วันพฤหัสบดีที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2555

ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน รู้จักไว้ เพื่อป้องกัน โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล

เวลาเราควบคุมการขับถ่ายไม่ได้ ไหลพรวดๆ บางครั้งเราจะเรียกอาการที่กลั้นไม่อยู่ ว่า ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน หรือลงท้อง ทำให้ทรมานทั้งการหาที่ขับถ่าย รวมทั้งไปมีอาการอยากจะอาเจียร ขย้อน หรือท้องร้องดังครืดคราดไปมา แม้จะหยุดถ่ายไปแล้วก้อตาม หน้าร้อนที่จะมาถึงนี้ เรามาเตรียมการณ์รับมืออาการท้องเสียที่ว่ากันก่อนดีกว่า
อย่างไร เราจึงเรียกว่า "ท้องเสีย"
คือภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระ  ตามปกติแต่ละคนจะมีจำนวนครั้งของการถ่ายอุจจาระในแต่ละวันไม่เท่ากัน บางคนอาจจะถ่ายวันละ 2 - 3 ครั้ง ในขณะที่บางคน 2 - 3 วันจึงจะถ่ายสักครั้ง ท้องเสียจะมีอาการถ่ายเหลวหรือถ่ายเป็นน้ำที่บ่อยขึ้น อาจจะมากกว่า 3 ครั้งใน 1 วัน อาการนำของการเกิดท้องเสียนั้นก็คือ ลำไส้จะมีการเคลื่อนไหวหรือบีบตัวอย่างมาก ท้องอืด ท้องเฟ้อ ปวดท้อง ถ่ายง่าย และอ่อนเพลียเมื่อมีการถ่ายบ่อยครั้งขึ้น
อาการท้องเสีย แบ่งได้เป็น 2 ชนิด
1. ท้องเสียชนิดเฉียบพลัน
พบในคนส่วนใหญ่ เกิดขึ้นเร็ว แต่เป็นอยู่ไม่นาน มักไม่เกิน 7 - 8 วัน เกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การติดเชื้อ เกิดจากพิษ เกิดจากยาอื่น ถ้าเป็นท้องเสียอย่างเฉียบพลันที่เกิดจากการติดเชื้อในผู้ใหญ่ มักมีสาเหตุมาจากแบคทีเรีย แต่ถ้าเป็นในเด็กมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส
อาหารก็อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้ เช่น การรับประทานอาหารที่มีไขมัน หรือรสจัด อาหารที่มีกากหรือเมล็ดมาก ๆ ก็ทำให้เกิดอาการท้องเสียได้เช่นกัน
2. อาการท้องเสียชนิดเรื้อรัง
เกิดจากหลายสาเหตุ และยากต่อการวินิจฉัย ถ้าเป็นบ่อย ๆ และเป็นเวลานานควรไปพบแพทย์ เพื่อให้ทราบสาเหตุที่แท้จริงและรักษาต่อไป
ท้องเสียอาจมีสาเหตุมาจากทางอารมณ์ ซึ่งมักมีอาการปวดท้องถ่ายบ่อย ๆ แต่ถ่ายครั้งละไม่มาก อุจจาระอาจจะเหลวเป็นน้ำแล้วตามมาด้วยลักษณะปกติ มักเกิดหลังรับประทานอาหารไม่นาน ประมาณ 5 - 15 นาที และบางครั้งก็อาจเปลี่ยนเป็นอาการท้องผูกได้
รูปประกอบการรักษาอาการท้องเสีย acute-diarrheafig1_large.jpg
วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ท้องเสีย
ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอาการท้องเสีย เช่น อาหารที่ไม่สะอาด อาหารที่ไม่เคยรับประทานมาก่อน อาหารรสจัด ยาบางชนิดที่เคยรับประทานแล้วทำให้ท้องเสีย ตลอดจนพยายามควบคุมอารมณ์ ไม่ให้เกิดความตึงเครียดหรือวิตกกังวลมากเกินไป
การรักษาโดยไม่ใช้ยา
ท้องเสียเฉียบพลัน บางครั้งก็หายไปเองในระยะเวลาอันสั้น เช่น รับประทานอาหารผิดสำแดง วิตกกังวล หรือติดเชื้อในลำไส้ที่ไม่รุนแรง อาการท้องเสียเหล่านี้มักจะหายไปเองในระยะเวลาอันสั้น บางทีก็ไม่จำเป็นต้องใช้ยารักษาเลยด้วยซ้ำ
เนื่องจากขณะที่มีอาการท้องเสีย ลำไส้จะดูดซึมน้ำและอาหารน้อยลง และลำไส้มีการเคลื่อนไหวเร็ว จึงเกิดการคั่งของน้ำในลำไส้ ทำให้ปริมาณน้ำในลำไส้มาก จึงถ่ายเหลวบ่อยและมีจำนวนมากขึ้น ดังนั้น การลดปริมาณน้ำในลำไส้ให้น้อยลงมากเท่าใด คือวิธีการรักษาที่ดีเท่านั้น
