วันศุกร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2555

คู่มือรักษาเบาหวานตอนที่ 1: เบาหวานเกิดได้อย่างไร? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


เนี่ย เพิ่งฉี่เสร็จ เอ? ทำไมมดมันจึงชอบมารุมตอมกินฉี่ของเราทุกที เอ๊ะหรือเราจะเป็นเบาหวาน เข้าให้แล้วหรือ?   คงเป็นความรู้สึกและคำถามยอดนิยมที่ใครๆก้ออยากรู้ ตอนแรกของบทความนี้เภสัชกรหนุ่มและหล่อมาก ขออาสาพาคุณไป รู้จักโรคนี้ กันก่อน ว่ามันคือโรคอะไรกันนะ ทำไมใครๆญาติผู้ใหญ่ที่เรารักก้อแข็งแรงดีนี่นา ทำไมวันนึงถึงมาเป็นโรคนี้กันเย้อะ เราควรจะรู้ว่า มันเกิดได้อย่างไร เพื่อที่เราจะได้คอยดูแลรักษาคนที่เรารักและตัวเราเอง อย่าให้เป็นโรคนี้ขึ้นมา           

เบาหวานคือโรคอะไร? 
ที่เรียกกันว่า เบาหวาน หรือภาษหมอจะเรียกสั้นๆว่า โรคดีเอ็ม DM มาจากคำว่า Diabetes mellitus หรือ Diabetes เป็นโรคเรื้อรังที่ปัจจุบัน ยังหาทางรักษาไม่หาย ต้องได้รับการดูแลรักษาตลอดชีวิต ทำไมหล่ะจึงไม่หาย ซักที ทั้งนี้ก้อเกิดจากการเราต้องกินอาหาร เพื่อให้แปรเป็นกระแสน้ำตาล หรือแปรเปลี่ยนไปเป็นพลังงาน ให้เราสามารถดำรงชีวิตประจำวันอย่างปกติสุข ความจริงแล้วปริมาณน้ำตาลนี้จะสูงๆหรือต่ำกันไปแล้วแต่การกินอาหาร กิจวัตรประจำวัน แต่พอเราเป็นเบาหวานเข้าไป ปัญหาที่ตามมา ก้อคือในกระแสเลือดของเราดันมีปริมาณน้ำตาลอยู่สูงมากกว่าปกติ และยิ่งแย่ไปใหญ่ เราไม่สามารถควบคุมปริมาณน้ำตาล หรือนำไปแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานได้ เปรียบเสมือนรถยนต์ที่เติมน้ำมันเต็มถัง จนล้นออกมาและไม่สามารถเผาผลาญให้เป็นพลังงานผลักดันรถให้วิ่งไปยังจุดหมายได้

เบาหวานเป็นกันเยอะเพียงไร?
อาจจะแปลกใจว่า เด็กๆบางคนอาจจะเป็นโรคนี้ได้ เพราะเบาหวานเป็นโรคที่พบได้สูงในคนทุกช่วงอายุ และเยอะมากๆไม่เกี่ยงเพศ รวมถึงแม้เราจะแปลงเพศไปแล้ว เบาหวานก้อให้ความเป็นธรรมเกิดได้กับทุกๆคน

แต่โรคนี้จะพบได้สูงขึ้น เมื่อเราสูงอายุขึ้น โดยทั่วโลกในปี คศ. 2000 พบผู้ป่วยเบาหวานสูงถึงอย่างน้อย 171 ล้านคน หรือ คิดเป็นประมาณ 2.8% ของประชากรโลก ง่ายๆคนเดินมาร้อยคน สามคนหน่ะเป็นโรคนี้ และคาดว่าผู้ป่วยจะเพิ่มมากขึ้นในทุกๆปี ตัวเลขในประเทศไทยยิ่งเยอะใหญ่ จะมาเล่าให้ฟังในตอนต่อไป

