วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555

โรคกระเพาะอาหารแบบไม่มีแผล (DYSPEPSIA) รู้ได้อย่างไร ว่าเป็นโรคนี้? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

ตอนที่แล้วเราได้อธิบายถึงโรคกระเพาะอาหารอักเสบ ว่าเกิดจากการอักเสบของเยื่อบุด้านในกระเพาะอาหาร ตอนนี้เรามาดูว่าอาการอะไรบ้างที่บอกว่าโรคน่ารำคาญนี้กำลังเกาะกินกระเพาะเราอยู่
โรคกระเพาะอาหารแบบไม่มีแผล (DYSPEPSIA) มีสองแบบ
1. โรคกระเพาะอาหารอักเสบชนิดเฉียบพลัน เราอาจมีอาการโรคที่เป็นในระยะสั้นๆ ไม่เกิน 1-2 สัปดาห์ก็หาย อาการสำคัญที่พบได้คือ เรามักมีอาการปวดท้องหรือจุกแน่นบริเวณใต้ลิ้นปี่ มักเป็นเวลากินอาหาร หรือหลังอาหารเล็กน้อย คลื่นไส้อาเจียน
ในรายที่เป็นมาก จะมีอาเจียนเป็นเลือดหรือถ่ายอุจจาระสีดำได้ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อันตราย มักพบจากสาเหตุอื่นๆได้แก่ อาหารเป็นพิษ พิษสุรา คนไข้ที่กินยาที่ระคายเยื่อบุกระเพาะอาหารมาก่อน เช่น ยาแอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบ
รูปประกอบ แนวทางวินิจฉัยโรคจาก http://www.aafp.org/afp/2006/0701/afp20060701p184-uf1.gif
2. โรคกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง คนไข้อาจเป็นมานานแล้วเป็นเดือนหรือเป็นปี มักจะมีอาการของโรคเป็นแบบเรื้อรัง เป็นๆ หาย ๆ การใช้ยาจะช่วยอาการให้ดีขึ้นในผู้ป่วยบางราย บางรายแม้ไม่ได้ใช้ยาอาการก็ดีขึ้นเอง แต่ไม่พบการเกิดโรคร้ายหรือโรคอื่นๆแตกต่างไปจากคนปกติ

โดยทั่วไปเมื่อนำผู้ป่วย
Dyspepsia มาจำแนกการวินิจฉัยที่ชัดเจนแล้ว เราพบว่าสาเหตุดังต่อไปนี้
·        มีอาการโรคจริงๆ functional dyspepsia 60%
·        peptic ulcer  พบประมาณร้อยละ 20
·        GERD ประมาณร้อยละ 15%
·        ที่น่ากังวลคือ gastric หรือ esophageal cancer พบประมาณ 2%
·        อื่นๆ  พบประมาณร้อยละ 3
เมื่อใดเราควรไปหาหมอ
เมื่อเรามีอาการดังกล่าว อาจได้รับคำแนะนำให้รับการส่องกล้องตรวจทางเดินอาหาร แต่ไม่ทุกรายไปยกเว้นจะมีมีสัญญาณอันตราย ได้แก่ กลืนลำบาก มีประวัติอาเจียนเป็นเลือด,ถ่ายอุจจาระสีดำ หรือมีภาวะซีดจากการขาดธาตุเหล็ก น้ำหนักลดโดยไม่สามารถหาเหตุผลมาอธิบายได้ หรืออาเจียนต่อเนื่อง
อาการเช่นใดที่บอกว่าเป็นโรคนี้?
ลองสังเกตุดูว่า เราเคยมีอาการเหล่านี้บ้างไหม เพราะมันเป็นจุดเริ่มต้นที่บอกว่า Dyspepsia ได้มาทักทายเราแล้ว อาการที่พบได้บ่อย ได้แก่
•บ่อยครั้งมาก จะมีอาการแน่น อึดอัดท้อง โดยเฉพาะบริเวณกลางช่องท้องตอนบน มักมีอาการได้ตั้งแต่ใน ขณะระหว่างกินอาหาร หรือหลังกินอาหารอิ่มแล้ว
ปวดท้อง มวนท้อง โดยเฉพาะบริเวณกระเพาะอาหาร ตรงช่องท้องบริเวณลิ้นปี่ รวมไปถึงตรงกลางของช่องท้องตอนบน เหนือสะดือข้นไป 
มีความรู้สึกว่าปวดแสบ ร้อนยอดอก หรือตรงลิ้นปี่ บางครั้งก้อมีน้ำเปรี้ยวๆจากกระเพาะไหลขึ้นมา 
ถ้าเป็นมาก อาจมีคลื่นไส้ อาเจียนได้
บางรายอาจมีท้องอืด ท้องเฟ้อ เรอ มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ลำไส้มาก
ไปหาหมอตรวจอะไร?
เมือไปพบแพทย์ เราจะได้รับการวินิจฉัยจากการ ซักถามประวัติอาการ ประวัติอาการเจ็บป่วยและการกินยา ตรวจร่างกาย และจากแนะนำให้กินยาประเภทลดกรด หรือยาเพิ่มการย่อยอาหาร และปรับเปลี่ยนนิสัยการใช้ชีวิตและพฤติกรรมการกินอาหาร
หลังจากนั้นให้ดูอาการประมาณ 3-4 สัปดาห์ถ้าอาการดีขึ้น ก็วินิจฉัยว่า อาการอยู่ในกลุ่มอาการนี้ แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้น หรืออาการมากขึ้น จึงอาจมีการตรวจอื่นๆเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือดดูน้ำตาลเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวาน การตรวจหาเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคแผลเปบติค แต่ที่ให้ผลแน่นอน และสามารถวินิจฉัยแยกโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ด้วย คือ การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ ร่วมกับการตัดชิ้นเนื้อในตำแหน่งผิดปกติเพื่อการตรวจทางพยาธิวิทยา
ในฐานะเภสัชกร หากคนไข้ได้รับยาในกลุ่มนี้มักจะเป็นสาเหตุของอาการ dyspepsia ควบคู่กันมาก้อได้ ยาเหล่านี้ได้แก่
·        ยาแก้ปวดต้านอักเสบในกลุ่ม NSAIDS
·        ยาปฏิชีวนะได้แก่ penicillin, sulfonamide, macrolide, doxycycline, tetracycline
·        ยาประเภทฮอร์โมน ได้แก่ insulin, ยากินเพื่อลดระดับน้ำตาล, estrogen, corticosteroid
·        ยาที่มีฤทธิ์ต่อหัวใจและหลอดเลือด ได้แก่ digoxin, calcium channel blocker
·        ยาที่มีผลต่อกล้ามเนื้อและกระดูก ได้แก่ alendronate
·        ยาขยายหลอดลม ได้แก่ theophylline

