โรคกรดไหลย้อนหมายถึงโรคที่มีอาการเกิดจากการไหลย้อนกลับของน้ำย่อยในกระเพาะอาหารแทนที่จะอยุ่ในกระเพาะกลับไหลขึ้นไปข้างบนในหลอดอาหารอย่างผิดปกติ ทำให้เกิดอาการจากการระคายเคืองของกรด ตามมาในที่สุด โรคนี้เชื่อว่าเกิดจากกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารส่วนล่าง มีการคลายตัวอย่างผิดปกติ ทำให้มีการไหลย้อนกลับของกรดขึ้นไปในหลอดอาหารได้ง่าย จึงมีกรดไหลย้อนขึ้นไปในคอหอย กล่องเสียง และปอดได้ หากเราได้ไปหาหมอตรวจหาสาเหตุและอาการต่างได้ครบถ้วนแล้ว แนวทางการรักษาด้วยยามีอะไรติดตามเภสัชกรหนุ่มหล่อมาเล่าให้ฟังได้เลย
ภาพประกอบ: แนวทางการรักษาโรคกรดไหลย้อน Reflux treatment guidelines for prescription medications medscape.com
การรักษาด้วยยา
แนวทางการรักษาโรคนี้ เรามักให้ยามากกว่า 1 ตัว ขึ้นอยู่กับอาการ ยกตัวอย่างเช่น หากเรามีอาการของปวดแสบร้อนช่องท้อง Heartburn หลังกินข้าว เราควรให้ทั้ง Antacids และ H-2 blockers เจ้ายากลุ่มแรกจะไปออกฤทธิ์ให้กรดในกระเพาะอาหารเป็นกลางอย่างรวดเร็ว หลังจากนั้น H-2 blockers ก็ไปออกฤทธิ์ลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารต่อเนื่อง เพื่อให้ผลการรักษาต่อเนื่องได้ผลดี
กลุ่มยาที่ใช้ในการรักษาภาวะกรดไหลย้อนได้แก่
1. ยาปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหาร Neutralize gastric acids
ยาที่ปรับสภาพกรดในกระเพาะอาหารให้เป็นกลางไม่ย้อนกลับมาทำลายเป็นแผลต่างๆ ได้แก่
1.1 ยาลดกรด Antacids
ที่มีส่วนผสมหลักได้แก่ Aluminum hydroxide หรือ Magnesium hydroxide ที่เราคุ้ยเคยในการรักษาโรคกระเพาะน่านเอง ออกฤทธิ์โดยการไปสะเทินกรดได้ผลเร็ว แต่ควรระวัง ผลข้างเคียงของยาที่มีส่วนผสมของ Aluminum หรือ Calcium carbonate antacids ทำให้ท้องผูก ถ้ามีส่วนผสมของ Magnesium ทำให้ท้องเสีย
1.2 Antacid plus alginic acid
เป็นยากลุ่มใหม่ที่มีส่วนผสมเป็นยาลดกรดผสมกับ alginic acid ที่รู้จักกันดีคือยาที่มีชื่อการค้าว่า Gaviscon ยาในกลุ่มนี้จะช่วยป้องกัน Reflux หรือ Buffers effects มีทั้งยาเม็ดและยาน้ำ ถ้าเป็นยาเม็ดต้องเคี้ยวก่อนกลืน ก่อนอาหารและก่อนนอน
2. ยาลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร Reduce gastric acid secretion
ยากลุ่มนี้ให้ผลในการลดการหลั่งกรดในกระเพาะอาหารให้น้อยลง จนไม่มากเกินไปจนออกมาทำลายเนื้อเยื่ออื่นๆ และในขณะเดียวกันยาในกลุ่มนี้ยังช่วยส่งเสริมการหายของหลอดอาหารอักเสบ และควรรับประทานยาพร้อมอาหาร
2.1 Histamine (H2) receptor antagonists
เป็นยากลุ่มเดิมๆที่ใช้รักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารมาก่อน ได้แก่
- · Cimetidine (Tagamet) 400mg วันละ 2 ครั้งหรือ 800mg ก่อนนอน ยาตัวนี้ควรระวังในเรื่องของ B12 deficiency ถ้าใช้มากกว่าวันละ 1 ครั้ง
- Ranitidine (Zantac) 300mg ต่อวัน
- Famotidine (Pepcid) 20mg วันละ 2 ครั้ง
- Nizatadine (Axid) 150-300 mg วันละ 2 ครั้ง
ภาพประกอบ: การเลือกใช้ยาในกลุ่ม Proton pump inhibitors (PPI) จาก uspharmacist.com
2.2 Inhibit enzyme system หรือ Proton pump inhibitors (PPI)
ปัจจุบันยาในกลุ่ม PPI นี้ เป็นยาที่เลือกใช้รักษาภาวะกรดไหลย้อนได้ดี แต่หากพอใช้ไปแล้ว คนไข้อาการไม่ดีขึ้นหลังการใช้ยาไปแล้ว 4-8 สัปดาห์ ควรต้องมีการวินิจฉัยโรคใหม่ว่าเกิดจากสาเหตุอะไร กลไกของยากลุ่มนี้ไปออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างกรดจากเซลล์เล็กที่อยู่ในกระเพาะอาหารที่ทำหน้าที่หลั่งกรด (Gastic parietal cells) และกดการหลั่งกรดที่ช่วยย่อยอาหารคือ Gastric acid ได้มากกว่า 90 % และช่วยให้การอักเสบของหลอดอาหารหายเร็วขึ้น ยากลุ่มนี้ควรกินก่อนอาหารมื้อเช้า 20-30 นาที เนื่องจากยาจะออกฤทธิ์ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่เป็นกรด ยาเหล่านี้ได้แก่
- · Omeprazole (Losec) 20mg วันละครั้ง
- Lansoprazole (Prevacid) 30mg วันละครั้ง
- Rabeprazole sodium (Aciphex) 10mg วันละครั้ง
- Esomeprazole magnesium (Nexium) 40mg วันละครั้งหรือวันละ 20mg ในคนไข้บางรายที่เราต้องใช้ยาเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนาน
- Pantoprazole sodium (Protonix) 40mg ต่อวัน
3. ยากลุ่ม Prokinetics
เป็นยากลุ่มใหม่ ไปออกฤทธิ์ช่วยในการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหาร (Strengthen the sphicter) ได้แก่ Bethanechol , Metroclopramide และยาใหม่ Itropide (Ganaton)
สุดท้ายการรักษาที่ดีที่สุดคือต้องรับยา พร้อมกับคำแนะนำต่างๆในการปรับการใช้ชีวิต (ซึ่งจะเล่าให้ฟังในตอนต่อไปนะครับ) เราอาจได้รับการแนะนำให้รับการรักษาอื่นๆเพิ่มเติม หากผลการรักษาไม่ดีขึ้น เช่น การผ่าตัด Fundoplication คือการผ่าตัดเอาส่วนต้นของกระเพาะอาหารหุ้มหูรูดหลอดอาหารส่วนปลายไว้ เพื่อเป็นการรัดบริเวณหูรูดป้องกันน้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อน
ตอนหน้าเรามาดูว่า คำแนะนำต่างๆในการปรับการใช้ชีวิตเพื่อสยบโรคน่ารำคาญนี้ให้หายขาด เราควรทำอย่างไร
อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 28 มีนาคม 2555
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
รูปประกอบจาก
Joel J Heidelbaugh, MDUMHS GERD Guideline, January 2007, Family Medicine, Regents of the University of Michigan, cme.med.umich.edu/pdf/guideline/GERD07.pdf
Updated Guideline for the Diagnostic and Treatment of Gastroesophageal Reflux Disease (GERD). , Journal of Pediatric Gastroenterology and Nutrition, 49:498–547 # 2009, European Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition and North American Society for Pediatric Gastroenterology, Hepatology, and Nutrition
Clinical Standard for Adult Gastroesophageal Reflux (GERD), The Madigan Army Medical Center - Quality Services Division, Revised: October 2001, http://www.mamc.amedd.army.mil/clinical/standards/gerd_alg.htm
Evidence-Based GERD Guidelines Released By The American Gastroenterological Association, Article Date: 22 Oct 2008, http://www.medicalnewstoday.com/releases/126415.php
Gastroesophageal Reflux Disease (GERD, Acid Reflux, Heartburn), Medicinenet., http://www.medicinenet.com/gastroesophageal_reflux_disease_gerd/article.htm
Dr. Alan L Ogilivie, Gastro-oesophageal reflux (acid reflux), http://www.netdoctor.co.uk/diseases/facts/gastrooesophagealreflux.htm
Acid Reflux (GERD) Drug Information, HealthCentral.com, http://www.healthcentral.com/acid-reflux/find-drug.html
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน, โรคกรดไหลย้อน ตอนที่ 1 และ 2, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา , คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=294, http//www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=295
รศ.นพ.สมชาย ลีลากุศลวงศ์,กรดไหลย้อน.....ภัยเงียบวัยทำงาน, สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=726
รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน,สิ่งที่ผู้ป่วยควรทราบเกี่ยวกับโรคกรดไหลย้อน , ตอนที่ 1 และ 2, ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา, Faculty of Medicine Siriraj Hospital, คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=631 , http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=632
สุวรรณา กิตติเนาวรัตน์, ภาวะกรดไหลย้อน (GERD), คม.(นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร), ET., วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย, http://www.google.com/url?sa=t&source=web&cd=28&ved=0CEgQFjAHOBQ&url=http%3A%2F%2Fimages.cdri.multiply.multiplycontent.com%2Fattachment%2F0%2FS3P98AooCkQAABASlcA1%2FGERD.doc%3Fkey%3Dcdri%3Ajournal%3A16%26nmid%3D81114654&ei=GluGTpbZDsiHrAej-My-Dw&usg=AFQjCNE5a-l7Y0sWz1I6--uOELkvO0XzSQ&sig2=DXEX73ScA--r3T9nqAmuJg
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น