น้ำตาลในกระแสเลือด มาจากไหน มาทำไมกันนะ?
ก่อนที่เราจะอธิบายแยกประเภทให้เห็นของโรคนี้ ขออธิบายก่อนว่า คนปกติเรากินอาหารไปทำไม นอกเหนือจากความอร่อยแล้ว ความจริงอาหารทุกชนิด เมื่อคุณเคี้ยวอย่างเอร็ด เกือบทุกหมู่อาหารไม่ว่าจะข้าว ก้วยเตี๋ยว หรือสปาเกตตี้ จะเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลด้วยระบบย่อยอาหารของเราเองในปาก กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก

ทำไมมวลอาหารหลากชนิดจึงต้องเปลี่ยนไปเป็นกระแสน้ำตาลในกระแสเลือด เพื่ออะไร เหตุผลก้อเพราะ เจ้าน้ำตาล
ที่ย่อยสลายมาแล้วนี้ สดวกต่อการถูกนำส่งไปยังอวัยวะทั่วร่าง เพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ในแต่เซลล์เล็กๆ ในแต่ละอวัยวะ ให้สามารถทำงานได้สอดคล้องกัน สุดท้าย ทำให้ร่างกายเรามีกิจกรรมต่างๆ ใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขนั่นเอง

และเมื่อเราอยุ่ในภาวะชิลๆ ต้องการพักผ่อน แน่นอนที่สุด ร่างกายเราไม่ต้องการให้มีระดับน้ำตาลเยอะเกินไป น้ำตาลที่มากเกินไปก้อจะถูกเก็บไปเป็นเนื้อเยื่อที่เรียกว่าไกลโคเจน และไขมันตามตำแหน่งแก้ม คาง คอ ต้นแขน พุง สะโพก ต้นขาทั่วร่างและจะถูกละลายออกมาใช้เป็นพลังงานเมื่อยามเราไม่ได้กินอะไรต่อไปนั่นเอง

ระบบควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือด คืออะไร?
โลกนี้จะไม่มีโรคเบาหวานเลย ถ้าระดับน้ำตาลที่ว่าในร่างกายเราแต่ละคน อยุ่ในสภาวะสมดุลย์และตลอดไป  ดังนั้นต้องขอบคุณร่างกายของเราที่มหัศจรรย์เหลือเกิน มีระบบเบรคและคันเร่งธรรมชาติ ที่จะเพิ่มหรือลดน้ำตาลให้สมดุลย์ หากเราจะต้องมีกิจกรรมชีวิตใชัพลังงานเย้อะๆ เช่นออกกำลังกาย เข้าฟิตเนต เล่นกีฬา ยกของ อุ้มลูก  เราก้อต้องการพลังงานมากมายอย่างเพียงพอ ไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อมีพลังทำได้ดังใจนึกอย่างสนุกสนาน ระบบที่ว่าก้อคือ ตับอ่อนที่เป็นหน่วยงานที่ฮอร์โมนที่ชื่อว่า อินซูลินและกูลคากอนมาเป็นคันเรงและลดน้ำตาลในเลือดของเรานั่นเอง

เบาหวานมีกี่ประเภท?
เรามักจะคิดว่าคนเป็นเบาหวาน ต้องอ้วน ต้องเป็นคนสูงอายุแล้ว แล้วทุกคน ก้อต้องรับการรักษาด้วยการฉีดยาที่ชื่อว่าอินซูลิน
ไม่ถูกเสมอไปครับ โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งเบาหวานได้เป็น 3 ชนิดหลักตามสาเหตุและการรักษาได้แก่
เบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes mellitus type 1) เบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes mellitus type 2) และสุดท้าย เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์ (Gestational diabetes mellitus)

