ไม่มีพ่อแม่ใครที่ไม่รักลูก
แต่การเลือกใช้ยาโดยไปอ้างอิงเอายาแก้ไอที่ได้จากครั้งก่อนๆมาซื้อหา
คุณๆที่รักทราบหรือไม่ว่า เป็นการรังแกสุขภาพลูกรักอย่างร้ายแรง
เพราะผมได้ย้ำเตือนถึงสาเหตุและวิธีบรรเทาอาการไอมาหลายตอนแล้วว่าการใช้ยาแก้ไอที่ได้ผลและปลอดภัย
ต้องทราบก่อนว่ายาแก้ไอเป็นเพียงยาบรรเทาอาการ
ที่จุดเริ่มต้นรักลูกให้ถูกทางก้อคือทราบสาเหตุ ไปรักษาให้บรรเทาเสียก่อน
แล้วจึงมาเลือกชนิดของยาให้เหมาะกับอาการไอ
พ่อแม่ที่ใจร้อนอยากให้เสียงค้อกแค้กเงียบสนิทไปโดยไม่พิจารณาถึงเหตุ
กลับเป็นการทำร้ายลูกรักของคุณเอง เคยทราบบ้างหรือไม่ครับ
กลับไปหาสาเหตุของการไอให้ได้เสียก่อน
1. มีการระคายเคืองของทางเดินหายใจส่วนบนเนื่องจากแพ้
หรือการอักเสบที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้หวัด วัณโรค ในระยะแรก เจ็บคอ ไอกรน
หวัดแพ้อากาศ เป็นต้น สังเกตุได้จากน้องไอจะมีลักษณะไอแห้ง ๆ ไม่มีเสมหะ
2.
ร่างกายของลูกน้อยต้องการขับสิ่งที่ไม่ต้องการออกจากทางเดินหายใจส่วนล่าง เช่น
เสมหะ หนอง ก้อนเลือด เป็นต้น ซึ่งพบในผู้ป่วยหลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ
วัณโรคในระยะที่เป็นมาก เป็นต้น จะรู้ได้จากการที่พ่อแม่หมั่นสังเกตลักษณะไอ
มักจะมีเสมหะ เสลดข้น หรือ เสลดเป็นหนอง ตามติดออกมาด้วย
ถ้าไปที่ร้านยาคุณจะได้พบหลากสรรพยาแก้ไอ
มีทั้งชนิดน้ำ ชนิดเม็ด
มีทั้งที่เป็นยาแผนปัจจุบันและยาแผนโบราณที่ปรุงขึ้นจากตัวยาสมุนไพรมีทั้งที่เป็นยาสามัญประจำบ้าน
และยาอันตราย นอกจากนี้ยังมีพวกลูกอมแก้ไอ ช่วยให้ชุ่มคอโล่งคออีกด้วย
ข้อแรกเลย อย่าซื้อยากินเอง โดยไม่ปรึกษาเภสัชกรก่อนเป็นคำแนะนำที่จะช่วยให้คุณใช้ยาได้ปลอดภัยและบำบัดอาการไอให้บรรเทาลงครับ
เหล่านี้เป็นคำแนะนำเบื้องต้นสำหรับคุณพ่อคุณแม่ครับ
· ต้องใช้ให้ถูกกับลักษณะการไอ ตัวอย่างเช่น
ไอมีเสมหะเหนียวข้นก็ควรใช้ยาที่ช่วยละลายเสมหะ ขับเสมหะ
หากไม่ทราบมาก่อนคุณไปซื้อยาระงับการไอหรือยาแก้ไอที่เข้ายาแก้แพ้มาใช้เอง
จะทำให้เสมหะเหนียวยิ่งขึ้น ติดพันอยู่ในลำคอ ขากออกยาก
อาการไอก็จะยิ่งมากกว่าเดิม
· ยาชนิดน้ำ ก่อนใช้ยา
ควรใช้ช้อนตวง ไม่แนะนำให้กรอกใส่ปากเหมือนดื่มเบียร์ หรือใช้โดยกะปริมาณเอาเองเด็ดขาด
เพราะอาจทำให้เกิดอันตรายจากการกินยาเกินขนาดได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นยาแก้ไอที่มีตัวยาอื่นๆ ผสมอยู่หลายตัว
ช้อนตวงควรใช้ช้อนที่ติดมากับขวดยา จะได้ขนาดที่แน่นอนกว่าช้อนชาหรือช้อนโต๊ะที่ใช้ตามบ้าน
หรือใช้ Syringe ขนาดเล็กๆก้อได้
· ถ้าเป็นยาแก้ไอน้ำดำ
ยาแก้ไอน้ำเชื่อมตราเสือโฮกปี้บๆ หรือโยคีเพลบอยด์ทั้งหลาย จัดอยู่ในยากลุ่มนี้ คือเป็นยาสามัญประจำบ้านไม่ได้อยุ่ในกลุ่มยาอันตราย
ใช้จิบเมื่อมีอาการไอ เมื่อรู้สึกคันคออยากไอ ข้อดีคือยาจะไปกระตุ้นให้เสมหะเหลวลง และน้ำลายไหลเยอะขึ้น ทำให้บรรเทาอาการคันคอ และควรใช้กับผู้ใหญ่เท่านั้น
ไม่ควรใช้กับเด็กเล็ก
· ในรายที่ไอหลังจากเป็นไข้หวัดมาก่อน
หลังจากที่คุณได้รับการรักษามาครบถ้วนแล้ว จะมีอาการไอแห้งๆ หรือมีเสมหะขาวๆ
เล็กน้อย เกิดจากทางเดินหายใจที่อยู่ในช่วงปรับตัวและไวเกินไปต่อสภาพแวดล้อม
อาการไอจะค่อยๆหายไปเมือภูมิต้านทานของคุณดีขึ้น อาจใช้ยาสามัญแก้ไอทั่วๆไปพร้อมกับดื่มน้ำอุ่นมากๆ
หลีกเลี่ยงการกินน้ำแข็งหรือน้ำเย็น อาการไอก็จะค่อยๆ หายไปเอง
· ยาแก้ไอที่เจ๋งเป้งที่สุดก็คือการดื่มน้ำอุ่นๆ
ที่จะไปช่วยระงับการไอและช่วยละลายเสมหะที่ข้นเหนียวให้ใสขึ้น
