ใครที่มีญาติผู้ใหญ่เป็นเบาหวาน หากดูแลเอาใจใส่ท่านดีๆ จะพบว่ากิจวัตรประจำวันนอกเหนือจากควบคุมหมู่และปริมาณอาหารให้เหมาะสมแล้ว ยังต้องมีการตรวจน้ำตาลในเลือดและต้องคุมให้ได้ น่านต้องทำอยู่แล้ว
แต่แปลกใจไหมว่า ทำไมเดี๋ยวหมอต้องนัดตรวจตา ตรวจระดับไขมันในเลือด ตรวจการทำงานของระบบประสาท ตรวจการทำงานของไต โอ้ย เย้อะไปหมด สาเหตุจะเฉลยให้เราลูกหลานกตัญญูได้ทราบในตอนนี้ว่าโรคเบาหวาน ระหว่างการรักษาต้องคอยดูแลเรื่องอะไรบ้าง และหากละเลยไม่ดูแล ผลร้ายต่อร่างกายจะมีอะไร
ทำไมพอเป็นเบาหวานแล้ว ทำให้เกิดอาการต่างๆ ได้ทั่วร่าง?
เบาหวานเกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตอินซูลินไม่เพียงพอ ส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกินไป ส่วนอาการผิดปกติต่างๆ ต่างเกิดขึ้นเนื่องมาจากร่างกายเรา ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ เลือดที่เคยใสกลับมาข้นหนืดด้วยน้ำตาลที่มากเกินไปและตลอดเวลา ส่งผลให้ระบบหัวใจและหลอดเลือดที่ทำหน้าที่ส่งกำลังบำรุงต้องทำงานหนักมากขึ้น แถมเมื่อไปตามอวัยวะก้อยังนำไปแปรเป็นพลังงานไม่ได้อีก ร่างกายเรายังต้องเหนื่อยมากขึ้น ในการไปเผาผลาญไขมันและโปรตีนมาใช้แทนน้ำตาลอีก ผลสุดท้าย จึงมีผลไปกระทบต่อระบบต่างๆ อีกมากมาย
แต่ใช่ว่าอาการแทรกซ้อนต่างๆ ที่จะขู่ให้กลัวกันต่อไปนี้ จะเกิดกับคนไข้ทุกคน แต่มักจะเกิดเมื่อเป็นเบาหวานอย่างน้อย 5 ปีแล้วไม่ได้รักษาอย่างจริงจัง
อาการแทรกซ้อนของ โรคเบาหวานมีอะไรบ้าง?
ปัญหาสุขภาพเสื่อมโทรมเหล่านี้ สามารถเกิดได้ตั้งแต่ศรีษะจดปลายเท้าเลยนะครับ มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
ภาวะแทรกซ้อนทางสายตา (Diabetic retinopathy)
เริ่มจากสายตา เกิดจากการที่น้ำตาลเข้าไปในเส้นเลือดเล็กๆ endothelium ในลูกตา ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้มีการสร้างไกลโคโปรตีน ซึ่งจะถูกขนย้ายออกมาเป็น Basement membrane ในหลอดเลือดมากขึ้นๆ ทำให้ท่อนี้หนาขึ้น ดูๆเหมือนจะดี แต่กลับจะเปราะง่าย ทำให้หลอดเลือดเหล่านี้ฉีกขาดได้ และหากแตกโป๊ะขึ้นมาจริงๆ เลือดและสารบางอย่างที่อยู่ในเลือดจะรั่วออกมา และมีส่วนทำให้ลูกในตาบวม ซึ่งจะทำให้เราเกิด มองเหห็นภาพผิดปกติไป Blurred vision ซ้ำร้ายยิ่งกว่า หลอดเลือดที่ฉีกขาดนี้ ไม่ขาดเฉยๆ แต่จะสร้างแขนงของหลอดเลือดใหม่ออกมามากมาย จนบดบังแสงที่มาตกกระทบยังจอรับภาพ Retina ทำให้การมองเห็นของคนไข้แย่ลงๆ หากไม่คุมเบาหวานให้ดี แถมไม่ตรวจสายตาให้สม่ำเสมอ หากเกิดอาการที่ว่าในตาหรือจอตาเสื่อมไปนานๆ พ่อแม่เราจะมองเห็นจุดดำลอยไปมา เสมือนใส่แว่นที่มีรอยจุด และสุดท้ายอาจทำให้ตาบอดอย่างถาวรได้ในที่สุด น่ากลัวไหมครับ จากจุดเล็กๆแค่นี้เอง
ภาวะแทรกซ้อนทางไต (Diabetic nephropathy)
เราคงเคยเห็นแล้วว่า คนไข้เบาหวานบางคนที่ไม่ดูแลให้ดี ทำให้ต้องไปฟอกไตล้างไต ซึ่งเปลืองทั้งกำลังกายและผลาญกำลังทรัพย์อย่างมาก ทำไมไตจึงเสื่อมได้ จนเกิดภาวะไตวาย
ต้นเหตุนั้นเกิดมาจาก น้ำตาลที่มากสูงเกินไป ส่งผลให้เกิดการเสื่อมสภาพของระบบเลือดหมุนเวียนและหลอดเลือดเล็กๆ ภายในท่อหน่วยไต ทำให้ระบบการทำงานของไตแย่ลงๆ ถ้าเป็นนานๆ ไม่คุมทั้งเบาหวาน ละเลยไม่ตรวจการทำงานของไต อาจจะทำให้เกิด Renal failure หรือไตวายได้ในที่สุด และที่น่าสงสารคือ ผู้ป่วยมักจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี นับจากแรกเริ่มมีอาการไตเสื่อม
ภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาท (Diabetic neuropathy)
เบาหวานจะทำให้หลอดเลือดเล็กๆ ที่มาเลี้ยงเส้นประสาทบริเวณปลายมือปลายเท้าเกิดพยาธิสภาพที่ ทำให้เส้นประสาทนั้นไม่สามารถนำความรู้สึกต่อไปได้ อาการที่พบได้บ่อยคือ คนไข้จะรู้สึกชาหรือปวดแสบปวดร้อนตามปลายมืออย่างมาก บางรายคิดว่านอนทับแขนปวดเมื่อมั้ง แต่ต่อให้นวดอย่างไร ก้อจะยังไม่ดีขึ้น
ซ้ำร้ายเมื่อผู้ป่วยเกิดไปมีแผลบางทีเล็กๆน้อยๆ เช่นหกล้มถลอกเล็กน้อย หรือมีดบาดไม่ลึก พอความรู้สึกไม่ไวเหมือนเดิม บางทีผู้ป่วยก็จะไม่รู้ตัว และไม่ได้ใส่ใจดูแลแผลดังกล่าว ประกอบกับในเลือดผู้ยังมีน้ำตาลสูง จึงเป็นอาหารอย่างดีให้กับเหล่าเชื้อโรค และแล้วแผลก็จะเน่า
โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary vascular disease) จากการที่เบาหวานเป็นตัวการที่จะเร่งให้เกิดการเสื่อมของหลอดเลือดทั่วร่างกาย และไม่เว้นแม้กระทั่ง หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจอาจจะเสื่อมสภาพได้ หากคนไข้เองช่วงนั้น มีไขมันในเลือดสูง ก็จะส่งผลให้มีการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือด
แต่หากไม่รักษา ที่น่ากลัวกว่านั้น คือถ้าไขมันไปทำให้หลอดเลือดที่เลี้ยงหัวใจเกิดอุดตัน ก็จะเกิดอาการ กล้ามเนื้อหัวใจตาย ครานี้ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจควบไปกับเบาหวาน บางคนจะไม่แสดงอาการผิดปกติอะไรออกมาที่จะบอกว่าเป็นโรคหัวใจมาเลย ตัวอย่างเช่นผู้ป่วยโรคหัวใจทั่วไป มักจะมีอาการเตือน คืออาการเจ็บปวดเค้นหน้าอก ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานบางรายอาจแสดงอาการครั้งแรก ด้วยอาการที่รุนแรงเลยทีเดียว เช่น กล้ามเนื้อหัวใจตาย หรือ หัวใจล้มเหลวอย่างฉับพลัน ทำให้สายเกินไปต่อการยื้อชีวิต
โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
เหนื่อยพอหรือยังครับ ยังไม่หมด ใครก้อตามที่เป็นเบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงในการเกิดอัมพาตชนิดหลอดเลือดตีบได้สูง เพราะเบาหวานไปทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งได้ง่าย และหากไปโป๊ะที่หลอดเลือดของสมอง ก็จะเกิดอัมพาตขึ้น โดยอัตราเสี่ยงของผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน จะมีโอกาสเป็นอัมพาตได้สูงกว่าผู้ป่วยปกติ 2-4 เท่า
แล้วจะรู้ได้ยังไง ให้สังเกตุอาการเบื้องต้น โดยดูจากอาการกล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรงครึ่งซีกอย่างทันทีทันใดหรือเป็นครั้งคราว ใบหน้าชาครึ่งซีกใดซีกหนึ่ง พูดกระตุกกระตัก สับสนหรือพูดไม่ได้เป็นครั้งคราว ตาพร่าหรือมืดมองไม่เห็นไปชั่วครู่ เห็นแสงผิดปกติ วิงเวียน เดินเซไม่สามารถทรงตัวได้ กลืนอาหารแล้วสำลักบ่อยๆ มีอาการปวดศรีษะอย่างรุนแรงโดยอาการปวดมักจะเกิดในขณะที่เคร่งเครียด หรือมีอารมณ์รุนแรง หากต้องการรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องหลอดเลือดในสมอง กรุณาติดตามไปอ่านได้ที่
โรคหลอดเลือดสมอง เป็นแล้วถึงตาย ถ้ารอดได้ก้อพิการ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
โรคแทรกซ้อนอื่นๆ
ได้แก่ โรคของหลอดเลือดส่วนปลาย (Peripheral vascular disease)
แผลเรื้อรังจากเบาหวาน (Diabetic ulcer) และที่คุณหนุ่มๆ ทั้งหลายหวาดกลัวที่สุด คือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ทั้งสามโรคนี้มีรายละเอียดมาก ของยกไปเป็นบทความตอนต่อไปนะครับ
สยองขวัญกับกองทัพโรคแทรกซ้อนกันหรือยัง แต่วัตถุประสงค์เราไม่ได้ต้องการให้ ตื่นกลัวแต่อย่างใด ตอนหน้าเรามาติดตามว่า ถ้าสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้ ต้องทำอย่างไร ไปหาแพทย์ เขามีวิธีวินิจฉัยเบาหวานอย่างไรบ้าง ต้องเจ็บตัวมั้ย เสียค่าใช้จ่ายเท่าไร
อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องเบาหวาน กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
•เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 23 มค. 2555
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ
การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง
บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
· จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336494
· เบาหวาน รักษาได้ดี ไม่ต้องตัดเท้า โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/27/entry-1
· เบาหวาน ไม่รักษาให้ถูกต้อง มีสิทธิ์ตาบอด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/22/entry-2
· เบาหวาน หลักสำคัญในการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336728
· เบาหวาน กับ อินซูลิน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=337594
· ความรุ้เรื่องโรคเบาหวาน, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, อาคาร เฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 10 โซน A เลขที่ 2 ซอยเพชรบุรี 47 (ศูนย์วิจัย) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ,http://www.diabassocthai.org
