บ่อยครั้งคนไข้แวะมาด้วยอาการปวดท้อง รู้สึกไม่สบายในช่องท้องบริเวณลิ้นปี่ลงไปจนเหนือสะดือ บางรายก้ออืดแน่นท้อง แสบลิ้นปี่ ถ้าเยอะหน่อยก้อคลื่นไส้อาเจียน อาการเหล่านี้ที่เภสัชกรร้านยาได้พบบ่อยและสามารถวินิจฉัยในขั้นต้นได้หลายโรคเสียเหลือเกินเช่น โรคกระเพาะอาหารทั้งที่มีและที่ไม่มีแผล โรคกระเพาะแบบติดเชื้อ โรคนิ่วในถุงน้ำดี โรคตับอ่อน จะส่งตรวจส่องกล้องก้อทำไม่ได้ แต่ได้ฟังบรรยายวิชาการในหัวข้อเรื่องนี้โดยอาจารย์นพ. สมชาย ลีลากุศลวงศ์มาแล้ว ขอนำมาถ่ายทอดเพื่อช่วยให้เราเข้าใจอาการและโรคนี้ได้ดียิ่งขึ้น
แค่อาการปวดท้องแต่อาจเป็นโรคอื่นๆได้มากมาย
อาการปวดท้องหรือรู้สึกไม่สบายในท้อง ตั้งแต่บริเวณใต้ลิ้นปี่จนไปถึงสะดือ โดยเฉพาะหากเราเป็นมานานหรือเป็นๆหายๆ มักคิดว่าเป็นแผลในกระเพาะอาหาร แต่แท้ที่จริงแล้วอาการปวดท้องอาจเกิดจากโรคอื่นๆ ภายในช่องท้องอีกมากมาย เช่น โรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผล โรคระบบทางเดินน้ำดี โรคตับอ่อน เหล่านี้เป็นต้น
โรคกระเพาะอาหารเป็นกลุ่มโรคที่พบบ่อยมากที่สุด ที่สำคัญได้แก่ โรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผลหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบ โรคแผลในกระเพาะอาหาร โดยผู้ป่วยจะระบุว่ามีอาการปวดท้องเรื้อรังเป็นๆ หายๆ หรือรู้สึกไม่สบายในท้องบริเวณลิ้นปี่ บางคนอาจมีอาการอืดแน่นท้อง แสบลิ้นปี่ มีเรอแน่น คลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
โรคกระเพาะอาหารที่ไม่มีแผลหรือโรคกระเพาะอาหารอักเสบ มีอาการอย่างไร
รูปประกอบ: ตำแหน่งที่มีอาการของโรคนี้ จาก http://trialx.com/curetalk/wp-content/blogs.dir/7/files/2011/05/diseases/Dyspepsia-3.gif
โรคนี้คนไข้จะมีอาการปวดจุกแน่นท้อง ไม่สบายท้อง อืดแน่นท้อง เรอ ย่อยลำบาก ปวดแสบยอดอก คลื่นไส้ โดยอาการอาจจะสัมพันธ์หรือไม่สัมพันธ์กับการกินอาหารก็ได้ มักเป็นเรื้อรังมานาน บางครั้งทำตัวดีๆ ได้รับยา ก้อหายไป รู้สึกว่าอาการดีขึ้นเอง หรือดีขึ้นหลังได้ยาลดกรด บางรายจะมีอาการคล้ายผู้ป่วยที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ครานี้เราจะรู้ได้อย่างไรหล่ะ เราจะทราบได้โดยผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักระบุอาการดังต่อไปนี้
· มีอาการปวด (Pain) แสบร้อนช่องท้อง (Burning) หรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือ หน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่าง หรือเวลาหิว อาจมีอาการเป็นเฉพาะบางช่วงเวลาของวัน พอได้กินข้าวหรือยาลดกรดก้อจะดีขึ้น อาการปวดมักจะเป็นๆ หายๆ โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น อาจปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ แล้วหายไปหลายเดือนจึงกลับมาปวดอีกก้อมี คนไข้ส่วนใหญ่ มักจะไม่ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากที่หลับไปแล้ว
· คนไข้จะรู้สึก อิ่มเร็วกว่าปกติ ทั้งๆที่เริ่มกินในปริมาณอาหารปกติ (early satiety) รวมไปถึงอืดแน่นท้องนานกว่าปกติเหมือนอาหารไม่ย่อยหลังกินในปริมาณปกติ (postprandial fullness)
· ท้องอืด (bloating without visible distention) เรอบ่อย (belching) ผะอืดผะอมไม่อยากอาหาร (anorexia), หรือคลื่นไส้ (nausea) รวมถึงเรอเปรี้ยว (regurgitation) หรือปวดแสบร้อนหน้าอก (heartburn )
· หลายรายพอเครียดมากๆ อาการต่างๆก้อจะชัดเจน
สุดท้าย แม้จะมีอาการเรื้อรัง สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม ผู้ป่วยจะมีสุขภาพดี ไม่มีอาการของการเสียเลือดจากแผลในกระเพาะอาหาร เช่น อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ น้ำหนักลด ปวดท้องรุนแรง หรือมีไข้ โรคนี้จะไม่กลายเป็นมะเร็ง แม้จะเป็นๆ หายๆ อยู่นานกี่ปีก็ตาม
