วันพุธที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2556

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ ทำไมจึงเป็นได้บ่อยจังนะ???


คุณผู้หญิงเมื่อต้องเดินทางไกล ๆ หรืออยู่บนถนนที่รถราติดๆๆๆๆๆยามหน้าฝนนี้ทีไร ทำไมน้า???...เราจะต้องรู้สึก "ปวดปัสสาวะ"ทุกที จะลงไปเข้าห้องน้ำก็ไม่ได้ ก็เลยต้องอั้นอยู่เสมอ ๆ แต่ถ้าหากคุณมีพฤติกรรมเช่นนี้บ่อย ๆ ล่ะก็ ระวัง "โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ" จะถามหาเอาได้นะ ถ้าใครเคยเป็นแล้วคงรู้ว่ามันทรมานสุด ๆ มาดูว่าสาเหตุเกิดจากอะไร และจะป้องกันไม่ให้เกิดได้อย่างไร เรามีคำแนะนำมาบอกกันมารู้จักกระเพาะปัสสาวะกันก่อน 
รูปมาจาก http://www.familyhealthonline.ca/fho/womenshealth/WH_cystitis_fha11.asp

  • ปัสสาวะกะปริดกะปรอย
  • ปวดปัสสาวะบ่อย แต่รู้สึกปัสสาวะออกไม่สุด
  • ปวดขัด หรือแสบร้อนเวลาปัสสาวะ บางคนอาจปวดท้องน้อยเวลาปัสสาวะด้วย
  •  
  • หากสังเกต ปัสสาวะจะมีกลิ่นเหม็น สีใส แต่ปัสสาวะบางคนก็อาจขุ่น หรือมีเลือดปนด้วย ซึ่งอาการจะเกิดขึ้นหลังอั้นปัสสาวะนาน ๆ หรือหลังร่วมเพศ ในเด็กเล็กอาจเป็นไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียนร่วมด้วย
, โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้หญิง
สาขาวิชาศัลยศาสตร์ยูโรวิทยา ภ.ศัลยศาสตร์ , Faculty of Medicine Siriraj Hospital,
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคฮิตสาวเวิร์กกิ้ง, http://health.kapook.com/view9298.html



รูปประกอบ: กระเพาะปัสสาวะในเพศหญิง จาก http://doctorisme.blogspot.com/2013/03/Cystitis.html

กระเพาะปัสสาวะเป็นอวัยวะส่วนหนึ่งของระบบของปัสสาวะ รูปร่างคล้ายบัลลูน อยู่หลังกระดูกหัวหน่าวภายในอุ้งเชิงกราน และอยู่หน้ามดลูกของผู้หญิง ส่วนผู้ชาย อยู่หน้าต่อทวารหนัก
ผนังของกระเพาะปัสสาวะประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบส่วนใหญ่ กระเพาะปัสสาวะของเรามีหน้าที่กักเก็บปัสสาวะได้ประมาณ 300-350 ซี.ซี.แค่นั้นเอง    ก้อแค่ขวดน้ำเล็กๆน่านเอง พอเก็บน้ำมากๆเข้าก้อจะตึงบวมเป่ง ทำให้รู้สึกอยากปวดปัสสาวะมาก ผนังกล้ามเนื้อของปัสสาวะจะบีบตัวให้มีการปัสสาวะผ่านทางหลอดปัสสาวะออกสู่ภายนอกจนหมดในเวลาไม่เกิน 30 วินาที โดยไม่มีอาการปวดหรือแสบบริเวณหลอดปัสสาวะเลย
ในคนปรกติถ้าดื่มน้ำวันละ 1500-2000 ซี.ซี. (ประมาณ 8-10 แก้ว) จะปัสสาวะประมาณวันละ 3-5 ครั้ง หลังเข้านอนจะไม่ตื่นมาปัสสาวะเลย

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ เกิดจากอะไร

          โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือ Cystitis เกิดจากแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ของคนเรานี่แหละ แต่พอหลุดเข้าไปอยู่โดยเข้าไปทางท่อปัสสาวะ ดังนั้น จึงมักพบผู้หญิงป่วยด้วยโรคนี้มากกว่าผู้ชายหลายเท่า นั่นเพราะท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนัก ซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมากนั่นเอง

          อย่าได้แปลกใจไปเลยที่โรคนี้เกิดได้กับคุณผู้หญิงแทบทุกคน มีโอกาสเป็นโรคนี้ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงวัยใดก็ตาม แต่จะพบมากเป็นพิเศษในกลุ่มหญิงมีครรภ์ (โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วง 2-3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์) รวมทั้งผู้หญิงที่ชอบอั้นปัสสาวะนาน ๆ และผู้หญิงที่แต่งงานใหม่ เพราะการมีเพศสัมพันธ์จะทำให้เชื้อเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะได้ นอกจากนี้ คนที่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ และต่อมลูกหมากโต ก็อาจมีอาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบแทรกซ้อนด้วย
อาการ กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นอย่างไร

