วันจันทร์ที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2556

แบบทดสอบ คุณมีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานหรือเปล่า? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


"ทำไมเวลาไปฉี่แล้ว มดชอบมาตอมน้ำปัสสาวะเราจังเลย?" คำถามดังกล่าวคนไข้ที่มาขอคำปรึกษาเรื่องโรคเบาหวานจะมาถามเภสัชกรที่ร้านบ่อยๆ เคยสงสัยบ้างไหมว่าแล้วเราจะเป็นเบาหวานหรือเปล่า โดยบางคนก้อไปเชื่อคำกล่าวที่ว่ามาหรือไปอ่านมาจากเว๊บที่เขียนขู่ให้น่ากลัวเพื่อหลอกไปซื้ออาหารเสริม

  คนที่เป็นเบาหวานบางคนก็อาจจะไม่แสดงอาการอะไรมากนัก เหมือนคนปรกติทั่วไปน่านดิ  แต่บางคนเวลาที่น้ำตาลในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นๆตลอดเวลา แล้วตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดัน โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคอื่นๆอยู่แล้ว ก้อจะอาจส่งผลรวมก่อให้เกิดอาการโรครุนแรงตามมามากมาย บางคนที่เป็นเบาหวานก็แทบจะไม่เคยรู้ตัวมาก่อนเลยก้อมีเย้อะ วันนี้เภสัชกรมีวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นที่ง่ายมาฝาก เป็นแบบทดสอบที่ผ่านการวิจัยโดย อาจารย์ นายแพทย์ วิชัย เอกพลากร ที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว อยู่ในระดับที่วัดได้ค่อนข้างชัดเจนและแม่นยำ ลองมาประเมินกันว่าเรามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ไปลองทดสอบกันดู ลองรวบรวมคะแนนที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ อย่าหลอกตัวเองนะครับ คะแนนที่ได้ในแต่ละเกณท์จะบอกคุณเองว่า  คุณเองอยุ่ในสภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวานหรือไม่???

เบาหวานคืออะไร?
ที่เรียกว่าโรคเบาหวานนั้น
คือ สภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดจากความบกพร่องของการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน หรือร่างกายอาจดื้อต่อการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนอินซูลินทำให้ฮอร์โมนดังกล่าวทำงานได้ไม่เต็มที่

ทำไมจึงเรียกว่า เบาหวาน?
อินซูลินเป็นฮอร์โมนสำคัญที่สร้างมาจากตับอ่อน ทำหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่เกณฑ์ปกติ และยังทำหน้าที่ช่วยนำน้ำตาลในร่างกายออกมาใช้เป็นพลังงาน เมื่อมีอินซูลินไม่เพียงพอ หรือมีปริมาณพอแต่ไม่สามารถออกฤทธิ์ได้เต็มที่ น้ำตาลก็จะไม่ถูกนำไปใช้และคงอยู่ในเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงหรือตรวจพบน้ำตาลในปัสสาวะได้ ปัสสาวะจะหวานจนบางครั้งมีมดขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคเบาหวานนั่นเอง

ทำไมโรคเบาหวานจึงน่ากลัว?
หากระดับน้ำตาลในเลือดสูงอยู่เป็นเวลานานจะทำให้หลอดเลือดเสื่อมและอวัยวะต่างๆที่หลอดเลือดเหล่านั้นมาเลี้ยง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนจากเบาหวานเช่น สมองขาดเลือด (อัมพฤกษ์ อัมพาต) กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จอประสาทตาเสื่อม ไตเสื่อม แผลเรื้อรัง ตามมามากมาย

รู้หรือไม่ว่า เบาหวานแบ่งออกได้ 2 แบบ
เบาหวานชนิดที่ 1 หรือเบาหวานชนิดที่ต้องพึ่งอินซูลิน ซึ่งเกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ เบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่จะพบในเด็กและวัยรุ่น ประมาณ 10% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดที่ 1

เบาหวานชนิดที่ 2 หรือเบาหวานชนิดไม่พึ่งอินซูลิน ซึ่งตับอ่อนของผู้ป่วยเบาหวานชนิดนี้ส่วนใหญ่สร้างอินซูลินได้อย่างเพียงพอ แต่ร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินได้น้อยกว่าปกติ
ประมาณ 90% ของผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมดเป็นเบาหวานชนิดนี้นี่เอง


ทำไมเราจึงต้องเป็นโรคเบาหวาน?
เรากินอาหารที่มีรสหวาน หรือมีส่วนผสมของน้ำตาล ทานหวานกันอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน เคยสงสัยบ้างไหมว่าแล้วเราจะเป็นเบาหวานหรือเปล่า โดยบางคนก้อไปเชื่อคำกล่าวที่ว่า หากเราไปฉี่ แล้วมีมดมาตอนน้ำปัสสาวะของเราบ่อยๆ อย่าไปเชื่อฟังคำกล่าวลอยๆเหล่านั้นเลยครับ

คนที่เป็นเบาหวานบางคนก็อาจจะไม่แสดงอาการอะไรมากนัก เหมือนคนปรกติทั่วไปน่านดิ  แต่บางคนเวลาที่น้ำตาลในร่างกายเพิ่มสูงขึ้นๆ ตลอดเวลา แล้วตัวเองมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดัน โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคอื่นๆอยู่แล้ว ก้อจะอาจส่งผลรวมก่อให้เกิดอาการโรครุนแรงตามมามากมายตามที่กล่าวมาแล้ว  บางคนที่เป็นเบาหวานก็แทบจะไม่เคยรู้ตัวมาก่อนเลยก้อมีเย้อะ หลายคนรู้ทั้งรุ้ว่าพ่อแม่เป็นโรคนี้มาก่อน ตัวเราเองก้อมีโอกาสเป็นได้ แต่ก้อยังไม่รุ้ตัว  ครั้นจะให้ไปเช็คกับหมอเลยก็กลัวการเจาะเลือด