เบาหวานชนิดที่ 1 (Diabetes mellitus type 1)
เบาหวานชนิดแรก ในคนปกติเรากินอาหารจะเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลในกระแสเลือดใช่ไหม เจ้าน้ำตาลนี้ถ้ามากไป ร่างกายเราจะมีระบบควบคุมน้ำตาลให้มากหรือน้อยได้ตามกิจกรรมชีวิตอย่างที่กล่าวนำมาแล้ว แต่ถ้าหาก ตับอ่อนสร้างฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยผิดปกติ หรือสร้างไม่ได้เลย ผลที่ตามมาก้อคือระดับน้ำตาลก้อจะท่วมเต็มในเส้นเลือด หากใครเป็นเบาหวานแบบนี้ ก้อจำต้องได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาอินซูลินตลอดชีวิต ดังนั้น จึง เรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่า โรคเบาหวานชนิดต้องพึ่งอินซูลิน (Insulin-dependent diabetes mellitus)

และเบาหวานชนิดนี้มักจะพบในเด็กและวัยรุ่น จึงเรียกได้อีกชื่อว่า โรคเบาหวาน หรือ เบาหวานในเด็กและวัยรุ่น (Juvenile diabetes mellitus) พบได้น้อยประมาณ 5% ของเบาหวานทั้งหมด

เบาหวานชนิดที่ 2 (Diabetes mellitus type 2)
เป็นเบาหวานที่พบมากในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะในคนอ้วน จึงเรียกอีกชื่อว่า เบาหวานในผู้ใหญ่ (Adult onset diabetes mellitus) และเป็นเบาหวานที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งอินซูลิน (Non- insulin-dependent diabetes mellitus) พบได้สูงที่สุดประมาณ 90-95% ของโรคเบาหวานทั้งหมด ดังนั้นญาติผู้ใหญ่เราที่แข็งแรงดีๆอยู่ แต่วันหนึ่งมาเป็นโรค เบาหวาน ขอให้รู้เถิดว่าท่านกำลังเป็นโรคเบาหวานชนิดนี้

เบาหวานในสตรีมีครรภ์ (Gestational diabetes mellitus)
พบได้ประมาณ 2-5% ของเบาหวานทั้งหมด คุณแม่ที่เคยตั้งครรภ์มาก่อน คงไม่แปลกใจกับเบาหวานชนิดนี้  เพราะหลายคนคงเคยสัมผัสประสบการณ์เป็นโรคเบาหวานที่เกิดขึ้นเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์เท่านั้น ทั้งๆที่ก่อนหน้านี้มารดาไม่เคยเป็นโรคเบาหวานมาก่อนการตั้งครรภ์เลย

ตอนหน้า เราจะมาเฉลยว่าโรคเบาหวานเกิดได้อย่างไรนะ? จะได้ไม่แปลกใจว่าเราเองวันนี้ยังดีๆอยู่ กินอาหาร เหล้าเบียร์อุดตลุดไม่เห็นเป็นไรเลย คอยดูเหอะถ้าไม่ระวังไว้ก่อน เราเองก้อจะเป็นเบาหวานได้ในวันข้างหน้า

แหล่งข้อมูล


เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 20 มค. 2555  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·      รูปประกอบจากเว็บไซต์  http://www.diabetesdiettreatment.com/