ตอนหน้าเรามาดูว่า หากมีอาการที่เล่ามาหรือกินยาในกลุ่มที่เป็นห่วง การรักษาจะต้องทำอย่างไร
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 14 เมษายน 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·        โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) การรักษาและยาที่ใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/08/03/entry-1
·         โรคกรดไหลย้อน รักษาด้วยยาอะไร? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล , http://utaisuk.blogspot.com/2012/03/blog-post_28.html
·         Indigestion (Dyspepsia, Upset Stomach), medicinenet, http://www.medicinenet.com/dyspepsia/article.htm
·        นพ. สมชาย ลีลากุศลวงศ์, โรคกระเพาะ อาหาร ..ปวด..แน่นท้อง, ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลธนบุรี, http://www.oknation.net/blog/loongjame/2010/02/19/entry-7
·        Effectiveness of Guideline for the    Management of Uninvestigated Dyspepsia, Clinical   Research Network:  กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร  สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย , http://www.old.crcn.in.th/mdbtemplate/mytemplate/template.php?component=menu&qid=341
·        Seema Gupta, V. Kapoor, B. Kapoor. Itopride : A Novel Prokinetic Agent. JKSCIENCE.2004;6:106-8
·        Itopride : A Novel Prokinetic Agent, www.jkscience.org/archive/volume62/itopride.pdf
·        พญ.อาภา  พึ่งรัศมี, Dyspepsia, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,http://sriphat.med.cmu.ac.th/container/data.php?mod=blogDr&id=14
·        Drug information handbbok,18 thed,Lexi-comp/Inc.,Ohio,2009-2010:p.891,1181
·        นพ.กิตติชัย กุลธนปรีดา,Dyspepsia, วารสารคลินิก เล่ม : 290 เดือน-ปี :02/2552, http://www.doctor.or.th/node/9234
·        แนวทางการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย Dyspepsia และผู้ป่วยที่การติดเชื้อ Helicobacter pylori, กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระะบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย, http://med_sakolhospital.tripod.com/pu.html
·        สมชาย สินชัยสุข,โรคกระเพาะอาหารแปรปรวน: สาเหตุและการรักษา,Functional dyspepsia: its causes and therapies, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553, http://www.ubu.ac.th/~research/UBUJournal/DB_Journal/fileupload/12305.pdf
·        ข้อควรทราบเกี่ยวกับ prokinetic drug, http://www.medicinetrick.com/2011/12/119-prokinetic-drug.html

รูปประกอบจาก http://howcanthis.com/wp-content/uploads/2011/08/acidity.jpg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น