เป็นอีกครั้งหนึ่งที่เภสัชกรตั้งใจเขียนบทความนี้อย่างระมัดระวัง เพราะเราอยากจะสื่อให้ประชาชนทั้งหลาย ได้เข้าใจถึงขบวนการตั้งครรภ์ การแท้งตามธรรมชาติหรือเกิดจากอุบัติเหตุ และการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ที่กำลังเกิดขึ้นมากและบ่อยในแวดวงดารานักร้องจนต้องไปหาทางเลือกที่ผิดๆในการทำแท้ง เราอยากสื่อให้ทุกท่านได้เข้าใจว่า ควรป้องกันการตั้งครรภ์อย่างไร และการทำแท้ง จะมีความเสี่ยงและมีอันตรายอย่างไร ตอนนี้เราจะมาดูว่ายาอะไรบ้างที่เลือกนำมาใช้ยุติการตั้งครรภ์มีผลเกิดได้อย่างไร อันตรายรุนแรงแค่ไหนหากไม่ได้รับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญ ขอย้ำเตือนในฐานะเภสัชกรอีกครั้งว่า ไม่ส่งเสริมให้มีการทำแท้งโดยการใช้ยาหรือวิธีอื่นๆใดๆทั้งสิ้น
ยาทำแท้งมาจากไหน?
ทางเลือกแรกๆที่สตรีที่ไม่พร้อมจะมีบุตร ในการจัดการปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น คือ การใช้ยาทำแท้ง โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นมักเข้าใจว่า ยาหลากชนิดเช่นยาขับตัวอ่อนทั้งรูปแบบยากิกนและยาสอดต่างๆ รวมไปถึงยาสมุนไพรขับประจำเดือน โดยที่ไม่ได้คำนึงถึงผลเสียหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้น
ผลจากการสำรวจทัศนคติของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,148 คน เรื่อง "การทำแท้งและการใช้ยาทำแท้งในวัยรุ่น" พบว่า ร้อยละ 18.5 เห็นด้วยกับการทำแท้งโดยจำแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ 7.9 และ เพศหญิง ร้อยละ 10.6 ร้อยละ 17.6 ทราบแห่งขายยาทำแท้ง และทราบว่าแหล่งขายยาทำแท้งที่วัยรุ่นส่วนใหญ่รู้จักกันมากที่สุด ร้อยละ 61.5 คือ ร้ายขายยา ในกลุ่มตัวอย่างที่ทำสำรวจนี้ มีวัยรุ่นจำนวน 80 คน เคยซื้อยาทำแท้ง ในจำนวนนี้ ร้อยละ 56.25 ซื้อจากร้านขายยา ร้อยละ 21.25 ซื้อจากอินเตอร์เน็ต ร้อยละ 16.25 ซื้อจากแพทย์โดยตรง และส่วนที่เหลือ ร้อยละ 6.25 ใช้วิธีการฝากคนอื่นซื้อ
ผลจากการสำรวจทัศนคติของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,148 คน เรื่อง "การทำแท้งและการใช้ยาทำแท้งในวัยรุ่น" พบว่า ร้อยละ 18.5 เห็นด้วยกับการทำแท้งโดยจำแนกเป็นเพศชาย ร้อยละ 7.9 และ เพศหญิง ร้อยละ 10.6 ร้อยละ 17.6 ทราบแห่งขายยาทำแท้ง และทราบว่าแหล่งขายยาทำแท้งที่วัยรุ่นส่วนใหญ่รู้จักกันมากที่สุด ร้อยละ 61.5 คือ ร้ายขายยา ในกลุ่มตัวอย่างที่ทำสำรวจนี้ มีวัยรุ่นจำนวน 80 คน เคยซื้อยาทำแท้ง ในจำนวนนี้ ร้อยละ 56.25 ซื้อจากร้านขายยา ร้อยละ 21.25 ซื้อจากอินเตอร์เน็ต ร้อยละ 16.25 ซื้อจากแพทย์โดยตรง และส่วนที่เหลือ ร้อยละ 6.25 ใช้วิธีการฝากคนอื่นซื้อ
ยาที่ใช้ทำแท้ง
การใช้ยาในการยุติการตั้งครรภ์โดยมากมักมีที่ใช้ในช่วงอายุครรภ์ 7-15 สัปดาห์ มีอยู่สองวิธีได้แก่การใช้หัตถการทางสูติศาสตร์ในการยุติการตั้งครรภ์ และการใช้ยา ได้แก่
1. Oxytocin
ออกฤทธิ์โดยการทำให้เกิดการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก มักนิยมใช้ในการตั้งครรภ์ไตรมาสที่สองมีอัตราความสำเร็จที่ร้อยละ 80-90 แต่จะได้ผลดีต่อเมื่อมีการเตรียมปากมดลูกให้พร้อมมาก่อน
2. Prostaglandins
ได้แก่ Misoprostol หรือในชื่อการค้าว่า Cytotec ซึ่งเป็น Synthetic Prostaglandin E1 analog สามารถใช้เป็นยาเดี่ยวหรือใช้ร่วมกับยาอื่นๆเช่น Mifepristone โดยขนาดยาและช่องทางการให้ยาจะกล่าวถึงต่อไปในประเทศไทยนั้นมักอยู่ในรูปยาเม็ดสีขาวหกเหลี่ยมขนาด 200 ug ต่อเม็ดโดยยาจะทำให้เกิดการอ่อนนุ่มของปากมดลูกละทำให้เกิดการหดรัดตัวของมดลูกโดยมีผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ไข้หนาวสั่นท้องเสียท้องอืดและคลื่นไส้อาเจียน
