วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

คู่มือรักษาสิว ตอนที่ 2 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคสิว โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ทำไมเราต้องเป็นสิวด้วยนะ ทำไมคนอื่นเขาถึงไม่เห็นมีเยอะเหมือนเราเลย 

ไม่ว่าคุณจะเป็น เด็กวัยรุ่น สาววัยทำงาน หรือย่างเข้าสุ่วัยกลางชีวิต แล้วก้อตามแต่ละคนมีโอกาสสัมผัสประสบการณ์ปุ่มปมของสิวทั้งที่เกิดบนใบหน้าหรือแผ่นหลังมาอย่างแล้วอย่างโชกโชน จนเบื่อแสนเบื่อมาแล้ว ลองมาติดตามหาคำตอบของคำถามข้างบน เพื่อให้เข้าใจอย่างถ่องแท้แล้วจะได้หาวิธีรักษาและดูแลผิวให้หายสนิทจากสิวกันต่อไป
สิวเป็นเรื่องธรรมชาติ จริงๆนะ 
สิวเป็นปัญหาที่พบบ่อยมากในวัยหนุ่มสาว และบางคนในวัยอื่นๆ ความจริงแล้วสิวส่วนใหญ่เกิดขึ้นและหายได้เองโดยการดูแลอย่างถูกต้อง แต่เราทุกคนก้ออยากให้ผิวเราสวยงาม ไม่ไปเป็นสิวปูดขึ้นที่ใบหน้าหรือ/และส่วนบนของลำตัว หากดูแลไม่ดีแล้ว เมื่อหายแล้วก็มักจะทิ้งรอยแผลเป็นให้กังวลไปอีกได้ชั่วชีวิต โดยเฉพาะทุกเวลาเมื่อส่องกระจกสำรวจผิวเราเอง

จากสถิติของสถาบันโรคผิวหนัง สิวเป็นสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยมาเยอะมากๆเป็นอันดับที่ 2 ของผู้ป่วยทั้งหมด เป็นชายร้อยละ 33 และหญิงร้อยละ 67 

ความจริงอาการจะเริ่มปรากฏได้ในวัยรุ่นหญิงช่วงอายุ 14-17 ปี และในผู้ชายอายุ 16-17 ปี ความรุนแรงของสิวจะมากขึ้น 3-5 ปี หลังจากเริ่มเป็นสิวและมักหายไปในช่วงอายุ20-25 ปีได้เองในที่สุด และ 85% ของผู้ที่เป็นสิว จะเป็นชนิดไม่รุนแรง มีเพียงร้อยละ 15 เท่านั้นที่เป็นสิวอักเสบชนิดรุนแรง

เมื่ออายุพ้นช่วงวัยรุ่นไปแล้ว สิวจะค่อยๆ ทุเลา ยกเว้นผู้ป่วยบางรายยังคงเป็นสิวมากจนสมควรจะต้องรักษาเมื่ออายุถึง 35 ปี หรือมากกว่านั้น นอกจากนี้ยังพบว่าในวัย 40 ปี ร้อยละ 1 ของผู้ชาย และร้อยละ 5 ของผู้หญิงยังคงเป็นสิว แต่ที่ร้านของผม เรากลับพบว่าผู้หญิงวัยทำงานหลายรายกลับมาเป็นสิวเมื่อเลยวัย 25 ปีขึ้นไปแล้ว อาจจะเป็นเพราะผู้หญิงมีการใช้เครื่องสำอางเพื่อเสริมสร้างความงาม (cosmetic acne) หรือการเปลี่ยนแปลงสภาพฮอร์โมนซึ่งจะได้กล่าวต่อไป

สิวเกิดขึ้นได้อย่างไร?

สาเหตุที่วัยรุ่นเป็นสิวกันมากเนื่องมาจากเป็นวัยที่เริ่มมีฮอร์โมนเพศที่ชื่อว่า Androgen หรืออีกชื่อหนึ่งว่า เทสโตสเตอโรน (testosterone) ที่ผลิตออกมามากทั้งในเด็กหญิงแรกแย้มและเด็กชายวัยกระเตาะ แต่ในเด็กชายฮอร์โมนนี้จะสร้างโดยอัณฑะของเขา และในเด็กสาวจะสร้างจากต่อมหมวกไต

เจ้าตัวฮอร์โมนเพศนี้นอกเหนือจากการไปกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสรีระหลายอย่างที่เรียกกันว่าแตกหนุ่ม แตกสาว” แล้ว

