วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

สมุนไพรวัยทอง: ฮอร์โมนเพศมีผลต่อวัยหมดประจำเดือนอย่างไร?


ช่วงชีวิตของผู้หญิงเราเริ่มตั้งแต่ วัยเด็กน่าร้าก วัยสาวน่ากอด วัยแม่น่าบูชา ไปจนถึง วัยทองน่าเทิดทูน ซึ่งหากเราทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงของชีวิต มีการปฏิบัติตนและทานอาหาร (เสริม) ที่เหมาะสม เราก็สามารถที่จะมีความสุขได้กับทุกช่วงของชีวิตทีเดียว

เวลาเปลี่ยน ฮอร์โมนเปลี่ยน
ทำไมจึงการเปลี่ยนแปลงสรีระและจิตใจในแต่ละช่วงอายุได้ ทั้งหลายเกิดจากฮอร์โมน ฮออร์โมนเป็นสารเคมีที่ผลิตขึ้นโดยต่อมต่าง ๆ ภายในร่างกาย   เพื่อให้การทำหน้าที่ต่าง ๆ ภายในร่างกายเป็นไปอย่างสมดุล 

สำหรับฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของสตรีวัยทอง ได้แก่
estrogen และ progesterone

Estrogen 
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากรังไข่ซึ่งมีอิทธิผลต่อระบบต่าง ๆ ของสตรีอย่างมาก อาทิเช่น
- ควบคุมการเจริญและการทำงานของระบบสืบพันธุ์ การเพิ่มของไขมันร่างกายเมื่อเข้าสู่วัยสาว
- ทำให้เกิดการสะสมของของเหลวและเกลือในเนื้อเยื่อ
- ช่วย calcium ในการเข้าไปเสริมสร้างกระดูก
- ลดระดับ low density lipoprotein (LDL) cholesterol
- การรักษาระดับน้ำตาลในเลือด

Progesterone  
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจาก corpus luteum  จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการหลุดลอกตัวของ
เยื่อบุโพรงมดลูกทำให้เกิดเป็นประจำเดือนออกมา   นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เกี่ยวกับระบบประสาทในการทำให้เกิด sedative  ดังนั้นการที่มีระดับ progesterone สูง  อาจทำให้เกิดอาการซึมเศร้าและเหนื่อยล้าได้

นอกจากฮอร์โมน 2 ตัวที่ได้กล่าวไปแล้ว  ยังมีฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการประสานและควบคุมหน้าที่ซึ่งกันและกันระหว่าง   ฮัยโปธาลามัส   ต่อมปิตูอิตารีกลีบหน้า   และรังไข่   ให้เป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ follicle-stimulating hormone (FSH) และ luteinizing hormone (LH) ซึ่งจะไม่ลงรายละเอียดของฮอร์โมนทั้ง 2 ตัวนี้  เพียงแต่ต้องการให้ทราบว่าในสตรีวัยทองนี้  FSH และ  LH จะมีระดับสูงขึ้น ซึ่งเชื่อว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการแปรปรวนต่าง ๆ ของสตรีวัยทอง

ช่วงอายุวัยทองเริ่มเมื่อใด?
วัยทอง หรือ Climacteric period หรือ Menopausal period นี้   จะเกิดกับสตรีที่มีอายุ 40-45 ปี ขึ้นไป  ซึ่งเป็นวัยที่กำลังมีความก้าวหน้าในการงาน และเป็นกำลังที่สำคัญในการพัฒนาประเทศ  จึงเป็นที่น่าเสียดาย หากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนภายในร่างกาย จะก่อให้เกิดปัญหาทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพใจกับสตรีในชีวิตช่วงนี้

Menopausal  period   อาจเกิดได้ทั้งจากธรรมชาติและจากการผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่   โดยในช่วงระยะนี้    สตรีวัยทองจะเกิดปัญหาด้านสุขภาพเนื่องมาจากการลดระดับและการไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน estrogen  และ  progesterone   ในรายที่ระดับ estrogen เริ่มลดลง  จะทำให้รอบประจำเดือนห่างกันมากขึ้น และประจำเดือนมาน้อยลง จนกระทั่งหมดไปอย่างถาวร   ส่วนรายที่ยังคงมี estrogen อยู่  แต่ไม่มีการผลิต progesterone จะทำให้มีประจำเดือนมามากและบ่อยกว่าปกติ

นอกจากนี้   ในระยะวัยทองร่างกายสตรียังสามารถที่จะเปลี่ยนฮอร์โมน  androstenedione  ในเซลล์ไขมันให้เป็น estrogen ได้   ซึ่งเป็นเหตุผลอย่างหนึ่งที่ทำให้ สตรีที่ค่อนข้างท้วมจะมีอาการแปรปรวนของสตรีวัยทองน้อยกว่าสตรีที่มีรูปร่างผอม

