วันศุกร์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2556

โรคหัวใจ รักษาอย่างไร? ให้ชีวิตยืนยาว อย่างมีความสุข



ความเป็นจริงแล้วคำว่า"โรคหัวใจ"มีความหมายกว้างมาก   ดังนั้นหากเรามีปัญหาเรื่องโรคหัวใจ อาการเกี่ยวกับระบบหลอดเลือด หัวใจ เบาหวาน อย่าได้ลังเลใจที่จะไปหาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อรับการวินิจฉัยและดูแลรักษาในทันท่วงที อาการ ข้างล่างนี้ แต่อย่างไรก็ตามอาการดังกล่าวก็มิได้เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโรคหัว เรามีแนวทางรักษาโรคดังกล่าวเหล่านี้ มาเป็นแนวทางการรักษาอย่างกว้างๆ จากอาจารย์  นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา อายุรแพทย์โรคหัวใจ มาเป็นแนวทางเพื่อเราจะได้เข้าใจแนวทางการรักษาต่อไปครับ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

สาเหตุ : หลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน เนื่องจากตะกรันไขมัน และ ลิ่มเลือด ปัจจัยเสี่ยง (อายุ เพศชาย พันธุกรรม ไขมันในเลือด เบาหวาน ความดันโลหิตสูง บุหรี่ ไม่ออกกำลังกาย) แม้ไม่มีปัจจัยเสี่ยงก็เป็นได้
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาขยายหลอดเลือด แอสไพริน (ถ้าไม่มีข้อห้าม) หากควบคุมอาการไม่ได้ดี ควรฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือ ผ่าตัดหัวใจ (บายพาส) หากเกิดหลอดเลือดอุดตันภายใน 6 ชม. แพทย์อาจพิจารณาให้ยาละลายลิ่มเลือด หรือ ขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูนทันที
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดบุหรี่   รับประทานยาลดไขมันในเลือดให้โคเลสเตอรอลน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 70 ควบคุมเบาหวาน ความดันโลหิต ให้ปกติ ออกกำลังกาย ตามสมควร หากแน่นหน้าอกรุนแรงต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที ยิ่งมาเร็วยิ่งดี

ความดันโลหิตสูง

สาเหตุ : มากกว่าร้อยละ 95 ไม่มีสาเหตุ กลุ่มที่มีสาเหต ุคือ ไตวาย (บ่อยที่สุด) ความผิดปกติของ หลอดเลือด เนื้องอกบางชนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดปัญหาแทรกซ้อนจากความดันสูงในระยะยาว คือ ลดอัมพาต ลดโรคหัวใจ ลดไตวาย แต่ก็ยังไม่สามารถลดได้ 100 % ยังคงเสี่ยงต่อผลแทรกซ้อนดังกล่าวอยู่บ้าง
หลักการรักษา : ควบคุมความดันโลหิตด้วยยา มียาหลายกลุ่มมาก เช่น ยาลดชีพจร ยาต้านแคลเซียม ยาขับปัสสาวะ ยา ACEI ARB ฯลฯ ยาที่ดีควรครอบคลุม 24 ชม. ไม่มียาใดที่ไม่มีผลแทรกซ้อน แต่การไม่รักษา มีผลเสียมากกว่า
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาด ส่วนใหญ่จำเป็นต้องรับประทานยาตลอดไป มากบ้างน้อยบ้าง ส่วนน้อยที่หยุดยาได้ แต่ต้องติดตามวัดความดันโลหิตสม่ำเสมอ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ลดอาหารเค็ม รับประทานยาสม่ำเสมอ ลดน้ำหนัก (ถ้าอ้วน) อย่าให้เป็นเ บาหวาน หรือ ไขมันสูง ควรมีเครื่องวัดความดันที่บ้าน เนื่องจากค่าใกล้เคียงกับความจริง มากกว่าวัดที่รพ. (white-coat effect) เลือกรักษาที่สะดวก อย่าเปลี่ยน แพทย์บ่อยๆ หากจำเป็นนำยาเดิมไปด้วยทุกครั้ง