· ตรวจความเสี่ยงโรคเบาหวาน,สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ,http://www.happydm.org/html/question.php?question_ID=1
· แนวทางเวชปฎิบัติเกี่ยวกับเบาหวาน พ.ศ. 2554, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, http://www.diabassocthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id=12%3A-2551-&catid=2%3A2011-01-25-09-11-02&Itemid=6&lang=th
· โรคเบาหวานและทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเบาหวาน, http://www.เบาหวาน.kudweb.com
· ยารักษาโรคเบาหวาน 2, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 382 , เดือน/ปี: 01/2554
· ยารักษาโรคเบาหวาน, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 381, เดือน/ปี: 12/2553
· โรคเบาหวาน , หมอชาวบ้าน เล่มที่: 37 เดือน/ปี: 10/2553
· การดูแลผู้ป่วยเบาหวานถ้วนหน้า,หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379 เดือน/ปี: 10/2553
· เบาหวานกับการออกกำลังกาย, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379 เดือน/ปี: 10/2553
· ภก.จินตวี ไชยชุน,ภก.ธีระ ฤทธิรอด,ภก.สุภาพร น้อยเมล์,ภกญ.ญาณิน ขมะณะรงค์, Sitagliptin ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2, วารสารคลินิก เล่ม : 284 เดือน-ปี : 08/2551, http://doctor.or.th/node/7131
· โรคเบาหวาน, ห้องยา แผนกเภสัชกรรม รพ.รร.จปร, http://pharmacyjpr.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431014
· Diabetic Care Management Guidelines, American Diabetes Association, Clinical Practice Recommendations, 2011, http://care.diabetesjournals.org/content/34/Supplement_1/S4.extract
· American Association of Clinical Endocrinologists Medical Guidelines for Clinical Practice for the Management of Diabetes Mellitus, https://www.aace.com/publications/guidelines
· American Diabetes Association. Pharmacologic intervention. In management of type 2 diabetes,4th edition.Verginia : Library of congress, 1998:56-72
· Diabetes in Asians Americans, Joslin Diabetes Center, 1 Joslin Place, Rm 382A, Boston, MA 02215, USA, http://aadi.joslin.org/content/healthcare-professional
· Diabetes Drugs, Diabetes.co.uk, http://www.diabetes.co.uk/Diabetes-drugs.html
· Williams G, Pickup JC. Management of type 2 diabetes. In handbook of diabetes,2nd edition.Oxford: Blackwell Science Ltd, 1999:87-94.
· Schnell U, Mehnert H, Standl E. Oral antidiabetic agents: Sulfonylureas. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:195-202.
· Diabetes Drug Information, Remedy Health Media, LLC, http://www.healthcentral.com/diabetes/find-drug.html
· Kikuchi M. New antidiabetic drugs. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:239-50..
· Oral Diabetes Medications, webmd.com, http://diabetes.webmd.com/guide/oral-medicine-pills-treat-diabetes
· Linde B. The pharmacokinetics of insulin. In : Pickup J, Williams G,eds. Textbook of diabetes. Oxford: Blackwell Science Ltd,1991:371-83.
· European diabetes policy group. A desktop guide to type 1 ( insulin dependent ) diabetes mellitus. Diabet Med 1999;16:253-6.
· Complementary and Alternatitve Treatment for Diabetes, National Diabetes Information Clearinghouse (NDIC), A service of the National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), National Institutes of Health (NIH), http://diabetes.niddk.nih.gov/dm/pubs/alternativetherapies/
· Alternative Treatments for Diabetes, WebMD.com, http://diabetes.webmd.com/guide/alternative-medicine
· Cathy Wong, ND, CNS, a licensed naturopathic doctor and an American College of Nutrition-certified nutrition specialist, Natural Treatments for Type 2 Diabetes, http://altmedicine.about.com/cs/conditionsatod/a/Diabetes.htm
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น