เราอาจแบ่ง Menopausal period ออกได้เป็น 3 ระยะคือ
1. Premenopause คือสภาวะก่อนหมดประจำเดือน ซึ่งยังคงมีประจำเดือนอย่างสม่ำเสมอ  บางครั้งอาจพบว่ามีประจำเดือนขาดหายไปบ้าง แต่ไม่เกิน 3 เดือน   และโดยทั่วไปถือว่าสภาวะนี้จะเริ่มต้นเมื่ออายุ
ประมาณ 40 ปี

2. Perimenopause คือสภาวะก่อนหมดประจำเดือน  อาจมีประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ  หรือไม่มีประจำเดือนมาเป็นระยะเวลา 3-11 เดือน มักจะเกิดกับสตรีอายุเฉลี่ย 47.5 ปี

3. Postmenopause คือสภาวะหมดประจำเดือนอย่างถาวร (มากกว่า 12 เดือนขึ้นไป)
การเสื่อมสภาพของการทำงานของรังไข่ (การลดระดับของ estrogen) จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออวัยวะหรือระบบต่าง ๆ  ในร่างกายของสตรีวัยทอง  ทำให้เกิดอาการต่าง ๆ  และโรคบางอย่างตามมา
เช่น
อาการร้อนวูบวาบ ตามร่างกาย  เหงื่อออกในเวลากลางคืน ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ  ซึ่งมักเรียกกลุ่มอาการเหล่านี้ว่าเป็น Hot Flushes หรือ Hot Flashes
- มี อาการซึมเศร้า หงุดหงิด กังวลใจ อารมณ์หวั่นไหวง่าย  ความจำเสื่อม ไม่มีสมาธิ อ่อนเพลียความต้องการทางเพศลดลง
ช่องคลอดแห้ง รู้สึกแสบร้อนบริเวณปากช่องคลอด   มีการหย่อนยานของมดลูกและช่องคลอดมีการหย่อนยานของกระเพาะปัสสาวะ ทำให้ กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ ขณะไอหรือจาม   และมีความอยากถ่ายปัสสาวะอยู่เสมอ
ผิวหนังแห้ง เหี่ยวย่น ผมแห้ง ผมร่วง
ปวดตามกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดตามข้อ
- เต้านมมีขนาดเล็กลง หย่อน
- มี การกระจายตัวของไขมันมาสะสมที่บริเวณหน้าท้อง และภายในช่องท้อง
- มีแนวโน้มที่จะเกิดฟันผุและสูญเสียฟันได้ง่าย   รวมทั้งมีการอักเสบของเหงือกหรือจะเกิดอาการเลือดออกจากเหงือกได้ง่ายหลังจากได้รับการกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย
- อาจมีอาการ ตาแห้ง
ระบบการฟังเสื่อมลง
- มีอัตราเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ และโรคตับ
โรคระบบหลอดเลือดและหัวใจ
โรคสมองฝ่อ (Alzheimer's disease), ความจำเสื่อม
โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ทำให้กระดูกหักได้ง่าย

จากทั้ง 14 อาการข้างต้นนี้  ผู้อ่านที่เป็นสตรีวัยทองหรือกำลังจะก้าวสู่ช่วงวัยทอง  อย่าเพิ่งมีอาการตื่นตระหนกเกินเหตุ เนื่องจากความเจริญของวิวัฒนาการในปัจจุบัน  ตลอดจนถึงความสามารถของนักวิจัยทั้งหลาย ได้ข้อสรุปว่าสตรีวัยทองสามารถที่จะบรรเทาหรือชลออาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นนี้ได้จากการใช้ชีวิตที่เหมาะสม   ได้แก่    
  • การรับประทานอาหารหรือโภชนาการที่ดีมอบให้กับร่างกายอย่างเหมาะสมกับวัย 
  • ลดความเครียดต่าง ๆ จากการทำงาน 
  • ดื่มน้ำวันละ 6-8 แก้ว มีการออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อให้อวัยวะและข้อต่าง ๆ ของร่างกายได้ใช้งานอยู่เสมอ  
  • ร่วมกับการเสริมฮอร์โมนทดแทน  ซึ่งอาจอยู่ในรูปของยาหรือสารอาหารตามธรรมชาติ 
ตอนหน้าเรามาดูว่า หากจำเป็นต้องได้รับฮอร์โมนเพศเสริมหรือ phytoestrogens ควรกินมั้ย ใช้ไปนานๆแล้วจะอันตรายหรือไม่?

แหล่งข้อมูล 

อัจฉรา เอกแสงศรี "สมุนไพรวัยทอง"
ส่วนวิชาการและข้อมูล องค์การเภสัชกรรม http://www.gpo.or.th/rdi/html/mono.html

http://www.oknation.net/blog/DIVING/2010/10/01/entry-1

ภาพประกอบจาก
menopause-symptoms.jpghttp://www.medindia.net/patients/patientinfo/menopause-symptoms-and-lifestyle-changes.htm
menopause.gif, http://www.cardiachealth.org/menopause-and-palpitations และ
pg-11-medical-reasons-not-to-exercise-full.jpg, http://www.everydayhealth.com/fitness-pictures/10-surprising-times-to-hit-the-gym.aspx#/slide-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น