เราเดินทางมาถึงตอนสุดท้ายของโรคนี้กันแล้วนะครับ
คนไข้ที่เป็นโรคนี้มักจะเบื่อมากในการรักษา
เพราะต้องมีการปรับเปลี่ยนอุปนิสัยการดำรงชีวิตหลายอย่าง แล้วก้อทำไมตอนรักษาก้อค่อยๆดีขึ้น
แต่ทำไมหมดยา กลับไปใช้ชีวิตตามเดิมก้อกลับมาแสบร้อนทางเดินอาหารได้อีก “ทำอย่างไร
จะหายขาดนะ?” ตอบง่ายมาก โรคนี้สามารถรักษาให้หายได้
หากเราเริ่มดูแลตนเองอย่าให้ไปความเสี่ยงที่กรดในกระเพาะอาหารกลับมาซ้ำเติมได้อีก
อยากหายขาดมาฟังคำแนะนำจากเภสัชกรได้เลยครับ
กรดไหลย้อนจะหายได้ ไม่มีอาการ
อาการน่าเบื่อต่างๆที่เราเคยประสบมา จะหายได้ ก้อต่อเมื่อเราได้รับการดูแล
ทั้งการปรับพฤติกรรม การใช้ยา ซึ่งจะมีผลดีทำให้
· เจ้าตัวการ
คือไปลดกรดในกระเพาะอาหาร มีไม่มากเกินไปจนลามไปกัดเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆ
· หลอดอาหารที่เคยอักเสบ
ปวด ร้อน ค่อยๆหมดอาการลง และ…
· ลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ
ได้แก่การตีบแคบของหลอดอาหาร
เปลี่ยนตนเองได้ โรคนี้ก้อหายได้
ทำไมโรคนี้จึงเป็นกันเย้อะ ได้เล่ามาแล้วในตอนแรกๆ
และทำไมระหว่างรักษา เราจึงหายดี เนื่องจากตอนนั้นเจ็บมาก ก้อเลย
ปรับนิสัยตนเองให้ต้องกินข้าวให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงการกินมื้อดึก
ที่มากที่สุดคือการเปลี่ยนนิสัยการกินอาหารซึ่งคุ้นเคยกับรสชาติแซ่บๆ หรือมีเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์
ทำได้หมดขอให้หายเต้อะ แต่พออาการดีขึ้น
เราก้อกลับไปมีนิสัยเหมือนเดิม ให้มีกรดไหลย้อนมาทำลายหลอดอาหารได้อีก
ดังนั้น “เปลี่ยน” คือปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เพื่อไม่ให้โรคนี้กลับมาเป็นซ้ำครับ เรามาดูว่าแนวทางการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะกรดไหลย้อนให้หายขาดมีอะไรบ้าง อ้อ รู้แล้วเฉยๆ ก้อไม่มีประโยชน์นะครับ ต้องลงมือทำเพื่อรักษาร่างกายเรา ให้ชีวิตมีความสุขต่อไปด้วย
ดังนั้น “เปลี่ยน” คือปัจจัยสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เพื่อไม่ให้โรคนี้กลับมาเป็นซ้ำครับ เรามาดูว่าแนวทางการดูแลตนเองของผู้ป่วยที่มีปัญหาภาวะกรดไหลย้อนให้หายขาดมีอะไรบ้าง อ้อ รู้แล้วเฉยๆ ก้อไม่มีประโยชน์นะครับ ต้องลงมือทำเพื่อรักษาร่างกายเรา ให้ชีวิตมีความสุขต่อไปด้วย
ภาพประกอบ: ตัวอย่างอาหาร ในแต่ละมื้อ สำหรับโรคนี้ จาก http://www.digestive-motility.com/ediciones/JAN2006-21/images/diet_gerd.jpg
1.
ปรับเปลี่ยนแบบแผนการกินอาหาร
· กินอาหารแบบ
ให้แต่ละมื้อละน้อยๆ โดดยแบ่งให้วันละประมาณ 4-6 มื้อ
· หลีกเลี่ยงอาหารที่ย่อยยาก
ทำให้กระเพาะเราเหนื่อย อย่างเช่นอาหารประเภทไขมันเยอะๆ และรับประทานโปรตีนให้เพียงพอ
· อันนี้ยาก
แต่ต้องทำ คือลดการดื่มชา กาแฟ หรือรับประทานอาหารที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน
· หยุดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
· กินข้าวให้กินช้า
ๆ เคี้ยวให้ละเอียด และงดอาหารทุกชนิด ไม่ว่าหนักหรือเบาก่อนนอน 2-3 ชั่วโมง รวมไปถึงของว่าง snacksทั้งหลายด้วยนะครับ เหตุเพราะของคบเคี้ยวจะยิ่งทำให้อาการแสดงของ
GERDแย่ลง
ภาพประกอบ: ท่านอนที่ลดการไหลกลับขึ้นมาของกรด มาจาก http://www.acidrefluxdiseasemedicine.info
· หลังกินอาหารใหม่ๆ
ควรเดินเบาๆให้ย่อยได้ดีขึ้น ภายหลังการกินอาหาร 1-2 ชั่วโมง ควรอยู่ในท่านั่ง
ห้ามนอน
· หลีกเลี่ยงอาหารรสจัดหรือทำให้เกิดอาการปวดแผลในกระเพาะอาหารทั้งหลาย
· สุดท้าย
ลดน้ำหนัก จะช่วยลดแรงดันในช่องท้องเพราะคนอ้วนจะมีความดันในช่องท้องสูงทำให้กรดไหลย้อนได้มาก
2.
ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวัน
· งดการสูบบุหรี่
บุหรี่จะทำให้เกิดกรดมาก
· หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อผ้าที่รัดบริเวณหน้าท้อง
· หลีกเลี่ยงการยกของหนัก
หรืออยู่ในท่าโค้งตัวนาน
· ไม่ควรนอนราบให้นอนยกศีรษะสูง
โดยยกหัวเตียงให้สูงขึ้นจากพื้น ประมาณ 6-8 นิ้ว
(15 -20 เซนติเมตร
· ออกกำลังกายสม่ำเสมอและพยายามหลีกเลี่ยงความเครียด
การรักษาโรคนี้ว่ายากแล้ว
แต่การป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำไม่ยากเลย หากเราเอาใจใส่เปลี่ยนนิสัยการกินที่เป็นต้นเหตุ
และปรับรูปแบบการใช้ชีวิตภายหลังที่หายแล้ว เพื่อหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้อีก
ทำได้ตามนี้เราก้อจะกลับไปกินหรือนอนหลับอย่างมีความสุขตลอดไป และไปเที่ยวสงกรานต์อย่างมีความสุขไม่ต้องกลัวแสบท้องอีกต่อไป
อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา
กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่
Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ
“PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
สงวนลิขสิทธิ์ 12 มีค. 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ
ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ
Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์
ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ
ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
รูปประกอบจาก
health.com
Joel J Heidelbaugh, MDUMHS GERD Guideline, January
2007, Family Medicine, Regents of the University of Michigan, cme.med.umich.edu/pdf/guideline/GERD07.pdf
Updated Guideline for the Diagnostic and Treatment of Gastroesophageal Reflux Disease
(GERD). , Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition, 49:498–547 #
2009, European Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and
Nutrition and North American Society for Pediatric Gastroenterology,
Hepatology, and Nutrition
Clinical Standard for Adult Gastroesophageal Reflux
(GERD), The Madigan Army Medical Center - Quality Services Division, Revised: October 2001, http://www.mamc.amedd.army.mil/clinical/standards/gerd_alg.htm
Evidence-Based GERD Guidelines Released By The
American Gastroenterological Association, Article Date: 22 Oct 2008, http://www.medicalnewstoday.com/releases/126415.php
Gastroesophageal Reflux Disease (GERD, Acid Reflux,
Heartburn), Medicinenet., http://www.medicinenet.com/gastroesophageal_reflux_disease_gerd/article.htm
Dr. Alan L Ogilivie, Gastro-oesophageal reflux (acid
reflux), http://www.netdoctor.co.uk/diseases/facts/gastrooesophagealreflux.htm
Acid Reflux (GERD) Drug Information, HealthCentral.com,
http://www.healthcentral.com/acid-reflux/find-drug.html
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, โรคกรดไหลย้อน ตอนที่ 1 และ
2, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา ,
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=294,
http//www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=295
รศ.นพ.สมชาย
ลีลากุศลวงศ์,กรดไหลย้อน.....ภัยเงียบวัยทำงาน, สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร
ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=726
รศ. นพ. ปารยะ
อาศนะเสน,สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน , ตอนที่ 1 และ 2,
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล,
http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=631
, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=632
สุวรรณา
กิตติเนาวรัตน์, ภาวะกรดไหลย้อน
(GERD), คม.(นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร), ET.,
วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย, http://www.google.com/url?sa=t&source=web&cd=28&ved=0CEgQFjAHOBQ&url=http%3A%2F%2Fimages.cdri.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FS3P98AooCkQAABASlcA1%2FGERD.doc%3Fkey%3Dcdri%3Ajournal%3A16%26nmid%3D81114654&ei=GluGTpbZDsiHrAej-My-Dw&usg=AFQjCNE5a-l7Y0sWz1I6--uOELkvO0XzSQ&sig2=DXEX73ScA--r3T9nqAmuJg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น