·      จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336494
·      เบาหวาน รักษาได้ดี ไม่ต้องตัดเท้า โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/27/entry-1
·      เบาหวาน ไม่รักษาให้ถูกต้อง มีสิทธิ์ตาบอด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/22/entry-2
·      เบาหวาน หลักสำคัญในการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336728
·      เบาหวาน กับ อินซูลิน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=337594
·      ความรุ้เรื่องโรคเบาหวาน, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, อาคาร เฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 10 โซน A เลขที่ 2 ซอยเพชรบุรี 47 (ศูนย์วิจัย) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ,http://www.diabassocthai.org
·      ตรวจความเสี่ยงโรคเบาหวาน,สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ,http://www.happydm.org/html/question.php?question_ID=1
·      แนวทางเวชปฎิบัติเกี่ยวกับเบาหวาน พ.ศ. 2554, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, http://www.diabassocthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id=12%3A-2551-&catid=2%3A2011-01-25-09-11-02&Itemid=6&lang=th
·      ความรุ้เรื่องโรคเบาหวาน, http://thaidiabetes.blogspot.com/
·      โรคเบาหวานและทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเบาหวาน,  http://www.เบาหวาน.kudweb.com
·      ยารักษาโรคเบาหวาน 2, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 382                , เดือน/ปี: 01/2554
·      ยารักษาโรคเบาหวาน, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 381, เดือน/ปี: 12/2553
·      โรคเบาหวาน , หมอชาวบ้าน เล่มที่: 37 เดือน/ปี: 10/2553
·      การดูแลผู้ป่วยเบาหวานถ้วนหน้า,หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379                 เดือน/ปี: 10/2553
·      เบาหวานกับการออกกำลังกาย, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379 เดือน/ปี: 10/2553
·      ภก.จินตวี ไชยชุน,ภก.ธีระ ฤทธิรอด,ภก.สุภาพร น้อยเมล์,ภกญ.ญาณิน ขมะณะรงค์, Sitagliptin ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2, วารสารคลินิก เล่ม : 284 เดือน-ปี : 08/2551, http://doctor.or.th/node/7131
·      โรคเบาหวาน, ห้องยา แผนกเภสัชกรรม รพ.รร.จปร, http://pharmacyjpr.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431014
·      All about Diabetes Mellitus, every thing about Diabetes Mellitus, http://diabetes2-mellitus.com/
·      Diabetic Care Management Guidelines, American Diabetes Association, Clinical Practice Recommendations, 2011, http://care.diabetesjournals.org/content/34/Supplement_1/S4.extract
·      American Association of Clinical Endocrinologists Medical Guidelines for Clinical Practice for the Management of Diabetes Mellitus, https://www.aace.com/publications/guidelines
·      American Diabetes Association. Pharmacologic intervention. In management of type 2 diabetes,4th edition.Verginia : Library of congress, 1998:56-72
·      Diabetes Treatment, http://www.diabetesdiettreatment.com
·      Diabetes Drugs, Diabetes.co.uk, http://www.diabetes.co.uk/Diabetes-drugs.html
·      Williams G, Pickup JC. Management of type 2 diabetes. In handbook of diabetes,2nd edition.Oxford: Blackwell Science Ltd, 1999:87-94.
·      Schnell U, Mehnert H, Standl E. Oral antidiabetic agents: Sulfonylureas. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:195-202.
·      Diabetes Drug Information, Remedy Health Media, LLC,  http://www.healthcentral.com/diabetes/find-drug.html
·      Kikuchi M. New antidiabetic drugs. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:239-50..
·      Oral Diabetes Medications, webmd.com, http://diabetes.webmd.com/guide/oral-medicine-pills-treat-diabetes
·      Linde B. The pharmacokinetics of insulin. In : Pickup J, Williams G,eds. Textbook of diabetes. Oxford: Blackwell Science Ltd,1991:371-83.
·      European diabetes policy group. A desktop guide to type 1 ( insulin dependent ) diabetes mellitus. Diabet Med 1999;16:253-6.
·      Complementary and  Alternatitve Treatment for Diabetes, National Diabetes Information Clearinghouse (NDIC), A service of the National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), National Institutes of Health (NIH), http://diabetes.niddk.nih.gov/dm/pubs/alternativetherapies/
·      Alternative Treatments for Diabetes, WebMD.com, http://diabetes.webmd.com/guide/alternative-medicine
·      Cathy Wong, ND, CNS, a licensed naturopathic doctor and an American College of Nutrition-certified nutrition specialist, Natural Treatments for Type 2 Diabetes, http://altmedicine.about.com/cs/conditionsatod/a/Diabetes.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น