การงดอาหารในขณะท้องเสียก็เป็นวิธีการรักษาวิธีหนึ่ง ซึ่งไม่มีผลเสียใด ๆ ทั้งสิ้น ถ้าร่างกายแข็งแรงดี เพราะจะช่วยให้ลำไส้ได้พักผ่อน และช่วยให้การทำงานเป็นปกติดียิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากรับประทานอาหารเข้าไปมาก อาหารเหล่านั้นก็ถูกดูดซึมเข้าร่างกายได้น้อยหรือไม่ดูดซึมเลย ทำให้ ยิ่งรับประทานมากเท่าใด ก็ยิ่งทำให้เสียน้ำและเกลือแร่ออกจากร่างกายมากยิ่งขึ้นเท่านั้น และจะไม่ได้ประโยชน์จากอาหารที่รับประทานเข้าไปเลย
สิ่งสำคัญในการรักษาอาการท้องเสียก็คือ ทำอย่างไรก็ได้ที่จะไม่ให้ร่างกายเสียน้ำและเกลือแร่ เพราะว่าถ้าเสียน้ำและเกลือแร่มาก ๆ จะทำให้ร่างกายมีอาการขาดน้ำ เช่น ตาโบ๋ หนังเหี่ยว ขาดความยืดหยุ่น ไม่เต่งตึง ปากแห้ง ชีพจรเต้นเร็ว ปัสสาวะน้อย ลุกนั่งจะรู้สึกหน้ามืด ถ้าเป็นเด็กเล็กกระหม่อมจะบุ๋มและนอนซึม หรือหายใจหอบ เพราะเสียเกลือแร่ ขาดน้ำ ถ้าเป็นมากก็อาจไม่มีปัสสาวะเลย ชีพจรเบา ความดันต่ำ ตัวเย็น กระสับกระส่าย ช็อค
จะเห็นได้ว่า อันตรายไม่ได้เกิดจากการขาดสารอาหาร แต่เกิดจากการขาดน้ำและเกลือแร่ ดังนั้น ถ้าให้น้ำเกลือทดแทนได้ท้นก็จะรอดพ้นจากอันตรายได้
น้ำเกลือก็คือ "ยา" รักษาอาการท้องเสียนั่นเอง
การให้น้ำเกลือด้วยตนเองทำได้โดยวิธีการรับประทาน ซึ่งจะได้ผลในการรักษาใกล้เคียงกับการให้ทางหลอดเลือด และไม่มีอันตรายจากภาวะที่มีการให้น้ำมากเกินไป
การดื่มน้ำเกลือในระยะแรก ๆ ที่มีอาการท้องเสีย จะทำให้อาการทุเลาและหายไปได้เองโดยไม่ต้องใช้ยารักษา
เมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์
ไม่ควรใช้ยาแก้ท้องเสียรักษาตัวเอง แต่ควรไปพบแพทย์ถ้ามีอาการดังต่อไปนี้
อุจจาระมีมูกปน มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ คล้ายกุ้งเน่า
คลื่นไส้ - อาเจียนรุนแรง
มีไข้สูงเกินกว่า 38.5 องศาเซลเซียส
ท้องเสียนานกว่า 48 ชั่วโมง
มีไข้ อ่อนเพลียมาก และมีโรคเรื้อรังประจำตัว
ท้องเสียเรื้อรัง รวมกับเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ผอมลง อ่อนเพลีย
ท้องเสียซึ่งอาจมีสาเหตุจากยาอื่น ๆ ที่ใช้อยู่เป็นประจำ ควรปรึกษาแพทย์ผู้สั่งใช้ยานั้น ๆ จะได้แก้ไขและเปลี่ยนยา
ท้องเสียในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี หรือผู้สูงอายุ เพราะอาจะเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ง่าย
ท้องเสียที่เกิดในสตรีมีครรภ์ เพราะอาจเกิดความผิดปกติทั้งมารดาและทารกในครรภ์ได้
อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 10 กย. 2554  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·      
  รูปประกอบจากเว็บไซต์
http://redroom.com/member/shaun-d-landry/blog/no-one-talks-about-poo-seriously-until-you-get-old-or-in-love
·      The Basics of Diarrhea, WebMD, LLC., http://www.webmd.com/digestive-disorders/digestive-diseases-diarrhea
·      Diarrhea , National Digestive Diseases Information Clearinghouse (NDDIC), A service of the National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), National Institutes of Health (NIH), http://digestive.niddk.nih.gov/ddiseases/pubs/diarrhea/
