ปัจจุบันใบกระท่อมมีปัญหาการแพร่ระบาดในกลุ่มวัยรุ่นและนักเรียน เนื่องมาจากหาได้ง่ายกว่ายาเสพติดอื่นๆ มีราคาถูกและทำให้เกิดอาการเคลิบเคลิ้มได้เช่นเดียวกับสารเสพติดอื่น โดยมักนิยมนำน้ำกระท่อมต้ม ผสมกับโค้ก ยากันยุง และยาแก้ไอ (4x100) เรามาดูว่าในพืชกระท่อมมีสารอะไรที่มีผลต่อร่างกายผู้เสพอย่างไรบ้าง? อันตรายต่อร่างกายขนาดไหน? เพื่อเตือนคนที่เรารักว่าอย่าไปยุ่งกับมันเลย
ภาพประกอบด้านบน
ชุดสืบฯ ภูธรจังหวัดภูเก็ต รวบ 3 ผู้ต้องหาลอบค้าใบกระท่อมให้กลุ่มวัยรุ่น และแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ พร้อมของกลางยาบ้า 408 เม็ด ใบกระท่อม 304 มัด และอุปกรณ์การผลิตสารเสพติด 4 คูณ 100
http://siangtai.com/new/index6.php?name=hotnews-index&file=readnews&id=11662
http://siangtai.com/new/index6.php?name=hotnews-index&file=readnews&id=11662
กฎหมายควบคุมพืชกระท่อม ตอนนี้เราควบคุมอย่างไร?
- จัดเป็นยาเสพติดในไทย พม่า มาเลเซีย
- ยาเสพติดให้โทษประเภท 5 ตาม พ.ร.บ ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ห้ามปลูก ผลิต ครอบครอง จำหน่าย นำเข้าส่งออก หรือเสพพืชกระท่อม
- จัดเข้าในบัญชีของกลุ่มยาและสารพิษ ประเภท 9 ในออสเตรเลีย ห้ามปลูกและนำเข้าพืชกระท่อมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2548 ยกเว้นการนำเข้าเพื่อการศึกษาวิจัย
- ยาและสารพิษในกลุ่มประเภท 9: เป็นสารที่ไม่มีการใช้บำบัดอาการหรือโรคแต่มีแนวโน้มในการใช้ในทางที่ผิด
พืชกระท่อมคืออะไร?
กระท่อม (Kratom) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mitragyna speciosa Korth. อยู่ในวงศ์ Rubiaceae เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางสูง 10-15 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยวสีเขียว เรียงตัวเป็นคู่ตรงข้าม แผ่นใบขนาดกว้างประมาณ 5-10 ซม. ยาวประมาณ 8-14 ซม. ดอกมีสีขาวอมเหลืองออกเป็นช่อตุ้มกลมขนาด 3-5 ซม. กระท่อมพบได้ในบางจังหวัดของภาคกลาง เช่น ปทุมธานี แต่จะพบมากในป่าธรรมชาติบริเวณภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูลพัทลุง สงขลา ยะลา ปัตตานี นราธิวาส และตอนบนของประเทศมาเลเซีย
คนเขาเอาพืชกระท่อม ไปเสพอย่างไรบ้าง?
