วันอังคารที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2555

อุตสาหกรรมร้านขายยาจะเปลี่ยนไปอย่างไร โดย ศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์


"อยากรู้มั้ยว่า ตลาดโลกธุรกิจ ตลาดร้านค้า ตลาดร้านยาจะเปลี่ยนไปอย่างไร แล้วเราจะรับมืออย่างไร จึงจะอยู่รอดอย่างยั่งยืน? จำไว้ผมมีคาถาที่มองเห็นปัจจุบันและอนาคตคือ เกี่ยมเม้ง"  คือคำกล่าวของศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ 
นักกลยุทธ์ ระดับกูรูของเมืองไทย ผู้คร่ำหวอดในด้านการจัดการธุรกิจ เศรษฐกิจและการเมือง ตำแหน่งถาวรของท่านคือ ที่ปรึกษาตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อยากรู้ไหมว่าอาจารย์ได้ให้แนวความคิดที่เราจะมองตลาดร้านยาไว้อย่างไร
เรามีบทคัดย่อเรื่อง "การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจในอุตสาหกรรมร้านขายยา"ที่อาจารย์ได้บรรยายไว้สดๆ ตัวเป็นๆ ในหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านยารุ่น 1 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2554 ที่โรงแรมทวินทาวเวอร์มาปันกัน เราจะได้รู้ว่าคาถามองภาพอนาคตร้านยาจะเอาอยู่หลังน้ำท่วมใหญ่ปีที่แล้ว ปีนี้ทั้งราคาน้ำมันขึ้น ค่าแรงปรับยกแผง ระเบิดคาร์บอมบ์ลงการเมือง การเลือกตั้งใหญ่ในพม่่าจะมีผลอย่างไรเชิญติดตามเสพโดยพลัน
สรุปการบรรยายหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านยารุ่น 1 วันที่ 19 มิถุนายน 2554
โดยวิทยากร รศ.ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธุรกิจในอุตสาหกรรมร้านขายยา
  • ในอดีตผู้บริโภคขาดความรู้และไม่มีทางเลือกมากนัก จึงใช้เพียงตาและหูในการตัดสินใจ การตลาดของสินค้าจึงใช้หลัก 4P อย่างง่าย ประกอบด้วย
  1. Product (สินค้า)
  2. Price (ราคา)
  3. Place (สถานที่)
  4. Promotion (โปรโมชั่น)
โดยให้ความสำคัญที่สินค้ามากกว่าการตลาด จึงเริ่มที่การผลิตสินค้าเป็นหลัก แล้วจึงให้นักการตลาดกำหนดราคา หาสถานที่ขาย จากนั้นก็ทำโปรโมชั่นหลอกผู้บริโภค ดังนั้นสินค้าต่างๆ จึงไม่จำเป็นจะต้องมีความหลากหลาย เช่นรถฟอร์ดมีแต่สีดำเท่านั้น โคลามีรสชาติเดียว เป็นต้น
  • แต่ปัจจุบันในสภาวะโลกไร้พรมแดน ข้อมูลข่าวสารส่งถึงกันอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการใช้เพียงตาและหูจึงไม่เพียงพอ ต้องเน้นที่การใช้สมองเป็นหลักโดยให้ความสำคัญถึง 90% และลดสัดส่วนการใช้ตาและหูจากเดิม 90 %เหลือเพียง10%
  • IT ทำให้โลกเปลี่ยนแปลงเปิดกว้างมากขึ้น เกิดโลกาภิวัฒน์ ธุรกิจใดไม่ปรับตัวจะอยู่ไม่ได้ เช่นกรณีร้านหนังสือดวงกมลที่ต้องเลิกกิจการ ในขณะที่อเมซอนอยู่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากโลกเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
กระบวนการคิดของมนุษย์แบ่งเป็น 3 ลักษณะ
  1. มองแบบแยกส่วน (Fractional) ใช้ตาและหูเป็นหลักเป็นคาถาที่เรียกว่า "เกี่ยมเม้ง" คือเปิดตาให้กว้าง เปิดหูให้เห็น ใช้ผัสสะทุกอย่างรวมถึงอินเตอร์รับรู้สภาวะการเปลี่ยงแปลงต่างๆที่เป็นตัวกระทบหรือปัจจัยที่จะทำให้โลกนี้ หรือร้านยามีการเปลี่ยนแปลง
  2. คิดแบบเป็นระบบ (System Thinking) มีการเชื่อมโยงแต่ละส่วนเป็นระบบ
  3. มองแบบองค์รวม (Holistic) เห็นทุกระบบ
  • โลกเปลี่ยนแปลง ความต้องการของมนุษย์เปลี่ยนไป มนุษย์ต้องการ one stop service ตัวอย่างกรณีโรงหนังที่จะอยู่ได้ต้องปรับตัวเป็น Entertainment Complex ในขณะเดียวกันร้านยาภายใต้สภาวะการแข่งขันก็ต้องมีการปรับตัวเพื่ออยู่รอด โดยเน้นที่ why และ how to ไม่ใช่ what นั่นคือจะต้อง “เห็นสิ่งที่เหมือนกันภายใต้ความแตกต่าง”
  • การแก้ไขการปรับตัวของร้านยาคือต้องตอบคำถาม why และ how to ให้ได้ ตอบให้ได้ว่าลูกค้าต้องการทำไม และจะต้องทำอย่างไร โดยคิดแบบองก์รวม มองแบบภาพรวม
ตัวอย่างกรณีเกาลัด
  1. ต้องอร่อย
  2. ต้องคัดสายพันธ์
  3. ต้องร้อน การที่จะร้อนต้องดูที่ location ด้วยว่าควรคั่วแต่ละครั้งจำนวนเท่าใด
  4. นึกถึงเคี้ยงเอมไพร์ คือเรื่องของสาขา เช่นไปตั้งร้านขายเกาลัดในพารากอน
ตอนต่อไปอาจารย์จะบรรยายถึงการย่างเข้ามาของการเปิดตลาดเสรี Asean หรือ AEC น่านเอง โปรดติดตามตอนต่อไปนะครับ

แหล่งข้อมูลกราบขอบพระคุณ คุณเกศกาญจน์ ลิมเรืองวุฒิกุล ผู้เข้ารับการอบรมและได้บันทึกข้อมูลมาแบ่งปันเพือ่นทุกท่าน

รายละเอียดข้อมูล การอบรมอบรมในหลักสูตร "การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการร้านยา" รุ่นที่ 1  ติดตามได้ที่
http://thaipharmacies.org/knowledge/marketing/296-thaipharmacies-seminar001.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น