·      Diarrhea ,  MedicineNet, Inc., http://www.medicinenet.com/diarrhea/article.htm 
·      Diarrhea  in Children, The Nemours Foundation., http://kidshealth.org/parent/infections/common/diarrhea.html
·      Diarrhea in Children, Grey Bruce Health Unit,  http://www.publichealthgreybruce.on.ca/communicable/fact-sheets/diarrhea-in-children.htm
·      Diarrhoea and vomiting caused by gastroenteritis diagnosis, assessment and management in children younger than 5 years, Royal College of Obstetricians and Gynaecologists., http://www.nice.org.uk/nicemedia/pdf/CG84FullGuideline.pdf
·      Guidelines for the Management of Acute Diarrhea , Department of health service, USA. http://www.bt.cdc.gov/disasters/hurricanes/pdf/dguidelines.pdf  
·      Richard L. Guerrant, et al.  Practice Guidelines for the Management of Infectious Diarrhea, University of Virginia, Charlottesville, http://www.med.upenn.edu/gastro/documents/Clininfecdzguidelinesinfectiousdiarrhea2001.pdf  
·      WGO Practice Guidelines Acute diarrhea , World Gastroenterology Organisation practice guideline: Acute diarrhea,, http://www.omge.org/assets/downloads/en/pdf/guidelines/01_acute_diarrhea.pdf
·      Diarrhea Treatment, WebMD, LLC., http://firstaid.webmd.com/diarrhea-treatment 
·      Diarrhea treatment, http://www.diarrhea-treatment.net/
·      Diarrhea Medications, Drugs.com, http://www.drugs.com/condition/diarrhea.html
·      Stefano Guandalini, MD,  Diarrhea Treatment & Management Director, University of Chicago Celiac Disease Program, Section Chief of Gastroenterology, Hepatology and Nutrition; Professor, Department of Pediatrics, University of Chicago Comer Children's Hospital ,WebMD LLC., http://emedicine.medscape.com/article/928598-treatment
·      นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์, เมื่อลูกท้องเสีย, คลินิกเด็ก.คอม, http://www.clinicdek.com/index.php?option=com_content&task=view&id=67&Itemid=53
·      นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์, การดูแลลูกที่มีอาเจียนและท้องเสีย, คลินิกเด็ก.คอม, http://www.clinicdek.com/index.php?option=com_content&task=view&id=68&Itemid=53
·      ท้องเสียในเด็กทารกขวบปีแรก, http://centralya.com/eweb/news.php?extend.6
·      รับมือท้องเสียช่วงหน้าฝนและน้ำท่วม โดย เภสัชกรหญิงอภิฤดี เหมะจุฑา, http://utaisuk.blogspot.com/2011/10/blog-post_04.html
·      ภก.ดร.วิรัตน์ ทองรอด, ท้องเสีย... ถ่ายอุจจาระผิดปกติ, นิตยสารหมอชาวบ้าน เล่ม : 352
เดือน-ปี : 08/2551, http://www.doctor.or.th/node/5729
·      ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน ทำอย่างไรดี โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล
·      ท้องเสีย ท้องร่วง ท้องเดิน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/07/entry-1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น