เจ้าฮอร์โมนนี้ยังมีผลไปจะกระตุ้นให้ต่อมไขมัน (sebaceous gland) ที่ใต้ผิวหนังโตขึ้นและผลิตไขมัน (sebum) ออกมามากขึ้นและจะระบาย sebum นี้ ออกมาตามรูขุมขน ถ้าหากรูขุมขนเกิดการอุดตัน เนื่องจากหนังกำพร้าชั้นนอกตรงบริเวณนั้น มีการหนาตัว ก็จะทำให้เกิดการคั่งของน้ำมันในรูขุมขน จุติเป็นหัวสิวหรือที่รู้จักกันดีในชื่อ คอมมิโดน (comedone) เจ้าก้อนไขมันที่เกิดจากการจับตัวของชั้นหนังกำพร้าไปผสมกับชั้นขี้ไคลบริเวณท่อน้ำมัน เริ่มแรกก็โตไม่มากนักแต่หากมีไขมันคั่งค้างมากขึ้น มันก็จะมีขนาดใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นก้อนโตดันผิวหนังของคุณด้านบนๆ ให้มองเห็นได้เป็นเม็ดเล็กๆที่เรียกกันว่า "สิวเสี้ยน" ซึ่งจะมีลักษณะเป็นสิวหัวดำและสิวหัวขาวเมื่อมีการอุดตันเกิดขึ้นตามมา

กลไกการเกิดสิว รูปประกอบจาก http://askdrmakkar.com/acne.htm 
ไขมันที่สะสมมากขึ้นๆในรูขุมขน ถ้ามากเกินไปก็จะพองโตเรื่อยๆและแตกกระจายไปยังหนังกำพร้าและหนังแท้บริเวณใกล้เคียง ทำให้เกิดการอักเสบของสิวขึ้น เชื้อแบคทีเรียที่ปกติอาศัยอยู่แล้วในต่อมไขมันที่เรียกว่า P. acnes หรือ Propionibacterium acnes จะเติบโดมากขึ้นโดยการไปสลายไขมันไตรกลีเซอไรด์ที่อยู่อุดมไปหมดในชั้นผิวหนังที่มั้นมันของคุณให้กลายเป็นกรดไขมันอิสระ (free fatty acid) ซึ่งเป็นตัวการให้เกิดสิวอักเสบซึ่งมีอาการอักเสบ เป็นตุ่มนูนแดง หรือเป็นหนองที่เรียกว่าสิวหัวหนอง” ถ้าอักเสบรุนแรง หัวสิวเล็กๆก็อาจปูดโปนเป็นตุ่มนูนใหญ่ขึ้นที่ เรียกว่า สิวหัวช้าง” ในที่สุด
สิวแต่ละประเภท รูปประกอบจาก http://www.acne-site.com/basics.htm
ยิ่งไปกว่านั้น การใช้เครื่องสำอางและยาหลาย ๆ ชนิดมากขึ้นยิ่งเร่งไปซ้ำเติมให้เกิดสิวมากขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้จะให้เกิดการจับตัวกันของหนังกำพร้า หรือชั้นขี้ไคลอุดตันในท่อน้ำมันเกิดเป็นหัวสิวได้ง่ายขึ้น

ตอนต่อไป มารู้จักสาเหตุของการเกิดสิวที่เร่งเร้าให้สิวเกิดการปูดโปนออกมาได้เร็วเต็มหน้า และรักษาหายช้ามากจริงๆ ส่วนท่านที่เพิ่งตามมาอ่าน ตามไปอ่านได้ที่แหล่งข้อมุลครับ

แหล่งข้อมูล

เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 8 ธค. 2554

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท

·         John S. Strauss, MD, Chair of Workgroup, Guidelines of care for acne vulgaris management,4Th International Workshop for the Study of Itch Sanfrancisco California, September 9-11,2007, http://www.aad.org/research/_doc/ClinicalResearch_Acne%20Vulgaris.pdf

·         Lehmann HP, Robinson KA, Andrews JS, Holloway V, Goodman SN. Acne therapy:  Acne therapy: a methodologic review. J Am Acad Dermatol 2002;47:231-40.

