วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2555

คู่มือรักษาเบาหวานตอนที่ 2: ทำไมจึงเป็นเบาหวาน? โดยเภสัชกรอุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล


แปลกใจไหมว่า ทำไมคุณพ่อคุณแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ของเรา ท่านก้อแข็งแรงดีอยู่ทุกวัน เลี้ยงดูเรามาจนเติบใหญ่ ทำไมวันนึง พอสูงอายุมากขึ้น โรคเบาหวานจึงมารุกรานให้ท่านเปลี่ยนไปได้ เพิ่งกินข้าวเสร็จไปหยกๆ แต่ท่านกลับหิวบ่อย กระหายน้ำอย่างมาก ไปห้องน้ำถี่และบ่อย ซ้ำร้ายทำอะไรนิดหน่อย ก้อเหนื่อย อ่อนเพลียง่าย ผอมลงฮวบฮาบอย่างไม่ได้เข้าฟิตเนทแต่อย่างใด  ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญานเตือนของโรคที่กำลังคุกคามสุขภาพท่านเข้าให้แล้ว มาถึงตอนนี้เภสัชกรหนุ่มหล่อจะเล่าให้ฟังว่า อะไรคือการเปลี่ยนแปลงภายในร่างกายที่ทำให้คนที่รักของเราต้องทนทุกข์ทรมานกับโรคเบาหวาน รู้ไว้จะได้เข้าใจโรคและป้องกันสังเกตุตัวเราเองด้วย ว่ากำลังเป็นโรคนี้ด้วยหรือไม่?

คนเราต้องกินอาหารทุกมื้อทุกวัน กินไปทำไม?
อย่างที่ได้อธิบายไปเมื่อตอนที่แล้ว เรากินอาหารไปทำไม นอกเหนือจากความอร่อยแล้ว ความจริงอาหารทุกชนิด เมื่อคุณเคี้ยวอย่างเอร็ด เกือบทุกหมู่อาหารไม่ว่าจะข้าว ก้วยเตี๋ยว หรือสปาเกตตี้ จะเปลี่ยนไปเป็นน้ำตาลด้วยระบบย่อยอาหารของเราเองในปาก กระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก อาหารหลากชนิดจานใหญ่ๆ จะเปลี่ยนไปเป็นกระแสน้ำตาลในกระแสเลือด เจ้าน้ำตาลที่ย่อยสลายมาแล้วนี้ สดวกต่อการถูกนำส่งไปยังอวัยวะทั่วร่าง เพื่อแปรเปลี่ยนเป็นพลังงานให้ในแต่เซลล์เล็กๆ ในแต่ละอวัยวะ ให้สามารถทำงานได้สอดคล้องกัน สุดท้ายก้อทำให้ร่างกายเรามีกิจกรรมต่างๆที่ต้องใช้พลังงาน ในทุกกิจกรรมประจำวันได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าจะทำงาน ขับรถ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา อุ้มลูก และอื่นๆ 
แม้กระทั่งในภาวะพักผ่อน ร่างกายเราก้อยังต้องการพลังงานแต่อาจไม่เยอะเท่า ตอนใช้กำลัง


ระบบควบคุมน้ำตาลในกระแสเลือดในยามปกติ ?
โลกนี้จะไม่มีโรคเบาหวานเลย ถ้าระดับน้ำตาลที่ว่าในร่างกายเราแต่ละคน อยุ่ในสภาวะสมดุลย์และตลอดไปเสมือนเรายังเป็นเด็กหรือหนุ่มสาว  เนื่องมาจากร่างกายของเรา มีระบบเบรคและคันเร่งธรรมชาติ ที่จะเพิ่มหรือลดน้ำตาลให้เหมาะสม นั่นก้อคือ ในร่างกายเราจะมีการสร้างฮอร์โมนจากตับอ่อน ที่ชื่อว่า อินซูลิน (Insulin) ทำหน้าที่เป็นตัวนำน้ำตาลกลูโคส (Glucose) จากกระแสเลือดเข้าไปสู่เซลล์ของอวัยวะต่างๆทั่วร่างเช่น สมอง ตับ ไต หัวใจ ทั่วร่าง  เพื่อให้เซลล์ต่างๆ นำกลูโคสแปรเป็นพลังงานในกิจกรรมต่างๆตามที่ได้กล่าวมา

