วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ยาคุมฉุกเฉินคืออะไร ? โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


เจ้ายาเม็ดกล่องเล็กที่หญิงสาวชายหนุ่มทั้งหลาย ต้องพึ่งพาในยามฉุกเฉิน เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้เตรียมการป้องกันมาก่อน คืออะไร? ก่อนจะใช้มารู้จักยาเม็ดดังกล่าวกันก่อนไหม? 

ยาคุมฉุกเฉินคืออะไร ?
ความจริงแล้วองค์การอนามัยโลกให้การรับรองว่าการกินยาคุมฉุกเฉินเป็นวิธีที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพในการป้องกัน การตั้งครรภ์หลังจากมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์ในระดับหนึ่ง แต่ไม่ได้แนะนำให้ใช้ในทุกๆราย ทุกๆสถานการณ์ เพราะชื่อของยาก้อบอกแล้ว จะแนะนำให้ในใช้ในเวลาที่ไม่ได้เตรียมการป้องกันมาก่อน

มีอะไรในเม็ดยาเล็กๆเหล่านั้น ความจริงแล้วยาคุมฉุกเฉินมีส่วนผสมเช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดธรรมดาทั่วไปน่านแหละ  แต่จะมีปริมาณฮอร์โมนต่อเม็ดสูงมากกว่าเย้อะ และต้องกินหลังจากมีเพศสัมพันธ์ภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น จึงจะมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์
ดังนั้นหากเราเริ่มต้นวางแผนคุมกำเนิดด้วยยาคุมธรรมดาที่มีปริมาณฮอร์โมนน้อยๆ จึงต้องกินอย่างสม่ำเสมอ วันละ 1 เม็ด ทุกๆ วัน กรณีเป็นยาแผงละ 28 เม็ด หรือ 21 เม็ดก้อต้องกินทุกวันและหยุดได้ในช่วงระหว่างที่มีประจำเดือน

ยาคุมฉุกเฉิน มี 2 แบบ 
ถ้าหยิบยามาดูที่ข้างกล่องยาคุมฉุกเฉิน จะเห็นว่าประกอบไปด้วยฮอร์โมนเพศหญิงผสม ซึ่งประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปรเจสตินผสมกันนั่นเอง (Combined Pill Regimens : Yuzpe Method) ปริมาณยาที่กินแต่ละครั้งต้องมีฮอร์โมนเอธิลเอสตราดิออล (ethinyl estradiol) อย่างน้อย 0.1 มิลลิกรัม รวมกับฮอร์โมนเลโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) อย่างน้อย 0.5 มิลลิกรัม 

ยาคุมฉุกเฉินฮอร์โมนเดี่ยว ซึ่งมีฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงอย่างเดียว (Progestin-Only Pill Regimens) ปริมาณยาที่กินแต่ละครั้งต้องมีฮอร์โมนเลโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) อย่างน้อย 0.75 มิลลิกรัม  ยาคุมฉุกเฉินที่ขายในบ้านเราขณะนี้มีอยู่ 2 ยี่ห้อที่ดังๆ ก้อคือ  โพสตินอร์ (Postinor) และมาดอนนา(Madonna)  ซึ่งทั้งสองต่างก็เป็นยาคุมฉุกเฉินฮอร์โมนเดี่ยว

ใครบ้างควรใช้ยาคุมฉุกเฉิน ? 
ในฐานะเภสัชกร อยากจะบอกตรงๆเลยว่า การคุมกำเนิดที่ดีที่สุดคือการเตรียมการวางแผนที่จะมีครอบครัว หรือถ้าจะรักสนุก หนุ่มสาวทั้งหลายควรวางแผนในการป้องกันการตั้งครรภ์ ด้วยวิธีอื่นๆ ได้แก่การเลือกใช้ถุงยางหรือยาเม็ดคุมกำเนิดทั่วไป
ยาคุมฉุกเฉินต่างจากยาคุมธรรมดาซึ่งที่ต้องกินเป็นประจำทุกวัน หากแต่ยาคุมฉุกเฉินมีปริมาณฮอร์โมนสุงกว่าเพราะผลิตขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาให้แก่คุณสุภาพสตรีที่ไม่ต้องการตั้งครรภ์ ในกรณี “ฉุกเฉินจริงๆ” ต่อไปนี้เท่านั้น
·     > มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ใช้วิธีคุมกำเนิดใดๆ  
·     > ใช้ถุงยางแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่ารั่ว แตก หรือหลุดหรือไม่
·     > กินยาคุมชนิดธรรมดาอยู่ แต่ลืมกินไป วันสองวันหรือนานมากกว่านั้น
·     > ใส่ห่วงคุมกำเนิดของคุณผู้หญิงแล้ว แต่มันหลุด
·     > นับระยะปลอดภัย หน้าเจ็ด หลังเจ็ด ผิดพลาด (ซึ่งวิธีนี้ก้อไม่อยากแนะนำให้ใช้)
·     > ถูกข่มขืน มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ตั้งใจ หรือไม่เต็มใจ

