วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

Vicious Cycle ทำไมโรงพยาบาลกรุงเทพถึงรุ่ง ร้านยาราคาถูกถึงอันตราย

มีคำถามหนึ่งว่าทำไมองค์กรจึงต้องการกำไรที่สมเหตุผลในการไปพัฒนาคุณภาพร้านและการบริการ ทำไมร้านยาประเภท Discount Drugstore ที่ขายราคาต่ำติดดินโดยไม่คำนึงถึงต้นทุน จึงเป็นอุปสรรคในการพัฒนาวงการ Retail Pharmacy

เรามาดูตัวอย่าง Best Practice จาก อาจารย์ นายแพทย์ พงศ์ศักดิ์ วิทยากร หนึ่งในผู้นำผู้ขยายอาณาจักรโรงพยาบาลเล็กๆในซอยศูยน์วิจัย จนใหญ่โตข้ามโลกไปเปิดสาขาในสิงคโปร์ กลุ่มประเทศ Asean และย่านตะวันออกไกล ในขณะเวลาที่คุณภาพการบริการบัตรทอง 30 บาท ยังไปไม่ถึงฝั่งฝัน บุคคลากรทางแพทย์ที่ทรงคุณค่ากลับสมองไหลตบเท้าออกจากภาครัฐ ยาที่ใช้และคุณภาพการบริการที่โดนวิพากษ์มาตลอด และเป็นตัวอย่างที่ดีที่สท้อนให้เห็นว่าร้านยาราคาต่ำติดดินมันแย่อย่างไร ทำลายชีวิตคนไข้ให้ไปเสี่ยงต่อยาราคาผิดปกติอย่างไร



ในช่วง 10ปีกว่าๆที่ผ่านมา อาจารย์ พงศ์ศักดิ์ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ บริษัทกรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ผู้บริหารกิจการโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้เล่าถึงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ โรงพยาบาลในขณะนั้นเจอภาวะชงักงันจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ การลดค่าเงินบาท ล้วนเป็นต้นเหตุทำให้โรงพยาบาลเล็กหลายแห่งต้องล้มตายจากไปมากมาย เมื่อเข้าสู่ปี 2542 จึงจะสามารถเริ่มต้นในการวางทิศทางของธุรกิจกันใหม่ แหล่งรายได้ที่จะมาเลี้ยงธุรกิจมีแค่สองทางหนึ่งกำหนดกลุ่มลูกค้าพร้อมเพิ่มเติมการบริการใหม่ที่แตกต่างจากวงจรเดิม หรือเข้าไปสู่ยอมรับการบริการ 30 บาทจากภาครัฐซึ่งเป็นช่วงยุคสมัยรกของการนำระบบ National Health campaigns จากรัฐบาลประชานิยมในสมัยนั้น

อาจารย์ได้เล่าให้ฟังว่าหากเรายอมรับระบบเดิมที่มีรายได้จำกัด คือจะได้รับแค่เงินต่อหัวที่จำกัด จะเกิดอะไรขึ้นต่อองค์กรขณะนั้น ซึ่งอาจารย์ได้ยกตัวอย่างที่เรียกว่า Vicious Cycle

วงจรอุบาทว์ Vicious Cycle คืออะไร?

แปลตรงตัวนะครับ หมายถึง วงจร หรือ วัฏจักร ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมลงไปเรื่อย และหากไม่มีแทรกแซงแก้ไข วัฏจักรนี้จะดำเนินต่อไปไม่สิ้นสุด มักใช้อธิบายปรากฏการณ์ทางเศรษฐกิจ มีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า Virtuous Cycle

ทำไมหล่ะ หากวันนั้นผุ้นำโรงพยาบาลกรุงเทพเลือกเอารายได้ที่จำกัดจากโครงการ 30 บาทไม่ต้องทำอะไรเลย เงินมาแน่ๆชัวร์ๆ แต่รายได้โดนจำกัดตายตัวน้อยเกินไปกว่าความเป็นจริงต่อการบริการสุขภาพที่มีคุณภาพ รายได้ที่น้อยย่อมส่งผลทำให้โรงพยาบาลไม่สามารถไปรับสมัครอาจารย์หมอฝีมือดีๆ เครื่องมือแพทย์ทันสมัยที่จำเป็นในการวินิจฉัยโรค พอเงินเดือนน้อยแพทย์เองก้อไม่มีรายได้มากพอไปศึกษาต่อ ไปหาข้อมูลใหม่ๆในการพัฒนาตนเองในการกลับมายกระดับการบริการคนไข้ ครอบครัวไม่มีรายได้มากพอที่จะมีความสุข หากครอบครัวเราไม่มีความสุขอย่างเพียงพอ เราจะมาทำหน้าที่บริการที่ดีให้คนไข้มีความสุขได้อย่างไร เราจึงเรียกวงจรดังกล่าวว่าวงจรแห่งความเสื่อม