ทำไมจึงเป็นโรคนี้
อาจเกิดได้จากหลายปัจจัย โดยเฉพาะในกลุ่มที่เป็นเรื้อรัง สามารถเป็นได้จากทุกอวัยวะในช่องท้องที่อยู่บริเวณเหนือสะดือ ได้แก่ ตับ, ทางเดินน้ำดีและถุงน้ำดี, กระเพาะอาหาร, หลอดอาหาร, ตับอ่อน, ม้าม, ไต, และลำไส้ใหญ่บางส่วนที่พาดผ่านบริเวณนี้
แต่ที่พบเป็นสาเหตุได้บ่อยได้แก่
· การบีบตัวของกระเพาะอาหารและลำไส้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
· ความไวของกระเพาะอาหารและลำไส้เปลี่ยนแปลงไป
· มีสิ่งกระตุ้นจากภายนอก อาทิ อาหาร, ยา เป็นต้น
· เชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า เฮลิโคแบกเตอร์ ไพลอรี่
· สภาวะจิตใจ เช่น ความเครียด
ตอนหน้าเรามาดูว่า หากมีอาการที่เล่ามาอยู่นี่นา เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็น จะได้รักษาได้ทันท่วงทีให้หายรำคาญ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 14 เมษายน 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
· โรคลำไส้แปรปรวน (IBS) การรักษาและยาที่ใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/08/03/entry-1
· “โรคกรดไหลย้อน ” รักษาด้วยยาอะไร? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล , http://utaisuk.blogspot.com/2012/03/blog-post_28.html
· Indigestion (Dyspepsia, Upset Stomach), medicinenet, http://www.medicinenet.com/dyspepsia/article.htm
· นพ. สมชาย ลีลากุศลวงศ์, โรคกระเพาะ อาหาร ..ปวด..แน่นท้อง, ศูนย์ระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลธนบุรี, http://www.oknation.net/blog/loongjame/2010/02/19/entry-7
· Effectiveness of Guideline for the Management of Uninvestigated Dyspepsia, Clinical Research Network: กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย , http://www.old.crcn.in.th/mdbtemplate/mytemplate/template.php?component=menu&qid=341
· Seema Gupta, V. Kapoor, B. Kapoor. Itopride : A Novel Prokinetic Agent. JKSCIENCE.2004;6:106-8
· Acid Reflux Relief, http://acid-reflux-relief.blogspot.com/2008/09/prokinetic-medications.html
· Itopride : A Novel Prokinetic Agent, www.jkscience.org/archive/volume62/itopride.pdf
· พญ.อาภา พึ่งรัศมี, Dyspepsia, คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,http://sriphat.med.cmu.ac.th/container/data.php?mod=blogDr&id=14
· Drug information handbbok,18 thed,Lexi-comp/Inc.,Ohio,2009-2010:p.891,1181
· นพ.กิตติชัย กุลธนปรีดา,Dyspepsia, วารสารคลินิก เล่ม : 290 เดือน-ปี :02/2552, http://www.doctor.or.th/node/9234
· แนวทางการวินิจฉัยและรักษาผู้ป่วย Dyspepsia และผู้ป่วยที่การติดเชื้อ Helicobacter pylori, กลุ่มวิจัยโรคกระเพาะอาหาร สมาคมแพทย์ระะบบทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย, http://med_sakolhospital.tripod.com/pu.html
· สมชาย สินชัยสุข,โรคกระเพาะอาหารแปรปรวน: สาเหตุและการรักษา,Functional dyspepsia: its causes and therapies, คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ปีที่ 12 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2553, http://www.ubu.ac.th/~research/UBUJournal/DB_Journal/fileupload/12305.pdf
· ข้อควรทราบเกี่ยวกับ prokinetic drug, http://www.medicinetrick.com/2011/12/119-prokinetic-drug.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น