ภาวะหัวใจล้มเหลว

สาเหตุ : โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย ลิ้นหัวใจตีบรั่ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว บางรายต้องรักษาตามสาเหตุด้วย เช่น ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจ ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ เป็นต้น หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

ลิ้นหัวใจตีบ หรือ รั่ว

สาเหตุ : การติดเชื้อในวัยเด็ก (โรคหัวใจรูห์มาติก) หรือ ติดเชื้อแบคทีเรีย หรือ เกิดจากความเสื่อมของลิ้นหัวใจ เช่น อายุมาก หรือ เป็นแต่กำเนิด
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อยจากหัวใจล้มเหลว, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา :  รักษาตามอาการ ในกรณีที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว จะให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น นอกจากนั้นแล้ว จำเป็นต้อง   ผ่าตัดแก้ไขลิ้นหัวใจด้วย เช่น ซ่อมลิ้น หรือ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในกรณีที่เป็นน้อยไม่ต้องการ การรักษา
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากลิ้นหัวใจเสียมาก และไม่ผ่าตัดแก้ไข หรือ ผ่าตัดช้าไป การพยากรณ์โรคจะไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : เมื่อลิ้นหัวใจผิดปกติมาก แพทย์แนะนำผ่าตัดก็ควรผ่าตัด หากมีลิ้นหัวใจเทียม ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะโอกาสติดเชื้อสูง เลือดออกง่าย ไม่ควรซื้อยาเองแม้แต่ยาหวัด หากทำฟัน ขูดหินปูน ผ่าตัดใดๆ ต้องแจ้งแพทย์ก่อนทุกครั้ง สำหรับสตรีที่ต้องการตั้งครรภ์ต้องแจ้งแพทย์ก่อนเช่นกัน

กล้ามเนื้อหัวใจบีบตัวอ่อน

สาเหตุ : กล้ามเนื้อหัวใจพิการจากสาเหตุต่างๆ เช่น ไวรัส เบาหวาน แอลกอฮอล์ (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการหอบเหนื่อย หรือ บวม, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาขับปัสสาวะเพื่อลดน้ำในปอด ยาขยายหลอดเลือดช่วยให้หัวใจ ทำงานสบายขึ้น  ยากระตุ้นหัวใจ นอกจากนั้นแล้ว   หากหัวใจเต้นผิดจังหวะก็ต้องให้ยาควบคุม ในรายที่รุนแรง การรักษาที่ดีที่สุดคือ การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากหัวใจเสียมาก บีบตัวน้อย การพยากรณ์โรคไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : งดอาหารเค็ม รับการรักษาสม่ำเสมอ ไม่ควรขาดยา ไม่ซื้อยารับประทานเอง เพราะยา หลายอย่างมีผลแทรกซ้อนมาก   หากแน่นหน้าอก หอบเหนื่อยมาก ต้องรีบมารพ.ใกล้ที่สุดทันที

เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ

สาเหตุ : การติดเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย วัณโรค เอดส์ ไตวาย SLE มะเร็ง (รวมทั้งไม่มีสาเหตุ)
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดอาการเจ็บหน้าอก ลดน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ให้ยาต้านการอักเสบ รักษาสาเหตุ หากมีน้ำในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ อาจต้องเจาะหรือผ่าตัดระบายออก
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่หายขาดขึ้นกับสาเหตุ   การพยากรณ์โรคขึ้นกับสาเหตุ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : อาการเยื่อหุ้หัวใจอักเสบจากไวรัส   อาจพบร่วมกับกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบด้วย ซึ่งต้องระวัง เพราะมีโอกาสหัวใจเต้นผิดจังหวะ เสียชีวิตได้