แต่อาจารย์รู้ว่าถ้าเราไม่เปลี่ยน เราไม่มองเห็นอนาคตมองแต่รายได้ระยะสั้นๆที่ไม่มีทรัพยกรมากพอในการนำมาพัฒนาครอบครัวหรือคนในองค์กร ทิศทางของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพจึงมุ่งเป้าไปตลาดบน รวมไปถึงนักท่องเที่ยวที่มีกำลังซื้อสูงที่เดินทางมาประเทศไทยเพื่อพักผ่อนและสรรหาบริการสุขภาพทางแพทย์ชั้นเลิศ ในวัันนี้โรงพยาบาลจึงได้เติบโตมาโดยตลอด จนเป็นที่รู้จักกันทั่วไทยทั่วโลก

ย้อนกลับมาในวงการร้านยาเรา หลายคนยังคมเลือกเสี่ยงไปร้านขายยาประเภท "ถูกทุกวัน ไม่มีนาทีทอง" ร้านเหล่านี้กำลังเลือกเข้าสู่วงจรอุบาทว์ Vicious Cycle คือเหตุผลที่ร้านเหล่านี้ขายในราคาต่ำติดดินและทำลายสุขภาพเรา ร้านเรานี้ไม่สนใจสุขภาพคนซื้อ สิ่งที่อยากได้ก้อคือต้องการเพียงแต่เงินอย่างเดียว ไม่สนใจอะไรมากไปกว่ารายได้อันน้อย สาเหตุที่ราคาต่ำติดดินก้อไม่ได้เกิดจากการจัดการที่มีคุณภาพ แต่เกิดจากกการลดคุณภาพ ตั้งแต่แหล่งของยาที่มีที่มาผิดปกติ ยาจะได้คุณภาพใช้แล้วปลอดภัยหรือไม่ เขาไม่สน ขอให้ราคาถูกๆก้อพอ

ยังไม่รวมถึงการบริการที่จำเป็นของเภสัชกรที่จำเป็นในการให้คำปรึกษาแนะนำที่จำเป็น ร้านเหล่านี้ไม่เน้นการบริการ ร้านเห็นแก่ได้เหล่านี้ไม่เห็นคุณค่าชีวิตคนไข้ ไม่สรรหาเภสัชกรที่มีคุณภาพพร้อมบริการมาใส่ใจดูแลคุณ

ร้านขายถูกเช่นนี้มัก ปล่อยให้คนไข้ต้องมาเข้าคิว ยืนรอ ไม่มีการบริการซักถามใดๆ ให้คนไข้ไปเสี่ยงชะตากรรมเอาเอง
วงจรอุบาทย์เช่นนี้ต่อคนไข้ ต่อสังคมนั้นไม่มีอะไรเลย นอกจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้อง ไม่มีคุณภาพ เน้นแต่ราคาถูก แม้แต่ชีวิตคนไข้เราๆที่ไปอุดหนุนก้อเปรียบเสมือนขายชีวิตเราเองให้อายุสั้น ราคาถูกยิ่งกว่าราคายาที่ต้องเหนื่อยไปหาซื้อมาต่อชีวิตเสียอีก



ดังนั้นหากเลือกได้ ทำไมเราไม่เลือกร้านยาที่มีคุณภาพ ในราคาที่เหมาะสม มียาใหม่คุณภาพดีผ่านการตรวจสอบควบคุมอย่างเข้มงวด สำคัญที่สุดคือเภสัชกรที่พร้อม ทำหน้าที่ตลอดเวลาเพื่อดูแลชีวิตคุณ ที่มีค่ายิ่งกว่าราคาใดๆจะมาแลกซื้อได้

แหล่งข้อมูล


สุดยอดหมอนักบริหารโรงพยาบาล คิดใหญ่ ทำใหญ่ 
นายแพทย์พงษ์ศักดิ์ วิทยากร  เรียบเรียงโดย พร้อมพิไล บัวสุวรรณ
http://library.bu.ac.th/search/opac/ResultTitle.cfm?aTextSearch=2005002600&aSearchBy=B&aIsAdvance=Yes

The Leading Specialist Healthcare Hub
โดย อรวรรณ บัณฑิตกุล
http://www.gotomanager.com/news/details.aspx?id=8247


วงจรอุบาทว์ Vicious Cycle, 
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%B8%E0%
B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%A7%E0%B9%8C



ภาพประกอบ

พงษ์ศักดิ์ วิทยากร  โรงพยาบาลกรุงเทพ
mtts34.com

    ไม่มีความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น