“ล้างสารพิษ หน้าใส ผิวผ่อง ลมหายใจหอมสดชื่น” คือภาพฝันคุณที่คุณๆได้รับเชิญชวน (อีกแล้ว) จากกองทัพอาหารเสริมคลอโรฟิลล์ Chlorophyll ที่แวะเวียนมาเคาะประตูบ้านคุณ ก็ไม่ว่าอะไรหรอกครับเพราะใครๆก็อยากสวยอยากปลอดจากสารพิษเหมือนต้นไม้ที่มีสีเขียวคลอโรฟิลล์คอยปกป้องอยู่บ้าง เราเลยต้องมาเล่าความจริงทางเภสัชวิทยาให้คุณได้รู้จริงว่ามันจะได้ผลจริงไหม
ภาพประกอบ: Chloroplast model from http://www.daviddarling.info/encyclopedia/C/chloroplasts.html คลอโรฟิลล์ (chlorophyll)
เป็นเม็ดสีที่พบในพืช ผัก สาหร่ายสีเขียว ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานแสงเป็นน้ำตาลกลูโคส โดยต้องทำงานร่วมกับโปรตีนชนิดอื่นๆ ที่อยู่ในพืช
ถ้าคุณเอาใบไม้มาตำๆแล้วคั้นน้ำออกมาไปตรวจในห้องทดลอง คุณจะพบสารมีสีที่ชื่อว่าคลอโรฟิลล์ เป็นชื่อของกลุ่มของสารที่มีสีในตัวที่พบได้ในพืชทั่วๆไป การที่มันมีสีในตัวเองจึงมีหน้าที่ดักจับพลังงานแสงที่สาดส่องมาเพื่อใช้ในขบวนการสังเคราะห์แสงซึ่งเกิดขึ้นในในชั้น Chloroplasts ของใบพืช สารนี้ไม่จำเป็นต้องมีสีเขียวแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากเราจะพบมันได้ในพืชระดับชั้นต่ำเช่นในสาหร่ายแต่จะมีสีแตกต่างกันไป ที่เรียกว่าพืชชันต่ำก็เพราะว่ามันเป็นพืชที่มีองคาพยพแค่ใบ ในขณะที่พืชชั้นสูงจะมีวิวัฒนาการโดยใบจะมีการกลายไปเป็นดอกหรือ ผล เพื่อทำหน้าที่เฉพาะได้ดียิ่งขึ้น ดังนั้นเราจึงสามารถแบ่งออกเจ้าสารมีสีนี้ออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่
1. คลอโรฟิลล์ a มีสีเขียวแกมน้ำเงิน พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดที่สังเคราะห์แสงได้
2. คลอโรฟิลล์ b มีสีเขียวแกมเหลือง พบในพืชชั้นสูงทุกชนิดและสาหร่ายสีเขียว
3. คลอโรฟิลล์ c พบในสาหร่ายสีน้ำตาลและสาหร่ายสีทอง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง
4. คลอโรฟิลล์ d พบในสาหร่ายสีแดง แต่ไม่พบในพืชชั้นสูง
หน้าที่ของคลอโรฟิลล์คือต้านอนุมูลอิสระ
จากการวิจัยเราพบว่าสารนี้มีฤทธิ์ต้านทานสารก่อกลายพันธุ์ที่ยังไม่ทราบกลไกอย่างแจ้งชัด อาจเป็นผลมาจากตัวมันเองทำหน้าที่เป็นตัวกำจัดอนุมูลอิสระ การทำงานของสารนี้ในชั้นChloroplasts นั้นโมเลกุลของคลอโรฟิลล์จะทำงานได้เมื่อมันอยู่ในสภาพไม่ละลายในน้ำเท่านั้น
ทำไมจึงนำเอาคลอโรฟิลล์มาใช้