และถูกขับได้ง่ายขึ้น และควรงดอาหารรสเผ็ดจัด น้ำแข็ง น้ำเย็นจัด ของทอดมันๆ เหล้า
บุหรี่ เพราะจะระคายคอ ทำให้ยิ่งไอหนักเข้าไปอีก
ตอนต่อไป เรามาสแกนยา เลยว่ายาแต่ละกลุ่ม ยาแต่ละตัวที่เลือกใช้บ่อยจากเภสัชกรที่ได้ผลและปลอดภัยเต็มๆ จะมีอะไรบ้าง
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 29 มิย. 2553
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์
ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น
ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่
กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address
http://www.oknation.net/blog/DIVING ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ
ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง
ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข
รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
รูปประกอบจากอินเตอร์เนท
· ไอมาตั้งนานแล้ว ทำไมไม่หายซักที โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
· อาการไอ สาเหตุและแนวทางการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
· ลูกรักมีอาการไอเรื้อรัง รักษา ป้องกันอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย
สุขวิวัฒน์ศิริกุล http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/07/29/entry-1
· ยาที่บรรเทารักษาการไอที่ได้ผลและปลอดภัย โดย เภสัชกร อุทัย
สุขวิวัฒน์ศิริกุล
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/07/30/entry-1
· Clinical
Practice Guidelines: COUGH, The Royal
Children's Hospital, Melbourne http://www.rch.org.au/clinicalguide/cpg.cfm?doc_id=9744
• Coughs,
WebMD , http://www.emedicinehealth.com/coughs/article_em.htm
• Cough,
NetDoctor.co.uk , http://www.netdoctor.co.uk/health_advice/facts/cough.htm
• Your child’d
cough, KidsHealth,http://kidshealth.org/parent/general/eyes/childs_cough.html
• ศ.นพ.ชิษณุ พันธุ์เจริญ,ไอ บอกสุขภาพลูก, ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย http://www.elib-online.com/doctors51/child_fever001.html
• ศ.พญ.อรุณวรรณ พฤทธิพันธุ์ ทำไมลูกไม่หายไอสักที, วิชัยยุทธจุลสาร, ฉบับที่ 36 ประจำเดือน มกราคม - เมษายน 2550
• ผศ.นพ.จักรพันธ์ สุศิวะ โรคไอเรื้อรังในเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ม.มหิดล
• ยาแก้ไอ, Thailabonline , http://www.thailabonline.com/drug/drug9.htm
• ภก.พนิดา จารุศิลาวงศ์, ยาแก้ไอ,หมอชาวบ้าน เล่ม : 2 เดือน-ปี : 06/2522,
http://www.doctor.or.th/node/5109
• นพ. สิทธิ์เทพ ธนกิจจารุ,ไอเรื้อรัง, วิชัยยุทธจุลสาร ฉบับที่ 35 ประจำเดือน กันยายน - ธันวาคม 2549, http://www.vichaiyut.co.th/html/jul/35-2549/p29-31_35.asp
• จงรักษ์ อุตรารัชต์กิจ และ ผศ.นพ.อรรถพล เอี่ยมอุดมกาล, วิธีการระบายน้ำมูกในโพรงจมูก,
หน่วยโรคระบบการหายใจ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี ,
http://www.oknation.net/blog/DrPon/2009/12/16/entry-1
ตอนไอแล้วเจ็บคอนี่เคยใช้ โพรพอลิส สเปรย์ ก็ใช้ดีเหมือนกันครับ ใช้สะดวกดีเพราะมันเป็นสเปรย์พ่นอ่ะ พ่นแก้เจ็บคอสะดวกดีเพราะพกไปใช้นอกบ้านได้
ตอบลบสเปรย์น่าสนใจครับตรงที่บอกว่าพกใช้สะดวกอะ ไว้จะลองหามาใช้บ้างครับ โพรพอลิสเนี่ย
ตอบลบ