วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555

ปัญหาเดิมของร้านยา เปลี่ยนแปลงอย่างไรให้ลูกค้ากล้าเข้าร้าน โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

 

ผมเพิ่งไปฟังการบรรยายของอาจารย์พีระพงษ์ กิติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล มหาวิทยาลัยศรีปทุม ในงานบรรยายค้าปลีกรุ่นใหม่ของกสิกรไทย กูรูด้านค้าปลีกท่านนี้ได้กล่าวนำว่าอาวุธสำคัญที่สุดของค้าปลีกรายย่อยก้อคือ “Imagination” ครับ เราจะรอดตาย เสมอตัวหรือชนะได้ ความคิดใหม่ ลงมือทำใหม่เท่านั้นที่เป็นทางรอดและทางเลือก ท่านได้เน้นย้ำว่าลูกค้าสมัยนี้เริ่มชอบและเคยชินต่อการจัดร้านใหม่ ร้านจะต้องมีการจัดหน้าร้านให้ดูเป็นระบบระเบียบลูกค้าสามารถเดินเลือกหยิบสินค้าได้เอง  
 


อาจารย์บุริม โอทกานนท์ ประธานสาขาการตลาดวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แสดงความเห็นต่อปัญหาและข้อแนะนำในธุรกิจร้านขายยาว่า ธุรกิจร้านขายปลีกยาเป็นธุรกิจที่ไม่ง่าย เพราะบางร้านขายปลีกก็ทำตัวเป็นร้านขายส่งไปด้วยสำหรับยาหรือเวชภัณฑ์ บางประเภท ดังนั้นหากอยากจะสร้างร้านขายยาแบบโชว์ห่วยให้เติบโตและแข็งแรงอาจจะต้องมองให้เห็นถึงวงจรธุรกิจและโฟกัสให้ชัดหรือผสมผสานให้ดีว่าต้องการผลลัพธ์ทางธุรกิจอย่างไร
ปัญหาเกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ร้านยาหรือ space management

กิจการร้านขายยาส่วนใหญ่มักมีข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ แต่กลับมีจำนวนของสินค้าที่เป็นสินค้าคนละตัว คนละประเภทกันหรือที่นักการตลาดเรียกกันว่า SKU (Stock Keeping Unit) ไม่ต่ำว่า 4,000 รายการของสินค้าหรือไม่ต่ำกว่า SKU ซึ่งแต่ละ SKU จะมีจำนวนไม่ต่ำกว่าหนึ่งโหล
ร้านขายยาไม่จำเป็นต้องวางตัวอย่างสินค้าหรือโชว์สินค้าทุกตัวภายในร้าน นำขึ้นมาโชว์ส่วนหนึ่งก็พอ ส่วนจะพิจารณาว่าควรโชว์สินค้าใดไว้หน้าร้านบ้าง ร้านค้าก็จะต้องดูจากประเภทยาที่ลูกค้าประจำซื้อบ่อย และยาที่เป็นยาตลาดยี่ห้องดังๆ ไม่ว่าจะเป็นยาแก้ปวดหัว แก้ไข้ แก้หวัด ยาหม่อง ยาดม ยาหอม ส่วนยาเฉพาะที่ต้องใช้คำสั่งซื้อจากแพทย์หรือเวชภัณฑ์ยาที่ต้องใช้คำอธิบายและให้ความรู้ก่อนใช้ก็เก็บเข้าไปใว้ข้างในร้าน ซึ่งควรจัดเป็นที่สำหรับให้เภสัชกรแนะนำ นอกจากนี้ควรจะต้องมีการทำ สต๊อกยาทั้งหมด เพื่อดูว่ายาชนิดใดขายได้ดีหรือๆ ไม่ดี มียาอะไรค้างสต๊อกอยู่บ้าง ซึ่งส่วนที่ขายไม่ได้หรือขายยากเหล่านี้จะเข้ามากินที่ภายในร้าน
การจัดเอกสารแนะนำยาหรือคู่มือให้ความรู้ 

การที่จะเป็นโมเดิร์นหรือไม่นั้นไม่ได้อยู่ตรงนี้ เพราะสิ่งสำคัญที่ลูกค้ามองต่อร้านขายยาคือ ความสะอาด และสว่าง และการที่ร้านขายยาใดไม่ได้ติดแอร์ก็ไม่ได้เป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นร้านที่โมเดิร์น เพราะส่วนสำคัญอยู่ที่การจัดร้านให้ดูสะอาดและมีความสว่างเพียงพอ จัดวางยาที่ลูกค้าต้องการให้เห็นได้ง่ายและน่าหยิบน่าใช้น่าจะมีประโยชน์กว่า ส่วนเรื่องของเอกสาร ถ้าสามารถแจกได้ก็จะดีแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องวางเอกสารของเวชภัณฑ์ยาทุกอย่างที่มีในร้านมีเพียงหนึ่งหรือสองก็พอ แล้วค่อนผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน
เรื่องสุดท้าย ร้านขายยารายย่อยน่าจะนำเรื่องข้อจำกัดในเรื่องพื้นที่ไปเป็นโจทย์ให้กับพนักงานขายยาหรือบริษัทยา ที่ต้องการแนะนำเวชภัณฑ์ของตนเอง ให้พยายามพัฒนาอุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมือสนับสนุนการขายให้กับเหมาะสมอีกด้วย
 
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 4 มีค. 2555
E-mail:utaisuk@gmail.comFacebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url addressไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง
รูปประกอบมาจาก
th.wikipedia.org

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น