แบบทดสอบ คุณมีโอกาสเสี่ยงเป็นเบาหวานหรือเปล่า?
ดังนั้นมีวิธีการตรวจสอบเบื้องต้นที่ง่ายมาฝาก เป็นแบบทดสอบที่ผ่านการวิจัยโดย อาจารย์ นายแพทย์ วิชัย เอกพลากร จากคณะแพทยศาสตรโรงพยาบาลรามาธิบดี ในรายงานการศึกษาพัฒนาดัชนีความเสี่ยงตอเบาหวานของประชากรไทย ที่ผ่านการทดสอบมาแล้ว อยู่ในระดับที่วัดได้ค่อนข้างชัดเจนและแม่นยำ

ลองมาประเมินกันว่าเรามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานหรือไม่ ไปลองทดสอบกันดู ลองรวบรวมคะแนนที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ อย่าหลอกตัวเองนะครับ คะแนนที่ได้ในแต่ละเกณท์จะบอกคุณเองว่า  คุณเองอยุ่ในสภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวานหรือไม่


รู้ไปแล้วก้ออย่าได้ตกใจ โรคเบาหวานนี้ รู้ตัวก่อน ปลอดภัยกว่า โดยการปรับวิธีในการปฏิบัติตน จะช่วยให้ดับน้ำตาลกลับสู่ปกติได้ใกล้เคียงกับสภาวะปกติได้ แต่ถ้าไม่รู้ตนเอง จะมีความเสี่ยงเป็นเบาหวานสูงกว่าปกติได้ และพอๆกับรู้ว่าเสี่ยงแต่ยังต้องขอลอง ในบทความต่อๆไป ในตอนหน้า เราจะมาดูว่าถ้าคุณอยู่ในความเสี่ยงแล้วยังอยากจะซ่า เป็นโรคเบาหวานเข้าให้ไปแล้ว ชีวิตจะหมดความสุขไปเย้อะ ไม่เชื่อเภสัชกรเตือนให้แล้วนะครับ  มีคำถามเกี่ยวกับเรื่องโรคเบาหวาน ไม่เข้าใจ อยากให้อาการโรคดีขึ้น ขอความกรุณาส่งคำถามมาที่ utaisuk@gmail.com เภสัชกรเปิดซองจดหมายอีเลคโทรนิคปุ้บ จะรีบตอบปั้บเอาใจคนไข้เบาหวานทันทีครับ

แหล่งข้อมูล

•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 15 เมย. 2556

ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้น ผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้น เพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากบุคลากรสหวิชาชีพทางสาธารณสุข รวมทั้งเภสัชกรใจดี ที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

·         รูปประกอบจากอินเตอร์เนท


คู่มือรักษาเบาหวานตอนที่ 1: เบาหวานเกิดได้อย่างไร? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คู่มือรักษาเบาหวานตอนที่ 2: ทำไมจึงเป็นเบาหวาน? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คู่มือรักษาเบาหวานตอนที่ 3 : จะรู้ไง ว่าเรากำลังเป็นเบาหวาน? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คู่มือรักษาเบาหวานตอนที่ 4 : เบาหวานไม่รักษาให้ดี จะเกิดอะไรขึ้น? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

คู่มือรักษาเบาหวานตอนที่ 5 : จะรู้ได้ไงว่าเป็นเบาหวาน? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336494

เบาหวาน รักษาได้ดี ไม่ต้องตัดเท้า โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/27/entry-1

เบาหวาน ไม่รักษาให้ถูกต้อง มีสิทธิ์ตาบอด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/22/entry-2

เบาหวาน หลักสำคัญในการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336728

เบาหวาน กับ อินซูลิน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=337594

รศ.นพ. วิชัย เอกพลากร, รายงาน การศึกษาพัฒนาดัชนีความเสี่ยงตอเบาหวาน
Diabetes Risk Score
, ศูนยเวชศาสตรชุมชน คณะแพทยศาสตรโ รงพยาบาลรามาธิบดี, http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/pro4-chapter1(4).pdf

รศ. นพ. วิชัย เอกพลากร, Epidemiologyof NCD , ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ม. มหิดล,

กิตติพล วิแสง และทีมงาน, The 5th National Conference on Computing and Information Technology NCCIT 2009,
Risk Factor Analysis of Diabetes Mellitus Diagnosis, http://202.44.34.144/nccitedoc/admin/nccit_files/NCCIT-2011200338.pdf

เกณฑ์การพิจารณาพฤติกรรมเสี่ยงเบาหวาน ตามแบบคัดกรองความเสี่ยง ปี 2549-2552 ของ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, http://hp.surinpho.com/filedownload.php?file=87IR3S.doc

นพ.กิจการ จันทร์ดา,  prediabetes ภาวะเสี่ยงก่อนเป็นเบาหวาน รู้ไว้ตรวจสอบตนเอง, http://www.thaihealth.net/h/article603.html

“เบาหวาน มหันตภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม โดย ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ, http://www.bangkokhealth.com/index.php/health/health-system/diabetes/916-“เบาหวาน-มหันตภัยเงียบที่ไม่ควรมองข้าม-โดย-ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ.html

แบบประเมินความเสี่ยงเบาหวานประเภท 2, ศูนย์ข้อมูลผู้บริโภคโฟร์โมสต์,



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น