รูปประกอบ: อุปกรณ์การเสพยา 4 x 100 จาก http://satu-indah.blogspot.com
ใบกระท่อมมีรสขมเฝื่อนเมา ใช้ประโยชน์ทางยาได้โดยเป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย ระงับประสาทช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย ผู้ใช้พืชกระท่อมส่วนใหญ่มักเป็นชาวนา ชาวสวนและผู้ใช้แรงงานในชนบท
ใบกระท่อมมีรสขมเฝื่อนเมา ใช้ประโยชน์ทางยาได้โดยเป็นยาแก้ปวดท้อง แก้บิด ท้องเสีย แก้ปวดเมื่อยร่างกาย ระงับประสาทช่วยให้ทํางานทนไม่หิวง่าย ผู้ใช้พืชกระท่อมส่วนใหญ่มักเป็นชาวนา ชาวสวนและผู้ใช้แรงงานในชนบท
วิธีเสพใบกระท่อม เคี้ยวใบสด หรือบดใบแห้ง ละลายน้ำดื่ม บางรายเติมเกลือด้วยเล็กน้อยเพื่อป้องกันท้องผูก ส่วนมากจะเคี้ยวเพียง 2-3 ใบ และดื่มน้ำอุ่น หรือกาแฟร้อนตาม ใช้วันละ 3-10 ครั้งต่อวันตามอาการเหนื่อย เมื่อใช้ไประยะหนึ่ง ปริมาณการใช้จะเพิ่มขึ้น (ประมาณร้อยละ 37 ใช้วันละ 21-30 ใบ)
ในบางรายก้อจะเอามาสูบใบแห้งหรือสกัดเอายางท่อม หรือไปผสมเป็นยาสูตร 4x100
ผู้เสพจะมีการนัดมานั่งเสพด้วยกัน และพูดคุยกันในเรื่องทั่ว ๆ ไป เหมือนการเสพน้ำชาหรือกาแฟ หรือคล้ายการตั้งวงเสพเหล้า กินกันจนหมดก็แยกย้ายกันกลับ ผู้เสพจะบอกว่าเสพแล้วรู้สึกสบายหายเครียด พูดคุยได้สนุกขึ้น ต่อมาก็จะเริ่มมึน ๆ ง่วง ๆ เหมือนเมาเหล้าแต่น้อยกว่ามาก โดยส่วนใหญ่ใช้สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง
ผลทางเภสัชวิทยาของสารเคมีในพืชกระท่อมมีผลต่อร่างกายเราอย่างไรบ้าง?
ภาพประกอบ: สาร mitragynine ที่สกัดได้จากใบกระท่อม
ภาพจาก https://psychoactiveherbs.com
ภาพจาก https://psychoactiveherbs.com
จากการศึกษาสารสำคัญในใบกระท่อม พบว่ามีแอลคาลอยด์หลายชนิด แต่ที่สำคัญคือ mitragynine และ 7-hydroxy mitragynine เมื่อนำใบกระท่อมจำนวน 20 ใบ จะสกัดแล้วให้สาร mitragynine ประมาณ 17 มิลลิกรัม สารนี้พบได้เฉพาะในพืชกระท่อมเท่านั้น จึงใช้เป็นสารพิสูจน์เอกลักษณ์พืชกระท่อมได้ มีรายงานผลการศึกษาวิจัยสารสกัดจากใบกระท่อมและ mitragynine ในสัตว์ทดลอง พบฤทธิ์ที่สำคัญดังนี้
1. ฤทธิ์ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบ จึงมีฤทธิ์ทำให้เกิดการชาเฉพาะที่ได้ และยังมีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางคล้ายโคเคน
2. ฤทธิ์ระงับปวดในลักษณะเดียวกับมอร์ฟีนในฝิ่น โดยออกฤทธิ์ที่ mu-opioid receptor และ delta-opioid receptor และฤทธิ์ระงับปวดยังเกี่ยวพันกับฤทธิ์กดการทำงานของ 5-HT2A receptor จึงเป็นสารแก้ปวดที่แตกต่างจากมอร์ฟีนฝิ่น
3. ฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหารได้เช่นเดียวกับมอร์ฟีน โดยผ่านกลไกการออกฤทธิ์ที่ opioid receptors ทั้งนี้เชื่อว่า มีความเกี่ยวข้องกับอาการข้างเคียง เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด และอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผู้เสพใบกระท่อมไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) จึงทำงานได้นานขึ้น
4. ฤทธิ์ลดการบีบตัวลำไส้ โดยออกฤทธิ์ที่ mu-opioid receptor และ delta-opioid receptor จึงแตกต่างจากสารกลุ่ม opioid อื่นๆ
5. ฤทธิ์ในการลดไข้ โดยทดสอบเปรียบเทียบกับ aminopyrin
จะเห็นได้ว่าใบกระท่อมให้ผลการออกฤทธิ์ที่อาจมีประโยชน์ทางยาได้ แต่ทำให้เสพติดได้และยังมีผลเสียต่อสุขภาพ หากใช้ติดต่อกันนานๆ
ผลของกระท่อมต่อร่างกายเรา มีอะไรบ้าง?