ความจริงแล้ว Misoprostol เป็นยาใช้ช่วยในการยับยั้งการหลั่งของกรดน้ำย่อยในกระเพาะอาหารใช้สำหรับการรักษาอาการแผลของลำไส้เล็กส่วนต้น ของโรคกระเพาะอาหารทั่วไปหรือในรายที่คนไข้มีการใช้ยากลุ่มต้านการอักเสบที่มิใช่สเตียรอยด์ เพื่อป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารสำหรับผู้ป่วยในรายที่ต้องกินยาต้านการอักเสบนานๆ เพราะจะมีแนวโน้มเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย
แต่เนื่องจากตัวยาดังกล่าวมีฤทธิ์ในการบีบมดลูกจึงมีการนำมาใช้เป็นยาเหน็บช่องคลอดเพื่อการทำแท้ง อันตรายที่เกิดขึ้นคือ ยาอาจจะให้เกิดอาการปวดท้องและตกเลือดอย่างรุนแรงได้ โดยเฉพาะการใช้ยาในบางช่วงอายุครรภ์ที่อาจเกิดอันตรายได้มากกว่าปกติ หรือ หากเป็นการตั้งครรภ์นอกมดลูกก็ยิ่งมีการตกเลือดอย่างรุ่นแรงมากขึ้น หรืออาจเกิดอาการมดลูกปริแตก ในกรณีที่ผุ้ใช้ยาผ่านการผ่าตัดมดลูกมาก่อน อาการทั้งหมดนี้อาจส่งผลถึงกับชีวิตได้
ยา Misoprostol ตัวนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา สำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (อย.) ได้จัดให้เป็นยาควบคุมพิเศษที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์ในโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลให้เกิดการลักลอบขายยาในราคาที่สูงขึ้นมากทั้งในช่องทางลักลอบที่ผิดกฎหมาย
3. Anti-progesterone
เป็นที่รู้จักกันในชื่อ mifepristone หรือ RU-486 เป็นยากลุ่ม synthetic steroid ออกฤทธิ์เป็น progesterone receptors antagonist มีที่ใช้ในการยุติการตั้งครรภ์ที่อายุครรภ์น้อยกว่า 49 วันตามข้อกำหนดองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา จากกลไกการออกฤทธิ์พบว่าจะใช้ได้ผลดีเมื่อใช้ร่วมกับ misoprostol แต่ปัจจุบันยาตัวนี้ในประเทศไทยห้ามจำหน่าย
4. Methotrexate
4. Methotrexate
เป็นสารประเภท antimetabolited จัดเป็นยาที่จัดอยู่ในพวก chemotherapy จะออกฤทธิ์ทำให้ตัวอ่อนหยุดการเจริญและหยุดการแบ่งตัว หลังจากนั้นจะเกิดการแท้งออกมาเองตามธรรมชาติ ใช้ในอายุครรภ์ที่ไม่เกิน 6 สัปดาห์ ยานี้มีข้อเสียคือหากการแท้งนั้นไม่สำเร็จและต้องการที่จะตั้งครรภ์ต่อไปตัวอ่อนที่เจริญเติบโตต่อมีโอกาสที่จะมีความพิการแต่กำเนิดได้มาก
ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ คลื่นไส้อาเจียนถ่ายเหลวปวดท้อง และมีคำแนะนำเนื่องจาก methotrexate มีผลอันตรายต่อลูกในครรภ์ให้พิการหากรอดมาได้ ควรคุมกำเนิดอย่างน้อยสามเดือนหลังจากได้รับยานี้
อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.comหรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 1 มีค. 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url addressไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
Abortion, U.S. National Library of Medicine , U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/abortion.html
Induced Abortion, ,http://www.acog.org/~/media/For%20Patients/faq043.ashx
Abortion - Abortion Clinics, Abortion Pill, Abortion Information” abortion blog, http://abortion.ws/
Abortion, Heritage House '76, http://www.abortionfacts.com/
Paungmora N, Herabutya Y, O-Prasertsawat P, Punyavachira P. Comparison of oral and vaginal misoprostol for induction of labor at term: A randomized controlled trial. J Obstet Gynaecol Res. 2004; 30(5): 358-62
