โรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันหรือโรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่พบบ่อยมากขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยปัจจุบันและในขณะนี้พบว่าโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน ยังเป็นสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย หัวใจล้มเหลว มีจำนวนคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันมากเป็นอันดับสองรองจากการประสบอุบัติเหตุ ซึ่งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันนี้มีวิธีในการรักษาอยู่หลายวิธี ได้แก่ การใช้ยาในการรักษา การผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (เรียกว่า การผ่าตัดบายพาส) และการใช้บอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือดที่ตีบตัน
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องศึกษา ถึงปัจจัยเสี่ยง สาเหตุ อาการและการรักษาของโรคนี้ให้เข้าใจ เพื่อที่เราจะได้ ลด ละ เลิด สาเหตุที่ทอนหัวใจเราให้เสื่อมลง และเพิ่ม หมั่นทำ ขยันสร้างพฤติกรรมดีๆ ที่จะไปสร้างเสริมหัวใจให้แข็งแกร่งต่อไป
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
1.เพศ
พบว่าเพศชายมีอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้มากกว่าเพศหญิง 3 เท่า และมีอัตราการเสียชีวิตในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 5 เท่า
พบว่าเพศชายมีอัตราการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้มากกว่าเพศหญิง 3 เท่า และมีอัตราการเสียชีวิตในเพศชายมากกว่าเพศหญิงถึง 5 เท่า
2.ประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันก่อนวัยอันควร(ผู้ชาย อายุน้อยกว่า 55 ปี,ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี)จะมีความเสี่ยงที่ จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเพิ่มอัตราเสี่ยงเป็น 2-20เท่าของผู้ชาย ที่ไม่มี ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันก่อนวัยอันควร(ผู้ชาย อายุน้อยกว่า 55 ปี,ผู้หญิงอายุน้อยกว่า 65 ปี)จะมีความเสี่ยงที่ จะเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
จากการศึกษาพบว่า ผู้ชายที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเพิ่มอัตราเสี่ยงเป็น 2-20เท่าของผู้ชาย ที่ไม่มี ประวัติครอบครัวเป็นโรคหัวใจ
3. ภาวะไขมันในเลือดสูง
โคเลสเตอรอลสูง โอกาสการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันจะเพิ่มขึ้นตามระดับโคเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น
โคเลสเตอรอลสูง โอกาสการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันจะเพิ่มขึ้นตามระดับโคเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น
ภาวะต่อไปนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน
- โคเลสเตอรอลรวม(Total cholesterol) และ LDL cholesterol สูง
- HDL cholesterol ต่ำ(จากการศึกษาของ Framingham พบว่าอัตราเสี่ยงการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายจะเพิ่มขึ้น 25%สำหรับทุกๆ 5mg/dLที่ลดลงต่ำกว่าค่ามัธยฐานของ HDL cholesterol ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง)
- Total cholesterol/HDL cholesterol ratio(อัตราส่วนระหว่างโคเลสเตอรอลและHDL)สูง
จากการศึกษาพบว่า
จากการศึกษาพบว่า
• ในผู้ชายที่มีค่า ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 6.4 จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น 2-14%เทียบกับในกลุ่มที่มีค่า total cholesterol หรือ LDL cholesterol ระดับเดียวกัน
• ในผู้หญิงที่มีค่า ratio มากกว่าหรือเท่ากับ 5.6 จะมีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้น 25-45%เทียบกับในกลุ่มที่มีค่า total cholesterol หรือ LDL cholesterol ระดับเดียวกัน
ในทางตรงกันข้ามในคนที่มีระดับ ratio เดียวกัน แม้มีระดับ total cholesterol or LDL เพิ่มขึ้นก็ไม่ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ในทางตรงกันข้ามในคนที่มีระดับ ratio เดียวกัน แม้มีระดับ total cholesterol or LDL เพิ่มขึ้นก็ไม่ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ไตรกลีเซอไรด์(Triglyceride) สูง,ระดับ Lp(a)(เป็นไขมันที่เกาะรวมอยู่กับโปรตีนชนิดหนึ่ง เรียกว่า lipoprotein a) สูง
การรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง เน้นที่การคุมอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและโคเลสเตอรอลสูงร่วมกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ถ้าไม่ได้ผลจึงใช้ยาลดไขมันในเลือด
ผลดีของการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง สามารถลดอัตราการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจ ขาดเลือดและอัตราการเสียชีวิต จากโรคหัวใจ ได้ ทั้งในคนที่ไม่เคยเป็นโรคหัวใจมาก่อนและผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจอยู่แล้ว
4.ความดันโลหิตสูง
ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจโตและเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด,หัวใจล้มเหลว,การเสียชีวิต
ฉับพลัน,การเกิดโรคอัมพาตจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง
ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้มีกล้ามเนื้อหัวใจโตและเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด,หัวใจล้มเหลว,การเสียชีวิต
ฉับพลัน,การเกิดโรคอัมพาตจากสมองขาดเลือดไปเลี้ยง
ความดันโลหิตที่สูงไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตตัวบน(systolic blood pressure) หรือความดันโลหิตตัวล่าง(diastolic blood pressure)ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดเส้นเลือดหัวใจและเส้นเลือดสมองตีบตันได้แต่จะมีผลไม่เท่ากันในอายุที่ต่างกัน
จากการศึกษาพบว่า ผู้ที่อายุน้อยกว่า 50ปี ความดันตัวล่างจะมีผลต่ออัตราเสี่ยงมากที่สุด
ผู้ที่อายุ 50-59 ปี ความดันโลหิตทั้งตัวบน ตัวล่างและค่า pulse pressure (ค่าความแตกต่างระหว่าง ความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง) มีผลต่ออัตราเสี่ยงพอๆกัน
ผู้ที่อายุ 50-59 ปี ความดันโลหิตทั้งตัวบน ตัวล่างและค่า pulse pressure (ค่าความแตกต่างระหว่าง ความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง) มีผลต่ออัตราเสี่ยงพอๆกัน
ผู้ที่อายุมากกว่า หรือเท่ากับ 60ปี ค่า pulse pressure จะมีผลต่ออัตราเสี่ยงมากที่สุด
การรักษาโดยการควบคุมอาหาร จำกัดอาหารเค็ม ร่วมกับการใช้ยาลดความดันโลหิตในรายที่ความดันสูงมากหรือเริ่มมีการทำลายอวัยวะภายในร่วมด้วย
ผลดีของการรักษาสามารถช่วยลดการเกิดภาวะอัมพาตจากสมองขาดเลือด,การเกิดหัวใจล้มเหลว รวมทั้งภาวะหัวใจขาดเลือดได้
5.Pulse pressure(ค่าความแตกต่างระหว่างความดันโลหิตตัวบนและตัวล่าง)
ในรายที่มีค่า pulse pressure เพิ่มขึ้น จะเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
ในรายที่มีค่า pulse pressure เพิ่มขึ้น จะเพิ่มอัตราเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด
6.เบาหวานและภาวะการควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี( glucose intolerance)
เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะเส้นเลือดแข็งตีบตัน(atherosclerosis)โดยเฉพาะในผู้หญิง
การรักษา โดยการควบคุมอาหารจำกัดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ร่วมกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาล
เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดภาวะเส้นเลือดแข็งตีบตัน(atherosclerosis)โดยเฉพาะในผู้หญิง
การรักษา โดยการควบคุมอาหารจำกัดอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล ร่วมกับการใช้ยาลดระดับน้ำตาล
7.ภาวะการขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน
การเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
การรักษา โดยการให้ฮอร์โมนเสริมที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจนและโปรเจสติน
การเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตันในผู้หญิงจะเพิ่มขึ้นหลังหมดประจำเดือน เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง
การรักษา โดยการให้ฮอร์โมนเสริมที่มีส่วนผสมของเอสโตรเจนและโปรเจสติน
8.ปัจจัยที่เกี่ยวกับวิถีการดำเนินชีวิต(Lifestyle factors)
• การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ช่วยป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหัวใจได้ถึง 23% นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม ระดับ HDL cholesterol,ลดความดันโลหิต,ลดน้ำหนักและช่วยให้การคุมเบาหวานดีขึ้น
• การสูบบุหรี่
เป็นตัวการสำคัญของการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ในผู้ที่สูบบุหรี่วันละอย่างน้อย 20 มวนจะเพิ่มอัตราการเกิด กล้ามเนื้อ หัวใจตาย 3 เท่า ในผู้ชาย และ 6 เท่าในผู้หญิงเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้งคนที่สูดควันบุหรี่ก็มีอัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นด้วย
-อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำลดลง50% ภายใน 1 ปีของการหยุดสูบบุหรี่ และกลับมาเท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ภายใน 2 ปี
-ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่จะยังคงอยู่ไม่ว่าจะเคยสูบมานานหรือสูบมามากเท่าไรก็ตาม
-อัตราการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายซ้ำลดลง50% ภายใน 1 ปีของการหยุดสูบบุหรี่ และกลับมาเท่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ภายใน 2 ปี
-ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่จะยังคงอยู่ไม่ว่าจะเคยสูบมานานหรือสูบมามากเท่าไรก็ตาม
• อาหาร
นอกจากอาหารที่มีไขมันสูงจะเป็นตัวทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันแล้ว ยังพบว่าการทานผัก ผลไม้และอาหารที่มีเส้นใย อาหาร สูงจะช่วยลดอัตราเสี่ยงการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบตัน
การทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบตันลงได้ถึง 40-50% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทานเส้นใยอาหารต่ำ
การทานอาหารที่มีเส้นใยอาหารสูงจะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันและอัมพาตจากเส้นเลือดสมองตีบตันลงได้ถึง 40-50% เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ทานเส้นใยอาหารต่ำ
• การดื่มสุรา
มีหลักฐานที่เชื่อได้ว่า การดื่มสุราในขนาดที่เหมาะสมจะช่วยลดอัตราการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบตันได้
จากการศึกษาผู้ชายและผู้หญิงในอเมริกา 490,000รายที่ดื่มสุราในปริมาณที่เหมาะสมพบว่าอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตจาก
โรคเส้นเลือดและหัวใจลดลง เหลือ 0.7ในผู้ชาย และ 0.6ในผู้หญิง เมื่อเทียบกลุ่มที่ไม่ได้ดื่มสุรา ซึ่งเชื่อว่า แอลกอฮอล์ทำให้มี
การเพิ่มของ HDL cholesterol ได้
จากการศึกษาผู้ชายและผู้หญิงในอเมริกา 490,000รายที่ดื่มสุราในปริมาณที่เหมาะสมพบว่าอัตราเสี่ยงการเสียชีวิตจาก
โรคเส้นเลือดและหัวใจลดลง เหลือ 0.7ในผู้ชาย และ 0.6ในผู้หญิง เมื่อเทียบกลุ่มที่ไม่ได้ดื่มสุรา ซึ่งเชื่อว่า แอลกอฮอล์ทำให้มี
การเพิ่มของ HDL cholesterol ได้
9.โรคอ้วน
มีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง,ภาวะ glucose intolerance, ภาวะดื้อต่ออินสุลิน,ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูงขึ้น,ระดับ HDL cholesterolต่ำลง,ระดับ fibrinogenเพิ่มขึ้น
ความอ้วนเพิ่มอัตราการเสียชีวิตรวมและที่เกิดจากโรคหลอดเลือดและหัวใจ จากการศึกษาพบว่าคนอ้วน(BMIหรือดัชนีมวลร่างกาย มากกว่า หรือเท่ากับ 40)จะมีอัตราการเสียชีวิตโดยรวมสูงที่สุด คิดเป็น 2.7เท่าในผู้ชายและ 1.9เท่าในผู้หญิง
การศึกษาพบว่าการมีน้ำหนักเพิ่มมากหลังอายุ 20ปีจะเพิ่มโอกาสการเสียชีวิตจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน เช่นกัน(รายงาน
ในผู้ชายที่ศึกษา 6874 รายเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยเทียบกันในกลุ่มอายุ,การออกกำลังกาย,การสูบบุหรี่ใกล้เคียงกัน พบว่า
ในผู้ชายที่ศึกษา 6874 รายเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยเทียบกันในกลุ่มอายุ,การออกกำลังกาย,การสูบบุหรี่ใกล้เคียงกัน พบว่า
อัตราเสี่ยงของการตายจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน ต่ำที่สุดในกลุ่มที่มีน้ำหนักคงที่คือเพิ่มไม่เกิน 4% หลังอายุ 20 ปี
อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 1.57 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่ม 4-10%
อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2.76 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 35%)
แหล่งข้อมูล
อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 1.57 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่ม 4-10%
อัตราเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 2.76 เท่า ในกลุ่มที่มีน้ำหนักเพิ่มมากกว่า 35%)
แหล่งข้อมูล
นักศึกษาคณแพทย์ศาสตร์ ม. ขอนแก่น
http://www.gotoknow.org/posts/499311
รูปประกอบ
http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/4/49/th
http://www.gotoknow.org/posts/499311
รูปประกอบ
http://www.phyathai.com/medicalarticledetail/1/4/49/th
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น