มีการศึกษาพฤติกรรมผู้ใช้ใบกระท่อมมีการศึกษาหนึ่งสรุปว่า การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำให้ผลระงับประสาท แต่เมื่อขนาดสูงขึ้น กลับเปลี่ยนเป็นกระตุ้นประสาทแทน แต่จากการศึกษาหลายแห่งสรุปในทางตรงกันข้าม กล่าวคือ การใช้ใบกระท่อมในขนาดต่ำๆ ให้ผลกระตุ้นระบบประสาท มีฤทธิ์กระตุ้นประสาทคล้ายยาบ้าอ่อน ๆ ส่วนขนาดสูงกดประสาท
ในรายงานการศึกษาในคนที่เสพติดกระท่อมในประเทศไทย พบว่าหลังเคี้ยวใบกระท่อมไปประมาณ 5-10 นาที จะมีอาการเป็นสุข กระปรี้กระเปร่า ไม่รู้สึกหิว (ไม่อยากอาหาร) ทํางานได้นานขึ้น ทนแดด แต่จะเกิดอาการกลัวหนาวสั่นเวลาอากาศครึ้มฟ้าครึ้มฝน ผู้เสพจะมีผิวหนังแดงเพราะเลือดไปเลี้ยงผิวหนังมากขึ้น อาการข้างเคียง ได้แก่ ปากแห้ง ปัสสาวะบ่อย เบื่ออาหาร ท้องผูก อุจจาระแข็งเป็นก้อนเล็กๆ นอนไม่หลับ ถ้าเสพใบกระท่อมในปริมาณมากๆ จะทําให้มึนงง และคลื่นไส้อาเจียน (เมากระท่อม) แต่ในบางรายเสพเพียง 3 ใบ ก็ทำให้เมาได้
เมื่อใช้เป็นระยะเวลานาน จะมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักตัวลด นอนไม่หลับ ผิวหนังโดยเฉพาะบริเวณโหนกแก้มมีสีคล้ำขึ้นคล้ายหน้าผู้ป่วยโรคตับ ประมาณร้อยละ30 ของผู้ติดกระท่อม รายงานว่า มีความต้องการทางเพศลดลง และต้องใช้กระท่อมร่วมกับแอลกอฮอล์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความต้องการทางเพศ บางรายจะมีอาการโรคจิตหวาดระแวง เห็นภาพหลอน คิดว่าคนจะมาทำร้ายตน และพูดไม่ค่อยรู้เรื่อง
ถ้าหยุดเสพ จะเกิดอาการขาดยา ได้แก่ ไม่มีแรง ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อและกระดูก แขนขากระตุก รู้สึกอ่อนเพลียไม่สามารถทำงานได้ อารมณ์ซึมเศร้า นํ้าตาไหล นํ้ามูกไหล ก้าวร้าว
ตอนหน้าเรามาดูว่ากลไกอะไรของกระท่อมจึงทำให้คนไข้เสพติดและ หากจะดื้ออยากเสพกันไปนานๆจะเกิดผลเสียรุนแรงต่อร่างกายอย่างไร และถ้าอยากจะเลิก ควรไปขอความช่วยเหลือจากใคร? ที่ไหนดี?
แหล่งข้อมูล
กลุ่มงานเภสัชกรรม Anonymous, กระท่อม, สถาบันธัญญารักษ์
,http://www.gotoknow.org/user/thawepon/profile
ภาพประกอบ
ชุดสืบฯ ภูธรจังหวัดภูเก็ต รวบ 3 ผู้ต้องหาลอบค้าใบกระท่อมให้กลุ่มวัยรุ่น และแรงงานต่างด้าวในพื้นที่ พร้อมของกลางยาบ้า 408 เม็ด ใบกระท่อม 304 มัด และอุปกรณ์การผลิตสารเสพติด 4 คูณ 100
http://siangtai.com/new/index6.php?name=hotnews-index&file=readnews&id=11662
http://siangtai.com/new/index6.php?name=hotnews-index&file=readnews&id=11662
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น