รูปประกอบ: ตำแหน่งโรคที่อาจเกิดการติดเชื้อของกระเพาะปัสาวะอักเสบ

       ผู้ที่เป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบจะมีอาการ
 โรคนี้มักจะไม่มีภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง แต่บางคนอาจเป็น ๆ หาย ๆ หรือเป็นเรื้อรัง ถ้าไม่ได้รับการรักษา เชื้อโรคอาจลุกลามทำให้กลายเป็นโรคกรวยไตอักเสบ หรือไตวายได้ หากผู้ป่วยเป็นผู้ชายและมีอาการรุนแรง เชื้อก็อาจลามเข้าไปทำให้ต่อมลูกหมากอักเสบได้
กระเพาะปัสสาวะอักเสบ เป็นแล้วต้องทำอย่างไร

          ผู้ที่มีอาการกระเพาะปัสสาวะต้องเข้ารับการรักษา โดยแพทย์จะให้ทานยาแก้ปวด และยาปฏิชีวนะ เพื่อฆ่าเชื้อ แต่ผู้ป่วยก็ต้องรู้จักดูแลตัวเอง ด้วยการดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อเร่งการขับเชื้อ ที่สำคัญคือ อย่าอั้นปัสสาวะ ส่วนการรับประทานอาหารนั้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่จะทำให้กระเพาะปัสสาวะระคายเคือง เช่น กาแฟ หรือแอลกอฮอล์ ซึ่งมีฤทธิ์กระตุ้นการปัสสาวะในไต และกระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะเกิดการหดตัว

          อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยอาการไม่ดีขึ้น เช่น ยังปัสสาวะแสบขัดอยู่ มีไข้ขึ้นสูง ปวดบั้นเอว หนาวสั่น  หรือเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง ควรส่งโรงพยาบาล เพื่อตรวจหาสาเหตุโดยแพทย์จะตรวจปัสสาวะ แล้วนำไปเพาะหาเชื้อ เอกซเรย์ หรือใช้กล้องส่องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ (Cystoscope) แล้วให้การรักษาตามสาเหตุที่ตรวจพบ 

          นอกจากนี้ ผู้ที่มีโรคประจำตัวอย่างเช่น เบาหวาน ต่อมลูกหมากโต นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หากมีอาการปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะบ่อย ก็ควรพบแพทย์ด้วยเช่นกัน

ป้องกันได้อย่างไร

          โรคนี้ไม่ได้เกิดจากการกลั้นปัสสาวะอย่างเดียว เพราะเกิดจากการติดเชื้อได้เช่นกัน ดังนั้น นอกจากเราจะไม่อั้นปัสสาวะแล้ว เรายังต้องป้องกันการติดเชื้อที่ระบบทางเดินปัสสาวะด้วย ซึ่งสามารถป้องกันได้ดังนี้

           1.ดื่มน้ำวันละมาก ๆ

           2.ห้ามอั้นฉี่ กลั้นปัสสาวะนานๆ ถ้าไม่จำเป็น เพราะเชื้อโรคในกระเพาะปัสสาวะจะเจริญพันธุ์ได้มากขึ้น อีกทั้ง กระเพาะปัสสาวะที่เต็มไปด้วยปัสสาวะจะยืดตัว ทำให้ความสามารถในการขจัดเชื้อโรคของเยื่อบุผิวกระเพาะปัสสาวะลดน้อยลง จึงทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะได้ง่ายขึ้น

           3.ถ้าจะออกไปข้างนอก ควรเข้าห้องน้ำปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนทุกครั้ง 

           4.เวลาอาบน้ำ ควรใช้ฝักบัว หรือตักอาบ จะดีกว่าการใช้อาบอ่างน้ำ ซึ่งจะทำให้เชื้อโรคในอ่าง เข้าสู่ร่างกายได้ง่ายกว่า

           5.ล้างอวัยวะเพศก่อนและหลังมีเพศสัมพันธ์

           6.ห้ามใช้ยาสวนล้างช่องคลอด 

           7.สำหรับผู้หญิงที่ปัสสาวะเสร็จ หรืออุจจาระเสร็จ ควรให้ทำความสะอาดอวัยวะเพศจากหน้าไปหลัง เพราะหากล้างจากหลังมาหน้า อาจทำให้มีเชื้อโรคเข้ามาจากทางทวารได้

          8.หากมีอาการปวดแสบเวลาถ่ายปัสสาวะ ให้รีบดื่มน้ำมาก ๆ (ประมาณวันละ 3-4 ลิตร) เพื่อขับเชื้อโรคออกจากร่างกายโดยเร็ว และยังช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้ด้วย

          เห็นมั้ยว่าโรคกระเพาะปัสสาวะนี้ เกิดขึ้นกับทุกคนได้ง่ายมาก ๆ โดยเฉพาะคุณสาว ๆ เพราะฉะนั้น แค่ดูแลตนเองอย่าปล่อยให้อั้นฉี่นานๆ รักษาความสะอาดส่วนตัว ก้อช่วยบรรเทาโรคนี้ได้แล้ว ระดับนึง ตอนหน้าเราจะมาบอกว่า ถ้าจำเป็นต้องใช้ยา มียาอะไรมั่ง

แหล่งข้อมูล
 ศ.เกียรติคุณ นพ.ธงชัย พรรณลาภ
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=9
รูปประกอบจาก
http://www.pregnancysquare.com/momlife/pregnant-have-disease/146/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น