ก็มีบุคคลากรทางสาธารณสุขบางท่านก็อนุมานว่าคลอโรฟิลล์สามารถทำหน้าที่ในการต้านอนุมูลอิสระได้ดังกล่าว จึงมีแนวคิดในการนำสารนี้มาเป็นสารอาหารเพื่อวางจำหน่าย โดยในหลากหลายผลิตภัณท์เสริมอาหารที่นำมาวางขายกันอยู่ จะเป็นคลอโรฟิลล์ที่ผ่านการสังเคราะห์มาแล้ว ให้มีโครงสร้างคล้ายๆกับคลอโรฟิลล์ในธรรมชาติและละลายในน้ำได้ดี วัตถุประสงค์จริงๆของสารนี้ในตอนต้นก็เพื่อนำมาเป็นสีเขียวในสีผสมอาหารและเครื่องดื่มเท่านั้น ขอย้ำว่าคลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ต้านอนุมูลอิสระได้ในชั้นของใบพืชนั้น เมื่อมันอยู่ในสภาพไม่ละลายในน้ำเท่านั้น
แหล่งของคลอโรฟิลล์ในธรรมชาติ
พบมากในผลไม้ ผักที่มีสีเขียว ถ้าคุณชอบกินผัก ผลไม้สดเป็นประจำอยู่แล้วคุณก็ได้รับคลอโรฟิลล์จากธรรมชาติที่ดีที่สุดอยู่แล้ว
อันตรายของคลอโรฟิลล์ที่มากเกินไป
อย.สหรัฐได้กำหนดความปลอดภัยในการนำสารนี้มาเป็นสีผสมอาหารในผู้ใหญ่ไม่ควรเกินวันละ 300 มิลลิกรัมต่อวัน และในเด็กไม่ควรเกิน 90 มิลลิกรัมต่อวัน ก่อนกินสารนี้คุณควรตรวจว่าคุณมีอาการแพ้หรือไม่ เพราะจะทำให้เกิดอาการผื่นแพ้ เวียนศีรษะ เหงื่อออกมากจนหมดสติไปได้ในที่สุด หากคุณกินมากเกินไป จะมีผลทำให้อึหรือฉี่ออกมาเป็นสีเขียวได้ ถ้าเป็นมากๆอาจทำให้ท้องเสียได้
จบตอนแรกไปแล้วครับ ตอนต่อไปจะมาเฉลยว่าสรรพคุณมากมายที่คุณต้องนำเงินไปแลกกับคลอโรฟิลล์ที่บบรจุมาในซองผลิตภัณท์แสนสวยนั้นจะคุ้มค่าจริงหรือไม่
หากคุณๆอยากทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหารเสริมและวิตามินต่างๆ สามารถขอคำแนะนำเพิ่มเติมได้จากเภสัชกรใจดีที่ร้านยาได้เลยครับ พวกเราเภสัชกรยินดีและเต็มใจรับใช้พี่น้องครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 4 ธค. 2554
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2009/03/28/entry-2
· Rudolph C. The therapeutic value of chlorophyll. Clin Med Surg 1930:37;119-21.
· Chernomorsky SA, Segelman AB. Biological activities of chlorophyll derivatives. N J Med 1988:85;669-73.
· Gruskin B. Chlorophyll-its therapeutic place in acute and suppurative disease. Am J Surg 1940:49;49-56.
· Hayatsu H, Negishi T, Arimoto S, et al. Porphyrins as potential inhibitors against exposure to carcinogens and mutagens. Mutat Res 1993:290;79-85.
· Drugs.com, “Chlorophyll” http://www.drugs.com/enc/chlorophyll.html
· เอกราช เกตวัลห์ สถาบันวิจัยโภชนาการ ม.มหิดล, “คลอโรฟิลล์ หลายคำถามที่คุณอยากรู้”, Herb for Health ฉบับที่ 9 มีนาคม 2552
· วรานุรินทร์ ยิสารคุณ ภาควิชาวิทยาศาสตร์การแพทย์ “น้ำคลอโรฟิลล์” สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยบูรพา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น