หากร่างกายเรา จู่ๆควบคุมน้ำตาลไม่ได้ อะไรจะเกิดขึ้น ?
แต่เมื่อเกิดความผิดปกติต่างๆ ไม่ว่าจะเกิดจาการที่ตับอ่อนสร้างอินซูลินได้น้อยกว่าปกติ หรือ  ผลิตได้ตามปกติน่านแหละ แต่ดันเกิดความผิดปกติบางอย่างที่ทำให้เซลล์ต่างๆ ไม่สามารถนำอินซูลินไปใช้ได้ ภาษาหมอเราเรียกว่า เซลล์ดื้อต่ออินซูลิน (Insulin resistance) หรือถ้าแจ้คพ้อทแตกไปเจอทั้งสองเหตุการณ์พร้อมกัน สิ่งที่ตามมา จึงส่งผลให้มีน้ำตาลเหลือคั่งในเลือดสูงมากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งตรงนี้แหละที่เราเรียกโรคนี้ว่า โรคเบาหวานนั่นเอง

ช่วยฟันธงให้หน่อย ว่าทำไมจึงเป็นเบาหวาน?
เป็นคำถามที่หมอดูฟันดำหรือจิตสัมผัส ที่ไหนก้อยังตอบไม่ได้ ว่าสาเหตุที่ทำให้เกิดความผิดปกติเหล่านี้ ยังไม่ทราบชัดเจน แต่จากการศึกษาเราพบว่า เป็นกระบวนการที่ซับซ้อนซึ่งเกิดจากทั้งพันธุกรรมที่ได้มาจากบรรพบุรุษ และตัวคุณเองในพฤติกรรมการใช้วิถีทางในการดำเนินชีวิต (Life style) ร่วมกัน

แล้วใครหล่ะ ที่จะมีโอกาสเป็นเสี่ยงเป็นเบาหวาน?
ตอบคำถามข้างบนไปอย่างนี้ ไม่ใช่ว่าเภสัชกรหนุ่มจะมั่วนิ่มแต่อย่างใด แต่ภาษาพระเขาเรียกอิทัปปัจจัยญตา ผลทุกอย่างที่เกิด มาจากต้นเหตุที่เริ่มต้นไว้ ถ้าพ่อแม่เราเป็นโรคนี้อยู่แล้ว มันแน่นอนเหลือเกินว่าพันธุกรรม คือปัจจัยเสี่ยงแรกสุดที่จะทำให้เราเกิดโรคเบาหวานขึ้นมาได้ แต่ถ้าเรารู้ว่าเรามีโอกาสแน่ๆ แต่เราไม่สร้างสภาวะเสี่ยงที่จะมาทำให้ร่างกายเราเหนื่อยต่อการควบคุมน้ำตาล โอกาสเป็นโรคนี้ก้อจะยิ่งน้อยลง
งั้นเรามาดูกันไหมว่าปัจจัยเสริมที่ทำให้เราเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้ มีอะไรบ้าง ซึ่งได้แก่
1.           โรคอ้วนและน้ำหนักตัวมากเกินไป ซึ่งส่งผลให้ร่างกายเหนื่อยต่อการแบกภาระที่อ้วยเทอะทะ ใหญ่โตเกินกำลังที่จะควบคุมน้ำตาลได้ แต่ไม่ใช่ว่าคนผอมจะไม่เป็น
2.           ขาดการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายจะช่วยควบคุมน้ำหนัก และช่วยให้เซลล์ต่างๆว่องไวต่อการนำน้ำตาลไปใช้ หรือ ช่วยการเผาผลาญน้ำตาลในเลือดได้ดีขึ้นนั่นเอง จะเห็นว่าปัจจัย 1 และ 2 จะเป็นงูกินหาง กินมากออกกำลังน้อยก้ออ้วนเพละ กินมาก แต่ออกกำลังกายพอควรก้ออ้วนน้อยลงไปหน่อย เลือกได้ถ้าไม่อยากเป็น
3.           พันธุกรรม คนที่มีครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวาน มีโอกาสเป็นเบาหวานสูงกว่าคนทั่วไป
4.           เชื้อชาติ แปลกไหมเราพบว่า คนบางเชื้อชาติเป็นเบาหวานสูงกว่า เช่น ในคนเอเชีย และในคนผิวดำ
5.           อายุ ยิ่งอายุสูงขึ้น โอกาสเป็นเบาหวานยิ่งสูงขึ้น สาเหตุอาจจากการเสื่อมถอยของเซลล์ตับอ่อนที่ ทำหน้าที่มานานและหนักในวัยหนุ่มสาว หรือยิ่งไปกว่านั้นยิ่งขาดการออกกำลังกายสม่ำเสมอ สุขภาพก้อจะยิ่งเสื่อมถอย
6.           มีไขมันในเลือดสูง และ
7.           มีความดันโลหิตสูง
ฟังดูแล้ว ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้เกิดจากการจากที่เราประมาทไม่เตรียมตัวร่างกายทั้งนั้นเลย ใช่ไหมครับ ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมรับโรคนี้อย่างมีสติ ตอนหน้าหากเรามีปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แล้วดังมีอาการของโรค คำถามคือ เราจะรู้ได้ไงว่าโรคเบาหวานกำลังมาคุกคาม รอเราอยู่?

