ไฟโตเอสโตรเจนคืออะไร
ไฟโตเอสโตรเจน ( Phytoestrogen) เป็นสารอาหารที่มีสูตรโครงสร้างหรือสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาคล้ายฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจนของเรานั่นเอง แรกๆนั้นเรารู้ได้ว่าจากการสังเกตการใช้ทางพื้นบ้าน และการสังเกตผลการรับประทานสมุนไพรในด้านต่างๆ เช่น การเพิ่มน้ำนมให้กับสตรีหลังคลอดบุตร หรือประชาชนในประเทศจีนที่รับประทานพืชบางชนิดแล้วสามารถคุมกำเนิดได้ หรือสังเกตจากสตรีที่รับประทานพืชบางชนิดแล้วทำให้สตรีนั้นเป็นหมัน หรือในประเทศญี่ปุ่นซึ่งประชากรมีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคมะเร็งเต้านมและต่อมลูกหมากต่ำ คาดว่าเนื่องมาจาก การที่คนญี่ปุ่นได้รับไฟโตรเอสโตรเจนจากการบริโภคผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองอยู่เป็นประจำ
ในไฟโตเอสโตรเจนมีอะไรบ้าง
Phytoestrogens เป็นสารประกอบธรรมชาติประเภท lignans และ isoflavones ซึ่งสามารถออกฤทธิ์ทางชีววิทยาได้คล้ายฮอร์โมนเพศหญิง มักพบในพืชหลายชนิด เช่น ถั่วเหลือง ชะเอม Black cohosh โสมตังกุย มีหลักฐานที่บ่งชี้ว่า phytoestrogens สามารถลดการเกิดกระดูกพรุน โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจและความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิด โดยเฉพาะประเภทที่มีความเกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น มะเร็งเต้านม
มะเร็งเต้านมน้อยกว่าผู้หญิงในประเทศตะวันตก เช่นเดียวกับผู้ชายญี่ปุ่นก็มีอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากน้อยกว่าผู้ชายในประเทศตะวันตก ทั้งนี้อาจเนื่องจากวัฒนธรรมการกินอาหารของชาวญี่ปุ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นประเภทถั่วเหลือง เช่น เต้าหู้ ซุป (miso) และยังมีรายงานว่า genistein (เป็น isoflavones ชนิดหนึ่ง) สามารถยับยั้งการเกิดเซลล์มะเร็ง
โรคกระดูกพรุนโดยไปเสริมการสร้างกระดูก ขณะเดียวกันก็ช่วยลดการเสื่อมของกระดูก และทั้ง 2 ตัวนี้สามารถป้องกันโรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ โดยยับยั้งการจับตัวของเม็ดเลือด และลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด
- มีประวัติการเป็นมะเร็งเต้านม เนื่องจาก estrogen จะกระตุ้นให้เกิด proliferation ของเนื้อเยื่อ
- เต้านมปกติ และที่เป็นมะเร็ง
- มีประวัติมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก
- ตับเสื่อมหน้าที่อย่างรุนแรง
- โรค Porphyria (โรคขาด enzyme ชนิดหนึ่งในการสังเคราะห์ hemoglobin)
- เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่ยังหาสาเหตุไม่ได้
- ทนอาการข้างเคียงของยาไม่ได้
แหล่งข้อมูล
อัจฉรา เอกแสงศรี "สมุนไพรวัยทอง"
ส่วนวิชาการและข้อมูล องค์การเภสัชกรรม http://www.gpo.or.th/rdi/html/mono.html
สมุนไพรวัยทอง: ฮอร์โมนเพศมีผลต่อวัยหมดประจำเดือนอย่างไร?
http://utaisuk.blogspot.com/2012/03/blog-post_08.htmlhttp://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/01/entry-1
http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/01/entry-1
ภาพประกอบจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น