·         ACNE, U.S. National Library of Medicine 8600 Rockville Pike, Bethesda, MD 20894 U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/acne.html

·         American Academy of Dermatology, ACNE, http://www.skincarephysicians.com/acnenet/acne.html

·         ACNE, Acne Treatment Site, D1 Interactive Media, Inc. - Acne Treatment Products, Forums, & Information Acne, http://www.acne-site.com/

·         Acne.com - Dermatologist advice on Acne, http://www.acne.com/#

·         ACNE, MedicineNet, http://www.medicinenet.com/acne/article.htm

·         Acne Medications, Drugs.com, Data sources include Micromedex™ [Updated 10 September 2010], Cerner Multum™ [Updated 21 September 2010], Wolters Kluwer™ [Updated 2 September 2010] and others.,  http://www.drugs.com/condition/acne.html

·         Prescription treatments for acne, Acne.org - A community organization, http://www.acne.org/prescription.php

·         ACNE: Treatments and drugs By Mayo Clinic staff, Mayo Foundation for Medical Education and Research (MFMER).,http://www.mayoclinic.com/health/acne/DS00169/DSECTION=treatments-and-drugs

·         Acne Drug Information, Health Central-MY skincare connection, The HealthCentral Network, http://www.healthcentral.com/skin-care/drug-info.html

·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) , คลีนิคเล่ม: 277 เดือน-ปี: 01/2551, http://www.doctor.or.th/node/6867

·         Thiboutot D. New treatments and therapeutic strategies for acne. Arch Fam Med 2000;9:179-87.

·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 2 , คลีนิคเล่ม: 228 เดือน-ปี: 02/2551, http://www.doctor.or.th/node/6921

·         Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9

·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 3 , คลีนิคเล่ม: 229 เดือน-ปี: 03/2551,

·         Huber J, Walch K. Treating acne with oral contraceptives: use of lower doses. Contraception 2006;73:23-9.

·         ประวิตร พิศาลบุตร,โรคโรคสิวในเวชปฏิบัติ (Acne in Clinical Practice) ตอนที่ 4 , คลีนิคเล่ม: 230 เดือน-ปี: 04/2551

·         Goldsmith LA, Bolognia JL, Callen JP, Chen SC, Feldman SR, Lim HW, et al. American Academy of Dermatology Consensus, Conference on the safe and optimal use of isotretinoin: summary and recommendations. J Am Acad Dermatol 2004;50:900-6. Erratum in J Am Acad Dermatol 2004;51:348.

·         1984;10:490-6.ปรียา กุลละวณิชย์ และประวิตร พิศาลบุตร บรรณาธิการ, Dermatology 2000 ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบันกรุงเทพมหานคร: บริษัทโฮลิสติกพับลิชชิ่งจำกัด2540.

·         อภิชาติ ศิวยาธร และกนกวลัย กุลทนันทร์ บรรณาธิการโรคผิวหนังที่ต้องรู้สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไปกรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน2546

·         ประทีป วรรณิสสร พยาธิกำเนิดของโรคสิว องค์ความรู้ใหม่ วารสารโรคผิวหนัง 2549; 22: 74-81. ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

·         ผศ. ภญ. นิตยาวรรณ กุลวณาวรรณภญ. นิตย์ธิดา ภัทรธีระกุล, ยารักษาสิว, วารสารเภสัชชุมชน ปีที่ ฉบับที่ 43 พศ.2553

·         รศ. นพนภดล นพคุณ แนวทางการดูแลรักษาโรค Acne Clinical Practice Guideline Acne, thaigovweb.com/mophweb/file/doc/news21193-121209-173007.pdf

·         รัศนี อัครพันธุ์. โรคของต่อมไขมัน. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังใน เวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010). กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70.

·         ปรียา กุลละวณิชย์วลัยอร ปรัชญพฤทธิ์. Facial dermatitis. ใน : ปรียา กุลละวณิชย์ประวิตร พิศาลบุตร. ตำราโรคผิวหนังในเวชปฏิบัติปัจจุบัน (Dermatology 2010) . กรุงเทพฯ : บริษัท โฮลิสติก พับบลิชชิ่ง จำกัด, 2548:56-70

·          Acne Treatments & Skin Care, SkinCareGuide.com, http://www.acne.ca/index.html

·         ประวิตร พิศาลบุตรยารับประทานโรคสิววิชัยยุทธเวชสาร, July 2528, ,www.vichaiyut.co.th/jul/28_02-2547/28_02-2547_P77-81.pdf

·         ประวิตร พิศาลบุตร, blog ความรู้เรื่องผิวหนัง http://myskinarticles.blogspot.com

·         เพ็ญวดี ทิมพัฒนพงศ์. ตำราเรื่องสิว วิทยาการก้าวหน้าและโรคที่เกี่ยวข้อง. 2536 หน้า 87-99

·         สิวเกิดขึ้นได้อย่างไรโดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล http://www.oknation.net/blog/DIVING/2009/07/11/entry-1

·         คู่มือรักษาสิวให้หายสนิทตอนที่ ทุกคำถามเรื่องสิว เรามีคำตอบ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/08/entry-1



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น