วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Pradaxa® (dabigatran etexilate mesylate) ยาใหม่ ใช้ป้องกันการแข็งตัวของเลือด


มีคนไข้นำยาของคุณแม่มาสอบถามที่ร้าน ชื่อว่า Pradaxa® (dabigatran etexilate mesylate) ขออธิบายดังนี้

Pradaxa®  คือยาอะไร???
Pradaxa®  เป็นยาใหม่ที่ใช้ป้องกันการแข็งตัวของเลือดที่ใช้กิน (มันมียาละลายลิ่มเลือดตัวอื่นๆ ซึ่งมักเป็นยาฉีดด้วยครับ)   และไม่ต้องติดตามค่า INR ที่ชื่อว่า Pradaxa® เป็นชื่อการค้าของยา ส่วนชื่อสามัญ คือ dabigatran etexilate mesylate หรือจะเรียกตัวยาจริงๆสั้นๆ ก้อคือ dabigatran

Pradaxa® เป็นยาใหม่ นำเข้าในประเทศไทยโดย บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (Boeringer Ingelhiem) จำกัด (เยอรมนี) ในรูปแบบแคปซูลมี 2 ขนาดคือ 75 mg และ 110 mg

รายละเอียดของยาตัวนี้ มีคุณเภสัชกร Bmfactory ที่เขียนไว้เจ๋งเป้งแล้ว ครบถ้วนทั้งประว้ติยา กลไกการออกฤทธิ์ วิธีการใช้และข้อควรระวัง ขอความกรุณาคลิ้กตามไปดูได้ที่

http://bmfactory035.wordpress.com/2011/07/21/pradaxareg-dabigatran-etexilate-mesylate/

ยาต้านการแข็งตัวของเลือด (Anticoagulant) ตัวเก่าๆและการวัดค่า INR

ขออธิบายง่ายๆว่า ยากลุ่มนี้ไปช่วยให้เลือดของเราใสขึ้น คือลดความเสี่ยงในการแข็งตัว จับตัวเป็นก้อน แล้วไปส่งผลอุดตันที่อวัยวะสำคัญต่างๆทำให้เกิดอันตรายขึ้นมา ได้แก่ ในอาการหัวใจล้ม (Heart attack) และในโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) เป็นต้น

ยากลุ่มนี้บางทีเรียกว่ายาเจือจางเลือด (Blood thinner) หรือ ยาต้านการเกิดลิ่มเลือด (Anticoagulant)

ยาในกลุ่มนี้ ที่เคบมีใช้กัน ได้แก่  heparin ที่ไปออกฤทธิ์โดยกระตุ้นเอนไซม์ antithrombin III ที่ยับยั้งการทำงานของ Factor IIa และ Xa เป็นผลให้เลือดแข็งตัวช้า
ยานี้มีประโยชน์มากเช่นใช้ในการฟอกไตและใช้ในการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด

ปัจจุบัน มียาที่แพทย์สั่ง
มาก เพื่อต้านการเกิดลิ่มเลือด มีชื่อสามัญว่า Warfarin ซึ่งยาตัวนี้ มีอายุยาวนานกว่าครึ่งศตวรรษแล้ว ที่ไปออกฤทธิ์ยับยั้ง vitamin K ทำให้ Factor II, VII, IX และ X ทำงานได้ไม่ดีเลือดจึงแข็งตัวช้า ยานี้มีประโยชน์มากสำหรับผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดเช่น ผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็วผิดปกติบางชนิดและผู้ป่วยหลังผ่าตัดใส่ลิ้นหัวใจเทียม เป็นต้น.

ผู้ป่วยที่รับประทานยา warfarin ต้องตรวจเลือดติดตาม Protrombin Time (PT) อยู่เป็นประจำ เนื่อง จาก PT แต่ละห้องปฏิบัติการมีค่าที่กระจัดกระจายมาก ในทศวรรษที่ 1980s จึงเริ่มมีการนำค่า PT ปกติไปเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานคำนวณเป็น International Normalized Ration (INR) ซึ่งใช้มาจนถึงปัจจุบัน การที่ต้องตรวจเลือดอยู่บ่อย ๆ ทำให้ไม่สะดวกจึงนำไปสู่การคิดค้นยาที่ยับยั้ง Factor Xa โดย ตรงหรือ Factor Xa inhibitor ซึ่งไม่จำเป็นต้องตรวจเลือดติดตาม INR  ยาใหม่ๆได้แก่ยา rivaroxaban,  apixaban และ dabigatran


โดยสรุป ข้อมูลที่นำเสนอ เป็นเพียงช่วยให้คุณลูกผู้กตัญญูได้ทราบเบื้องต้น เพื่อจะได้ไปดูแลคุณแม่ในการใช้ยาได้อย่างปลอดภัย หากสงสัยอะไร ขอความกรุณาสอบถามคุณหมอเจ้าขิงไข้หรือเภสัชกรใจดีได้เลยครับ


แหล่งข้อมูล

Guide to Anticoagulant Therapy: Heparin
A Statement for Healthcare Professionals From the American Heart Association
Jack Hirsh, MD; Sonia S. Anand, MD; Jonathan L. Halperin, MD; Valentin Fuster, MD, PhD, http://circ.ahajournals.org/content/103/24/2994.full

Anticoagulant & Antiplatelet Therapy
Guidelines for the Management of Anticoagulant and Antiplatelet Therapy in Patients Undergoing Endoscopic Procedures
Veitch AM, Baglin TP, Gershlick AH, Harnden SM, Tighe R, Cairns S,

Warfarin Information from Drugs.com

ภญ. อายุรภา ปริกสุวรรณ, เภสัชวิทยาของยา warfarin,

ดร.วิทยา มานะวาณิชเจริญ
, ความหวังใหม่ ของอาการหัวใจล้ม, http://haamor.com/th/ความหวังใหม่-ของอาการหัวใจล้ม/

ธีรวัฒน์ บูระวัฒน์ พ.บ.
โรงพยาบาลบ้านแหลม, จังหวัดเพชรบุรี,

Rivaroxaban สามารถป้องกันการมีลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด ในผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและข้อสะโพกเทียม,ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4 เดือน เมษายน ปี 2555, http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=983

องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกาอนุมัติยา rivaroxaban ในการป้องกัน deep venous thrombosis, ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 1 เดือน กรกฎาคม ปี 2554, http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/dic/news_week_full.php?id=899

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น