จะดีไหมถ้าเรามีโปรแกรมที่สามารถช่วยเราบันทึกยาตัวที่เราแพ้ และเมื่อไปโรงพยาบาลหรือร้านยา เราจะได้บอกเภสัชกรหรือหมอได้ถูกต้องแม่นยำ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีความปลอดภัยจากการใช้ยามากยิ่งขึ้น
ทางสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย) ได้จัดทำ สมุดบันทึกการใช้ยาประจำตัวผู้ป่วย และ แอพพลิเคชั่น โปรแกรมบันทึกบัตรแพ้ยาที่สามารถใช้งานบนสมาร์ทโฟน ซึ่งจะช่วยให้ผู้ป่วยสะดวกในการบันทึกประวัติแพ้ยาได้ด้วยตนเอง และเภสัชกรผู้ประเมินอาการก็สามารถบันทึกข้อมูลผ่านทางมือถือ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องลืมบัตรแพ้ยา นอกจากนี้ แอพพลิเคชั่นดังกล่าวยังมีข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการแพ้ยาทั้งในรูปแบบบทความและวิดีโอ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลด
แอพพลิเคชั่น “โปรแกรมบันทึกบัตรแพ้ยา” ได้ทาง App store หรือ เว็บไซต์ของสมาคมฯ www.thaihp.org สามารถได้ download ได้ free ที่ https://itunes.apple.com/th/app/batr-ph-ya/id645512579?mt=8
ยิ่งไปกว่านั้น เพื่อลดอันตรายและผลข้างเคียงจากการใช้ยา ผู้ใช้ยาควรปฏิบัติ ดังนี้
• ผู้ป่วยควรอ่านฉลากยาให้ละเอียดทุกครั้งก่อนใช้ยา เพราะการไม่อ่านฉลากยา และใช้ยาผิด อาจทำให้เกิดการแพ้ยาอย่างรุนแรงและอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
• ไม่ควรใช้ยาของคนอื่น
• ผู้ที่มียาเหลือใช้อยู่ในบ้านต้องระมัดระวังและจัดเก็บให้ดี เพราะถือเป็นความเสี่ยงใกล้ตัว ถ้าเก็บไม่ถูกวิธีจะกลายเป็นยาเสีย หากมีคนนำไปใช้โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะเป็น
อันตรายต่อสุขภาพ
• หากมียาเหลือใช้ที่ยังไม่หมดอายุและอยู่ในสภาพดี ควรเก็บอยู่ในซองยา หรือขวดยาเดิมไว้ในที่เดียวกันและให้พ้นมือเด็ก หรือเก็บในตู้ยา หรือกระเป๋ายาให้พ้นแสงแดด ไม่อยู่ใน
• หากมียาเหลือใช้ที่ยังไม่หมดอายุและอยู่ในสภาพดี ควรเก็บอยู่ในซองยา หรือขวดยาเดิมไว้ในที่เดียวกันและให้พ้นมือเด็ก หรือเก็บในตู้ยา หรือกระเป๋ายาให้พ้นแสงแดด ไม่อยู่ใน
ที่ชื้น
• อย่าเก็บยาในตู้เย็นยกเว้นยาที่มีฉลากระบุไว้
• อย่านำยาเหลือใช้มารวมในซองยา หรือขวดยาเดียวกัน
• อย่าแกะยาออกจากแผงหากยังไม่ใช้
• อย่านำยาเหลือใช้ไปให้คนอื่นใช้ และอย่ากินยาที่คนอื่นให้มา เพราะอาการที่คล้ายกันอาจไม่ได้เกิดจากโรคเดียวกัน ขนาดยาก็อาจไม่เหมาะสม และอาจเกิดอาการแพ้ยาได้อีก
• อย่าเก็บยาในตู้เย็นยกเว้นยาที่มีฉลากระบุไว้
• อย่านำยาเหลือใช้มารวมในซองยา หรือขวดยาเดียวกัน
• อย่าแกะยาออกจากแผงหากยังไม่ใช้
• อย่านำยาเหลือใช้ไปให้คนอื่นใช้ และอย่ากินยาที่คนอื่นให้มา เพราะอาการที่คล้ายกันอาจไม่ได้เกิดจากโรคเดียวกัน ขนาดยาก็อาจไม่เหมาะสม และอาจเกิดอาการแพ้ยาได้อีก
ด้วย
• อย่าใช้ยาที่หมดอายุ หรือยาเสื่อมสภาพ
• ยาเหลือใช้ที่หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ สีเปลี่ยนแล้วให้ทำลายก่อนทิ้ง โดยแกะฉลากที่มีชื่อผู้ป่วย ถ้าเป็นยาเม็ดให้ทุบทำลายและเติมน้ำเล็กน้อย ถ้าเป็นยาน้ำก็ให้เทน้ำผสมลงไป
• อย่าใช้ยาที่หมดอายุ หรือยาเสื่อมสภาพ
• ยาเหลือใช้ที่หมดอายุ หรือเสื่อมสภาพ สีเปลี่ยนแล้วให้ทำลายก่อนทิ้ง โดยแกะฉลากที่มีชื่อผู้ป่วย ถ้าเป็นยาเม็ดให้ทุบทำลายและเติมน้ำเล็กน้อย ถ้าเป็นยาน้ำก็ให้เทน้ำผสมลงไป
ส่วนยาที่เป็นครีมหรือขี้ผึ้ง ให้บีบออกจากหลอด จากนั้น นำกากชา ขี้เลื่อย เศษผัก หรือเปลือกผลไม้ ผสมลงไปในถุงเดียวกัน ปิดปากถุงให้สนิท ก่อนนำไปทิ้ง เพื่อไม่ให้คนอื่นนำ
ยาที่ทิ้งนั้นไปใช้ได้อีก
• หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ให้ปรึกษาเภสัชกรทุกครั้ง
• หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการใช้ยา ให้ปรึกษาเภสัชกรทุกครั้ง
แหล่งข้อมุล
เภสัชกรสมชัย วงศ์ทางประเสริฐ นายกสมาคมเภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย)
นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น