อยากทราบทุกคำตอบของเรื่องเบาหวาน กรุณาส่งซองคำถามของคุณมาได้ที่อีเมล์ utaisuk@gmail.com หรือแวะไปที่ Facebook “UTAI SUKVIWATSIRIKUL” หรือ “PHARMATREE” ยินดีตอบรับทุกท่านครับ

แหล่งข้อมูล
เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล สงวนลิขสิทธิ์ 20 มค. 2555  
E-mail: utaisuk@gmail.com Facebook: “UTAI SUKVIWATSIRIKUL
ห้ามนำบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ โดยผู้เขียนไปเผยแพร่เชิงพาณิชย์ ให้นำไปเผยแพร่เป็นวิทยาทานหรือเพื่อการศึกษาเท่านั้นผู้ประกอบการเว็บไซต์ต้องยึดหลักความเคารพและคำนึงถึงลิขสิทธิ์ในการสร้างสรรค์งานเขียนและจริยธรรมทางธุรกิจ

การนำเอาบทความ รูปภาพและเนื้อหาอื่นๆ ซึ่งผลิตขึ้นโดยผู้เขียนไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตและผลิตซ้ำเพื่อเผยแพร่ กรุณาอ้างอิงแหล่งที่มาและ Copy url address ไปด้วยเพื่อให้ผู้อ่านสามารถลิ้งค์กลับมาอ่านบทความจากเว็บไซต์ ของผู้เขียนได้โดยตรง

บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ไม่แนะนำให้คุณนำไปใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรคด้วยตนเอง ขอความกรุณารับคำปรึกษาได้โดยตรงจากเภสัชกรร้านยาใจดีที่พร้อมดูแลสุขภาพพ่อแม่พี่น้องนะครับ
·      รูปประกอบจากเว็บไซต์ http://biff-burger.com/Atropos-simple-asian-recipes-for-diabetes-with-nephropathy/
·      จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นเบาหวาน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336494
·      เบาหวาน รักษาได้ดี ไม่ต้องตัดเท้า โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/27/entry-1
·      เบาหวาน ไม่รักษาให้ถูกต้อง มีสิทธิ์ตาบอด โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/DIVING/2008/10/22/entry-2
·      เบาหวาน หลักสำคัญในการรักษา โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=336728
·      เบาหวาน กับ อินซูลิน โดย เภสัชกร อุทัย สุขวิวัฒน์ศิริกุล, http://www.oknation.net/blog/print.php?id=337594
·      ความรุ้เรื่องโรคเบาหวาน, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, อาคาร เฉลิมพระบารมี ๕๐ ปี ชั้น 10 โซน A เลขที่ 2 ซอยเพชรบุรี 47 (ศูนย์วิจัย) ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ ,http://www.diabassocthai.org
·      ตรวจความเสี่ยงโรคเบาหวาน,สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ,http://www.happydm.org/html/question.php?question_ID=1
·      แนวทางเวชปฎิบัติเกี่ยวกับเบาหวาน พ.ศ. 2554, สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, http://www.diabassocthai.org/index.php?option=com_content&view=article&id=12%3A-2551-&catid=2%3A2011-01-25-09-11-02&Itemid=6&lang=th
·      ความรุ้เรื่องโรคเบาหวาน, http://thaidiabetes.blogspot.com/
·      โรคเบาหวานและทุกเรื่องที่เกี่ยวกับเบาหวาน,  http://www.เบาหวาน.kudweb.com
·      ยารักษาโรคเบาหวาน 2, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 382                , เดือน/ปี: 01/2554
·      ยารักษาโรคเบาหวาน, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 381, เดือน/ปี: 12/2553
·      โรคเบาหวาน , หมอชาวบ้าน เล่มที่: 37 เดือน/ปี: 10/2553
·      การดูแลผู้ป่วยเบาหวานถ้วนหน้า,หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379                 เดือน/ปี: 10/2553
·      เบาหวานกับการออกกำลังกาย, หมอชาวบ้าน เล่มที่: 379 เดือน/ปี: 10/2553
·      ภก.จินตวี ไชยชุน,ภก.ธีระ ฤทธิรอด,ภก.สุภาพร น้อยเมล์,ภกญ.ญาณิน ขมะณะรงค์, Sitagliptin ทางเลือกใหม่ในการรักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 2, วารสารคลินิก เล่ม : 284 เดือน-ปี : 08/2551, http://doctor.or.th/node/7131
·      โรคเบาหวาน, ห้องยา แผนกเภสัชกรรม รพ.รร.จปร, http://pharmacyjpr.igetweb.com/index.php?mo=3&art=431014
·      All about Diabetes Mellitus, every thing about Diabetes Mellitus, http://diabetes2-mellitus.com/
·      Diabetic Care Management Guidelines, American Diabetes Association, Clinical Practice Recommendations, 2011, http://care.diabetesjournals.org/content/34/Supplement_1/S4.extract
·      American Association of Clinical Endocrinologists Medical Guidelines for Clinical Practice for the Management of Diabetes Mellitus, https://www.aace.com/publications/guidelines
·      American Diabetes Association. Pharmacologic intervention. In management of type 2 diabetes,4th edition.Verginia : Library of congress, 1998:56-72
·      Diabetes Treatment, http://www.diabetesdiettreatment.com
·      Diabetes Drugs, Diabetes.co.uk, http://www.diabetes.co.uk/Diabetes-drugs.html
·      Williams G, Pickup JC. Management of type 2 diabetes. In handbook of diabetes,2nd edition.Oxford: Blackwell Science Ltd, 1999:87-94.
·      Schnell U, Mehnert H, Standl E. Oral antidiabetic agents: Sulfonylureas. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:195-202.
·      Diabetes Drug Information, Remedy Health Media, LLC,  http://www.healthcentral.com/diabetes/find-drug.html
·      Kikuchi M. New antidiabetic drugs. In diabetes in the new millennium. Sydney: Pot still press,1999:239-50..
·      Oral Diabetes Medications, webmd.com, http://diabetes.webmd.com/guide/oral-medicine-pills-treat-diabetes
·      Linde B. The pharmacokinetics of insulin. In : Pickup J, Williams G,eds. Textbook of diabetes. Oxford: Blackwell Science Ltd,1991:371-83.
·      European diabetes policy group. A desktop guide to type 1 ( insulin dependent ) diabetes mellitus. Diabet Med 1999;16:253-6.
·      Complementary and  Alternatitve Treatment for Diabetes, National Diabetes Information Clearinghouse (NDIC), A service of the National Institute of Diabetes and Digestive and Kidney Diseases (NIDDK), National Institutes of Health (NIH), http://diabetes.niddk.nih.gov/dm/pubs/alternativetherapies/
·      Alternative Treatments for Diabetes, WebMD.com, http://diabetes.webmd.com/guide/alternative-medicine
·      Cathy Wong, ND, CNS, a licensed naturopathic doctor and an American College of Nutrition-certified nutrition specialist, Natural Treatments for Type 2 Diabetes, http://altmedicine.about.com/cs/conditionsatod/a/Diabetes.htm

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น