ยาคุมฉุกเฉิน ป้องกันการตั้งครรภ์ได้ชัวร์ๆ เลยหรือเปล่า ? 
หากเราพลาดไปแล้ว เกิดไปมีเพศสัมพันธ์ ในภาวะฉุกเฉินที่กล่าวมาทั้งหมดมาแล้ว การกินยาคุมฉุกเฉินอย่างถูกวิธี หลังจากมีเพศสัมพันธ์ จะช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 75% เท่านั้น ขอย้ำ ไม่ใช่ 100% แต่ถ้ามีเพศสัมพันธ์อยู่เป็นประจำ หรือมีเป็นระยะๆ  ในฐานะเภสัชกรเราอยากแนำนำวิธีที่ได้ผลดีกว่า ปลอดภัยกว่า ผลข้างเคียงก้อน้อยกว่า นั่นก็คือใช้วิธีคุมกำเนิดแบบธรรมดาซึ่งจะป้องกันการตั้งครรภ์ได้ดีกว่าการกินยาคุมฉุกเฉิน

ในตอนหน้าเราจะมาเล่าให้ฟังถึงผลข้างเคียงและความปลอดภัยจากการใช้ยาเม็ดฉุกเฉินอย่างสุรุ่ยสุร่าย

อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องยา กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ
แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 2 ธค. 2555  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ

Emergency-contraception,  http://www.nhs.uk/conditions/emergency-contraception/Pages/Introduction.aspx
Emergency Contraception , WebMD, Inc. , http://www.emedicinehealth.com/emergency_contraception/article_em.htm
RANDY ELLEN WERTHEIMER, M.D., Emergency Postcoital Contraception
, University of Massachusetts Medical School, Worcester, Massachusetts, Am Fam Physician. 2000 Nov 15;62(10):2287-2292.
How effective is emergency contraception?,
Office of Population Research & Association of Reproductive Health Professionals,
http://ec.princeton.edu/questions/eceffect.html
FAQ emergency contraception?,
Office of Population Research & Association of Reproductive Health Professionals,
http://ec.princeton.edu/questions/index.html
Westhoff C. Emergency Contraception. N Engl J Med 2003;349:1830-5.
American Congress of Obstetricians and Gynecologists.Frequently Asked Questions about Hormonal Approaches to Emergency Contraception. 2011. http://www.acog.org/departments/ dept_notice.cfm?recno=18&bulletin=1084Accessed date: March 30,2011
วิธีการคุมกำเนิดทุกรูปแบบ รู้ไว้ก่อนเลือกใช้ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://utaisuk.blogspot.com/2011/10/blog-post_08.html
ยาเม็ดคุมกำเนิดทำงานอย่างไร โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/11/entry-1
เลือกยาเม็ดคุมกำเนิดแบบไหนดีนะ โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/05/entry-1

ผลข้างเคียงของยาเม็ดคุมกำเนิด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล,http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/12/10/entry-1
ภญ. พิชญา ดิลกพัฒนมงคล, “ยาคุมฉุกเฉิน...เรื่องจริงที่ผู้หญิงต้องรู้”,ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=54
ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน, samunpai.com,
http://www.samunpai.com/sex/show.php?id=27&cat=3

รูปประกอบมาจาก 
http://www.healthline.com/health/emergency-contraception
และ http://www.trustedmeds.co.uk/emergency-contraception.html



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น