Ozsoy M, Ozsoy D. Induction of labor with 50 and 100 mcg of misoprostol: comparison of maternal and fetal outcome. Eur J Obstet Gynecol Reprod Biol. 2004; 113: 41-4
Berkley E.,Meng C.,&Rayburn W.F.,Success rates with low dose misoprostol before induction of labor for nulliparas with severe preeclampsia at various gestational ages, The Journal of Maternal-Fetal and Neonatal Medicine, November 2007;20(11):825-831
Misoprostol as a single agent for medical termination of pregnancy,http://www.uptodate.com/contents/misoprostol-as-a-single-agent-for-medical-termination-of-pregnancy?source=search_result&selectedTitle=3%7E82
Carlan et al,Extemporaneous preparation of misoprostol gel for cervical ripening:a randomized trial, Obstet Gynecol.1997;90:911-915
Abortion Medications , Drugs.com , http://www.drugs.com/condition/abortion.html
Medication Abortion, Ibis Reproductive Health, http://medicationabortion.com/
Mifepristone, Medlineplus The American Society of Health-System Pharmacists, Inc, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a600042.html
Misoprostol, Medlineplus The American Society of Health-System Pharmacists, Inc, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/druginfo/meds/a689009.html
Goldberg AB. and Greenberg MB. Misoprostol and Pregnancy. N Engl J Med. 2001 Jan 4; 344(1): 38-47.
พ.ญ. กมลนัทธ์ ประพันธ์วัฒนะ , อ.ทีปรึกษา: ร.ศ. พ.ญ. สายพิณ พงษธา, Induced abortion, OB-GYN CMU., http://www.med.cmu.ac.th/dept/obgyn/2011/index.php?option=com_content&view=article&id=516:induced-abortion&catid=45:topic-review&Itemid=56
ศ.นพ.อุดม คชินทร, Management of NSAIDs-induced gastrointestinal injury, วารสารคลินิก เล่ม : 293
เดือน-ปี : 05/2552, http://doctor.or.th/node/9372
ปิยะวัน วงษ์บุณหนัก , การสำรวจทัศนคติของวัยรุ่นหญิงในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล "การทำแท้งและการใช้ยาทำแท้งในวัยรุ่น" หัวหน้าทีมวิจัยด้านสุขภาพ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, http://www.meedee.net/magazine/edu/health-n-mind/2052
วิธีการคุมกำเนิดทุกรูปแบบ รู้ไว้ก่อนเลือกใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://utaisuk.blogspot.com/2011/10/blog-post_08.html
ยาเม็ดคุมกำเนิดทำงานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/11/entry-1
เลือกยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไหนดีนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/05/entry-1
ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/10/entry-1
ไพศาล ลิ้มสถิตย์ ,ร่างกฎหมายคุ้มครองอนามัยการเจริญพันธุ์ กับ การแก้ปัญหาวัยรุ่นมีเพศสัมพันธ์หรือตั้งครรภ์โดยไม่มีความพร้อม,หมอชาวบ้าน เล่ม : 379, เดือน-ปี : 11/2553, http://www.doctor.or.th/node/11263
ดร.จริยาวัตร คมพยัคฆ์,การตั้งครรภ์,หมอชาวบ้าน เล่ม : 131 เดือน-ปี : 03/2533, http://www.doctor.or.th/node/4880
นพ.ไพโรจน์ บุญศิริคำชัย, ทำแท้งเถื่อนมีผลอย่างไร, หมอชาวบ้าน เล่ม : 361 เดือน-ปี : 05/2552, http://www.doctor.or.th/node/7537
ข้อเท็จจริง...ยาไซโตเทค (Cytotec),กองพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค, กระทรวงสาธารณสุข, www.vcharkarn.com/varticle/43143
รูปประกอบ
focobgyn.com
lifesitenews.com
teen-beauty-tips.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น