โรคอ้วน

สาเหตุ : อาหารให้พลังงานสูง เช่น ไขมัน ขนมหวาน พันธุกรรม พฤติกรรมการบริโภค
จุดมุ่งหมายการรักษา : ลดน้ำหนัก เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
หลักการรักษา : รักษาตามอาการ ควบคุมอาหาร ลดมัน ลดหวาน งดแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายมากขึ้น
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : ขึ้นกับความตั้งใจจริงที่จะควบคุมน้ำหนัก
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : ต้องตั้งใจจริง

เบาหวานกับโรคหัวใจ

สาเหตุ : เบาหวานทำให้หลอดเลือดเสื่อมทั้งร่างกาย รวมทั้งหลอดเลือดหัวใจ
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากเบาหวาน, อายุยาวขึ้น, คุณภาพชีวิตดีขึ้น
หลักการรักษา : ควบคุมน้ำตาลในเลือดให้ใกล้เคียงปกติที่สุด ด้วยการคุมอาหาร ยาลดน้ำตาล ยาฉีดเมื่อจำเป็น หากมีไขมันในเลือดสูงก็ต้องรักษาด้วย
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : เป็นโรคที่ไม่หายขาดไม่ว่าจะรักษาด้วยวิธีใด หากมีผลแทรกซ้อน แล้วการพยากรณ์โรคมักไม่ดี
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีกเลี่ยงน้ำตาล น้ำอัดลม ขนมหวาน ผลไม้หวานจัด (เงาะ ลิ้นจี่ ลำใย องุ่น) ใช้นำตาลเทียมแทน ตรวจสุขภาพระบบอื่นๆด้วย เพราะเบาหวานมีผลต่อทุกระบบในร่างกาย

ไขมันในเลือดสูง

สาเหตุ : บริโภคอาหารไขมันสูง พันธุกรรม โรคบางขนิด ร่างกายสร้างไขมันขึ้นเองเป็นส่วนใหญ่
จุดมุ่งหมายการรักษา : ป้องกันผลแทรกซ้อนจากไขมัน หลอดเลือดสมอง หัวใจ ตีบ
หลักการรักษา : ควบคุมไขมันในเลือด โคเลสเตอรอลควรน้อยกว่า 200, LDL น้อยกว่า 100 (น้อยกว่า 70 ในผู้ป่วยโรคหัวใจ หรือ เบาหวาน) โดยมากมักต้องใช้ยาช่วยจึงจะได้ระดับต่ำขนาดนี้
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค : การรักษาเป็นการหวังผลระยะยาว แม้ว่าอาจไม่ได้ผลในการ ป้องกันโรคหัวใจกับทุกคน
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูงทุกประเภท ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายมากขึ้น

ใจสั่น ใจเต้นแรง

สาเหตุ : อาจเป็นปกติ อาจพบได้ในคนปกติ หรือ โรคอื่นๆที่ไม่ใช่โรคหัวใจก็ได้   หรือ เกิดจากหัวใจ เต้นผิดจังหวะ
จุดมุ่งหมายการรักษา :   ลดอาการ ป้องกันการเกิดอัมพาต (ในกรณีหัวใจเต้นผิดจังหวะบางชนิด)
หลักการรักษา : ควบคุมการเต้นหัวใจด้วยยา หากไม่ได้ผล หรือ อาการมาก อาจใช้คลื่นวิทยุจี้ทำลาย วงจรไฟฟ้าหัวใจ
ผลการรักษา / การพยากรณ์โรค :   ขึ้นกับชนิดของหัวใจเต้นผิดจังหวะ
คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย : หัดจับชีพจรตัวเองเมื่อเวลาเกิดอาการ เพราะบางครั้งรู้สึกใจสั่น แต่ความจริงแล้วอัตราการเต้นปกติก็ได้

แหล่งข้อมูล
นพ.ระพีพล กุญชร ณ อยุธยา อายุรแพทย์โรคหัวใจ
, หลักการรักษาโรคหัวใจ, http://www.thaiheartweb.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538922703&Ntype=2

ภาพประกอบจาก 
http://thedinfographics.com/wp-content/uploads/2011/11/thumb-HeartDisease2.jpeg

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น