medications, Drugs.com, Data sources include Micromedex™ [Updated 10 September 2010], Cerner Multum™ [Updated 21 September 2010], Wolters Kluwer™ [Updated 2 September 2010] and others., http://www.drugs.com/condition/acne.html
· Prescription treatments for acne, Acne.org - A community organization, http://www.acne.org/prescription.php
· ACNE: Treatments and drugs By Mayo Clinic staff, Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER).,http://www.mayoclinic.com/health/acne/DS00169/DSECTION=treatments-and-drugs
· Acne Drug Information, Health Central-MY skincare connection, The HealthCentral Network, http://www.healthcentral.com/skin-care/drug-info.html
· ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) , คลีนิคเล่ม: 277 เดือน-ปี: 01/2551, http://www.doctor.or.th/node/6867
· Thiboutot D. New treatments and therapeutic strategies for acne. Arch Fam Med 2000;9:179-87.
· ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 2 , คลีนิคเล่ม: 228 เดือน-ปี: 02/2551, http://www.doctor.or.th/node/6921
· Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9
· ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 3 , คลีนิคเล่ม: 229 เดือน-ปี: 03/2551,
· Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9.
· ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 4 , คลีนิคเล่ม: 230 เดือน-ปี: 04/2551
· Goldsmith LA, Bolognia JL, Callen JP, Chen SC, Feldman SR, Lim HW, et al. American Academy of Dermatology Consensus, Conference on the safe and optimal use of isotretinoin: summary and recommendations. J Am Acad Dermatol 2004;50:900-6. Erratum in J Am Acad Dermatol 2004;51:348.
· 1984;10:490-6.ปรียา กุลละวณิชย์ และประวิตร พิศาลบุตร บรรณาธิการ, Dermatology 2000 ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน, กรุงเทพมหานคร: บริษัทโฮลิสติกพับลิชชิ่งจำกัด, 2540.
· อภิชาติ ศิวยาธร และกนกวลัย กุลทนันทร์ บรรณาธิการ, โรคผิวหนังที่ต้องรู้สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน, 2546
· ประทีป วรรณิสสร พยาธิกำเนิดของโรคสิว องค์ความรู้ใหม่ วารสารโรคผิวหนัง 2549; 22: 74-81. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
· ผศ. ภญ. นิตยาวรรณ กุลวณาวรรณ, ภญ. นิตย์ธิดา ภัทรธีระกุล, ยารักษาสิว, วารสารเภสัชชุมชน ปีที่ 8 ฉบับที่ 43 พศ.2553
· รศ. นพ. นภดล นพคุณ , แนวทางการดูแลรักษาโรค Acne Clinical Practice Guideline Acne, thaigovweb.com/mophweb/file/doc/news21193-121209-173007.pdf
· รัศนี อัครพันธุ์. โรคของต่อมไขมัน. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังใน เวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010). กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70.
· ปรียา กุลละวณิชย์, วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์. Facial dermatitis. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์, ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010) . กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70
· Acne Treatments & Skin Care, SkinCareGuide.com, http://www.acne.ca/index.html
· ประวิตร พิศาลบุตร, ยารับประทานโรคสิว, วิชัยยุทธเวชสาร, July 2528, ,www.vichaiyut.co.th/jul/28_02-2547/28_02-2547_P77-81.pdf
· ประวิตร พิศาลบุตร, blog ความรู้เรื่องผิวหนัง, http://myskinarticles.blogspot.com
· เพ็ญวดี ทิมพัฒนพงศ์. ตำราเรื่องสิว วิทยาการก้าวหน้าและโรคที่เกี่ยวข้อง. 2536 หน้า 87-99
· สิวเกิดขึ้นได้อย่างไร? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล http://www.oknation.net/blog/DIVING/2009/07/11/entry-1
· คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ 1 ทุกคำถามเรื่องสิว เรามีคำตอบ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/08/entry-1
· คู่มือรักษาสิวให้หายสนิท: ตอนที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคสิว โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล , http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/11/entry-1
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น